X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อย่าเพิ่งคิดว่าทำได้ 5 สิ่งที่ห้ามทำกับ สะดือทารก เด็ดขาด!

บทความ 5 นาที
อย่าเพิ่งคิดว่าทำได้ 5 สิ่งที่ห้ามทำกับ สะดือทารก เด็ดขาด!อย่าเพิ่งคิดว่าทำได้ 5 สิ่งที่ห้ามทำกับ สะดือทารก เด็ดขาด!

การทำความสะดือสำหรับทารกแรกเกิดใหม่ ๆ นั้นเป็นเรื่องที่คุณแม่มือใหม่ต้องให้ความสำคัญไม่น้อยเลยนะคะ แม้ว่าการเช็ดทำความสะดือจะไม่ส่งผลให้ลูกเจ็บ แต่ถ้า สะดือทารก ไม่สะอาดส่งผลแน่ค่ะ

นอกจากขั้นตอนการทำความ สะดือทารก ที่ควรจะจบแค่เพียงการเช็ดทำความสะอาดอย่างถูกต้อง หลังขั้นตอนนี้คุณแม่บางคนอาจไม่รู้หรือคิดไม่ถึงเผลอทำสิ่งเหล่านี้กับเจ้าตัวน้อย ซึ่งมันอาจจะส่งผลต่อทารกได้นะคะ

5 สิ่งที่ห้ามทำกับ สะดือทารก เด็ดขาด!

หลังอาบน้ำเบบี๋เสร็จแล้ว คุณพ่อคุณควรทำความสะดือทารกทุกครั้ง ด้วยการใช้สำลีหรือคอตตอนบัดชุบแอลกอฮอล์ 70% เช็ดสะดือโดยให้ดึงสายสะดือขึ้นเช็ดวนจากด้านในออกด้านนอกเพียงรอบเดียวแล้วเปลี่ยนสำลีใหม่อีกครั้ง แต่หลังจากขั้นตอนนี้ นี่คือสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรทำกับทารกนะคะ

สะดือทารก

#1 ห้ามทามหาหิงค์บนสะดือเด็กแรกเกิด

คุณแม่สามารถใช้มหาหิงค์ทาเพื่อป้องกันและระงับอาการปวดท้อง ท้องอืดในเด็กทารกได้นะคะ โดยจุดบริเวณที่ทาคือใช้สำลีชุบทาที่บริเวณหน้าท้อง รอบสะดือ ต้นขา เท้า และฝ่าเท้าของทารก แต่ข้อควรระวังคือห้ามทาลงบนสะดือเด็ก เพราะจะทำให้บริเวณสะดือเกิดความชื้นและอักเสบขึ้นได้

สะดือทารก

#2 ห้ามโรยแป้งบนสะดือเด็กแรกเกิด

เรามักจะเข้าใจว่าโรยแป้งทาตัวเพื่อช่วยให้สบายตัว แต่สำหรับการโรยแป้งในทารกนั้นเป็นสิ่งที่ห้ามทำเด็ดขาด โดยเฉพาะในทารกที่ใกล้จะสะดือหลุด สะดือเริ่ม ซึ่งอาจมีน้ำเหลืองซึม ๆ ออกมา การโรยแป้งจะไปอุดตันในสะดือ และแป้งที่โรยปนไปกับน้ำเหลืองอาจเป็นตัวกระตุ้นให้สะดือเกิดการอักเสบอย่างรุนแรง และสะดือลูกติดเชื้อขึ้นได้ค่ะ

สะดือทารก

#3 ห้ามใส่ผ้าอ้อมปิดสะดือทารก

หลังจากอาบน้ำทำความสะดือแล้ว คุณแม่ควรใส่ผ้าอ้อมให้ลูกต่ำกว่าสะดือ เพื่อป้องกันการถูกกดทับจากผ้าอ้อมจนทำให้เกิดการอับชื้น เพราะหากสะดือไม่แห้งและอับชื้น จะทำให้เกิดกลิ่นเหม็นและติดเชื้อง่าย

สะดือทารก

#4 ห้ามทาโลชั่นบนสะดือเด็กแรกเกิด

คุณแม่สามารถทาโลชั่นสำหรับเด็กแรกเกิดเพื่อบำรุงผิวให้ลูกน้อยได้ค่ะ แต่ห้ามทาโลชั่นลงบนสะดือเด็กแรกเกิด เพราะจะทำให้เกิดความอับชื้นและเกิดเชื้อราขึ้นได้

สะดือ

#5 ห้ามแคะหรือแกะสะดือเด็กแรกเกิด

โดยปกติสายสะดือของทารกแรกเกิดจะค่อย ๆ แห้งและหลุดภายใน 7-10 วัน ในระหว่างที่ยังหลุดคุณแม่ควรทำความสะดือตามปกติและปล่อยให้สายสะดือหลุดออกเองตามธรรมชาติ หลีกเลี่ยงการใช้คอตตอนบัดแคะ หรือไม่ควรไปแกะสะดือทารกแรกเกิดเป็นอันขาด เพราะอาจทำให้เลือดไหลออกมา เกิดการอักเสบขึ้นได้

เรื่องสะดือของลูก นอกจากการทำความสะอาดอย่างถูกวิธีแล้ว คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องไปกังวลอะไรลูกมากนัก พยายามทำให้สะดือลูกแห้ง ไม่ให้อับชื้น ไม่มีกลิ่น หลังสะดือหลุดก็ควรทำความสะอาดต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าสะดือจะแห้งและยุบเข้าไปเหมือนสะดือปกติทั่วไปค่ะ

"สะดือทารกแรกเกิด" จุดเล็ก ๆ ที่คุณแม่ต้องใส่ใจ ดูแลทำความสะอาดไม่ให้อับชื้น อักเสบ ติดเชื้อ

เป็นคุณแม่มือใหม่ หลาย ๆ เรื่องก็ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยาก กลัว ๆ กล้า ๆ กังวลไปเสียหมด อย่างเรื่องของการดูแลจุดเล็ก ๆ อย่างสะดือทารกก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่คุณแม่ต้องใส่ใจเลยนะคะ ถ้าปล่อยไว้ให้อับชื้น อาจทำให้ทารกไม่สบายได้จากการเกิดการอักเสบและติดเชื้อของสะดือนะคะ  มีวิธีง่าย ๆ ที่ช่วยให้คุณแม่มั่นใจในการดูแลสะดือทารกแรกเกิดได้แบบสบาย ๆ มาฝากกันค่ะ

โดยปกติแล้ว สะดือทารกแรกเกิดมักจะหลุดประมาณ 7-10 วันหลังคลอด แต่ก็มีทารกแรกเกิดจำนวนไม่น้อยนะคะ ที่สะดือเกิดการอักเสบติดเชื้อ เพราะคุณแม่มือใหม่หลายคนไม่ค่อยกล้าเช็ดสะดือทารก กลัวว่าจะทำให้ทารกเจ็บ หรือไม่กล้าให้สะดือทารกถูกน้ำ หรือซื้อยาผงต่าง ๆ มาโรยสะดือ ทั้งหมดเป็นการดูแลสะดือทารกแรกเกิดที่ไม่ถูกวิธี

คุณแม่ควรเช็ดทำความสะอาดสะดือทารกให้แห้งทุกครั้งหลังอาบน้ำทารก อย่าปล่อยให้สะดือทารกแฉะ มีน้ำขัง เพราะจะทำให้เกิดการอักเสบ ติดเชื้อ บวม แดง หรือมีหนอง และมีกลิ่นเหม็นได้ ไม่ต้องกลัวว่านะคะว่าทารกจะเจ็บ เพราะรอบสะดือทารกไม่มีประสาทรับรู้ความรู้สึก

วิธีดูแลสะดือทารกแรกเกิดที่ถูกต้อง

1. เตรียมอุปกรณ์ ได้แก่ คอตตอนบัดและน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่ทางโรงพยาบาลจัดให้ ไว้ทำความสะอาดสะดือทารกหลังอาบน้ำ
2. นำคอตตอนบัดชุบน้ำยาฆ่าเชื่อโรค เช็ดตั้งแต่โคนสะดือไปจนสุดปลายสะดือ ที่อาจจะยังแฉะอยู่ และมีน้ำเหลืองซึมเล็กน้อยให้สะอาด
3. เปลี่ยนคอตอนบัดอันใหม่แล้วเช็ดบริเวณรอบ ๆ สะดือ และปล่อยให้แห้ง เพื่อป้องกันการอับชื้น

นอกจากการทำความสะอาดสะดือทารกแรกเกิดแล้ว ก็ยังมีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้ให้สะดือทารกแรกเกิด เกิดการอับชื้น อักเสบ และติดเชื้อ คุณแม่มือใหม่ไม่ควรทำอย่างยิ่งนะคะ มาดูกันค่ะว่ามีอะไรบ้าง

สิ่งที่คุณแม่มือใหม่ห้ามทำในการดูแลสะดือทารกแรกเกิด  

1. โรยแป้งบนสะดือทารกแรกเกิด
ไม่ควรโรยแป้งลงบนสะดือเด็ดขาดนะคะ โดยเฉพาะทารกแรกเกิดในรายที่สะดือแห้งใกล้จะหลุด และอาจมีน้ำเหลืองซึม ๆ ออกมาเพราะแป้งที่โรยเมื่อไปปนกับน้ำเหลือง อาจกระตุ้นให้สะดือทารกแรกเกิดเกิดการอักเสบได้
2. ใส่ผ้าอ้อมปิดสะดือทารกแรกเกิด
การใส่ผ้าอ้อมทารกแรกเกิดที่ถูกวิธี ควรใส่ให้ขอบบนของผ้าอ้อมอยู่ต่ำกว่าสะดือ เพื่อป้องกันการปิดทับจนเกิดการอับชื้น
3. แคะหรือแกะสะดือทารกแรกเกิด
อย่างที่ได้บอกไปข้างต้นว่าสะดือทารกแรกเกิดจะค่อย ๆ แห้งและหลุดเองหลังจากผ่านไป 7-10 วัน เพราะฉะนั้นคุณแม่ห้ามแคะหรือแกะสะดือทารกแรกเกิดนะคะ เพราะอาจทำให้มีเลือดไหล เกิดการบวมแดงและอักเสบได้

การดูแลทำความสะอาดสะดือทารกแรกเกิดไม่ยากอย่างที่คิดนะคะ หลังจากที่คุณแม่พาทารกน้อยกลับบ้านแล้ว สามารถเริ่มต้นดูแลสะดือทารกแรกเกิดได้ตามวิธีที่เรานำมาฝากกันได้เลยค่ะ

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”


ที่มาจาก : happymom.in.th/th/tips/

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

ความเชื่อที่อาจไม่เคยรู้ ทำไมโบราณถึงต้องเก็บสายสะดือลูก

ทายเพศลูกจากสะดือ สะดือคว่ำ สะดือหงาย จะได้ลูกเพศไหน

parenttown

บทความจากพันธมิตร
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • อย่าเพิ่งคิดว่าทำได้ 5 สิ่งที่ห้ามทำกับ สะดือทารก เด็ดขาด!
แชร์ :
  • ลูกแรกเกิดสะดือจุ่น สะดือโป่ง คนโบราณให้ใช้เหรียญปิดสะดือเพื่อรักษา หรือหาหมอดี?

    ลูกแรกเกิดสะดือจุ่น สะดือโป่ง คนโบราณให้ใช้เหรียญปิดสะดือเพื่อรักษา หรือหาหมอดี?

  • เตือนใจพ่อแม่ ห้ามทำแบบนี้ กับสะดือทารก

    เตือนใจพ่อแม่ ห้ามทำแบบนี้ กับสะดือทารก

  • โป๊ะเช๊ะ! วิทยาศาสตร์ชี้ ผู้หญิงอายุ30 ตัวเลขนี้คือช่วงเวลาดีที่สุดของหล่อน!

    โป๊ะเช๊ะ! วิทยาศาสตร์ชี้ ผู้หญิงอายุ30 ตัวเลขนี้คือช่วงเวลาดีที่สุดของหล่อน!

  • 51 ชื่อลูกจาก นางในวรรณคดีไทย ไอเดียตั้งชื่อลูกสาว สุดไพเราะ สวยงาม

    51 ชื่อลูกจาก นางในวรรณคดีไทย ไอเดียตั้งชื่อลูกสาว สุดไพเราะ สวยงาม

app info
get app banner
  • ลูกแรกเกิดสะดือจุ่น สะดือโป่ง คนโบราณให้ใช้เหรียญปิดสะดือเพื่อรักษา หรือหาหมอดี?

    ลูกแรกเกิดสะดือจุ่น สะดือโป่ง คนโบราณให้ใช้เหรียญปิดสะดือเพื่อรักษา หรือหาหมอดี?

  • เตือนใจพ่อแม่ ห้ามทำแบบนี้ กับสะดือทารก

    เตือนใจพ่อแม่ ห้ามทำแบบนี้ กับสะดือทารก

  • โป๊ะเช๊ะ! วิทยาศาสตร์ชี้ ผู้หญิงอายุ30 ตัวเลขนี้คือช่วงเวลาดีที่สุดของหล่อน!

    โป๊ะเช๊ะ! วิทยาศาสตร์ชี้ ผู้หญิงอายุ30 ตัวเลขนี้คือช่วงเวลาดีที่สุดของหล่อน!

  • 51 ชื่อลูกจาก นางในวรรณคดีไทย ไอเดียตั้งชื่อลูกสาว สุดไพเราะ สวยงาม

    51 ชื่อลูกจาก นางในวรรณคดีไทย ไอเดียตั้งชื่อลูกสาว สุดไพเราะ สวยงาม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