X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

สวนล้างช่องคลอด เป็นการดูแลรักษาอนามัย หรือ ก่อให้เกิดอันตราย?

บทความ 3 นาที
สวนล้างช่องคลอด เป็นการดูแลรักษาอนามัย หรือ ก่อให้เกิดอันตราย?

สาวๆ เคยได้ยินเทคนิคทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นด้วยน้ำส้มสายชูหรือเปล่าคะ มาดูกันซิว่าผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่คิดเห็นต่อการสวนล้างช่องคลอดอย่างไรบ้าง

ถ้าสังเกตดี ๆ เวลาไปซื้อผ้าอนามัยเรามักจะเจอ ‘ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและบำรุงจุดซ่อนเร้นผู้หญิง’ วางอยู่ด้วย  เอ… เราจำเป็นต้องใช้ไหมนะ ขอบอกว่าจริงๆ แล้วคุณหมอไม่แนะนำให้ใช้ค่ะ ยิ่งจะสวนล้างช่องคลอด ยิ่งต้องคิดให้ดี

 

สวนล้างช่องคลอดคืออะไร

การสวนล้างช่องคลอด คือ การฉีดพ่นน้ำผสมน้ำส้มสายชู (หรือน้ำยาสำเร็จรูปที่มีเบกกิ้งโซดากับไอโอดีนเป็นส่วนประกอบ) เข้าไปในช่องคลอดโดยใช้ขวดหรืออุปกรณ์ฉีดพ่น เพื่อให้ชำระลึกถึงจุดที่ปกติแล้วจะมีแต่ห่วงอนามัยที่เข้าไปถึงสวนล้างช่องคลอด

ข้อดีของการสวนล้างช่องคลอด

แม้ว่าคุณหมอจะไม่เห็นด้วยหรือยังไม่มีงานวิจัยยืนยัน แต่สาว ๆ หลายคนทำแล้วติดใจมากค่ะ

รีท วาฮี (นามสมมุติ) ทนายสาวในอินเดียวัย 24 ปี เล่าให้ฟังว่า “ได้ยินวิธีนี้เมื่อสองปีก่อน ตอนนี้ล้างภายในเป็นประจำอาทิตย์ละครั้ง มันดีมาก ๆ เลย ช่วยขับเหงื่อดีมาก ๆ ค่ะ”

งานวิจัยใหม่ชิ้นหนึ่งในอเมริกาสนับสนุนว่า การสวนล้างช่องคลอดมีข้อดีต่าง ๆ เช่น

  • ทำให้รู้สึกสะอาด สดชื่น
  • ขจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์จากตกขาวและประจำเดือน
  • ช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้
  • ช่วยคุมกำเนิดได้ดี
  • ลดอาการคันและบวม
  • ชำระล้างช่องคลอดได้สะอาดหมดจด
Advertisement

แต่ทำไมคุณหมอและผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทั้งหลายถึงไม่ค่อยเห็นด้วยกันนะ คลิกอ่านต่อเลยค่ะ

ข้อเสียของการสวนล้างช่องคลอด

ใจเย็นไว้ก่อนค่ะ สาว ๆ อย่าเพิ่งรีบเปิดมหกรรมสวนล้างช่องคลอดครั้งใหญ่นะคะ คุณหมอทั้งหลายต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่ควรสวนล้างใด ๆ ทั้งนั้น

นพ. มัลปานี ในมุมไบเตือนว่า “ถึงหลายคนจะบอกว่าสวนแล้วดี แต่ถ้าคุณยังอยากมีลูกอยู่ละก็ อย่าทำเลย มันจะไปเปลี่ยนค่า pH ของช่องคลอด ก็เหมือนกับพวกสารช่วยหล่อลื่นนั่นแหละ งานวิจัยพิสูจน์กันมาให้เห็นแล้วว่ามันไปลดจำนวนอสุจิและทำให้อสุจิอ่อนแอลง”

การฉีดพ่นสิ่งใด ๆ เข้าไปในจุดซ่อนเร้นโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์เป็นเรื่องอันตรายไม่น้อย ลองมาฟังกันสักนิดว่า ทำแล้วอาจเป็นอย่างไร

  • ช่องคลอดติดเชื้อ  ถ้าสวนอาทิตย์ละครั้ง จะมีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดสูงขึ้นถึง 5 เท่า
  • ระบบสืบพันธุ์เพศหญิงติดเชื้อ  แรงฉีดอาจผลักให้แบคทีเรียบริเวณช่องคลอดเข้าสู่ปากมดลูก มดลูกและรังไข่ ส่งผลให้อุ้งเชิงกรานอักเสบ สะเทือนกันทั้งยวงเลยทีเดียว
  • ครรภ์มีปัญหา  ไม่ว่าจะเริ่มสวนตอนท้องแล้ว หรือสวนเป็นประจำแล้วเกิดท้องขึ้นมา มีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาท้องนอกมดลูกหรือคลอดก่อนกำหนดมากขึ้นสวนล้างช่องคลอด
  • เพิ่มอัตราเสี่ยงติดเชื้อ HIV และโรคติดต่อทางเพศต่าง ๆ  เพราะด่านป้องกันไวรัสและแบคทีเรียตามธรรมชาติในช่องคลอดถูกทำลายไป เชื้อโรคที่ติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์จึงบุกเข้ามาระหว่างการสวนได้ง่ายขึ้น
  • จุดซ่อนเร้นอาจถลอกหรือเป็นแผลได้  ความแห้ง ระคายเคืองจากการสวนจะทำให้ส่วนที่บอบบางของผู้หญิงถลอก แดงหรือเป็นแผลง่าย
  • มีลูกยาก  การสวนบ่อย ๆ จะทำให้ช่วงล่างเสียสมดุล โอกาสปฏิสนธิสำเร็จจึงยากขึ้น
  • เสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูก  มีหลักฐานยืนยันว่าการสวนล้างช่องคลอดจะเพิ่มโอกาสเสี่ยงได้รับเชื้อมะเร็งปากมดลูกมากขึ้น

