X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกเสี่ยงต่อการเป็นโรคขาดโปรตีนและพลังงาน จากการงดอาหารกลุ่มเสี่ยงโดยไม่จำเป็น

บทความ 3 นาที
ลูกเสี่ยงต่อการเป็นโรคขาดโปรตีนและพลังงาน จากการงดอาหารกลุ่มเสี่ยงโดยไม่จำเป็น

ทารกน้อยอาจมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคขาดโปรตีนและพลังงานได้จากการงดอาหารกลุ่มเสี่ยงโดยไม่จำเป็น

ลูกเสี่ยงต่อการเป็นโรคขาดโปรตีนและพลังงาน

แม่ต้องระวัง! ลูกเสี่ยงต่อการเป็นโรคขาดโปรตีนและพลังงาน จนมีรูปร่างผอมและตัวเตี้ย

 

น้องหน่อย (นามสมมุติ) อายุ 1 ปี มาพบกุมารแพทย์เนื่องจากคุณแม่สังเกตว่า น้ำหนักตัวขึ้นช้าและดูผอมลงในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา จากการสอบถามประวัติพบว่า น้องหน่อยทานนมแม่ล้วนจนถึงอายุ 6 เดือน หลังจากนั้นก็เริ่มทานอาหารเสริมตามวัย ได้แก่ ข้าวบด เนื้อไก่ ปลาน้ำจืด ผักใบเขียว ร่วมกับนมแม่ โดยที่คุณแม่ไม่ให้ทานอาหารกลุ่มเสี่ยง คือ นมวัว ไข่ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง แป้งสาลี และอาหารทะเลเลย เพราะกลัวว่าจะแพ้อาหาร และตัวคุณแม่ก็งดอาหารดังกล่าวเองด้วย

จากการตรวจร่างกายก็พบว่า น้องหน่อยมีรูปร่างผอมและตัวเตี้ย โดยทั้งน้ำหนักและส่วนสูงอยู่ในช่วงประมาณเปอร์เซ็นไทล์ที่ 10 ซึ่งในช่วงก่อนอายุ 6 เดือนน้ำหนักและส่วนสูงอยู่ในเปอร์เซ็นไทล์ที่ 90 มาตลอด เมื่อตรวจเลือดก็พบว่ามีภาวะซีดจากขาดธาตุเหล็ก

แม้ว่าน้ำหนักและส่วนสูงของน้องหน่อยในขณะนี้ยังไม่ได้จัดว่าเป็นโรคขาดโปรตีนและพลังงาน แต่ก็เรียกได้ว่ามี “ภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคขาดโปรตีนและพลังงาน” ซึ่งต้องรีบแก้ไขพฤติกรรมการทานอาหาร ก่อนที่จะเกิดภาวะดังกล่าว

 

ภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคขาดโปรตีนและพลังงานเป็นอย่างไร?

ภาวะนี้เป็นภาวะที่เสี่ยงต่อการผอม และตัวเตี้ยผิดปกติ โดยมีค่าน้ำหนักหรือส่วนสูงต่ำกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 ของเกณฑ์อ้างอิงหรือต่ำกว่าค่ามัธยฐานของเกณฑ์อ้างอิงเกิน 1.5 เท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งจัดว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสสูงจะมีปัญหาเป็นโรคขาดโปรตีนและพลังงานในอนาคตถ้าไม่ได้รับการแก้ไข
ทั้งนี้ภาวะผอมจะบ่งบอกถึงการขาดอาหารเฉียบพลัน ส่วนภาวะเตี้ยจะบ่งบอกถึงการขาดอาหารเรื้อรัง
ในเด็กที่ขาดอาหาร อาจมีภาวะใดภาวะหนึ่งหรือทั้งคู่ก็ได้

 

สาเหตุของภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคขาดโปรตีนและพลังงานคืออะไร?

สาเหตุของภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคขาดโปรตีนและพลังงานมี 2 สาเหตุสำคัญคือ

  1. การให้อาหารแก่เด็กที่ไม่เหมาะสมตามวัย
  2. ภาวะเจ็บป่วยจากโรคเรื้อรังต่าง ๆ

โดยสาเหตุส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการให้อาหารทารกและเด็กที่ไม่เหมาะสม ซึ่งในปัจจุบันจะพบได้บ่อย โดยเฉพาะในกลุ่มคุณแม่ที่งดอาหารกลุ่มเสี่ยงโดยไม่จำเป็น เพราะกลัวว่าลูกจะเป็นโรคภูมิแพ้ ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีอาการผิดปกติใด ๆ

Advertisement

 

คุณหมอจะวินิจฉัยภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคขาดโปรตีนและพลังงานได้อย่างไร?

คุณหมอจะวินิจฉัยภาวะนี้จากน้ำหนักและส่วนสูงของเด็ก ตามเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น ร่วมกับการซักประวัติอย่างละเอียด และการตรวจร่างกาย เพื่อหาสาเหตุที่ซ่อนอยู่ รวมทั้งภาวะแทรกซ้อน เช่นโรคติดเชื้อเรื้อรัง โรคที่มีความผิดปกติของอวัยวะเรือรังอันมีผลต่อการเจริญเติบโต และการขาดวิตามิน เกลือแร่ต่าง ๆ

 

การรักษาภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคขาดโปรตีนและพลังงานทำได้อย่างไร ?

การรักษาเด็กที่เป็นภาวะนี้จะมุ่งที่การรักษาสาเหตุของโรค ร่วมกับการให้อาหารที่เหมาะสมตามวัยและเสริมวิตามิน แร่ธาตุ ที่จำเป็นต่อร่างกาย

ยกตัวอย่างเช่นกรณีของน้องหน่อย สาเหตุของภาวะนี้เป็นเพราะการให้อาหารที่ไม่เหมาะสมตามวัย เนื่องจากงดอาหารที่เป็นแหล่งของพลังงาน โปรตีนและธาตุเหล็กที่สำคัญ โดยไม่ได้ให้อาหารทดแทนอื่นๆที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ รวมทั้งไม่ได้รับการเสริมธาตุเหล็กวิตามินและเกลือแร่ที่สำคัญ วิธีแก้ไขจึงควรแนะนำคุณแม่ให้อาหารที่เหมาะสมตามวัยของเด็กได้ทุกชนิดที่ไม่ได้แพ้ ร่วมกับ รักษาภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก รวมทั้งเสริมวิตามินและเกลือแร่ที่จำเป็น

 

การป้องกันภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคขาดโปรตีนและพลังงาน ทำได้อย่างไร?

เนื่องจากตั้งแต่ช่วงอายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป จะเป็นวัยที่เด็กควรได้รับอาหารอื่นนอกจากนมแม่ หากเด็กคนใดทานอาหารได้น้อยก็จะเริ่มมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ อันได้แก่ น้ำหนักเริ่มขึ้นช้า ต่อมาจึงมีน้ำหนักตัวน้อย และผอมลง หลังจากนั้นจึงพบว่ามีความสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

การป้องกันภาวะนี้ในกรณีที่เด็กไม่ได้มีโรคประจำตัวอันเป็นสาเหตุอื่น ๆ จะสามารถป้องกันได้โดยการให้ทารกทุกคนได้รับอาหารที่เหมาะสมตามวัย

***ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่สามารถดาวน์โหลด “คู่มืออาหารตามวัยสำหรับทารกและเด็ก”จัดทำโดยกรมอนามัยร่วมกับสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้ที่ website ของ ชมรมโภชนาการเด็กแห่งประเทศไทย https://www.pednutrition.org/books/คู่มืออาหารตามวัยสำหรับทารกและเด็กเล็ก ค่ะ***

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

บทความจากพันธมิตร
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
วิธีเลือกยาสีฟันเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรเรียนรู้
วิธีเลือกยาสีฟันเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรเรียนรู้

10 สัญญาณเตือน ลูกของคุณกำลังขาดสารอาหาร

ถอดรหัส “แกงเลียง” เมนูสุดฮิตเพิ่มน้ำนมแม่

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ลูกเสี่ยงต่อการเป็นโรคขาดโปรตีนและพลังงาน จากการงดอาหารกลุ่มเสี่ยงโดยไม่จำเป็น
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว