X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วัคซีนไม่ฉีดได้ไหม ลืมพาลูกไปฉีดวัคซีนจะเป็นอะไรหรือเปล่า ลูกฉีดช้าได้กี่วัน?

บทความ 5 นาที
วัคซีนไม่ฉีดได้ไหม ลืมพาลูกไปฉีดวัคซีนจะเป็นอะไรหรือเปล่า ลูกฉีดช้าได้กี่วัน?

วัคซีนไม่ฉีดได้ไหม ทำไมทารกต้องฉีดวัคซีน ถ้าเลยกำหนดฉีดวัคซีนแล้วควรทำอย่างไร ต้องเริ่มต้นฉีดใหม่ไหม ฉีดช้าจะส่งผลอะไรถึงลูกน้อยหรือเปล่า?

วัคซีนไม่ฉีดได้ไหม?

การฉีดวัคซีน เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันการติดต่อโรคร้ายแรงของทารก ในวัคซีนมักจะผลิตจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย หรือส่วนประกอบอื่นๆ ซึ่งมันจะช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคนั้นเอง หากถามว่า วัคซีนไม่ฉีดได้ไหม จำเป็นต้องพาลูกไปฉีดหรือเปล่า กลัวลูกจะเป็นอันตราย

คุณหมอ Dr. Neal Halsey กุมารแพทย์และผู้อำนวยการประจำสถาบันเพื่อความปลอดภัยทางวัคซีนแห่งมหาวิทยาลัย Johns Hopkins ในบัลติมอร์ ให้ความเห็นว่า มันเหมือนการที่เราคิดว่าการนั่งเครื่องบินน่ากลัว ทั้งที่จริงแล้วนั่งรถยนต์ยังมีโอกาสได้รับอันตรายมากกว่าเสียอีก วัคซีนก็เป็นแบบนั้น มันอาจจะมาพร้อมผลข้างเคียงหลายอย่าง เช่น เป็นไข้ ผื่นคัน ตัวบวม แต่ผลข้างเคียงอย่างการแพ้วัคซีนขั้นรุนแรงจริงๆ นั้น มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก

 

 

ประเภทของวัคซีน

  1. วัคซีนที่กระทรวงสาธารณสุขออกค่าใช้จ่ายให้ 
    • วัณโรค (BCG ) ฉีด 1 ครั้ง (อายุแรกเกิด)
    • ตับอักเสบ-บี (HBV) ฉีด 3 ครั้ง (อายุแรกเกิด 2 เดือน และ 6 เดือน)
    • ไอกรน-คอตีบ-บาดทะยัก ฉีด 5 ครั้ง (DPT) (อายุ 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือน 18 เดือน และ 4 – 6 ขวบ)
    • โปลิโอ (OPV ) หยอดรับประทาน 5 ครั้ง (อายุ 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือน 18 เดือน และ 4 – 6 ขวบ)
    • หัด หัดเยอรมัน คางทูม (MMR) ฉีด 2 ครั้ง (อายุ 9 เดือน และ 6 ปี)
    • ไข้สมองอักเสบญี่ปุ่น (JE) ฉีด 3 ครั้ง (อายุ 18 เดือน 19 เดือน และ 30 เดือน)
  2. วัคซีนที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย (วัคซีนเสริม ไม่จำเป็นต้องฉีดทุกคน)
    1. เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ฮิบ ฉีด 2 – 3 ครั้ง ขึ้นอยู่กับใช้ผลิตภัณฑ์ใด (อายุ 2 เดือน 4 เดือน และ 6 เดือน ถ้าอายุเกิน 4 ขวบแล้ว ไม่เสี่ยงต่อโรคนี้)
    2. ตับอักเสบ-เอ ฉีด 2 ครั้ง (อายุ 1 ขวบ ขึ้นไป และอีก 6 – 12 เดือนจากนั้น)
    3. อีสุกอีใส ฉีด 1 – 2 ครั้ง (อายุ 1 ขวบขึ้นไป และอีกครั้งหลังเข็มแรก 4 – 8 สัปดาห์)
    4. ไข้หวัดใหญ่ ฉีด 1 ครั้ง ทุกปี (อายุ 6 เดือน – 9 ขวบครั้งแรกฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 4 สัปดาห์ หลังจากนั้นฉีด 1 ครั้ง ทุกปี)
    5. นิวโมคอคคัส 23 ชนิด ฉีด 2 ครั้ง (อายุมากกว่า 2ขวบ และซ้ำอีกตอนอายุ 5 ขวบ)
    6. นิวโมคอคคัส 7 ชนิด ฉีด 3 – 4 ครั้ง (อายุ 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือนและ 12-15 เดือน)
    7. ท้องร่วงโรต้า หยอดรับประทาน 2-3 ครั้ง ขึ้นอยู่กับใช้ผลิตภัณฑ์ใด (เมื่ออายุ 2 เดือน 4 เดือน และ 6 เดือน)
วัคซีนไม่ฉีดได้ไหม

