theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • Project Sidekicks
    • การตั้งครรภ์
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • การสูญเสียทารก
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • สุขภาพ
    • อาการป่วย
    • วัคซีน
    • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ความปลอดภัย
    • มุมคุณพ่อ
  • การศึกษา
    • ข่าวการศึกษา
    • คลีนิกพัฒนาการ
    • เตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน
    • โรงเรียนอนุบาล
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • งานบ้าน
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ดวงและราศี
    • ดารา-แฟชั่น
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ฟิตเนส
    • อีเว้นท์
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง

วิธีบีบน้ำนมแม่ด้วยมือ ช่วยเก็บน้ำนมสำรองแบบแสนง่าย ให้ลูกพอกินไปตลอด

บทความ 3 นาที
แชร์ :
•••
วิธีบีบน้ำนมแม่ด้วยมือ ช่วยเก็บน้ำนมสำรองแบบแสนง่าย ให้ลูกพอกินไปตลอด

เรามาดูกันดีกว่าว่าแต่ละขั้นตอนของการบีบน้ำนมแม่จากเต้าด้วยมือนั้นมีอะไรบ้าง

วิธีบีบน้ำนมแม่ด้วยมือ

สำหรับ วิธีบีบน้ำนมแม่ด้วยมือ นั้นเป็นวิธีการที่ง่าย สะดวก และปลอดภัย โดยวิธีการนี้จะเป็นการเลียนแบบการดูดนมของลูก คุณแม่อาจใช้เวลาลองทำเพียงไม่นานก็คล่องแล้ว และถ้าทำอย่างถูกต้อง ถูกวิธี ก็จะทำให้เต้านมไม่เจ็บ และไม่ช้ำครับ

วิธีบีบน้ำนมแม่ด้วยมือ แต่ละขั้นตอนทำอย่างไร

1. เตรียมถุงเก็บน้ำนม หรือภาชนะใส่น้ำนมที่ผ่านการล้างและต้มในน้ำเดือดเพื่อฆ่าเชื้อโรค และควรเป็นขวดปากกว้างหรือถ้วยที่ทำจากแก้วหรือพลาสติกแข็ง ไม่ควรใช้ภาชนะโลหะ เนื่องจากเม็ดเลือดขาวที่อยู่ในน้ำนมจะเกาะภาชนะ ทำให้ภูมิต้านทานที่ลูกน้อยจะได้รับนั้นมีปริมาณลดต่ำลง

2. ทำจิตใจให้สบายเพื่อให้รู้สึกผ่อนคลาย พยายามอยู่ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก วางภาชนะหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ไว้ใกล้ ๆ มือ

3. ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ ก่อนทำการบีบน้ำนม

4. ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบเต้านมประมาณ 1 – 3 นาทีก่อนที่จะทำการบีบน้ำนม

5. นวดเต้านมและคลึงเต้านมเบา ๆ ให้เป็นลักษณะวงกลม โดยเริ่มจากฐานเต้านมเข้าหาหัวนม จากนั้นค่อย ๆใช้นิ้วดึงหัวนม และคลึงเบา ๆ เพื่อช่วยกระตุ้นการหลั่งของน้ำนม

6. วางปลายนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ให้ห่างออกจากขอบของลานนมเล็กน้อย ในตำแหน่งที่ตรงข้ามกัน โดยจะมีลักษณะเป็นรูปตัว C และวางให้นิ้วห่างจากหัวนมประมาณ 3 – 4 เซนติเมตร แล้วกดนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้เข้าหาผนังหน้าอก

วิธีบีบน้ำนมแม่ด้วยมือ

วิธีการบีบน้ำนมแม่ด้วยมือ

7. บีบนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้เข้าหากันเบาๆลึกลงไปด้านหลังของลานนมแล้วปล่อยมือออกให้เป็นจังหวะ โดยการบีบจะเป็นการเลียนแบบลักษณะการดูดนมของลูก แต่อย่าบีบแต่ตรงปลายหัวนม และไม่ควรรีดคั้นเต้านม กดหัวนม หรือดึงหัวนมนะครับ เพราะนั่นไม่ได้ช่วยให้น้ำนมไหลออกมามากขึ้น แต่อาจจะทำให้คุณแม่เจ็บหัวนมหรืออาจทำให้หัวนมอักเสบได้ครับ

8. ค่อยๆทำตามข้อ 7 ซ้ำ ๆ โดยคุณแม่ต้องใจเย็น ๆ เพราะน้ำนมอาจจะยังไม่ไหลออกมาเลยทีเดียว ซึ่งบางครั้งอาจจะต้องทำไปถึง 1 หรือ 2 นาที กว่าน้ำนมจะไหล

9. หากรู้สึกว่าน้ำนมเริ่มน้อยลง ให้เปลี่ยนตำแหน่งของนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ที่กดลานนมไปรอบๆ ให้ทั่ว แล้วค่อย ๆ บีบน้ำนมออกมา

วิธีบีบน้ำนมแม่ด้วยมือ

วิธีการบีบน้ำนมแม่ด้วยมือ

10. เปลี่ยนไปนวดคลึง และบีบน้ำนมออกจากเต้านมอีกข้าง โดยปกติแล้ว จะใช้เวลาในการบีบน้ำนมข้างละประมาณ 5 – 10 นาที และหากคุณแม่มีอาการเมื่อยนิ้วมือ ก็สามารถลองเปลี่ยนมาใช้นิ้วมืออีกข้างได้ครับ

11. คุณแม่ควรบีบน้ำนมสลับกันไปมาทั้ง 2 ข้าง จนกว่าจะรู้สึกว่าเต้านมนิ่มลง และรู้สึกว่าไม่มีน้ำนมแล้ว หรือจนกว่าจะได้น้ำนมตามปริมาณที่ต้องการ ซึ่งจะใช้ระยะเวลาทั้งหมดประมาณ 20 – 30 นาทีครับ

อย่างไรก็ตาม เต้านมของแต่ละคนนั้น จะมีลักษณะรูปร่างที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นคุณควรลองขยับตำแหน่งของนิ้วมือตอนบีบนม แล้วดูว่าจุดไหนเหมาะสมที่สุด

ที่สำคัญคือ ในการบีบน้ำนมแม่ด้วยมือนั้น ต้องทำอย่างนุ่มนวล และถูกวิธี จึงจะทำให้ไม่เจ็บ และมีน้ำนมออกมามากพอ เพราะปริมาณน้ำนมของคุณแม่นั้นจะมาก หรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับการบีบกระตุ้นเต้านมโดยตรง ซึ่งคุณแม่ควรทำอย่างน้อยทุก 3 ชั่วโมง จึงจะได้ผลดีที่สุดนะครับ

วิธีบีบน้ำนมแม่ด้วยมือ ช่วยเก็บน้ำนมสำรองแบบแสนง่าย ให้ลูกพอกินไปตลอด

ไม่ต้องง้อเครื่อง เราก็สามารถบีบน้ำนมแม่เก็บสำรองให้ลูกได้อิ่มท้องเต็มที่ด้วยวิธีบีบนมนี้ แต่นอกจากวิธีบีบนมที่ถูกต้องแล้ว ยังมีเคล็ดลับในการเพิ่มและเก็บน้ำนมแม่อีกมากมาย ที่เราอยากแบ่งปันให้คุณแม่รู้ที่ คลับคุณแม่น้ำนมน้อย Community ที่คุณแม่และผู้เชี่ยวชาญจะร่วมแบ่งปันความรู้ดี ๆ เพื่อช่วยเหลือและตอบข้อสงสัยของคุณแม่ที่มีปัญหาน้ำนมไม่เพียงพอค่ะ


