theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • Project Sidekicks
    • การตั้งครรภ์
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • การสูญเสียทารก
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • สุขภาพ
    • อาการป่วย
    • วัคซีน
    • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
    • ประกันชีวิต
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ความปลอดภัย
    • มุมคุณพ่อ
  • การศึกษา
    • ข่าวการศึกษา
    • คลีนิกพัฒนาการ
    • เตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน
    • โรงเรียนอนุบาล
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • งานบ้าน
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ดวงและราศี
    • ดารา-แฟชั่น
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ฟิตเนส
    • อีเว้นท์
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • TAP IDOL

สิทธิแม่ลาคลอด 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 80

บทความ 5 นาที
•••
สิทธิแม่ลาคลอด 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 80สิทธิแม่ลาคลอด 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 80

สวัสดิการเพื่อแม่ และเด็ก ถือเป็นเรื่องที่สำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่มีส่วนสร้างความก้าวหน้าของสังคม ตระหนักเห็นความสำคัญของคุณแม่ตั้งครรภ์ ซึ่งคาบเกี่ยวกับสิทธิแรงงาน โดยส่วนใหญ่สถานที่ทำงานจะมีการสนับสนุนการสร้างครอบครัว หรือ สิทธิแม่ลาคลอด เพื่อให้พนักงานที่กำลังตั้งครรภ์มีการดำเนินชีวิตอย่างปกติ โดยไม่มีเรื่องลูกมาเป็นอุปสรรค  คุณแม่ตั้งครรภ์หลายท่านเกิดความกังวลใจ เมื่อตนกำลังตั้งครรภ์ หรือ กำลัง วางแผนครอบครัว  เนื่องจากการลาคลอดไม่ใช่ระยะเวลาสั้น ๆ

ในปี พ.ศ. 2533 กฎหมายระบุให้ สิทธิแม่ลาคลอด ได้ 60 วัน โดยคุณแม่จะได้ค่าจ้างจากนายจ้างเพียง 30 วัน บางโรงงาน หรือบางบริษัทที่ไม่จ่ายให้ก็มี ส่งผลให้คุณแม่หลายท่านต้องกลับมาทำงาน ทั้งที่ร่างกายยังฟื้นฟูได้ไม่เต็มที่จากการคลอด หลังจากนั้นกฎหมายมีการปรับเปลี่ยนลาคลอด 90 วัน โดยได้ค่าจ้างเต็มจากเดิม 45 วัน หากตามความเป็นจริงการลาคลอดเพียง 90 วัน อาจไม่เพียงพอสำหรับคุณแม่ เนื่องคุณแม่ตั้งครรภ์ต้องมีการลาฝากครรภ์ หาหมอ ตรวจสุขภาพฟื้นฟูหลังคลอดบุตร รวมถึงระยะเวลาการให้นมลูกน้อย

สิทธิแม่ลาคลอด

สิทธิประโยชน์จากประกันสังคม กรณีคลอดบุตร

ค่าจ้าง

เริ่มจากจำนวนวันลาคลอดกันก่อนเลย ตามกฎหมายกำหนดสิทธิ์เกี่ยวกับการลาคลอดเอาไว้ว่า ลูกจ้างทุกประเภทที่เป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิ์ลาคลอดตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานได้ โดยแต่เดิม ลูกจ้างหญิงมีครรภ์สามารถลาเพื่อคลอดบุตรได้ครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน แต่ปัจจุบันได้เพิ่มเป็น 98 วัน โดยนับรวมวันหยุดที่มีระหว่างวันลาด้วย และยังรวมถึงการลาเพื่อไปตรวจครรภ์ก่อนคลอด

ส่วนในเรื่องของค่าจ้างในขณะที่คุณแม่ใช้สิทธิ์ลาคลอดนั้น ตามกฎหมายคุณแม่มีสิทธิ์ที่จะได้รับเงินจาก 2 ช่องทางหลัก ๆ ด้วยกัน คือ

1. นายจ้าง
ในการลาคลอด 1 ครั้ง คุณแม่จะได้สิทธิ์ในการลาคลอดเป็นจำนวน 98 วัน โดยนายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างให้เป็นจำนวน 45 วัน (ยึดตามกฎหมายเดิมที่ให้ลาคลอดได้ 90 วัน) ส่วนจำนวนวันลาอีก 8 วันที่เพิ่มมานั้น นายจ้างจะจ่ายค่าจ้างระหว่างลา หรือไม่ก็ได้ แล้วแต่ทั้งสองฝ่ายตกลงกัน ซึ่งการจ่ายเงินทางนายจ้างจะจ่ายระหว่างลาหรือหลังจากมาทำงานขึ้นอยู่กับตกลงกัน