รับวัคซีน

Advertisement

สาเหตุที่ควรพาลูกฉีดวัคซีน

จุดประสงค์ในการฉีดวัคซีนนั้นเพื่อป้องกันโรคติดต่อร้ายแรง ขัดขวางการแพร่ระบาด และลดผลกระทบที่ร้ายแรงของโรคติดต่อ โรคในเด็กหลายโรค เช่น หัด คอตีบ ไอกรน และโปลิโอ ถือว่าเป็นโรคที่ระบาด จึงจำเป็นต้องฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันตัวของเด็กเอง และไม่ให้เกิดการติดต่อไปยังเด็กคนอื่นด้วยค่ะ แต่บางครั้งคุณหมอก็ไม่สามารถให้วัคซีนกับเด็กได้ค่ะ

ทำไมเด็กบางคนถึงฉีดวัคซีนไม่ได้

การฉีดวัคซีนเป็นการช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็ก แต่มีบางกรณีที่คุณหมอไม่แนะนำให้ฉีด หากลูกของคุณม่ปัญหา ดังต่อไปนี้

  1. เด็กป่วยหรือว่ามีใข้ (ปกติจะต้องรอให้เด็กหายดีแล้วจึงจะฉีดวัคซีนให้ได้)
  2. เด็กได้รับอาการข้างเคียง หรือผลกระทบที่เกี่ยวกับวัคซีนที่ได้รับก่อนหน้านี้
  3. เด็กได้รับอาการแพ้อย่างรุนแรงหลังจากรับประทานไข่ (ลักษณะอาการ คือ ปากและลำ คอบวม ช็อก หายใจติดขัด หรือ ผื่นขึ้นตามลำ ตัว)
  4. เด็กต้องกินยาบางประเภท โดยเฉพาะยาสเตรอยด์
  5. เด็กมีโรคประจำตัวร้ายแรง เช่น โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง มะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือ โรคเรื้อรังที่ต้องใช้การบำบัดรักษาเป็นเวลานาน เช่น การฉายรังสี เคมีบำบัด
  6. มีประวัติการตอบสนองอย่างรุนแรงกับยาปฏิชีวนะ หรือสารใดๆ

ถ้าลูกฉีดยาแล้วเป็นไข้ ควรทำอย่างไร

ทานยาลดไข้ตามที่คุณหมอสั่ง ซึ่งโดยปกติคุณหมอจะจ่ายยาพาราเวตามอน โดยที่จะให้เด็กทานยาทุกๆ 4-6 ชั่วโมง หรือตามความจำ แต่ถ้าลูกน้อยของคุณไข้ไม่ลดนานกว่าหนึ่งวัน หรือว่ามีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ร้องไห้ผิดปกติหรือมีอาการชัก ควรรีบพาไปพบแพทย์โดยด่วน

ลืมพาลูกไปฉีดวัคซีน พาลูกไปฉีดช้าเป็นอะไรไหม

กรณีที่พ่อแม่ลืมวันฉีดวัคซีนลูก คุณแม่สามารถไปฉีดย้อนหลังได้คะ การฉีดช้าไม่ได้ทำให้ภูมิคุ้มกันลูกน้อยลงแต่อย่างใด หรือหากลูกไม่ได้วัคซีนตามกำหนดนัด เช่น วัคซีนบางตัวต้องฉีด 2 ครั้ง แต่พ่อแม่ลืมพามา ยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มที่สอง ก็ให้พามารับได้เลย โดยไม่ต้องเริ่มตั้งต้นฉีดเข็มที่ 1 ใหม่อีกค่ะ  และควรพาลูกไปรับการฉีดวัคซีนให้เร็วที่สุดที่ทำได้

วัคซีนไม่ฉีดได้ไหม

วัคซีนไม่ฉีดได้ไหม

อาการข้างเคียงของการฉีดวัคซีนแต่ละประเภท

1.วัคซีนป้องกันโรคไอกรน คอตีบ บาดทะยัก เยื่อหุ้มสมองอัก เสบชนิดบี และโปลิโอ

อาการข้างเคียง: ส่วนมากแล้วมีอาการไม่ร้ายแรง และจะหายไปเองในสองถึงสามวัน อาจมีไข้เล็กน้อย หงุดหงิดและไม่สบายตัว หลังจากที่ได้รับวัคซีน 4-6 ชั่วโมง อาการข้างเคียงเหล่านี้ปกติแล้ว จะหายไปหลังจากหนึ่งวัน อาจมีอาการบวมและแดงบริเวณที่ฉีดยา และจะทำให้เด็กรู้สึกเจ็บอยู่สักระยะ แล้วยังอาจมีตุ่มแข็งบริเิวณที่ฉีดยา ซึ่งจะค่อยๆหายไปเอง

2.วัคซีนป้องกันโรคปอดบวม เพียโมคอคค่า

อาการข้างเคียง:  อาการปวด บวม และแดงบริเวณที่ฉีดยา รวมทั้งเด็กอาจมีไข้ในวันที่ได้รับวัคซีน อาการข้างเคียงร้ายแรงนั้นไม่เป็นที่ทราบ

3.วัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น (เมนิ่งโกคอคค่า ซี)

อาการข้างเคียง: ไม่ร้ายแรง อาจมีอาการปวด บวม และแดง บริเวณที่ฉีดยา และเด็กอาจมีไข้ได้

4.วัคซีนป้องกันโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน

อาการข้างเคียง: ไม่ร้ายแรง ประมาณ 10% ของเด็ก อาจมีไข้และผดผื่นหลังจากได้รับวัคซีนแล้ว 5- 12 วัน และเด็กส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ป่วยหนัก และอีก10% จะมีอาการแดง ปวดและบวมบริเวณที่ฉีดยา อาการต่างๆเหล่านี้จะหายไปในไม่กี่วัน

5.วัคซีนป้องกันโรคไอกรน คอตีบ และบาดทะยัก

อาการข้างเคียง: ไม่ร้ายแรง อาจมีไข้เล็กน้อย หงุดหงิดและไม่สบายตัว หลังจากได้รับวัคซีนประมาน 4-6 ขั่วโมง ปกติแล้วจะหายภายในหนึ่งวัน อาการบวม และแดงอาจเกิดขึ้นบริเวณที่ฉีดยาซึ่งทำให้เด็กรู้สึกไม่สบายตัวอยู่สักระยะ อาจมีตุ่มแข็งบริเวณที่ฉีดยาซึ่งจะค่อยๆ หายไปเอง

ความคิดเห็นของคุณคืออะไร

การตั้งครรภ์ไตรมาสใดที่คุณรู้สึกลำบากที่สุด

ไตรมาสแรก
ไตรมาสสอง
ไตรมาสสาม

19321 คนที่ตอบกลับ

โหวต

ที่มา: mgronline

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

ลูกเล็กเด็กแดงฉีดวัคซีนหรือยัง? ป้องกันโรคหัดระบาด คนยะลาตายแล้ว 4 ราย

อย่าคิดว่าไม่สำคัญ! ตรวจโรค-ฉีดวัคซีน ภารกิจต้องทำก่อน พาลูกขึ้นเครื่องบิน

ฉีดวัคซีน ลูกแรกเกิด-6 เดือนแรก วัคซีนทารกแรกเกิด จำเป็นต้องฉีดวัคซีนตัวไหนบ้าง

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • วัคซีนไม่ฉีดได้ไหม ลืมพาลูกไปฉีดวัคซีนจะเป็นอะไรหรือเปล่า ลูกฉีดช้าได้กี่วัน?
แชร์ :
  • เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

    เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

    เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว