ถ้าคุณแม่พ่อคุณแม่เจอลูกลงไปนอนร้องไห้กับพื้นเพื่ออยากจะได้ของซักชิ้น หรือปฏิเสธที่จะกินของมีประโยชน์ที่สรรหามาให้ เริ่มโมโห ฉุนเฉียว ต่อต้าน แสดงออกถึงความคิดที่เริ่มเป็นอิสระแบบที่ไม่ฟังพ่อแม่เหมือนตอนช่วงวัย 1 ขวบ และพฤติกรรมที่ยุ่งยากอื่น ๆ ของเด็กน้อยในช่วงวัยเตาะแตะ อย่าเพิ่งคิดว่ากำลังประสบปัญหา ลูกเลี้ยงยาก กันอยู่นะคะ
10 ความพยายามของพ่อแม่ในการเลี้ยงลูกเชิงบวกสำหรับ ลูกเลี้ยงยาก
#1 บอกความคาดหวังกับลูกไว้ล่วงหน้า
เป็นการดีที่คุณพ่อคุณแม่อาจจะพูดถึงความคาดหวังอะไรจากตัวลูกในบริบทที่กำหนด เพื่อที่จะได้ให้ลูกเข้าใจและประสบความสำเร็จได้ เนื่องจากเขารู้ว่าสิ่งที่พ่อแม่ต้องการคืออะไร และยังช่วยให้ลูกเข้าใจถึงเรื่องระเบียบวินัย เช่น ก่อนปล่อยให้ลูกเล่นของเล่นก็บอกล่วงหน้าได้ว่าหลังจากเล่นเสร็จแล้ว พ่อแม่ก็อยากให้ลูกช่วยเก็บของเล่นเข้าที่ด้วยนะจ๊ะ
#2 หลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำในเชิงลบ
อย่างเช่น การปฏิเสธหรือออกคำสั่งกับลูกว่าด้วยคำว่า “ไม่ ห้าม อย่า” คำพูดเหล่านี้นอกจะเป็นการไปปิดกั้นพัฒนาการของเจ้าตัวเล็กวัยกำลังอยากเรียนรู้แล้ว ยังเป็นการขัดใจไปกระตุ้นต่อมทำให้เจ้าหนูผู้เลี้ยงยากรู้สึกอยากต่อต้านขึ้นอีก ดังนั้นการใช้คำพูดด้วยการให้ ความสำคัญในการพยายามที่บอกกับลูกสิ่งที่ทำมันจะไม่ดี และอะไรคือสิ่งที่ลูกสามารถทำได้ดี
#3 ให้ 2 ทางเลือกที่มีผลลัพธ์เหมือนกัน
นี่คือหนึ่งในเคล็ดลับที่ง่ายที่สุดสำหรับการเลี้ยงดูลูกน้อยวัยเตาะแตะที่เลี้ยงยาก การให้สองตัวเลือกที่มีผลลัพธ์เดียวกันนั้นทำให้เด็กน้อยรู้สึกว่าเขาเป็นคนคิดได้เอง ในขณะเดียวกันคุณแม่ก็ได้สมหวังในสิ่งที่ต้องการให้ทำด้วย ตัวอย่างเช่น “ลูกอยากจะใส่รองเท้าเองหรือให้แม่ใส่ให้” หรือ “ลูกอยากที่จะเก็บของที่เล่นในตอนนี้เลยหรือในสองนาทีให้หลัง” ผลลัพธ์เหมือนกันต่างกันที่คำถาม
#4 ให้คำเตือนล่วงหน้าและการใช้การจับเวลา
เด็ก ๆ นั้นจะทำได้ดี เมื่อคุณแม่ใช้การเตือนล่วงหน้าก่อนที่จะหยุดความสนุกของเขา เช่น การบอกว่าอีก 5 นาทีเราจะเลิกเล่นแล้วไปอาบน้ำกันนะ หรือการใช้นาฬิกาจับเวลาส่งเสียงดัง ติ๊ด ๆ เมื่อถึงเวลา แม้ว่าลูกอาจจะพยายามที่จะยืดเวลาในการเล่นครั้งสุดท้ายออกไปให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่เขาก็เริ่มรู้ว่า เวลาเล่นของเขาในช่วงนี้หมดแล้ว
#5 นับ 1 ให้ถึง 3
ถ้าลูกไม่ฟังหรือยืนยันเพิ่มทางเลือกอื่นนอกจากสองทางเลือกที่แม่ให้ คุณแม่อาจจะลองยื่นคำขาดกับลูกดู เช่น “แม่จะนับ 1 ถึง 3 และแม่ต้องการให้ลูกตั้งใจฟังให้ดี ๆ หรือจะให้แม่ทำโทษด้วยการนั่งนิ่ง ๆ อยู่กับที่ การส่งสัญญาณนับเตือนล่วงหน้าจะช่วยให้ลูกได้รับรู้ถึงผลที่จะตามมา ซึ่งจะช่วยแม่จัดการหนูน้อยได้ง่ายขึ้นอีกนิด
#6 เอาใจใส่ต่อตัวลูก
ความรู้สึกว่ามีคนรับฟังและเข้าใจเป็นหนึ่งในของขวัญที่มีค่าที่สุดที่พ่อแม่สามารถให้ลูก ๆ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กน้อยวัยเตาะแตะที่เลี้ยงยากที่มักชอบระเบิดอารมณ์ออกมา ซึ่งอาจเป็นเพราะว่าหนูน้อยนั้นอาจยังไม่รู้จักว่าจะแสดงออกทางคำพูดในสิ่งที่พวกเขารู้สึกได้อย่างไร ดังนั้นการใส่ใจต่อความรู้สึกลูก พยายามแปลความหมายในคำพูดและความรู้สึกของลูก แสดงให้เห็นว่าพ่อแม่รับฟัง จะทำให้ลูกสามารถประมวลผลอารมณ์ของตนได้ง่ายขึ้น และพัฒนาภาษาเพื่อใช้คำพูดและอารมณ์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมยิ่งขึ้น
#7 กอดเพื่อปลอบใจ
การกอดเป็นอิทธิพลที่ทรงพลังที่สุด ยิ่งตอนที่ลูกร้องไห้งอแงอย่างรุนแรง การเข้าไปกอดและปลอบประโลมด้วยถ้อยคำที่นุ่มนวลจะช่วยให้ลูกบรรเทาอารมณ์ลงและช่วยให้รู้สึกดีได้เร็วขึ้น
#8 ถ้าพูดคุยกันไม่รู้เรื่องก็อย่าเพิ่งเข้าไปคุย
เมื่อคุณพ่อคุณแม่ให้ทางเลือก ให้ความเอาใจใส่อย่างมากแล้ว แต่ลูกก็ยังคงไม่ฟัง บางครั้งสถานการณ์แบบนี้จะเป็นการดีที่สุดก็คือปล่อยไปแบบนั้นไปซักพัก การใช้อารมณ์มีแต่จะทำให้เรื่องแย่ไปกว่านี้ แต่อย่าลืมว่าลูกจะต้องไม่อยู่เพียงลำพังแม้ในขณะที่เขากำลังหัวเสียก็ไม่ควรแยกตัวออกมาจากลูกนะคะ
แม้พฤติกรรมการเลี้ยงยากของลูกในช่วงวัยวัยเตาะแตะจะทำให้คุณพ่อคุณแม่หัวเสียบางในบางครั้ง แต่พ่อแม่ก็คือต้นฉบับที่จะส่งเสริมให้ลูกเป็นเด็กดีขึ้นต่อไปในอนาคต บางครั้งก็จำเป็นต้องปล่อยวางกับลูกผู้ยังไม่รู้อิโหน่อิดเหน่ที่เพิ่งผ่านพ้นเลข 1 มาไม่เท่าไหร่ อยู่กับปัจจุบันและสูดหายใจเข้าออกลึก ๆ เพื่อที่จะสามารถแก้ไขทุกอย่างของเจ้าตัวเล็กให้ผ่านไปได้กันนะคะ.
credit content : parentingfromtheheartblog.com
บทความใกล้เคียงที่น่าสนใจ :
เช็กหน่อยไหม ลูกเลี้ยงยาก vs. เลี้ยงง่าย
ตามใจไปถึงไหน เลี้ยงลูกอย่างไรให้ป่วยเป็น “โรคเอาแต่ใจตัวเอง”
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!