ยกตัวอย่างเช่น คุณแม่ได้เงินเดือนอยู่ที่เดือนละ 20,000 บาท ในระหว่างที่คุณแม่ลาคลอด นายจ้างจะต้องจ่ายเงินให้คุณแม่เป็นจำนวนเท่ากับ 45 วัน หรือ 30,000 บาท (คิดจากค่าจ้าง 30 วัน เท่ากับ 20,000 บาท 15 วัน เท่ากับ 10,000 บาท)
อย่างไรก็ตาม หากนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างตามที่กฎหมายกำหนด คุณแม่สามารถไปร้องเรียนได้ที่สำนักงานแรงงานจังหวัด กระทรวงแรงงาน

2. ประกันสังคม
นอกจากนี้เงินจากนายจ้างแล้ว คุณแม่ยังมีสิทธิ์รับ เงินสงเคราะห์การหยุดงาน เพื่อการคลอดบุตรจากทางประกันสังคม โดยทางประกันสังคมจะเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของเงินเดือนเฉลี่ย 90 วัน (คิดจากฐานเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท) หรือในกรณีที่คุณแม่ได้เงินเดือนมากกว่า 15,000 บาท ทางสำนักงานประกันสังคมก็จะคิดเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรจากฐานเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาทเช่นกัน
ยกตัวอย่างเช่น คุณแม่มีเงินเดือน 20,000 บาท ก็จะได้เงินสงเคราะห์การหยุดงาน 50% ของเงินเดือน แต่ต้องคิดจากฐานเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท  คือ 15,000 x 3 เดือน (90 วัน) x 0.5 เท่ากับ 22,500 บาท
แต่ในกรณีที่ 2 นี้ คุณแม่จะต้องส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ และจะได้รับเงินสงเคราะห์เฉพาะการคลอดบุตรไม่เกิน 2 คนเท่านั้นนะคะ หากเป็นการคลอดบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร

สิทธิแม่ลาคลอด

หมายเหตุ : ในกรณีที่คุณแม่มาทำงานก่อนโดยไม่รอให้ครบ 90 วัน ก็ยังคงได้รับ เงินสงเคราะห์บุตร จากประกันสังคมเต็มจำนวน 90 วัน แถมคุณแม่ก็จะได้รับค่าจ้างตามปกติต่างหากในวันที่คุณแม่มาทำงานด้วย

กล่าวโดยสรุปคือคุณแม่ผู้ประกันตนมีสิทธิ์รับเงินค่าจ้างจากนายจ้าง 45 วัน และสิทธิ์ลาคลอดจากประกันสังคม 90 วัน หรือถ้าคุณแม่คนไหนฟิตร่างกายกลับมาทำงานได้ไวกว่า 90 วันตามสิทธิ์การลาคลอดแล้ว คุณแม่ยังได้เงินตามวันที่คุณแม่มาทำงานจริงด้วยนะ

ค่าคลอดบุตร
คุณแม่ที่จ่ายเงินสมทบประกันสังคมครบ 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนเดือนที่คลอดบุตร สามารถเบิกค่าคลอดบุตรจากสำนักงานประกันสังคมในอัตราเหมาจ่าย 13,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง โดยรวมทั้งค่าทำคลอด ค่ายา ค่าห้อง ค่ารถพยาบาล หรือค่าบริการอื่น ๆ

ขยายความกันสักนิดนึงสำหรับ ข้อความที่บอกว่า "5 เดือน ภายใน 15 เดือน" อธิบายอย่างง่าย ๆ ก็คือ การนับย้อนหลังกลับไป 13 เดือน (1 ปี 1 เดือน) คุณแม่ต้องมีเงินสมทบมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 เดือน (ถ้าสมทบมาน้อยกว่า 5 เดือน คุณแม่ก็หมดสิทธิ์ในการขอค่าคลอดบุตรครั้งนี้ไป)

มีข้อควรรู้เกี่ยวกับค่าคลอดบุตรอยู่เล็กน้อย คือ
1. คุณแม่สามารถใช้สิทธิ์เบิกค่าคลอดบุตรจากประกันสังคมได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง และจำนวนบุตร เท่ากับว่ามีลูกกี่คนก็เบิกได้ทุกคน
2. กรณีคุณพ่อ และคุณแม่เป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ ให้ใช้สิทธิ์ในการเบิกค่าคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น โดยไม่จำกัดจำนวนบุตร/ครั้ง
ส่วนหลักฐานและเอกสารต่าง ๆ ที่ใช้ในการเบิกค่าคลอดบุตรสามารถดูได้จากเว็บไซต์ของ สำนักงานประกันสังคม

ค่าตรวจและค่ารับฝากครรภ์
นอกจากค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายครั้งละ 13,000 บาทแล้ว สำนักงานประกันสังคมได้เพิ่มสิทธิประโยชน์ใหม่ ให้คุณแม่ที่เข้ารับบริการฝากครรภ์ในสถานพยาบาลตามเกณฑ์คุณภาพที่กำหนด ได้ค่าตรวจและรับฝากครรภ์เพิ่มอีก 1,000 บาท โดยจ่ายตามอายุครรภ์เป็นครั้ง ๆ มีเกณฑ์คือ
- ครั้งที่1 : อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ (3 เดือน) จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 500 บาท
- ครั้งที่2 : อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ (3 - 5 เดือน) จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 300 บาท
- ครั้งที่3 : อายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 28 สัปดาห์ (5 - 7 เดือน) จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 200 บาท

