X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกไอแห้งๆ ไอเสียงวี้ด ไอตอนกลางคืน ลูกไอแบบไหนอันตราย วิธีสังเกตอาการไอของทารก

บทความ 5 นาที
ลูกไอแห้งๆ ไอเสียงวี้ด ไอตอนกลางคืน ลูกไอแบบไหนอันตราย วิธีสังเกตอาการไอของทารก

ลูกไอแห้งๆ ลูกไอตอนกลางวัน ลูกไอตอนกลางคืน ลูกไอวี้ด ลูกไอเสียงก้อง ลูกไอเสียงเหมือนหมาเห่า ลูกไอแล้วอาเจียน ลูกไอแบบไหนอันตราย ควรพบแพทย์ด่วน

ลูกไอแห้งๆ อันตรายไหม ลูกไอแบบนี้หมายความว่าอะไร อาการไอเกิดขึ้นได้กับเด็กในทุกช่วงวัย และมีหลายแบบ ซึ่งอาการไอส่วนใหญ่นั้นเกิดจากการติดเชื้อ  โดยเฉพาะการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเสียงไอ หรือลักษณะการไอของทารก สามารถบอกอะไรได้บ้าง ลูกไอหนักมาก  ต้องทำยังไง มาดูกัน

ลูกไอแห้งๆ ไอเสียงวี้ด ลูกไอแบบไหนอันตราย หรือไอแบบไหนมีความเสี่ยง

ลูกไอแห้งๆ ไอเสียงวี้ด ไอตอนกลางคืน ลูกไอแบบไหนอันตราย วิธีสังเกตอาการไอของทารก

ลูกของคุณแม่มีไอแห้งๆ อันตราย หรือเปล่า หรือต้องการพบเเเพทย์หรือไม่

ลักษณะอาการไอของทารก ทารกไอแห้งตอนกลางคืน 

1. ไอแห้ง ๆ มีเสมหะ แต่ไม่มีไข้ (Dry cough)

อาการไอแห้ง ๆ ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการแพ้ หรืออาการหวัดในทารก การไอชนิดนี้เป็นการไอที่แสดงว่าลูกน้อยรู้สึกระคายเคืองจากการติดเชื้อบริเวณลำคอ

 

2. ไอแบบมีเสมหะ (Wet cough)

อาการไอลักษะนี้ อาจบ่งบอกได้ว่าลูกน้อยมีปัญหาเกี่ยวกับ ระบบทางเดินหายใจ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย จึงส่งผลให้ร่างกายสร้างเสมหะขึ้นมาเพื่อต่อสู่กับเชื้อโรค

 

3. ไอเหมือนหมาเห่า (Barky cough)

หากลูกไอแบบนี้ แสดงว่าลูกน้อยอาจเกิดการบวมของหลอดลม หรือกล่องเสียง จนเกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจ ทำให้ลูกหายใจลำบาก และไอเป็นเสียงก้องคล้ายกับเสียงหมาเห่า

 

4. ไอกรน (Whooping cough)

ไอกรนเป็นผลมาจากแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Bordetella Pertussis อาการไอแบบนี้ เด็กจะไอเป็นชุด ๆ มากว่า 20 ครั้งในครั้งเดียว และเด็กจะหายใจลำบากหลังจากที่ไอ อาจมีอาการน้ำมูกไหลร่วมด้วย ซึ่งประมาณ 10% ของทารกเชื้ออาจเข้าสู่ปอดตามทางเดินหายใจ และทำให้เกิดปอดบวม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : เด็กแพ้ยา

ดังนั้น ทารกควรได้รับภูมิต้านทาน โรคไอกรนครั้งแรกผ่านการได้รับวัคซีน โรคไอกรนระหว่างที่คุณแม่ตั้งครรภ์ และครั้งต่อไปเมื่อลูกน้อยมีอายุได้ 2 เดือน

5. ไอเสียงวี้ด

อาการไอหายใจดังเสียงวี้ด ๆ นี้ เกิดจากที่ลูกหายใจขณะที่ไอ ซึ่งเป็นสัญญาณของโรคหืด หรือหลอดลมอักเสบ หากเจ้าตัวน้อยอาการเหมือนไข้หวัด และประมาณ 2 – 5 วันต่อมาอาการรุนแรงขึ้น ไอ หายใจหอบ มีเสียงวี้ด อาจเป็นสัญญาณของหลอดลมฝอยอักเสบนั่นเอง

