X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

หลังคลอดใครก็อยากมาหา 6 วิธีรับมือคนมาเยี่ยม ให้แม่สบายใจ

บทความ 5 นาที
หลังคลอดใครก็อยากมาหา 6 วิธีรับมือคนมาเยี่ยม ให้แม่สบายใจ

แม่คลอดลูกเป็นเรื่องน่ายินดี! ไม่ว่าใครก็อยากมาหา มาแสดงความยินดี แต่แม่เองก็ไม่สะดวกใจ บางคนไม่สนิท แต่ปฏิเสธก็กลัวเสียน้ำใจ ทำยังไงดี

วิธีรับมือคนมาเยี่ยม ให้แม่สบายใจ

ตั้งแต่รู้ว่าตั้งครรภ์ ผู้คนรอบตัวต่างก็ตื่นเต้นและดีใจไปกับเรา ยิ่งถึงวันที่คลอดลูกออกมา ทุกคนต่างก็อยากมาแสดงความยินดี อยากมาเห็นหน้า! บ้างก็มาสอบถามความรู้สึก อยากให้แม่เล่าช่วงวันคลอด อยากรู้บรรยากาศในห้องคลอด ซึ่งแม่ก็รู้นะว่าทุกคนรักและหวังดี แต่แม่ก็เหน็ดเหนื่อยกับการคลอด แม่ก็หน้าโทรมไม่อยากต้อนรับแขกบ่อย ๆ แต่จะปฏิเสธอย่างไรกับคนที่ไม่สนิท ถ้าอย่างนั้นลองอ่าน วิธีรับมือคนมาเยี่ยม ให้แม่สบายใจ แล้วมาปรับใช้กันดีกว่า

มันคงจะดี ถ้าคุณเป็นแม่ที่มีความสุข ท่ามกลางผู้คนมากมายที่รักคุณและลูก ซึ่งอยากมาหา มาพูดคุย แสดงความเป็นห่วงเป็นใยอยู่ข้างๆ แต่มันไม่แปลกหรอกนะ ถ้าคุณกำลังเหน็ดเหนื่อยจากแรงพลังที่ทุ่มลงไปตอนคลอดลูก มันไม่ผิดปกติ ถ้าคุณอยากจะพักผ่อนและตรึกตรองถึงหน้าที่ของแม่หลังจากนี้ แต่แล้วเราจะจัดการกับคนที่มาเยี่ยมอย่างไร

อย่างแรกเลยคุณต้องปรึกษากับสามีเพื่อหาแนวทางร่วมกันเสียก่อน โดยยึดเอา 6 วิธีนี้ ไปปรับใช้กันดูนะ

 

1.ตั้งกฎการมาเยี่ยม

คุณและสามีลองปรึกษากันดูเพื่อตั้งกฎระเบียบการมาเยี่ยมให้รู้สึกสบายใจมากที่สุด เช่น หากคนที่มาเยี่ยมขออุ้มลูกคุณ คุณจะยอมหรือไม่ หรือถ้าคุณอนุญาตก็ต้องให้ล้างมือเสียก่อน และถ้าคนมาเยี่ยมอดไม่ได้ที่จะหอมลูกคุณล่ะ คุณจะทำอย่างไร นอกจากนี้ หากลูกหลานที่ไม่ทันระวัง มาแตะตัวน้องโดยที่ไม่ได้ล้างมือ คุณจะควบคุมเหตุการณ์นั้นอย่างไร

กฎการมาเยี่ยมคร่าว ๆ ที่คุณต้องบอก เพื่อนหรือญาติ ๆ ที่มาเยี่ยมก็คือ

  • ล้างมือทุกครั้งก่อนจับตัวลูก แม้ว่าจะไม่ได้อุ้มก็ตาม
  • ใส่หน้ากากอนามัย ถ้ากำลังเจ็บป่วย
  • ถ้ามีอาการไม่สบายหนัก ก็ขอให้อยู่ห่างจากลูกคุณสักหน่อย
  • หากมีลูกหลานมาด้วย ให้ดูแลอย่างดี ต้องล้างมือเสมอก่อนแตะน้อง
  • อธิบายให้ผู้มาเยี่ยมเข้าใจว่า ทำไมไม่อยากให้หอมลูก

ด้วยระบบภูมิคุ้มกัน ทารกแรกเกิด ยังไม่สมบูรณ์ ร่างกายทารกน้อย ๆ ยังไม่แข็งแรง จึงต้องระมัดระวังเรื่องความสะอาด และการติดเชื้อเป็นอย่างยิ่ง

 

2.ถ้าไม่อยากให้มาเยี่ยมตอนอยู่โรงพยาบาล คุณแม่ควรบอกไปเลย

คนมาเยี่ยมทั้งหลาย อยากจะมาเจอหน้าคุณตั้งแต่ตอนอยู่โรงพยาบาล เพื่อเป็นการแสดงความยินดี และได้มาเยี่ยมลูกของคุณไปด้วย แต่ถ้านั่น ทำให้คุณอึดอัดใจ ขอให้บอกปฏิเสธไปเลยค่ะ เพราะการเป็นแม่คนไม่ใช่เรื่องง่าย คุณมีเรื่องให้ต้องเรียนรู้อีกเยอะ ยิ่งในฐานะพ่อแม่มือใหม่ด้วยแล้วล่ะก็ มันไม่ง่ายเลย ทั้งเรื่องการเลี้ยงลูก การอาบน้ำลูก หรือแม้แต่เรื่องการให้นมแม่