ทั้งนี้ คุณแม่สามารถนำหลักฐานเข้ารับบริการจากสถานพยาบาลในแต่ละครั้ง คือ ใบรับรองแพทย์ และใบเสร็จรับเงิน ไปขอรับประโยชน์ทดแทนส่วนค่าตรวจและรับฝากครรภ์เพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ โดยไม่ต้องรอให้มีการคลอดบุตร

สิทธิแม่ลาคลอด

เงินสงเคราะห์บุตร

คุณแม่ที่จะได้สิทธิ์นี้ต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 กับ 39 เท่านั้น ซึ่งจะต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน (3 ปี) ก่อนเดือนที่มีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ โดยคุณแม่จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 600 บาทต่อบุตรหนึ่งคน ซึ่งเงื่อนไขที่จะได้รับเงินคือ
 - ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย คือเป็นลูกแท้ ๆ ของตัวเอง ยกเว้น บุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น

- บุตรต้องมีอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน

- หากคุณพ่อ คุณแม่ที่ใช้สิทธิ์เป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตายก่อนบุตรมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์ บุตรยังจะได้รับเงินส่วนนี้จนถึงอายุ 6 ปีบริบูรณ์ โดยประกันสังคมจะจ่ายให้ผู้อุปการะบุตรต่อไป

ทั้งนี้ คุณแม่จะหมดสิทธิ์รับเงินสงเคราะห์บุตรเมื่อ
-  บุตรมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์
-  บุตรเสียชีวิต
-  ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น
-  ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

 

ที่มา : businessplus , ประกันสังคม , สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

สาวทำงานมา 8 ปี ช้ำใจหนัก ลาคลอดได้ 2 วัน โดนไล่ออก

คนท้องลาออกจากงาน ยังได้สิทธิค่าคลอดบุตรและเงินสงเคราะห์บุตรอยู่ไหม 

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

บทความโดย

ammy

  • หน้าแรก
  • /
  • การตั้งครรภ์
  • /
  • สิทธิแม่ลาคลอด 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 80
แชร์ :
•••
  • รอข่าวดี! เตรียมเสนอ สิทธิแม่ลาคลอด 6 เดือน หรือ 180 วัน คาดปีหน้าได้ใช้

    รอข่าวดี! เตรียมเสนอ สิทธิแม่ลาคลอด 6 เดือน หรือ 180 วัน คาดปีหน้าได้ใช้

  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 20 ตารางให้นมลูก

    100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 20 ตารางให้นมลูก

  • วินาทีระทึก แม่ยอมสละชีวิต เพื่อให้ลูกรอดจากไฟไหม้

    วินาทีระทึก แม่ยอมสละชีวิต เพื่อให้ลูกรอดจากไฟไหม้

  • อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

    อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

app info
get app banner
  • รอข่าวดี! เตรียมเสนอ สิทธิแม่ลาคลอด 6 เดือน หรือ 180 วัน คาดปีหน้าได้ใช้

    รอข่าวดี! เตรียมเสนอ สิทธิแม่ลาคลอด 6 เดือน หรือ 180 วัน คาดปีหน้าได้ใช้

  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 20 ตารางให้นมลูก

    100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 20 ตารางให้นมลูก

  • วินาทีระทึก แม่ยอมสละชีวิต เพื่อให้ลูกรอดจากไฟไหม้

    วินาทีระทึก แม่ยอมสละชีวิต เพื่อให้ลูกรอดจากไฟไหม้

  • อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

    อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การตั้งชื่อลูก
    • โภชนาการระหว่างตั้งครรภ์​
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • เซ็กส์และความสัมพันธ์
  • การตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • นมแม่และนมผง
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • ดวงและราศี
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ดารา-แฟชั่น
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore
  • Thailand
  • Indonesia
  • Philippines
  • Malaysia
  • Sri Lanka
  • India
  • Vietnam
  • Australia
  • Japan
  • Nigeria
  • Kenya
พันธมิตรของเรา
Mama's Choice Partner Brand Logo
© Copyright theAsianparent 2021. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้
บทความ
  • สังคมออนไลน์
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • สุขภาพ
  • ชีวิตครอบครัว
  • การศึกษา
  • ไลฟ์สไตล์​
  • วิดีโอ
  • ชอปปิง
  • TAP IDOL
เครื่องมือ
  • ?คอมมูนิตี้สำหรับคุณแม่
  • ติดตามการตั้้งครรภ์
  • ติดตามพััฒนาการของลูกน้อย
  • สูตรอาหาร
  • อาหาร
  • โพล
  • VIP Parents
  • การประกวด
  • โฟโต้บูท

ดาวน์โหลดแอปของเรา

  • ติดต่อโฆษณา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทีม
  • กฎการใช้งานคอมมูนิตี้
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดการใช้
  • มาเข้าร่วมกับเรา
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ?ฟีด
  • โพล
เปิดในแอป