X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

สาเหตุของอาการท้องแข็งแบบไหนอันตรายถึงมือหมอ

บทความ 3 นาที
สาเหตุของอาการท้องแข็งแบบไหนอันตรายถึงมือหมอ

แม่ท้องมักเกิดอาการท้องแข็งหรือเจ็บท้องซึ่งจะพบได้บ่อยในช่วงไตรมาสสุดท้าย (อายุครรภ์ประมาณ 28 สัปดาห์ขึ้นไป) จนสร้างความวิตกกังวลให้กับคุณแม่ตั้งครรภ์ไม่น้อย ซึ่งต้องคอยสังเกตสาเหตุของการท้องแข็งให้ดีแบบไหนที่ไม่น่าเป็นห่วงและท้องแข็งแบบไหนควรไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด!!

ลักษณะอาการท้องแข็งเกิดจากการหดรัดตัวของมดลูก เมื่อจับบริเวณหน้าท้องดูจะรู้สึกได้ว่าเป็นก้อน ๆ หรือรู้สึกตึงมากที่หน้าท้องเป็นครั้งคราวในช่วงเวลาสั้น ๆ เป็นวินาที และมีช่วงพักเป็นนาทีเมื่อมดลูกคลายตัว  บางรายอาจจะมีอาการท้องแข็งอยู่ประมาณทุก 10 นาที/ครั้ง และเป็นสม่ำเสมออยู่ 4-5 ครั้งได้ อาจเป็นสาเหตุทำให้เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดได้ อาการท้องแข็งเป็นแบบไหนสังเกตได้

สาเหตุของอาการท้องแข็ง

สาเหตุของอาการท้องแข็ง

#ท้องแข็งเพราะลูกในท้อง

ท้องแข็งในความหมายคุณหมอ คืออาการที่มดลูกบีบตัวรัดแข็งขึ้นก่อนเวลาอันควร ที่อาจเป็นเหตุให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้ แต่ท้องแข็งที่คุณแม่รู้สึกนั้นเป็นเพราะลูกที่อยู่ในมดลูกภายในครรภ์คุณแม่มีอวัยวะที่เป็นส่วนนูนแข็งหลายอย่าง เช่น แขน ขา เข่า เพราะฉะนั้นการที่คุณแม่รู้สึกลูบ ๆ คลำ ๆ เจอว่าตรงนี้ท้องแข็ง หรือมีการเลื่อนตำแหน่งที่แข็งไปมา และแข็งแค่บางตำแหน่งส่วนบริเวณอื่นนิ่มปกติ  ท้องแข็งแบบนี้ไม่ใช่ปัญหา

#ท้องแข็งเพราะกินอิ่ม

แม่ท้องบางรายมีอาการท้องแข็งหลังรับประทานอาหาร พอนั่งซักพักก็จะหายไปเอง อาการนี้จะไม่พบในช่วงตอนท้องอ่อน แต่จะเกิดขึ้นในช่วงอายุครรภ์ที่มาก เพราะมดลูกมีขนาดใหญ่จนเต็มท้อง ซึ่งไปเบียดกระเพาะอาหาร ลำไส้ ฯลฯ ภายในครรภ์ของคุณแม่ขึ้นไปจุกอยู่ใต้ลิ้นปี่ พอทานอาหารเข้าไปมากหน่อยก็ทำให้เกิดแรงดันในช่องท้องสูง แข็งตึงทั่วทั้งท้องไปหมด ซึ่งคุณแม่ที่รูปร่างเล็กๆ สั้นๆ จะมีอาการนี้ง่ายหน่อย และโดยมากจะเป็นความรู้สึกแน่นท้องมากกว่า ถ้าไปพบคุณหมอเมื่อจับมดลูกดูก็จะพบว่า ท้องไม่ค่อยแข็ง ไม่ได้เกิดจากมดลูกมีการบีบตัว หรือเรียกว่าอาการท้องตึงมากกว่า คำแนะนำที่ช่วยลดอาการนี้ คือ ในช่วงตั้งครรภ์ควรทานอาหารแบ่งเป็นมื้อย่อย ๆ น้อย ๆ แล้วนั่งรอให้เรอออกมา พยายามอย่าให้ท้องผูก ควรได้ถ่ายเป็นประจำทุกวัน

ท้องแข็งแบบนี้ควรถึงมือหมอ >>>

อาการท้องแข็ง

#ท้องแข็งเพราะมดลูกหดบีบตัว

อาการท้องแข็งซึ่งเกิดจากมดลูกบีบตัวก่อนกำหนด ปกติจะไม่ค่อยได้เกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์อ่อน ๆ แต่หากขึ้นก็แสดงว่ามีอะไรผิดปกติ และเป็นสาเหตุทำให้คลอดก่อนกำหนดได้ ซึ่งอาการนี้โดยส่วนใหญ่จะพบบ่อยที่สุดช่วงตั้งครรภ์ได้ 32 สัปดาห์ สังเกตุว่าเป็นระยะเดียวกับลูกในท้องที่ดิ้นมากสุดตอน 32 สัปดาห์ด้วย การที่ลูกดิ้นมาก ๆ อาจมีส่วนไปกระตุ้นทำให้มดลูกบีบตัวบ่อยขึ้นทำให้เกิดอาการท้องแข็งได้เหมือนกัน เมื่อผ่านช่วง 32-24 สัปดาห์นี้ไปได้ก็จะมีอาการท้องแข็งน้อยลง แต่ถ้าคุณแม่มีอาการท้องแข็งบ่อยแล้วไม่ดีขึ้นและยิ่งแข็งถี่ขึ้น ไม่ได้แข็งเป็นบางจุด และบางทีรู้สึกแข็งมาก แข็งน้อย หรือแข็งจนรู้สึกแน่นหายใจไม่ออกท้องแข็งแบบนี้แหละที่เรียกว่าอันตรายและควรจะถึงมือหมอให้เร็วที่สุด เพราะหากท้องแข็งแล้วไม่ได้รับการดูแลรักษามดลูกจะบีบตัวจนปากมดลูกเปิดตามมาด้วยการเจ็บท้องคลอดก่อนกำหนดได้

#ท้องแข็งจากหลายสาเหตุ

จริงๆ แล้วสาเหตุของท้องแข็งในขณะตั้งครรภ์มีมากมายนอกจากการบีบรัดตัวของมดลูกหรือสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้น ยกตัวอย่างเช่น

  • เกิดจากแม่ไม่แข็งแรง สุขภาพไม่ดี มีโรคเบาหวานหรือความดันสูง
  • เกิดจากมดลูกไม่แข็งแรง หรือมดลูกไม่ปกติ
  • การขยายของครรภ์ในช่วงไตรมาส 3 ที่ขยายใหญ่ขึ้นมากตามขนาดตัวของทารกในครรภ์ ซึ่งมดลูกที่ใหญ่ขึ้นจะกดเบียดกับกระเพาะปัสสาวะ แม่บางรายกลั้นปัสสาวะก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการท้องแข็งขึ้นมาได้
  • เกิดจากการมีแก๊สในกระเพาะอาหารหรืออาหารไม่ย่อย
  • การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างตั้งครรภ์ หากร่วมรักไม่ถูกท่าถูกจังหวะ จะส่งผลให้มดลูกเกิดการบีบตัวขึ้นมาทำให้มีอาการท้องแข็งได้

สาเหตุของอาการท้องแข็ง

วิธีช่วยให้หายท้องแข็ง

มดลูกในท้องเป็นก้อนกล้ามเนื้อที่มีขนาดใหญ่และแข็งแรงมาก อาจจะมีการบีบตัวอย่างเบาๆ ค่อยๆ บีบช้าๆ แข็งตัวอยู่นานพอสมควร แล้วก็คลายตัวลงช้าๆ เป็นอย่างนี้วันละหลายครั้ง แต่โดยมากไม่เกินวันละ 6-10 ครั้ง

ถ้าคุณแม่ที่เกิดอาการท้องแข็งลักษณะนี้ก็ถือว่ายังไม่มีอะไรที่น่าเป็นห่วง ซึ่งวิธีช่วยให้หายท้องแข็ง เช่น

  • แม่ท้องควรพักผ่อนให้มาก ๆ
  • หลีกเลี่ยงการทำงานที่ใช้แรงเยอะจนเกินไป เช่น การยกของหนัก ทำตัวขี้เกียจให้มากที่สุด
  • หลีกเลี่ยงการเดินมาก ๆ เพราะยิ่งมีกิจกรรมมากท้องก็จะยิ่งแข็งมาก

หากรู้สึกว่าท้องแข็งมาก แข็งถี่มากกว่าปกติ หรือเดี๋ยวแข็งเดี๋ยวหายติด ๆ กันเป็นชุด ควรจะรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยเพื่อสาเหตุที่แน่ชัดดีกว่าค่ะ

ขอบคุณที่มา : www.diarylove.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

อาการท้องแข็ง เรื่องน่ากังวลขณะตั้งครรภ์
4 พฤติกรรมควรหยุด!!! เมื่อรู้สึกท้องแข็ง

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • สาเหตุของอาการท้องแข็งแบบไหนอันตรายถึงมือหมอ
แชร์ :
  • รู้ทันลดอันตราย “ท้องแข็ง”แบบไหนต้องรีบไปโรงพยาบาล !

    รู้ทันลดอันตราย “ท้องแข็ง”แบบไหนต้องรีบไปโรงพยาบาล !

  • คนท้องต้องรู้! ท้อง 8 เดือนมีอาการท้องแข็ง ผิดปกติหรือไม่ มาดูกัน!

    คนท้องต้องรู้! ท้อง 8 เดือนมีอาการท้องแข็ง ผิดปกติหรือไม่ มาดูกัน!

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

    ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

  • รู้ทันลดอันตราย “ท้องแข็ง”แบบไหนต้องรีบไปโรงพยาบาล !

    รู้ทันลดอันตราย “ท้องแข็ง”แบบไหนต้องรีบไปโรงพยาบาล !

  • คนท้องต้องรู้! ท้อง 8 เดือนมีอาการท้องแข็ง ผิดปกติหรือไม่ มาดูกัน!

    คนท้องต้องรู้! ท้อง 8 เดือนมีอาการท้องแข็ง ผิดปกติหรือไม่ มาดูกัน!

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

    ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