ที่มา thaibreastfeeding.org, babycentre.co.uk, approvetrial.org.au

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

แม่กินเผ็ด น้ำนมจะเผ็ดด้วยไหม

กลไกการดูดนมของลูก ที่จะทำให้คุณเข้าใจ ว่าทำไมลูกต้องดูดถึงลานนม

วิธีแก้ปัญหาลูกไม่เอาเต้า แบบแสนง่าย สำหรับคุณแม่ให้นม

parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • วิธีบีบน้ำนมแม่ด้วยมือ ช่วยเก็บน้ำนมสำรองแบบแสนง่าย ให้ลูกพอกินไปตลอด
แชร์ :
•••
  • ฝากเตือน! การเก็บน้ำนมแม่ ถ้าเก็บแบบนี้ ลูกก็แย่ได้เหมือนกัน

    ฝากเตือน! การเก็บน้ำนมแม่ ถ้าเก็บแบบนี้ ลูกก็แย่ได้เหมือนกัน

  • วิธีเก็บน้ำนมแม่ เก็บแบบไหนไม่ให้บูด ไม่เสียคุณค่า และเก็บได้ยาวนานที่สุด

    วิธีเก็บน้ำนมแม่ เก็บแบบไหนไม่ให้บูด ไม่เสียคุณค่า และเก็บได้ยาวนานที่สุด

  • แจกตารางอาหาร สำหรับทารกแรกเกิด - 5 ขวบ ลูกน้อยควรกินเท่าไหร่ใน 1 วัน

    แจกตารางอาหาร สำหรับทารกแรกเกิด - 5 ขวบ ลูกน้อยควรกินเท่าไหร่ใน 1 วัน

  • เงินอุดหนุนบุตร 2564 ลงทะเบียนยังไง ใช้เอกสารอะไร เงินเข้าเมื่อไหร่มาดูกัน

    เงินอุดหนุนบุตร 2564 ลงทะเบียนยังไง ใช้เอกสารอะไร เงินเข้าเมื่อไหร่มาดูกัน

app info
get app banner
  • ฝากเตือน! การเก็บน้ำนมแม่ ถ้าเก็บแบบนี้ ลูกก็แย่ได้เหมือนกัน

    ฝากเตือน! การเก็บน้ำนมแม่ ถ้าเก็บแบบนี้ ลูกก็แย่ได้เหมือนกัน

  • วิธีเก็บน้ำนมแม่ เก็บแบบไหนไม่ให้บูด ไม่เสียคุณค่า และเก็บได้ยาวนานที่สุด

    วิธีเก็บน้ำนมแม่ เก็บแบบไหนไม่ให้บูด ไม่เสียคุณค่า และเก็บได้ยาวนานที่สุด

  • แจกตารางอาหาร สำหรับทารกแรกเกิด - 5 ขวบ ลูกน้อยควรกินเท่าไหร่ใน 1 วัน

    แจกตารางอาหาร สำหรับทารกแรกเกิด - 5 ขวบ ลูกน้อยควรกินเท่าไหร่ใน 1 วัน

  • เงินอุดหนุนบุตร 2564 ลงทะเบียนยังไง ใช้เอกสารอะไร เงินเข้าเมื่อไหร่มาดูกัน

    เงินอุดหนุนบุตร 2564 ลงทะเบียนยังไง ใช้เอกสารอะไร เงินเข้าเมื่อไหร่มาดูกัน

  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การตั้งชื่อลูก
    • โภชนาการระหว่างตั้งครรภ์​
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • เซ็กส์และความสัมพันธ์
  • การตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • นมแม่และนมผง
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • ดวงและราศี
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ดารา-แฟชั่น
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore
  • Thailand
  • Indonesia
  • Philippines
  • Malaysia
  • Sri Lanka
  • India
  • Vietnam
  • Australia
  • Japan
  • Nigeria
  • Kenya
พันธมิตรของเรา
Mama's Choice Partner Brand Logo
© Copyright theAsianparent 2021. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้
  • สังคมออนไลน์
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
  • สุขภาพ

ดาวน์โหลดแอปของเรา

google play store
Appstore
  • ติดต่อโฆษณา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทีม
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดการใช้
  • มาเข้าร่วมกับเรา
เปิดในแอป