สัญญาณที่บอกว่า นมแม่มากเกินไป
- คุณแม่จะรู้สึกว่าน้ำนมเต็มเต้าอย่างรวดเร็ว แม้เพิ่งจะให้ลูกดูดนมไปไม่นาน ทั้งยังรู้ว่าว่านมแข็งเป็นก้อนและรู้สึกเจ็บ
- ท่อน้ำนมอุดตันและเต้านมอักเสบได้ง่าย เนื่องจากเต้านมคุณแม่ยังคงมีน้ำนมอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าลูกเพิ่งดูดไป จึงเพิ่มโอกาสให้ท่อน้ำนมอุดตันและเต้านมอักเสบได้มากกว่า
- น้ำนมพุ่งแรงเกินไปจนลูกกลืนไม่ทัน ถ้าลูกถอนปากออกจากเต้านมบ่อยๆ พร้อมกับไอ หรือสำลัก โดยคุณแม่จะสังเกตเห็นว่าน้ำนมพุ่งเป็นสายออกจากหัวนม
- ลูกน้อยดูเหมือนจะท้องอืด หรือมีลมในกระเพาะ โดยลูกจะมีอาการหงุดหงิด งอแง ร้องไห้หนัก นอนหลับยาก ยืดแอ่นตัว และงอเข่าขึ้นมาที่หน้าอก
- น้ำหนักตัวเพิ่มมากเกินไป หากแม่มีน้ำนมเยอะเกินไป ลูกมักจะตัวใหญ่กว่าเกณฑ์เฉลี่ย
- อึบ่อย ลูกอาจอึระหว่างดูดนม หลังจากดูดนม และระหว่างมื้อนม โดยลักษณะของอึมักจะมีสีเขียวและเป็นฟอง
- ฉี่บ่อย ลูกอาจฉี่บ่อยถึง 10 ครั้งขึ้นไปใน 24 ชั่วโมง
- แหวะนมบ่อย อาการแหวะนมอาจเป็นเรื่องปกติของทารก แต่เด็กที่ได้รับนมแม่มากเกินไป มักจะแหวะนมทุกครั้งหลังให้นม
หากคุณมีน้ำนมแม่มากเกินไปจนเป็นอุปสรรคต่อการดูดนมของลูก คลิกหน้าต่อไป เพื่ออ่านวิธีแก้ปัญหา นมแม่มากเกินไป
ทำอย่างไรเมื่อนมแม่พุ่งแรงจนลูกสำลักนม
หากคุณมีน้ำนมแม่มากเกินไปจนเป็นอุปสรรคต่อการดูดนมของลูก ลองทำตามวิธีต่อไปนี้
- เปลี่ยนท่าให้นมลูก
- ท่ากึ่งนอน อุ้มลูกนอนคว่ำบนหน้าอกของคุณแม่ โดยคุณแม่ใช้หมอนหนุนหลังไว้ในท่ากึ่งนอน ท่านี้ช่วยให้ลูกสามารถควบคุมการไหลของน้ำนมได้ดีขึ้น
- ท่านอนตะแคงเข้าหากัน ให้ปากลูกอยู่ตรงกับหัวนมของแม่ มือที่อยู่ด้านล่างประคองตัวลูกให้ชิดลำตัวแม่ ท่านี้ช่วยให้ลูกน้อยสามารถถอนปากออกจากอกแม่ได้สะดวกเมื่อน้ำนมแม่พุ่งแรง และกลับไปดูดได้ใหม่ ทำให้ลูกสามารถควบคุมการไหลของน้ำนมได้ดีขึ้น
บทความแนะนำ แม่รู้ไหม??ท่าให้นมท่าไหนสบายทั้งแม่และลูก
- อุ้มลูกเรอบ่อยขึ้น
ถ้าลูกดูดนมอึกใหญ่ และเข้าๆ ออกๆ จากเต้านมแม่ระหว่างการให้นม อาจทำให้ลมเข้าไปในท้องมากขึ้น ควรอุ้มลูกเรอบ่อยๆ หลังจากที่ลูกดูดนมแต่ละเต้า หรือเมื่อลูกถอนปากออกจากเต้านม เพื่อช่วยในการย่อยนมที่ดูดนมเข้าไปให้ง่ายขึ้น
บทความแนะนำ เทคนิคจับลูกเรอให้ได้ผลชะงัด!!!
- ให้ลูกดูดนมบ่อยขึ้น
การให้ลูกดูดนมบ่อยขึ้น ช่วยลดปริมาณนมที่ลูกจะได้รับในแต่ละมื้อ เมื่อปริมาณน้ำนมในเต้านมน้อยลง การไหลของน้ำนมก็จะช้าลง ลูกน้อยก็จะดูดนมได้ง่ายขึ้น
- ปั๊มนมออกก่อนให้ลูกดูดนม
ถ้าวิธีที่กล่าวมาไม่ได้ผล คุณแม่อาจใช้วิธีปั๊มนมออกส่วนหนึ่งก่อนจะให้ลูกน้อยดูดนม เพื่อลดความแรงของน้ำนมที่จะพุ่งใส่ลูกน้อย แต่อย่างไรก็ตาม การปั๊มนมยิ่งเป็นการกระตุ้นให้เต้านมผลิตน้ำนมเพิ่ม หากคุณแม่ใช้วิธีนี้ พยายามปั๊มนมในแต่ละครั้งให้น้อยลง จนไม่ต้องปั๊มนมก่อนให้ลูกน้อยดูดเต้าอีกต่อไป
หากคุณแม่มีประสบการณ์การรับมือกับน้ำนมแม่ที่มากเกินไป สามารถแชร์ให้แก่คุณแม่ท่านอื่น ได้ที่คอมเมนต์ด้านล่างค่ะ
ที่มา www.bellybelly.com.au
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ
9 ปัญหายอดนิยม กับทางแก้ของแม่ให้นม
7 ข้อกังวลใจของแม่ให้นมลูก
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!