 

ลูกไอแห้งๆ ไอเสียงวี้ด ไอตอนกลางคืน ลูกไอแบบไหนอันตราย วิธีสังเกตอาการไอของทารก

ลูกของคุณแม่มีไอแห้ง ๆ อันตราย หรือเปล่า หรือต้องการพบเเเพทย์หรือไม่

6. ไอตอนกลางคืน ทารกไอตอนนอน

อาการไอตอนกลางคืน มักเกิดจากโรคหอบหืด เนื่องจากระบบทางเดินหายใจส่วนใหญ่จะบวมในเวลากลางคืน ยิ่งไปกว่านั้นความเย็นยังสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการไอตอนกลางคืนได้

  • อากาศกลางคืนเย็นกว่ากลางวัน หากไอหนักตอนกลางคืน แต่กลางวันปกติไม่มีอาการไอ อาจเป็น เพราะตอนกลางคืน อากาศเย็นกว่าตอนกลางวัน อากาศเย็นทำให้หลอดลมตีบตัวลง จึงมีอาการไอมากขึ้นในตอนกลางคืน
  • ห้องนอนอากาศแห้ง ไม่ถ่ายเท ในห้องนอนที่ปิดทึบ การระบายอากาศไม่ดี และยังเปิดแอร์ตลอดด้วย อาจทำให้ลูกมีอาการไอมากขึ้นในตอนกลางคืนเพราะอากาศแห้ง ความชื้นน้อย เวลาหายใจก็อาจก่ออาการระคายเคืองบริเวณเยื่อบุจมูกได้
  • ฝุ่นในห้องนอน เราอาจจะคิดว่าทำความสะอาดห้องนอนดีแล้ว แต่อาจจะยังไม่ดีพอ เพราะฝุ่นสามารถสะสมได้ตามเครื่องนอน หมอน ผ้าห่ม และโดยเฉพาะหากมีตุ๊กตาขนนุ่มต่าง ๆ ในห้องนอน อาจเป็นแหล่งสะสมของฝุ่นละออง ไรฝุ่น ซึ่งเมื่อลูกนอนในตอนกลางคืน ก็จะหายใจ สูดเอาฝุ่นเข้าไป กระตุ้นให้เกิดอาการไอเพิ่มมากขึ้น

7. ไอตอนกลางวัน

อาการไอตอนกลางวันอาจเกิดจากการระคายเคืองที่มีอยู่ในอากาศ เช่น ควันบุหรี่ อากาศ และขนสัตว์เลี้ยง

 

8. ไอและมีไข้

เป็นอาการของไข้หวัด เพราะเด็กจะไอพร้อมกับเป็นไข้ หากลูกน้อยมีไข้ที่สูงมาก ๆ อาจเป็นสัญญาณปอดอักเสบร่วมด้วย คุณพ่อ คุณแม่จึงควรพาลูกไปพบแพทย์หากไข้ไม่ลดลง

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : โรคภูมิแพ้

9. ไอและอาเจียน

เด็กบางคนมีอาการไอพร้อม กับอาเจียน ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากโรคหอบหืด เนื่องจากอากาศที่เย็น หรือฝุ่นละออง ทำให้เด็กมีอาการไอเสียงวี้ด บางรายก็มีอาการไอร่วมด้วยไอเรื้อรังหากลูกมีอาการไอติดต่อกันหลาย ๆ วัน อาจมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส ไซนัส โรคภูมิแพ้ หรือโรคหอบหืด ซึ่งโรคพวกนี้ไม่สามารถหายง่าย ๆ ค่ะ

 

10. ไอเรื้อรัง

หากลูกมีอาการไอติดต่อกันหลายวัน อาจมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส ไซนัส โรคภูมิแพ้ หรือโรคหอบหืด ซึ่งโรคพวกนี้ไม่สามารถหายง่าย ๆ

 

11. ไอเพราะสิ่งแปลกปลอม

ลักษณะอาการไอแบบนี้คือ เด็กจะไอเบา ๆ ไม่หยุด พร้อมกับอ้าปากค้าง พร้อมอาการหายใจลำบาก หลังจากกินข้าว หรือเล่นของเล่นเพราะเด็กอาจจะสำลึกจากสิ่งเหล่านี้ได้

 

ลูกไอแห้งๆ ไอเสียงวี้ด ไอตอนกลางคืน ลูกไอแบบไหนอันตราย วิธีสังเกตอาการไอของทารก

ลูกไอแห้ง ๆ ลูกไอตอนกลางวัน ลูกไอตอนกลางคืน ลูกไอวี้ด ลูกไอเสียงก้อง ลูกไอเสียงเหมือนหมาเห่า ลูกไอแล้วอาเจียน ลูกไอแบบไหนอันตราย ควรพบแพทย์ด่วน

วิธีบรรเทาอาการไอของทารก วิธีการบรรเทาอาการไอของลูกน้อย

  1. ให้ลูกจิบน้ำเพื่อเพิ่มความชุ่มชื่นมากขึ้น แต่แนะนำว่าไม่ควรเป็นน้ำส้ม เพราะยิ่งจะทำให้ลูกน้อยระคายเคืองมากขึ้น สำหรับนมก็สามารถให้ได้ เพราะนมสามารถช่วยบรรเทาอาการได้ ทั้งยังช่วยสู้ กับเชื้อโรคได้ดีอีกด้วย
  2. ให้ลูกนอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่ เพราะการพักผ่อนเป็นสิ่งสำคัญในการบรรเทาอาการไอของทารกมาก ๆ
  3. สำหรับโรคหอบหืด คุณพ่อ คุณแม่ควรพาลูกไปหาหมออย่างต่อเนื่อง พร้อมกับวิธีดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม
  4. ควรใช้ยาอย่างระมัด ระวัง เด็กเล็กควรกินยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  5. ถ้าเป็นการไอจากการที่มีน้ำมูกมาก ๆ การล้างจมูก หรือหยอดจมูกด้วยน้ำเกลือ ร่วมกับการให้ยาลดน้ำมูกที่เหมาะสมจะทำให้อาการดีขึ้น

 

บทความจากพันธมิตร
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
หยุดความเชื่อผิดๆ : ผิวเด็กไม่ได้ฟื้นฟูได้ไว เป็นแผลห้ามปล่อยไว้ให้หายเอง
หยุดความเชื่อผิดๆ : ผิวเด็กไม่ได้ฟื้นฟูได้ไว เป็นแผลห้ามปล่อยไว้ให้หายเอง
จัดฟันแบบใส สร้างโลกสดใสให้เด็ก ๆ มีรอยยิ้มสวยมั่นใจได้มากกว่าที่คิด
จัดฟันแบบใส สร้างโลกสดใสให้เด็ก ๆ มีรอยยิ้มสวยมั่นใจได้มากกว่าที่คิด

ลูกไอแบบไหนอันตรายควรพาไปหาหมอ

  1. ลูกมีอาการไอนานมากกว่าสองสามชั่วโมง คุณควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์ทันที
  2. ลูกเริ่มไอเป็นเลือด หรือภาวะเหมือนขาดน้ำ หรือมีปัญหาในการหายใจก็เป็นสัญญาณว่าอาการไอของเขาเริ่มรุนแรง และเขาต้องรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
  3. เป็นไข้สูงพร้อม ๆ กับการไอ ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์โดยเร็ว
  4. ไอขณะที่หายใจ ซึ่งเป็นสัญญาณอันตรายแล้วต้องรีบพาลูกไปพบแพทย์ด่วน

 

ลูกไอแห้งๆ ไอเสียงวี้ด ไอตอนกลางคืน ลูกไอแบบไหนอันตราย วิธีสังเกตอาการไอของทารก

ลูกของคุณแม่มีไอแห้ง ๆ อันตราย หรือเปล่า หรือต้องการพบเเเพทย์หรือไม่

โรคอื่น ๆ ที่เด็ก ๆ สามารถไปได้ มีอะไรบ้าง

  • โรคหืด 

แม้ว่าอาการของโรคหืด จะแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละราย แต่ผู้ป่วยมักไอแบบมีเสียงหวีด ซึ่งอาการมักรุนแรงขึ้นในเวลากลางคืน และมักไอขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นขณะที่กำลังเล่น กับเพื่อน หรือออกกำลังกาย นอกจากนี้ หากเด็กมีประวัติป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ หรือไอแบบเป็น ๆ หาย ๆ มาก่อน เมื่ออาการของโรครุนแรงขึ้นก็อาจหอบเหนื่อย หายใจเสียงดังหวีด และหน้าอกบุ๋มได้ อย่างไรก็ตาม อาการดังกล่าวมักดีขึ้นเมื่อได้พัก และได้รับยาขยายหลอดลม

 

  • โรคภูมิแพ้และไซนัสอักเสบ 

    อาจเป็นสาเหตุของอาการไอเรื้อรัง และยังทำให้คอระคายเคือง มีน้ำมูก หรือเสมหะ คันตา คันจมูก เจ็บคอ รวมทั้งมี ผื่นคันแดงตามผิวหนังได้ด้วย

 

  • โรคกรดไหลย้อน

    อาจทำให้เด็กมีอาการไอ อาเจียนบ่อย ๆ มีรสขมในปาก และรู้สึกปวดแสบร้อนภายในอก

 

  • โรคไอกรน

    อาการไอจะเกิดขึ้นเป็นพัก ๆ โดยหลังจากการไอสิ้นสุดลงแล้วจะมีลมหายใจเข้าเป็นเสียงดัง วู้ป ซึ่งผู้ป่วยอาจมีอาการน้ำมูกไหล จาม และมีไข้ต่ำร่วมด้วย

 

เมื่อลูกน้อยไอ คุณพ่อ คุณแม่อย่าลืมสังเกตลักษณะอาการไอของลูกน้อย เพราะเสียงไอสามารถบอกได้ว่าลูกไอเพราะอะไร ไอแบบไหนอันตราย

ที่มา: https://www.pobpad.com , newkidscenter

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

ลูกเป็นหวัดอาบน้ำได้ไหม สระผมได้หรือเปล่า ลูกป่วยไม่สบายควรดูแลอย่างไร?

วิธีเลี้ยงลูกให้แข็งแรง อาการป่วยเด็กเล็ก เด็กโต การดูแลลูกให้แข็งแรง​ฉลาดสมวัย ไอคิวดี อารมณ์แจ่มใส

เมื่อลูกเป็นไข้ ใช้ยาลดไข้ถูกวิธี ลูกหายป่วยอย่างรวดเร็ว

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ลูกไอแห้งๆ ไอเสียงวี้ด ไอตอนกลางคืน ลูกไอแบบไหนอันตราย วิธีสังเกตอาการไอของทารก
แชร์ :
  • จับตา ! อาการอันตราย ที่ต้องรีบพาลูกน้อยไปโรงพยาบาล อย่ารอช้า !

    จับตา ! อาการอันตราย ที่ต้องรีบพาลูกน้อยไปโรงพยาบาล อย่ารอช้า !

  • สัญญาณอันตรายของเด็ก วัยแรกเกิด - 11 ปี ลูกมีอาการแบบนี้ ควรพบแพทย์ด่วน

    สัญญาณอันตรายของเด็ก วัยแรกเกิด - 11 ปี ลูกมีอาการแบบนี้ ควรพบแพทย์ด่วน

  • จับตา ! อาการอันตราย ที่ต้องรีบพาลูกน้อยไปโรงพยาบาล อย่ารอช้า !

    จับตา ! อาการอันตราย ที่ต้องรีบพาลูกน้อยไปโรงพยาบาล อย่ารอช้า !

  • สัญญาณอันตรายของเด็ก วัยแรกเกิด - 11 ปี ลูกมีอาการแบบนี้ ควรพบแพทย์ด่วน

    สัญญาณอันตรายของเด็ก วัยแรกเกิด - 11 ปี ลูกมีอาการแบบนี้ ควรพบแพทย์ด่วน

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