สิ่งสำคัญคือ การเลี่ยงที่จะพูดจาตรงเกินไป เลือกใช้คำที่ฟังแล้วสบายหู เช่น ตอนนี้โทรมมากเลย มาเยี่ยมตอนกลับบ้านแล้วได้ไหม, ช่วงนี้ขอพักผ่อนก่อนนะ ไว้เจอกันที่บ้าน หรือ อยู่โรงพยาบาลไม่ค่อยสะดวกเลย ถ้าอยากมาเยี่ยม รอไว้ไปเจอที่บ้านนะ จะได้อยู่คุยกันนาน ๆ

 

3.พูดคุยเพื่อตกลงกับสามีให้คิดในทิศทางเดียวกัน

เวลามีคนมาเยี่ยมคุณและลูก โดยเฉพาะในโรงพยาบาล อาจจะเกิดเหตุการณ์บางอย่างที่ไม่คาดคิด ทางที่ดีคุณและสามีควรจะเตี๊ยมกันเสียก่อน เช่น เมื่อมีคนมาขออุ้มลูกคุณ แล้วคุณไม่โอเค คุณกับสามีควรจะคิดเหมือน ๆ กัน ไม่ใช่ว่า สามีอนุญาตให้อุ้ม แต่คุณกลับมองตาขวาง หรือแม้แต่เพื่อนมาเยี่ยมแต่ติดเม้าท์จนเพลิน แล้วคุณอยากพักผ่อน ก็ควรส่งสัญญาณบอกสามีให้ช่วยขอบคุณแขก เพื่อให้พวกเขากลับไปก่อน

 

4.ให้คนที่มาเยี่ยม ช่วยเป็นมือเป็นไม้ให้แม่

ลองมองอีกมุมหนึ่งว่า คนที่มาเยี่ยมแม่นั้น นอกจากจะเป็นกำลังใจให้แม่ได้แล้ว ยังสามารถเป็นมือเป็นไม้ให้แม่ได้อีกด้วย และเชื่อเถอะว่า คนเยี่ยมน่ะเต็มใจอยู่แล้ว!

เพียงแต่แม่ต้องบอกให้ช่วยในสิ่งที่อยากให้ช่วย เช่น แม่อยากเปลี่ยนผ้าอ้อมแต่ไม่อยากให้คนอื่นทำให้ ก็ขอให้ช่วยไปหยิบผ้าอ้อมมาให้ที หรืออยากทานอะไรเป็นพิเศษ ก็บอกเพื่อนสนิทให้ซื้อมาให้ หรือแม้แต่อยากกินอาหารฝีมือของญาติ ก็ลองบอกเลยค่ะ รับรองว่า การมาเยี่ยมจะกลายเป็นเรื่องราวดี ๆ ให้จดจำ แถมยังได้ของฝากที่ถูกใจแม่อีกด้วย

 

5.อย่าเพิ่งทำตัวเป็นเจ้าบ้านที่ดี

ไม่ใช่ว่าให้ขับไล่ไสส่งแขกนะคะ แต่คุณแม่เพิ่งจะผ่านการคลอดลูกมาหมาด ๆ ถ้ามีแขกมาเยี่ยมที่บ้าน ก็ต้องเข้าใจว่า คุณแม่ไม่สามารถต้อนรับขับสู้ได้อย่างเต็มที่

แม่อย่ารู้สึกผิดที่จะไม่ได้ดูแลแขกอย่างเต็มที่ เพราะคนที่มาเยี่ยมก็ต้องเข้าใจว่า แม่ต้องพักผ่อน แม่เหน็ดเหนื่อย จึงไม่อาจลุกไปเสิร์ฟน้ำญาติทุกคน ไม่สามารถดูแลเทคแคร์เพื่อน ๆ ได้เหมือนตอนร่างกายแข็งแรงเป็นปกติ แถมยังต้องวิ่งไปอุ้มลูกทุกครั้งที่ร้อง เตรียมตัวให้นมแม่ยามลูกหิวอีกด้วย

 

6.ห่วงลูก รักสะอาด ไม่ใช่เรื่องผิด

เอาที่แม่สบายใจ นั่นคือสิ่งที่สำคัญที่สุดที่อยากบอก หากอยากให้เพื่อนดูแลความสะอาดก่อนมาอุ้มลูกก็บอกได้เลย ถ้ารู้สึกว่าเพื่อนป่วยก็ขอให้เพื่อนใส่หน้ากากอนามัย (มาส์ก) เพื่อให้อุ่นใจ หรือถ้าเพื่อนคนไหนป่วยมากแต่อยากมาเจอหน้า ก็ขอเขาว่า รอให้หายป่วยก่อนดีกว่านะ เพราะความสบายใจของแม่สำคัญที่สุด และมันไม่คุ้มที่จะเสี่ยงกับเชื้อโรคเลยสักนิดเดียว

อย่างที่บอกไปว่า ทารกแรกเกิดร่างกายยังไม่แข็งแรง การสร้างภูมิคุ้มกันยังไม่สมบูรณ์ ถ้าเจอเชื้อโรคนิดหน่อยจากผู้ใหญ่ ก็สามารถสร้างอันตรายถึงเสียชีวิตได้ง่าย ๆ ก่อนจะให้ใครมาอุ้มลูก อย่างน้อยก็ต้องล้างมือเสียก่อน ถ้าใครบ่นว่าคุณกลัวเกินเหตุ ก็ไม่ต้องใส่ใจ เพราะหน้าที่ของแม่คือ ดูแลลูกให้ดีที่สุด ปลอดภัยที่สุด

 

สุดท้ายนี้ ถ้ามีใครมาว่า มาบ่น กับพฤติกรรมของคุณว่า รักสะอาด เกินไป อย่าใส่ใจนะคะ เพราะเด็กทารก โดยเฉพาะทารกแรกเกิดนั้น รับเชื้อโรคได้ง่ายมาก การพูดคุยกับเพื่อนหรือคนในครอบครัวเพื่อปรับความเข้าใจ ยอมง่ายกว่าต้องมาทนเห็นลูกเจ็บป่วยอย่างแน่นอนค่ะ

 

ที่มา : babyology.com.au

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

บทความจากพันธมิตร
เด็กสมาธิสั้น ดื้อ ซน อารมณ์รุนแรง มีโอกาสรักษาหายไหม?
เด็กสมาธิสั้น ดื้อ ซน อารมณ์รุนแรง มีโอกาสรักษาหายไหม?
เด็กดื้อ เด็กซน ใช่อาการเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ โรคสมาธิสั้น คืออะไร ทำไมต้องรีบพาลูกไปรักษา
เด็กดื้อ เด็กซน ใช่อาการเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ โรคสมาธิสั้น คืออะไร ทำไมต้องรีบพาลูกไปรักษา
รวม 5 ที่เรียนภาษาอังกฤษระดับแนวหน้า ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย พร้อมเทคนิคเรียนดีที่ไม่ควรพลาด!
รวม 5 ที่เรียนภาษาอังกฤษระดับแนวหน้า ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย พร้อมเทคนิคเรียนดีที่ไม่ควรพลาด!
เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ Home School
เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ Home School

คัมภีร์ดูแลทารก เด็กแรกเกิดต้องดูแลแบบนี้นะ

แม่จ๋าอย่าเพิ่งตกกะใจ! 10 อาการของทารกแรกเกิด เป็นได้ ไม่นานก็หาย

ลูกโดนหอม เห่ออุ้ม จนติดเชื้อ RSV เชื้อร้ายที่เบบี๋ต้องระวังและแม่ห้ามมองข้าม

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • หลังคลอดใครก็อยากมาหา 6 วิธีรับมือคนมาเยี่ยม ให้แม่สบายใจ
แชร์ :
  • เมนูผักแม่หลังคลอด สูตรอาหารเมนูผักสำหรับคุณแม่หลังคลอดพร้อมประโยชน์

    เมนูผักแม่หลังคลอด สูตรอาหารเมนูผักสำหรับคุณแม่หลังคลอดพร้อมประโยชน์

  • รวมแม่ลูกคนดัง ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น สวยหล่อเป็นไอดอลเหมือนแม่

    รวมแม่ลูกคนดัง ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น สวยหล่อเป็นไอดอลเหมือนแม่

  • วิธีทำความสะอาดอวัยวะเพศลูกสาว แม่เตือน! เช็ดอวัยวะเพศลูกสาวให้สะอาด ระวังติดเชื้อ

    วิธีทำความสะอาดอวัยวะเพศลูกสาว แม่เตือน! เช็ดอวัยวะเพศลูกสาวให้สะอาด ระวังติดเชื้อ

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • เมนูผักแม่หลังคลอด สูตรอาหารเมนูผักสำหรับคุณแม่หลังคลอดพร้อมประโยชน์

    เมนูผักแม่หลังคลอด สูตรอาหารเมนูผักสำหรับคุณแม่หลังคลอดพร้อมประโยชน์

  • รวมแม่ลูกคนดัง ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น สวยหล่อเป็นไอดอลเหมือนแม่

    รวมแม่ลูกคนดัง ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น สวยหล่อเป็นไอดอลเหมือนแม่

  • วิธีทำความสะอาดอวัยวะเพศลูกสาว แม่เตือน! เช็ดอวัยวะเพศลูกสาวให้สะอาด ระวังติดเชื้อ

    วิธีทำความสะอาดอวัยวะเพศลูกสาว แม่เตือน! เช็ดอวัยวะเพศลูกสาวให้สะอาด ระวังติดเชื้อ

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