theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • Project Sidekicks
    • การตั้งครรภ์
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • การสูญเสียทารก
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • สุขภาพ
    • อาการป่วย
    • วัคซีน
    • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
    • ประกันชีวิต
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ความปลอดภัย
    • มุมคุณพ่อ
  • การศึกษา
    • ข่าวการศึกษา
    • คลีนิกพัฒนาการ
    • เตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน
    • โรงเรียนอนุบาล
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • งานบ้าน
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ดวงและราศี
    • ดารา-แฟชั่น
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ฟิตเนส
    • อีเว้นท์
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • TAP IDOL

ลูกไอมาก ลูกไอตอนกลางคืนบ่อย นอนแล้วไอ เกิดจากโรคอะไรได้บ้าง?

บทความ 8 นาที
•••
ลูกไอมาก ลูกไอตอนกลางคืนบ่อย นอนแล้วไอ เกิดจากโรคอะไรได้บ้าง?ลูกไอมาก ลูกไอตอนกลางคืนบ่อย นอนแล้วไอ เกิดจากโรคอะไรได้บ้าง?

ลูกไอมาก โดยเฉพาะเวลานอนตอนกลางคืน ลูกไอบ่อยๆ แบบนี้เกิดจากอะไร ไอลักษณะแบบนี้อันตรายมากไหม มาดูคำแนะนำวิธีสังเกตอาการจากหมอกันดีกว่าค่ะ

คุณแม่ท่านหนึ่งถามหมอว่า ลูกมีอาการไอเรื้อรังมาเกือบเดือน และมักจะไอเวลากลางคืน ทุกครั้งที่ไอจะตามมาด้วยอาเจียน กลางวันแทบไม่มีอาการไอ หรือไอน้อยมาก อยากทราบว่าสาเหตุที่ ลูกไอมาก โดยเฉพาะตอนกลางคืน เกิดจากโรคอะไรได้บ้าง สังเกตอย่างไร

หมอจึงขอเล่าให้คุณแม่ฟังถึงสาเหตุต่างๆ ของอาการไอกลางคืนในเด็ก ดังนี้

อาการไอในเด็กซึ่งมีอาการมากในช่วงกลางคืนหรือไอเฉพาะตอนกลางคืนอาจเกิดจากภาวะที่เด็กมีน้ำมูกไหลลงคอและเกิดการระคายเคืองของทางเดินหายใจโดยเฉพาะท่านอน หรือในช่วงเวลากลางคืนมีอากาศเย็นจะทำให้บางโรคมีอาการกำเริบหรือแย่ลง ซึ่งโรคที่ทำให้เด็กมีอาการไอกลางคืนเยอะกว่ากลางวันหรือมีอาการไอเด่นชัดเฉพาะช่วงกลางคืน อาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ โรคภูมิแพ้ และ โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ดังนี้

ลูกไอมาก

1. โรคภูมิแพ้ ได้แก่ โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ และโรคหืด

  • โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ : ผู้ป่วยจะมีอาการคันจมูก จาม คัดจมูกน้ำมูกไหล เป็นๆหายๆ และมีอาการไอบ่อย เนื่องจากน้ำมูกไหลลงจากโพรงจมูกไปในลำคอ ผู้ป่วยมักมีอาการไอเยอะในช่วงกลางคืนเมื่อล้มตัวลงอยู่ในท่านอน อีกทั้งช่วงกลางคืนอาจมีอากาศเย็นทำให้อาการจมูกอักเสบจากภูมิแพ้กำเริบจึงมีน้ำมูกไหลลงคอมากขึ้นอีกด้วย
  • โรคหืด : ผู้ป่วยจะมีอาการไอแห้งๆ เพราะหลอดลมตีบ ในบางครั้งอาจไอแบบมีเสมหะได้บ้าง หายใจไม่สะดวก หายใจเร็วผิดปกติ และมีอาการหอบเหนื่อย หากเป็นมากอาจมีหน้าอกบุ๋มหรือเขียวได้ อาการไอจะเป็นมากในช่วงกลางคืนโดยเฉพาะหลังเที่ยงคืน เพราะเป็นช่วงที่อากาศเย็นจะกระตุ้นให้เกิดอาการไอจากหลอดลมตีบได้มากขึ้น

2. โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

ได้แก่ โรคไข้หวัด (ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนต้น) โรคไซนัสอักเสบ โรคหลอดลมอักเสบ เป็นต้น

  • โรคไข้หวัด (ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนต้น) : ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก โดยมักจะไอทั้งกลางวันและกลางคืน โดยอาการมักจะเป็นมากในช่วงกลางคืน เพราะมีน้ำมูกไหลลงคอเช่นกัน
  • โรคไซนัสอักเสบ : ผู้ป่วยจะมีอาการไอเรื้อรังเกิน 1 สัปดาห์อาการจะเป็นมากขึ้นในช่วงกลางคืนเพราะน้ำมูกที่เกิดจากการติดเชื้อไหลลงไปในช่องคอ ลักษณะอาการไอมักจะยืดเยื้อเรื้อรัง มีน้ำมูกสีเหลืองเขียว อาจมีอาการปวดศีรษะและมีไข้ร่วมด้วย
  • โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน : ผู้ป่วยจะมีอาการไอ มีเสมหะ อาจมีไข้ จากการอักเสบติดเชื้อของหลอดลม อีกทั้งอาจมีอาการไอที่เกิดจากหลอดลมไวต่อสิ่งกระตุ้น เช่นควันบุหรี่ ฝุ่น และความเย็นในช่วงที่มีการอักเสบของหลอดลม จึงมีอาการไอมากขึ้นในช่วงกลางคืนซึ่งอากาศเย็น มากกว่ากลางวัน

หากคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าลูกมีอาการไอช่วงกลางคืนเยอะ โดยมีสาเหตุจากโรคเหล่านี้ ก็ไม่ควรจะนิ่งนอนใจ ในการพาลูกไปตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาจากคุณหมอ ก่อนที่อาการของโรคจะลุกลามมากขึ้นจนเกิดอันตรายและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ

ลูกไอมาก

จะสังเกตได้อย่างไรว่า ลูกเป็นภูมิแพ้

 ภูมิแพ้ในเด็ก ท่านอาจจะเคยได้ยินว่าเด็กสมัยนี้เป็นโรคภูมิแพ้กันเยอะมากขึ้น และจะสงสัยว่าบุตรหลานของท่านเป็นโรคภูมิแพ้ด้วยหรือไม่  จะมีข้อให้สังเกตุประการใดบ้างคงต้องเริ่มจากมาทำความรู้จักกับโรคภูมิแพ้ในเด็กกันก่อน เริ่มตั้งแต่อายุไม่กี่เดือน  เด็กบางคนแพ้นมวัว เกิดมีอาการอาเจียน ท้องเสีย บางคนมีอาการมากจนถ่ายเป็นเลือดได้ บางคนทางนมแล้วมีผื่นแบบรุนแรงจะมีอาการหอบเหนื่อย บางคนแพ้รุนแรงจนช็อค หยุดหายใจ และหมดสติ อาหารชนิดอื่นเช่น ไข่ ถั่วเหลือง แป้งสาลี สามารถก่อให้เกิดอาการแพ้ได้เช่นเดียวกับนมวัว  ทั้งนี้อาการแพ้มักจะเกิดขึ้นกับคนที่มีแนวโน้มจะเป็นภูมิแพ้อยู่แล้ว โดยสังเกตุจากประวัติที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้     การเริ่มให้อาหารหรือเปลี่ยนอาหารให้กับเด็กเล็กจึงควรทำด้วยความระมัดระวัง ค่อยๆ เริ่มทีละชนิด  มีโรคภูมิแพ้บนผิวหนังอีกชนิดหนึ่งที่จะพบได้ในเด็กเล็ก  จะเกิดเป็นผื่นแดงคัน ขึ้นบนแก้ม ลำคอ แขน ขา เหมือนกันทั้ง 2 ข้างของร่างกาย มักจะเริ่มเป็นตั้งแต่เด็กอายุ 3-4 เดือน เวลาที่ผื่นลุกลามรุนแรงขึ้น จะมีสีแดงจัดและมีน้ำเหลืองเยิ้ม  เด็กที่มีผื่นในลักษณะนี้บางคนมีอาการกำเริบเวลาอากาศแห้งหรือหลังทานอาหารบางชนิดเช่นไข่และนมวัว  บางรายอาจแพ้ไรฝุ่น เด็กบางคนจะมีผื่นแบบนี้ไปจนอายุ 4-5 ขวบ แต่ความรุนแรงมักจะลดลงเมื่อโตขึ้น

เมื่อเด็กเริ่มโตขึ้นอีกหน่อยในช่วง 2-5 ขวบ โรคภูมิแพ้แบบที่โดยทั่วไปรู้จักในชื่อโรคแพ้อากาศจะเริ่มปรากฎชัดขึ้น  โดยเด็กจะมีอาการเหมือนเป็นหวัด แต่จะเป็นบ่อยมากเกือบทุกเดือน หรือมีอาการนานเกินกว่า 10 วัน อาการที่เด่นชัดเช่นอาการคันจมูก ชอบขยี้จมูก จามหลายครั้งติดกันตอนเช้า บางคนมีอาการคันตาชอบขยี้ตาร่วมด้วยเมื่อมีอาการของโรคแพ้อากาศ (ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเกิดจากการแพ้สารปนเปื้อนในอากาศ) เป็นระยะเวลานานๆ จะกระตุ้นให้ต่อมทอนซิลและดีนอยด์ในช่องคอโตเกิดการหายในลำบาก หายใจมีเสียงดัง นอนกรน นอนหลับไม่สนิท หยุดหายใจ เกิดผลกระทบต่อหัวใจและปอดในระยะยาว บางรายมีไซนัสอักเสบเรื้อรัง บางครั้งเราสามารถจะบอกโรคได้จากใบหน้าก็มีเพราะเด็กที่เป็นโรคแพ้อากาศอาจมีรอยย่นสีคล้ำใต้ตา มีรอยย่นบนสันจมูก มีกระดูกโหนกแก้มแบน ฟันบนด้านหน้ายื่นและหายใจทางปากมากกว่าทางจมูก

เด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้อีกกลุ่มจะมีอาการของโรคหอบหืด อาการจะชัดภายหลังจากรูดเอาสารก่อภูมิแพ้ หรือสารระคายเคืองเข้าไปตามหลอดลม หรืออาจมีอาการมากขึ้นหลังจากเป็นหวัด เด็กจะมีอาการหอบ เหนื่อย หายใจลำบาก หายใจมีเสียงหวีด มีรอยบุ๋มตรงคอหรือชายโครงเวลาที่หายใจ ทำให้เมื่อไปพบแพทย์ต้องใช้ยาขยายหลอดลมในการรักษา

ดังนั้น โดยสรุปจะสังเกตุว่าลูกเป็นภูมิแพ้หรือไม่ให้ดูจากอาการทั้งหลาย ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งมักจะมีอาการซ้ำบ่อยหรือเป็นรื้อรัง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ผิวหนังในลักษณะผื่นลมพิษหรือผื่นแดงคัน ที่เยื่อบุตาอาจมีอาการอักเสบ ทำให้คันตา ตาแดง ที่ทางเดินหายใจ ทำให้คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม ไอเรื้อรัง มีเสมหะในคอตลอดเวลา หอบ หายใจลำบาก ที่ทางเดินอาหารทำให้อาเจียน ท้องเสีย หรือถ่ายเป็นเลือด  รายที่เป็นรุนแรงอาจมีอาการช็อคโดยมีตัวกระตุ้นเป็นสารก่อภูมิแพ้ ทั้งอาหารชนิดต่างๆ สารปนเปื้อนในอากาศเช่นละอองเกสร ฝุ่น รังแคจากขนสัตว์ หากมีอาการเหล่านี้ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง

วิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้ เป็นโรคยอดนิยมที่พบได้บ่อยที่สุดในประเทศไทย ยิ่งในสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ซึ่งเต็มไปด้วยมลภาวะฝุ่น ควัน สารพิษ น้ำเน่าเสีย สิ่งเหล่านี้ล้วนเพิ่มความเสี่ยงให้ระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายต้องทำงานเพิ่มมากขึ้น ทำให้ร่างกายอ่อนแอลง และเพิ่มโอกาสในการป่วยด้วยโรคภูมิแพ้มากยิ่งขึ้น อาจจะดูเหมือนไม่ใช่โรคที่น่ากลัวอะไรมากนัก แต่เราก็ต้องรู้จักดูแลตัวเองให้ดีด้วย วันนี้เรามีสาระสุขภาพเกี่ยวกับการดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคภูมิแพ้มาฝาก ว่าแต่จะมีอะไรบ้างนั้นตามมาดูกัน

  • หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ที่พบได้บ่อย เช่น ฝุ่นละออง ควันรถยนต์ สารเคมีต่างๆ เกสรดอกไม้ เชื้อรา เชื้อไวรัส อาหารที่ผู้ป่วยแพ้ง่าย ไรฝุ่น เป็นต้น
  • การนอนหลับพักผ่อน ไม่ควรเข้านอนดึกจนเกินไป เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีการซ่อมแซมและฟื้นฟูปรับสมดุลได้อย่างเพียงพอ
  • ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่องกันอย่างน้อยวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3 วัน เช่น วิ่ง เดินเร็ว ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เป็นต้น เนื่องจากการออกกำลังกายจะทำให้ความไวของเยื่อบุจมูก/หลอดลมลดลง และทำให้มีภูมิต้านทานต่อหวัดอีกด้วย
  • ใช้น้ำเกลือทำความสะอาดบริเวณโพรงจมูก ค่อยๆ สูดน้ำเกลือให้น้ำเกลือได้สัมผัสกับโพรงจมูก แล้วค่อยๆ หายใจออก ให้น้ำเกลือเกิดการผ่านเข้าออกในโพรงจมูก ใช้เวลาทำประมาณ 3 นาที หากสามารถทำต่อเนื่องได้ในทุกๆ วัน จะสามารถช่วยรักษาอาการภูมิแพ้จมูกที่เป็นอยู่ได้
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ รวมทั้งผักและผลไม้ รับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่เสมอ

การดูแลตัวเองถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาโรคภูมิแพ้ เพราะฉะนั้นผู้ที่เป็นโรคนี้จะต้องหลีกเลี่ยงสถานที่ อาหาร และความเสี่ยงต่างๆ ให้มากที่สุด พร้อมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรง

ลูกไอมาก

เมื่อลูกเป็นหวัด มีไข้ ดูแลอย่างไรให้หายดี

โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจที่เด็กๆ เป็นกันบ่อยที่สุด คงหนีไม่พ้นโรคหวัดหรือไข้หวัด ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ต่างๆ อาการของโรคหวัดทั่วไปก็ได้แก่ คัดจมูก มีน้ำมูกใสๆ มีเสมหะ เจ็บคอ ไอ จาม เสียงแหบ อาจมีอาการไข้และปวดศีรษะเล็กน้อย การรักษาก็จะเป็นไปในลักษณะประคับประคองอาการ การให้ยาลดน้ำมูก ยาลดไข้ ยาแก้ไอ-เจ็บคอ ร่วมกับการดูแลตัวเองด้วยการดื่มน้ำมากๆ ไม่ดื่มน้ำเย็น รักษาร่างกายให้อบอุ่น ก็จะทำให้เด็กส่วนใหญ่หายเป็นปกติในไม่กี่วัน ในช่วงนี้เองที่คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด

วัดไข้เด็กให้รู้แน่ชัด

เมื่อเห็นว่าลูกไม่สบาย ร้องโยเย มีอาการซึม ดื่มนมหรือดื่มน้ำได้น้อย เบื่ออาหาร หากแตะบริเวณหน้าผากและคอแล้วรู้สึกอุ่นๆ ควรทำการวัดไข้และจดเป็นสถิติไว้ อุณหภูมิที่วัดได้มีความสำคัญเป็น 3 ระดับ ดังนี้

  • ระหว่าง 37.5- 38.0 องศาเซลเซียส เรียกว่า มีไข้ต่ำ
  • มากกว่า 38.0 องศาเซลเซียส เรียกว่า มีไข้สูง หากดูแลเด็กอย่างถูกวิธีแล้วไข้ไม่ลดลงควรพาเด็กไปพบแพทย์
  • มากกว่า 41.5 องศาเซลเซียส เรียกว่า มีไข้สูงมากและเข้าขั้นวิกฤต ต้องพาเด็กไปพบแพทย์ทันที ซึ่งผู้ปกครองไม่ควรปล่อยให้ไข้สูงถึงจุดนี้ เพราะจะเป็นอันตรายจนอาจเสียชีวิตได้

การวัดไข้ควรจดตัวเลขไว้ทุกครั้ง และวัดใหม่ทุก 4-6 ชั่วโมง เพื่อดูว่าไข้ลดหรือเพิ่มมากน้อยเพียงใด หากเช็ดตัว กินยา และดูแลอย่างดีถึง 48 ชั่วโมงแล้วแต่ไข้ยังไม่ลดลงควรพาเด็กไปพบแพทย์ และหากอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดหัว อาเจียน กินข้าวไม่ได้ ซึม เหงื่อออกมาก และไข้ไม่ลดลงใน 24 ชั่วโมงก็ควรพาไปแพทย์เช่นกัน

เช็ดตัวลดไข้

การเช็ดตัวไม่ควรใช้น้ำเย็นเพราะจำทำให้หลอดเลือดหดตัว ร่ายกายจะระบายความร้อนได้ไม่ดี อีกทั้งเด็กจะหนาวสั่นหรือชักได้ ควรใช้ผ้าชุบน้ำที่อุ่นกว่าอุณหภูมิห้องแต่เย็นกว่าร่างกายเด็ก บิดให้หมาด เช็ดและประคบผิวหนังบริเวณที่เป็นจุดรวมของหลอดเลือด เช่น ศีรษะ หน้าผาก ซอกคอ หลังหู รักแร้ ขาหนีบ ก้นกบ และควรประคมผ้าไว้ตรงข้อพับต่างๆ เพื่อช่วยความร้อนถ่ายเทจากภายในสู่ผิวหนังและมาสู่ผ้า โดยเตรียมผ้าผืนเล็กๆ ไว้ 2-3 ผืน การเช็ดตัวให้เช็ดจากปลายมือและปลายเท้าสู่ลำตัวเพราะเป็นการเช็ดย้อนรูขุมขนให้เปิด ทำให้ระบายความร้อนดี ใช้เวลาราว 10-15 นาที เมื่อพบว่าตัวเด็กเย็นลงแล้วให้เช็ดตัวให้แห้ง สวมเสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ดี ควรวัดไข้เด็กอีกครั้งหลังจากเช็ดตัวเสร็จแล้ว 30 นาที หากเด็กกลับมามีไข้สูงควรเช็ดตัวซ้ำ

การให้ยาลดไข้

เด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป ถ้ามีไข้สูงกว่า 38.5 องศาเซลเซียส ควรให้ยาพาราเซตามอล ทั้งนี้ควรกินตามที่ฉลากยาหรือขนาดที่เภสัชกรแนะนำ ยาจะออกฤทธิ์หลังจากกินแล้วราว 30 นาที หากไข้ยังไม่ลดใน 4 ชั่วโมงสามารถกินยาได้อีก แต่หากเด็กมีไข้สูงมากก็ไม่ควรให้ยาลดไข้เอง เพราะอาจทำให้เลือดออกในกระเพาะอาหาร ควรพาไปพบแพทย์จะดีกว่า

แผ่นเจลลดไข้

เด็กที่มีอายุ 2 ปีขึ้นไปสามารถใช้แผ่นเจลลดไข้ได้ ความเย็นจากแผ่นเจลจะช่วยลดไข้และทำให้รู้สึกผ่อนคลายสบายตัว และยังบรรเทาอาการปวดศีรษะได้ด้วย ก่อนซื้อใช้ควรดูว่าเป็นแผ่นเจลที่ได้มาตรฐาน ไม่มีสารแต่งสีหรือสารเคมีที่เป็นอันตราย และไม่ควรนำแผ่นเจลแช่ในช่องแช่แข็ง เพราะหากผิวอ่อนๆ ของเด็กสัมผัสกับความเย็นจัดผิวอาจไหม้ได้ แผ่นเจลที่ใช้แล้วไม่ควรนำมาใช้ซ้ำ

ดื่มน้ำลดไข้

การให้เด็กดื่มน้ำอุ่น น้ำอุณหูภูมิห้อง หรือน้ำผลไม้บ่อยๆ (ไม่ดื่มน้ำเย็น) จะช่วยชดเชยการสูญเสียน้ำทางเหงื่อ ป้องกันร่างกายขาดน้ำ น้ำยังเป็นตัวช่วยให้ร่างกายเย็นลง แถมยังลดอัตราการเผาผลาญอาหารจึงช่วยลดการสร้างความร้อนในร่างกายอีกทางหนึ่ง การดื่มน้ำมากๆ ยังเพิ่มการกำจัดของเสียออกทางปัสสาวะได้ด้วย

เสื้อผ้าเบาสบายตัว

สวมเสื้อผ้าที่สบายตัว เช่น ผ้าฝ้าย ไม่ควรสวมเสื้อยืดหรือผ้าสำลีที่มีความหนา หรือเสื้อและกางเกงขายาว เพราะจะทำให้ร่างกายระบายความร้อนออกยาก หากเด็กมีเหงื่อออกมากควรเช็ดตัวและเปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่ให้ทุกครั้ง

กินบ่อยๆ ที่ละน้อย

เด็กที่ไม่สบายส่วนใหญ่ก็จะเบื่ออาหาร คุณพ่อคุณแม่ควรให้เด็กทานอาหารที่เคี้ยวง่าย ย่อยง่าย หรืออาหารที่มีน้ำอยู่ด้วย เช่น ข้าวต้ม หรือโจ๊ก ซุป ไม่ควรกินอาหารรสจัด เค็มจัด หวานจัด หรืออาหารมันๆ ที่ย่อยยาก

ดูแลปากให้สะอาด

เมื่อเด็กมีไข้ ปากจะแห้งกว่าปกติ ควรให้เด็กจิบน้ำ ดื่มน้ำ และบ้วนปากบ่อยๆ ถ้าเป็นไปได้ก็ให้แปรงฟันด้วย การจิบน้ำบ่อยๆ ทำให้เยื่อบุในช่องปากชุ่มชื้น ช่วยลดกลิ่นปากและเชื้อโรคในช่องปาก ป้องกันการเกิดแผลและการติดเชื้อในปาก แถมยังเป็นการกระตุ้นให้เด็กอยากกินอาหารได้ด้วย

พักผ่อนนอนหลับในที่อากาศถ่ายเท

เมื่อไม่สบาย ควรพักผ่อนมากกว่าปกติ อย่าเพิ่งพาออกไปนอนบ้านโดยเฉพาะในสถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน ควรจัดห้อง ที่พัก ที่นอน ให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก สะอาด ไม่ควรเปิดเครื่องปรับอากาศ หากจำเป็นต้องเปิดพัดลมก็ไม่ควรให้ลมพัดมาโดนตัวเด็กตรงๆ

เด็กชักต้องทำอย่างไร

หากเด็กมีอาการชัก ให้จับเด็กนอนตะแคงหน้าไปข้างใดข้างหนึ่งโดยไม่ต้องหนุนหมอน เพื่อให้ของเหลว เช่น เสมหะ น้ำมูก น้ำลาย ไหลออก กันการสำลัก ห้ามเอาสิ่งของ ช้อน หรือแม้แต่นิ้วมืองัดปากเด็ก งดป้อนยาและน้ำทางปากให้เด็กตอนเด็กชักหรือตอนที่เด็กหมดสติไม่รู้สึกตัว ถ้าเด็กมีไข้สูงควรรีบเช็ดตัวแล้วพาเด็กไปพบแพทย์ให้ตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงของการชักเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงการดูแลเบื้องต้นในกรณีที่เด็กมีไข้ไม่สูงนัก หรืออยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาได้ อย่างไรก็ดี หากเด็กมีไข้และคุณพ่อคุณแม่พร้อมที่จะพาไปหาหมอก็ควรทำทันทีจะดีกว่า

แหล่งอ้างอิง : www.pobpad.com

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

วิธีป้องกันโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่มากับฝน ถ้าไม่อยากให้ลูกป่วย ต้องทำแบบนี้!

ลูกเป็นหวัดลงกระเพาะ ไวรัสลงกระเพาะ ระบาด ทารก-เด็กเล็ก ต้องระวังป่วย

วิธีป้องกันโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่มากับฝน ถ้าไม่อยากให้ลูกป่วย ต้องทำแบบนี้!

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

img

บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ลูกไอมาก ลูกไอตอนกลางคืนบ่อย นอนแล้วไอ เกิดจากโรคอะไรได้บ้าง?
แชร์ :
•••
  • ลูกไอตอนกลางคืน ไอถี่ ไอมาก ระวังสัญญาณ 3 โรคร้าย

    ลูกไอตอนกลางคืน ไอถี่ ไอมาก ระวังสัญญาณ 3 โรคร้าย

  • ลูกไอมาก ทําไงดี  ไอไม่หยุด แก้ไอยังไงแบบไม่ต้องพึ่งยาบ่อยๆ

    ลูกไอมาก ทําไงดี ไอไม่หยุด แก้ไอยังไงแบบไม่ต้องพึ่งยาบ่อยๆ

  • อันตราย!! อย่าปล่อยให้ลูกลิ้มลองแอลกอฮอล์แม้แต่นิดเดียว

    อันตราย!! อย่าปล่อยให้ลูกลิ้มลองแอลกอฮอล์แม้แต่นิดเดียว

  • ชื่อลูกต้องห้าม ชื่อไหนห้ามตั้งให้ลูก ชื่อลูกความหมายไม่ดี ตั้งแล้วผิดกฎหมาย

    ชื่อลูกต้องห้าม ชื่อไหนห้ามตั้งให้ลูก ชื่อลูกความหมายไม่ดี ตั้งแล้วผิดกฎหมาย

app info
get app banner
  • ลูกไอตอนกลางคืน ไอถี่ ไอมาก ระวังสัญญาณ 3 โรคร้าย

    ลูกไอตอนกลางคืน ไอถี่ ไอมาก ระวังสัญญาณ 3 โรคร้าย

  • ลูกไอมาก ทําไงดี  ไอไม่หยุด แก้ไอยังไงแบบไม่ต้องพึ่งยาบ่อยๆ

    ลูกไอมาก ทําไงดี ไอไม่หยุด แก้ไอยังไงแบบไม่ต้องพึ่งยาบ่อยๆ

  • อันตราย!! อย่าปล่อยให้ลูกลิ้มลองแอลกอฮอล์แม้แต่นิดเดียว

    อันตราย!! อย่าปล่อยให้ลูกลิ้มลองแอลกอฮอล์แม้แต่นิดเดียว

  • ชื่อลูกต้องห้าม ชื่อไหนห้ามตั้งให้ลูก ชื่อลูกความหมายไม่ดี ตั้งแล้วผิดกฎหมาย

    ชื่อลูกต้องห้าม ชื่อไหนห้ามตั้งให้ลูก ชื่อลูกความหมายไม่ดี ตั้งแล้วผิดกฎหมาย

  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การตั้งชื่อลูก
    • โภชนาการระหว่างตั้งครรภ์​
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • เซ็กส์และความสัมพันธ์
  • การตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • นมแม่และนมผง
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • ดวงและราศี
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ดารา-แฟชั่น
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore
  • Thailand
  • Indonesia
  • Philippines
  • Malaysia
  • Sri Lanka
  • India
  • Vietnam
  • Australia
  • Japan
  • Nigeria
  • Kenya
พันธมิตรของเรา
Mama's Choice Partner Brand Logo
© Copyright theAsianparent 2021. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้
บทความ
  • img
    สังคมออนไลน์
  • img
    COVID-19
  • img
    เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • img
    ช่วงวัยของเด็ก
  • img
    สุขภาพ
  • img
    ชีวิตครอบครัว
  • img
    การศึกษา
  • img
    ไลฟ์สไตล์​
  • img
    วิดีโอ
  • img
    ชอปปิง
  • img
    TAP IDOL
เครื่องมือ
  • ?คอมมูนิตี้สำหรับคุณแม่
  • ติดตามการตั้้งครรภ์
  • ติดตามพััฒนาการของลูกน้อย
  • สูตรอาหาร
  • อาหาร
  • โพล
  • img
    VIP Parents
  • การประกวด
  • โฟโต้บูท

ดาวน์โหลดแอปของเรา

  • ติดต่อโฆษณา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทีม
  • กฎการใช้งานคอมมูนิตี้
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดการใช้
  • มาเข้าร่วมกับเรา
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ?ฟีด
  • โพล
เปิดในแอป