นอกจากนี้ คุณหมอยังฝากบอกอีกด้วยว่า การสวนไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ตามคำกล่าวอ้างแต่อย่างใด

นักวิทยาศาสตร์การแพทย์เน้นย้ำว่าจุดซ่อนเร้นของผู้หญิงสามารถทำความสะอาดตัวเองได้อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องยื่นมือไปช่วย เว้นแต่ว่าช่วงล่างกำลังมีปัญหาอยู่ ในกรณีนี้ใช้แค่น้ำอุ่นๆ กับสบู่สูตรอ่อนโยนก็เพียงพอแล้วล่ะ

แล้วเราควรทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นอย่างไรดีนะ มาติดตามกันต่อเลยค่ะ

วิธีทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นที่ถูกต้อง

ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ยังคงแนะนำว่าปล่อยให้ธรรมชาติดูแลดีที่สุด อวัยวะของเราสามารถสร้างเมือกมาล้างตกขาว เลือด และน้ำอสุจิได้เองอยู่แล้ว

สาวคนไหนที่ยังกังวลเรื่องกลิ่นของน้องสาว สบายใจได้ค่ะ ตามปกติแล้วน้องสาวที่สะอาดและสุขภาพดีมักมีกลิ่นอ่อน ๆ อยู่แล้ว อีกวิธีที่ช่วยให้จุดซ่อนเร้นสะอาด คือ หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำค่ะ

เรามาดูแลน้องสาวง่าย ๆ ตามนี้นะคะ

  • ระหว่างอาบน้ำ ใช้น้ำอุ่น ๆ ล้างทำความสะอาดภายนอกจุดซ่อนเร้น สาวผิวแพ้ง่ายหรือติดเชื้ออาจจะใช้สบู่สูตรอ่อนโยนก็ได้ แต่อย่าลืมปรึกษาสูตินรีแพทย์ก่อนนะคะ เพราะสบู่ที่ว่าอ่อนโยนยังอาจทำให้ผิวแห้งหรือระคายเคืองได้ค่ะ
  • อย่าหลงปลื้มกับกลิ่นหอมของผ้าอนามัย แป้ง หรือสเปรย์ต่าง ๆ เพราะส่วนที่บอบบางของเราอาจจะติดเชื้อจากผลิตภัณฑ์พวกนี้ได้ค่ะ

 

แล้วทำไมผู้หญิงถึงสวนล้างช่องคลอดกันล่ะ

คำตอบมีหลากหลายค่ะ ลองถามสาว ๆ ในอเมริกา ประเทศที่นิยมสวนล้างช่องคลอดกันอย่างแพร่หลาย สาวเชื้อสายแอฟริกาและสเปนบอกว่าแม่สอนมาอย่างนี้

ส่วนสาวฝรั่งผิวขาวบอกว่าทำตามโฆษณาโทรทัศน์ค่ะ

สาวไทยอย่างเรา ๆ ถ้าสนใจหรืออยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติม ขอแนะนำให้ปรึกษาสูตินรีแพทย์ก่อนนะคะว่าควรสวนล้างจุดซ่อนเร้นอย่างไรให้มีสุขอนามัยดี จุดเล็ก ๆ ที่ยิ่งใหญ่นี้เราต้องใส่ใจเป็นพิเศษค่ะ

 

 

ที่มา : www.theindusparent.com

บทความที่เกี่ยวข้อง : 

ข้อห้าม 7 อย่างที่คุณไม่ควรทำกับช่องคลอด

ช่องคลอดอักเสบคืออะไร?

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • สวนล้างช่องคลอด เป็นการดูแลรักษาอนามัย หรือ ก่อให้เกิดอันตราย?
แชร์ :
  • แผลปลูกฝีเป็นหนอง ต้องดูแลยังไง? ลูกมีไข้ งอแงหลังปลูกฝี ปกติไหม?

    แผลปลูกฝีเป็นหนอง ต้องดูแลยังไง? ลูกมีไข้ งอแงหลังปลูกฝี ปกติไหม?

  • 7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

    7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

  • หมอเตือน! โรคครูป ระบาดหน้าฝน สังเกตเสียงไอ-รับมือก่อนลูกแย่

    หมอเตือน! โรคครูป ระบาดหน้าฝน สังเกตเสียงไอ-รับมือก่อนลูกแย่

  • แผลปลูกฝีเป็นหนอง ต้องดูแลยังไง? ลูกมีไข้ งอแงหลังปลูกฝี ปกติไหม?

    แผลปลูกฝีเป็นหนอง ต้องดูแลยังไง? ลูกมีไข้ งอแงหลังปลูกฝี ปกติไหม?

  • 7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

    7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

  • หมอเตือน! โรคครูป ระบาดหน้าฝน สังเกตเสียงไอ-รับมือก่อนลูกแย่

    หมอเตือน! โรคครูป ระบาดหน้าฝน สังเกตเสียงไอ-รับมือก่อนลูกแย่

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว