X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วิธีฝึกลูกนอนคว่ำ เสริมพัฒนาการด้วยการใช้หน้าท้อง ต้องทำแบบนี้ถึงจะถูก

บทความ 3 นาที
วิธีฝึกลูกนอนคว่ำ เสริมพัฒนาการด้วยการใช้หน้าท้อง ต้องทำแบบนี้ถึงจะถูก

การฝึกลูกนอนคว่ำ หรือ Tummy Time จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการให้กับทารกได้เป็นอย่างมาก ว่าแต่ Tummy Time คืออะไร แล้วมันดีอย่างไร ?

วิธีฝึกลูกนอนคว่ำ หรือ Tummy Time เสริมพัฒนาการด้วยการใช้หน้าท้อง

ดร.เวนดี้ วอลเลซ กุมารแพทย์จาก The Children’s Hospital of Philadelphia Care Network ให้คำแนะนำเรื่อง วิธีฝึกลูกนอนคว่ำ ว่า “การให้ลูกนอนคว่ำ หรือ Tummy Time ในขณะที่มีผู้ใหญ่คอยดูแลอยู่ข้าง ๆ จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้ลูกได้”

การที่ลูกนอนหงายอยู่ตลอดเวลา ไม่ได้เพียงแต่จะทำให้เจ้าตัวน้อยหัวไม่แบนเท่านั้น แต่ยังทำให้ศีรษะของทารก รวมไปถึงคอ และกล้ามเนื้อช่วงหัวไหล่ ไม่ได้ขยับออกกำลังอย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งการให้ลูกนอนคว่ำ หรือ Tummy Time จะช่วยแก้ปัญหาตรงจุดนี้ได้

และเมื่อทารกนอนคว่ำ เขาก็จะแหงนหน้า ขยับศีรษะไปมา โดยการมองไปทางซ้ายบ้าง ขวาบ้าง แถมยังเป็นการช่วยให้คอ ไหล่ และลำตัวมีการเคลื่อนไหวที่ดี และแข็งแรงขึ้น ในขณะเดียวกัน กล้ามเนื้อตาของทารกก็จะแข็งแรงขึ้นจากการที่ลูกกรอกตามองไปมาในระหว่างที่นอนคว่ำอีกด้วย

วิธีฝึกลูกนอนคว่ำ หรือ Tummy Time

วิธีฝึกลูกนอนคว่ำ หรือ Tummy Time

วิธีฝึกลูกนอนคว่ำ

ดร.เวนดี้ วอลเลซ กล่าวว่า “ช่วง Tummy Time เป็นช่วงที่ดีที่สุดที่จะได้เล่น และมีปฏิสัมพันธ์กับลูกน้อย” นอกจากนี้ คุณหมอยังได้กล่าวต่อไปอีกว่า คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มต้น Tummy Time ได้ทันทีที่กลับมาจากโรงพยาบาลหลังคลอด โดยในช่วงแรกให้ตั้งเป้าไว้เพียงระยะสั้น ๆ (3 ถึง 5 นาที) 2 หรือ 3 ครั้งต่อวัน จนเมื่อลูกน้อยโตและแข็งแรงขึ้น คุณพ่อคุณแม่จึงสามารถเพิ่มระยะเวลาขึ้น รวม ๆ แล้วประมาณ 40 ถึง 60 นาที สําหรับ Tummy Time ในทุก ๆ วัน

วิธีฝึกลูกนอนคว่ำ หรือ Tummy Time ก็ง่าย ๆ เริ่มจากปูผ้าห่มสะอาด ๆ บนพื้น หรือให้นอนคว่ำบนที่นอนลูกก็ได้ จากนั้นก็จับลูกน้อยนอนคว่ำหน้า แต่ที่สำคัญ เพื่อความปลอดภัย คุณพ่อคุณแม่ควรจับลูกนอนควํ่าในขณะที่ลูกน้อยตื่นอยู่ และมีคุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ดูแลคนอื่นอยู่ข้าง ๆ ช่วยดูลูกอย่างใกล้ชิด โดยเคล็ดลับฝึกลูกนอนคว่ำมีดังนี้

  1. หาพื้นที่ปลอดภัยสำหรับลูก และไม่ปล่อยให้เด็กอยู่คนเดียวอย่างเด็ดขาด เพราะแม้แต่พื้นที่ ๆ มีพื้นผิวเรียบ ก็อาจเกิดอันตรายได้
  2. เริ่มจากการหัดคว่ำบนตัวแม่กันก่อน เป็นวิธีที่จะได้ใกล้ชิดกับลูก ได้มองหน้ากันแบบชัด ๆ ซึ่งนั่นจะช่วยให้ลูกมีสุขภาพจิตที่ดีอีกด้วย
  3. หาของเล่นไว้ใกล้ตัว ของเล่นนี่แหละจะเป็นตัวช่วยกระตุ้นให้ลูกได้เคลื่อนไหว โดยลูกจะอยากหยอบของเล่น ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นให้กล้ามเนื้อมีการออกแรง
  4. ทำให้ถูกเวลา แนะนำให้ทำตอนเช้าหลังลูกตื่นนอน หรือไม่ก็หลังเสร็จ เพราะเป็นเวลาที่ลูกสบายตัวที่สุด
วิธีฝึกลูกนอนคว่ำ หรือ Tummy Time

วิธีฝึกลูกนอนคว่ำหรือ Tummy Time

ลูกไม่ยอมนอนคว่ำ ไม่ชอบ Tummy Time ทำอย่างไรดี

เด็กหลายคนชอบนอนคว่ำ ในขณะที่เด็กอีกหลายคนก็อาจจะไม่ชอบ ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องปกติ คุณพ่อคุณแม่ต้องพยายามต่อไป หากลูกไม่ชอบหรือไม่ยอมนอนคว่ำ ก็ให้ลองทำตามวิธีดังนี้ดูนะครับ

  1. ค่อยเป็นค่อยไป ในช่วงแรก ๆ นั้น เด็กบางคนอาจจะนอนคว่ำได้ไม่นาน ซึ่งนั่นก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติครับ
  2. ขยับไปอยู่ระดับเดียวกับลูกน้อย “การนอนคว่ำครั้งแรกอาจเป็นเรื่องน่ากลัวสำหรับลูกน้อย เพราะมันเป็นสิ่งใหม่ที่ลูกน้อยไม่เคยทำมาก่อน” ดร.วอลเลซกล่าว “ลองนอนนลงบนพื้นแล้วเงยหน้ามาสบตากับลูกดูสิ แล้วลูกจะรู้สึกมั่นใจขึ้น”
  3. ใช้กระจกเงา บางครั้งลูกน้อยอาจจะชอบยกศีรษะขึ้นมาดูภาพสะท้อนของตัวเองเหมือนกันนะ
  4. จับลูกนอนบนท้องหรือหน้าอก ดร.วอลเลซบอกว่าเด็กแรกเกิดมักจะชอบนอนบนตัวคุณพ่อคุณแม่ และแหงนหน้าขึ้นมามองหน้าคุณพ่อคุณแม่
  5. ให้พี่มีส่วนร่วม หากเจ้าตัวเล็กมีพี่ชายหรือพี่สาว ลองให้พี่ ๆ นอนราบไปกับพื้น แล้วเล่นกับเจ้าตัวน้อยดูสิ แต่ในระหว่างนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยดูอยู่อย่างใกล้ชิดนะ
  6. ให้ลูกนอนคว่ำไปพร้อมกับทำกิจกรรมอื่นๆ ลองจับลูกนอนคว่ำตอนที่คุณเช็ดตัวให้เจ้าตัวน้อยหลังอาบน้ำ ทาโลชั่น หรือจับลูกเรอบนตัก
  7. ร้องเพลง หรือเล่านิทาน ตอนจับลูกคว่ำ ลูกน้อยอาจจะยกหัวขึ้นมาตอนที่ได้ยินเสียงคุณ หากลูกเงยหน้าขึ้นมาก็อย่าลืมจ้องตาเขาด้วยนะ
  8. หาตัวช่วยพยุง หาหมอนใบเล็ก ๆ หรือเอาผ้าห่มมาม้วนแล้ววางไว้ใต้หน้าอกของเจ้าตัวน้อย แล้วยืดแขนของลูกออกไปด้านหน้าเหรือหมอน หรือผ้าก่มที่ม้วนไว้ แต่ต้องคอยระวังไม่ให้คาง ปาก และจมูกอยู่ติดกับหมอนข้างนะครับ เพราะบางครั้ง หากลูกยังคอไม่แข็งเต็มที่ก็อาจจะฟุบลงไปทำให้หายใจไม่ออกได้

ที่มา webmd.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เล่นอย่างไร ให้ลูกหัวไว ในช่วงขวบปีแรก

7 ของเล่นยอดแย่ ที่พ่อแม่ไม่ควรซื้อให้ลูก

ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

บทความจากพันธมิตร
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • วิธีฝึกลูกนอนคว่ำ เสริมพัฒนาการด้วยการใช้หน้าท้อง ต้องทำแบบนี้ถึงจะถูก
แชร์ :
  • 5 เคล็ดลับการฝึกลูกนอนคว่ำเพื่อพัฒนาการที่ดี

    5 เคล็ดลับการฝึกลูกนอนคว่ำเพื่อพัฒนาการที่ดี

  • เมื่อไหร่ควรลงโทษลูกแบบ time in หรือ time out

    เมื่อไหร่ควรลงโทษลูกแบบ time in หรือ time out

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • 5 เคล็ดลับการฝึกลูกนอนคว่ำเพื่อพัฒนาการที่ดี

    5 เคล็ดลับการฝึกลูกนอนคว่ำเพื่อพัฒนาการที่ดี

  • เมื่อไหร่ควรลงโทษลูกแบบ time in หรือ time out

    เมื่อไหร่ควรลงโทษลูกแบบ time in หรือ time out

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