วัคซีนไม่ฉีดได้ไหม?
การฉีดวัคซีน เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันการติดต่อโรคร้ายแรงของทารก ในวัคซีนมักจะผลิตจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย หรือส่วนประกอบอื่นๆ ซึ่งมันจะช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคนั้นเอง หากถามว่า วัคซีนไม่ฉีดได้ไหม จำเป็นต้องพาลูกไปฉีดหรือเปล่า กลัวลูกจะเป็นอันตราย
คุณหมอ Dr. Neal Halsey กุมารแพทย์และผู้อำนวยการประจำสถาบันเพื่อความปลอดภัยทางวัคซีนแห่งมหาวิทยาลัย Johns Hopkins ในบัลติมอร์ ให้ความเห็นว่า มันเหมือนการที่เราคิดว่าการนั่งเครื่องบินน่ากลัว ทั้งที่จริงแล้วนั่งรถยนต์ยังมีโอกาสได้รับอันตรายมากกว่าเสียอีก วัคซีนก็เป็นแบบนั้น มันอาจจะมาพร้อมผลข้างเคียงหลายอย่าง เช่น เป็นไข้ ผื่นคัน ตัวบวม แต่ผลข้างเคียงอย่างการแพ้วัคซีนขั้นรุนแรงจริงๆ นั้น มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก
ประเภทของวัคซีน
- วัคซีนที่กระทรวงสาธารณสุขออกค่าใช้จ่ายให้
- วัณโรค (BCG ) ฉีด 1 ครั้ง (อายุแรกเกิด)
- ตับอักเสบ-บี (HBV) ฉีด 3 ครั้ง (อายุแรกเกิด 2 เดือน และ 6 เดือน)
- ไอกรน-คอตีบ-บาดทะยัก ฉีด 5 ครั้ง (DPT) (อายุ 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือน 18 เดือน และ 4 – 6 ขวบ)
- โปลิโอ (OPV ) หยอดรับประทาน 5 ครั้ง (อายุ 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือน 18 เดือน และ 4 – 6 ขวบ)
- หัด หัดเยอรมัน คางทูม (MMR) ฉีด 2 ครั้ง (อายุ 9 เดือน และ 6 ปี)
- ไข้สมองอักเสบญี่ปุ่น (JE) ฉีด 3 ครั้ง (อายุ 18 เดือน 19 เดือน และ 30 เดือน)
- วัคซีนที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย (วัคซีนเสริม ไม่จำเป็นต้องฉีดทุกคน)
- เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ฮิบ ฉีด 2 – 3 ครั้ง ขึ้นอยู่กับใช้ผลิตภัณฑ์ใด (อายุ 2 เดือน 4 เดือน และ 6 เดือน ถ้าอายุเกิน 4 ขวบแล้ว ไม่เสี่ยงต่อโรคนี้)
- ตับอักเสบ-เอ ฉีด 2 ครั้ง (อายุ 1 ขวบ ขึ้นไป และอีก 6 – 12 เดือนจากนั้น)
- อีสุกอีใส ฉีด 1 – 2 ครั้ง (อายุ 1 ขวบขึ้นไป และอีกครั้งหลังเข็มแรก 4 – 8 สัปดาห์)
- ไข้หวัดใหญ่ ฉีด 1 ครั้ง ทุกปี (อายุ 6 เดือน – 9 ขวบครั้งแรกฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 4 สัปดาห์ หลังจากนั้นฉีด 1 ครั้ง ทุกปี)
- นิวโมคอคคัส 23 ชนิด ฉีด 2 ครั้ง (อายุมากกว่า 2ขวบ และซ้ำอีกตอนอายุ 5 ขวบ)
- นิวโมคอคคัส 7 ชนิด ฉีด 3 – 4 ครั้ง (อายุ 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือนและ 12-15 เดือน)
- ท้องร่วงโรต้า หยอดรับประทาน 2-3 ครั้ง ขึ้นอยู่กับใช้ผลิตภัณฑ์ใด (เมื่ออายุ 2 เดือน 4 เดือน และ 6 เดือน)
รับวัคซีน
สาเหตุที่ควรพาลูกฉีดวัคซีน
จุดประสงค์ในการฉีดวัคซีนนั้นเพื่อป้องกันโรคติดต่อร้ายแรง ขัดขวางการแพร่ระบาด และลดผลกระทบที่ร้ายแรงของโรคติดต่อ โรคในเด็กหลายโรค เช่น หัด คอตีบ ไอกรน และโปลิโอ ถือว่าเป็นโรคที่ระบาด จึงจำเป็นต้องฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันตัวของเด็กเอง และไม่ให้เกิดการติดต่อไปยังเด็กคนอื่นด้วยค่ะ แต่บางครั้งคุณหมอก็ไม่สามารถให้วัคซีนกับเด็กได้ค่ะ
ทำไมเด็กบางคนถึงฉีดวัคซีนไม่ได้
การฉีดวัคซีนเป็นการช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็ก แต่มีบางกรณีที่คุณหมอไม่แนะนำให้ฉีด หากลูกของคุณม่ปัญหา ดังต่อไปนี้
- เด็กป่วยหรือว่ามีใข้ (ปกติจะต้องรอให้เด็กหายดีแล้วจึงจะฉีดวัคซีนให้ได้)
- เด็กได้รับอาการข้างเคียง หรือผลกระทบที่เกี่ยวกับวัคซีนที่ได้รับก่อนหน้านี้
- เด็กได้รับอาการแพ้อย่างรุนแรงหลังจากรับประทานไข่ (ลักษณะอาการ คือ ปากและลำ คอบวม ช็อก หายใจติดขัด หรือ ผื่นขึ้นตามลำ ตัว)
- เด็กต้องกินยาบางประเภท โดยเฉพาะยาสเตรอยด์
- เด็กมีโรคประจำตัวร้ายแรง เช่น โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง มะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือ โรคเรื้อรังที่ต้องใช้การบำบัดรักษาเป็นเวลานาน เช่น การฉายรังสี เคมีบำบัด
- มีประวัติการตอบสนองอย่างรุนแรงกับยาปฏิชีวนะ หรือสารใดๆ
ถ้าลูกฉีดยาแล้วเป็นไข้ ควรทำอย่างไร
ทานยาลดไข้ตามที่คุณหมอสั่ง ซึ่งโดยปกติคุณหมอจะจ่ายยาพาราเวตามอน โดยที่จะให้เด็กทานยาทุกๆ 4-6 ชั่วโมง หรือตามความจำ แต่ถ้าลูกน้อยของคุณไข้ไม่ลดนานกว่าหนึ่งวัน หรือว่ามีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ร้องไห้ผิดปกติหรือมีอาการชัก ควรรีบพาไปพบแพทย์โดยด่วน
ลืมพาลูกไปฉีดวัคซีน พาลูกไปฉีดช้าเป็นอะไรไหม
กรณีที่พ่อแม่ลืมวันฉีดวัคซีนลูก คุณแม่สามารถไปฉีดย้อนหลังได้คะ การฉีดช้าไม่ได้ทำให้ภูมิคุ้มกันลูกน้อยลงแต่อย่างใด หรือหากลูกไม่ได้วัคซีนตามกำหนดนัด เช่น วัคซีนบางตัวต้องฉีด 2 ครั้ง แต่พ่อแม่ลืมพามา ยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มที่สอง ก็ให้พามารับได้เลย โดยไม่ต้องเริ่มตั้งต้นฉีดเข็มที่ 1 ใหม่อีกค่ะ และควรพาลูกไปรับการฉีดวัคซีนให้เร็วที่สุดที่ทำได้
วัคซีนไม่ฉีดได้ไหม
อาการข้างเคียงของการฉีดวัคซีนแต่ละประเภท
1.วัคซีนป้องกันโรคไอกรน คอตีบ บาดทะยัก เยื่อหุ้มสมองอัก เสบชนิดบี และโปลิโอ
อาการข้างเคียง: ส่วนมากแล้วมีอาการไม่ร้ายแรง และจะหายไปเองในสองถึงสามวัน อาจมีไข้เล็กน้อย หงุดหงิดและไม่สบายตัว หลังจากที่ได้รับวัคซีน 4-6 ชั่วโมง อาการข้างเคียงเหล่านี้ปกติแล้ว จะหายไปหลังจากหนึ่งวัน อาจมีอาการบวมและแดงบริเวณที่ฉีดยา และจะทำให้เด็กรู้สึกเจ็บอยู่สักระยะ แล้วยังอาจมีตุ่มแข็งบริเิวณที่ฉีดยา ซึ่งจะค่อยๆหายไปเอง
2.วัคซีนป้องกันโรคปอดบวม เพียโมคอคค่า
อาการข้างเคียง: อาการปวด บวม และแดงบริเวณที่ฉีดยา รวมทั้งเด็กอาจมีไข้ในวันที่ได้รับวัคซีน อาการข้างเคียงร้ายแรงนั้นไม่เป็นที่ทราบ
3.วัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น (เมนิ่งโกคอคค่า ซี)
อาการข้างเคียง: ไม่ร้ายแรง อาจมีอาการปวด บวม และแดง บริเวณที่ฉีดยา และเด็กอาจมีไข้ได้
4.วัคซีนป้องกันโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน
อาการข้างเคียง: ไม่ร้ายแรง ประมาณ 10% ของเด็ก อาจมีไข้และผดผื่นหลังจากได้รับวัคซีนแล้ว 5- 12 วัน และเด็กส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ป่วยหนัก และอีก10% จะมีอาการแดง ปวดและบวมบริเวณที่ฉีดยา อาการต่างๆเหล่านี้จะหายไปในไม่กี่วัน
5.วัคซีนป้องกันโรคไอกรน คอตีบ และบาดทะยัก
อาการข้างเคียง: ไม่ร้ายแรง อาจมีไข้เล็กน้อย หงุดหงิดและไม่สบายตัว หลังจากได้รับวัคซีนประมาน 4-6 ขั่วโมง ปกติแล้วจะหายภายในหนึ่งวัน อาการบวม และแดงอาจเกิดขึ้นบริเวณที่ฉีดยาซึ่งทำให้เด็กรู้สึกไม่สบายตัวอยู่สักระยะ อาจมีตุ่มแข็งบริเวณที่ฉีดยาซึ่งจะค่อยๆ หายไปเอง
ที่มา: mgronline
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
ลูกเล็กเด็กแดงฉีดวัคซีนหรือยัง? ป้องกันโรคหัดระบาด คนยะลาตายแล้ว 4 ราย
อย่าคิดว่าไม่สำคัญ! ตรวจโรค-ฉีดวัคซีน ภารกิจต้องทำก่อน พาลูกขึ้นเครื่องบิน
ฉีดวัคซีน ลูกแรกเกิด-6 เดือนแรก วัคซีนทารกแรกเกิด จำเป็นต้องฉีดวัคซีนตัวไหนบ้าง
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!