X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกอ้วนจ้ำม่ำแปลว่าสุขภาพแข็งแรง จริงหรือ

บทความ 3 นาที
ลูกอ้วนจ้ำม่ำแปลว่าสุขภาพแข็งแรง จริงหรือ

จริงหรือไม่ ที่ใครๆ บอกว่า เด็กอ้วนคือเด็กสุขภาพดี ยิ่งคลอดออกมาตัวโต น้ำหนักเยอะ จะหมายถึงลูกแข็งแรง ความเป็นจริงเป็นอย่างไรมาดูคำตอบกัน

 

เด็กอ้วน-ไขมันในเลือดสูง

 

ลูกอ้วนจ้ำม่ำแปลว่าสุขภาพแข็งแรง จริงหรือไม่

ทารกอ้วนจ้ำม่ำดูน่ารัก น่าฟัด ที่ใครๆ ก็บอกว่า ถ้าลูกคลอดออกมาแล้วดูอ้วนท้วนหมายถึงร่างกายแข็งแรงดี แต่จริงหรือไม่ที่ทารกตัวใหญ่แสดงถึงสุขภาพที่แข็งแรง...

เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ ที่ทารกจะมีรูปร่าง ขนาด และน้ำหนักตัวที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งจริงๆ แล้วมีปัจจัยอยู่หลายอย่างที่มีผลต่อขนาดทารก เช่น เรื่องพันธุกรรม สิ่งที่เกิดในครรภ์ และอาหารที่ทารกได้รับ

พ่อแม่ที่เห็นขนาดลูกใหญ่กว่าค่าเฉลี่ยหรือขนาดตัวที่เล็กเกินไป ต่างก็กังวลถึงความผิดปกติของร่างกายลูกไม่แตกต่างกัน แล้วที่ใครต่อใครบอกกันว่าลูกอ้วนท้วน หมายความว่าแข็งแรงดีนั้นจริงหรือไม่? ลองมาดูกันว่าอะไรคือปัจจัยที่ทารกน้ำหนักเยอะ และความอ้วนจ้ำม่ำของลูกนั้นแสดงถึงสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์จริงเหรอ

 

1. ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์มีผลต่อน้ำหนักตัวลูก

โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทารกจะตัวโตและมีน้ำหนักตัวเยอะ มีดังนี้

- ภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์
- เบาหวานประเภทที่ 2 (Type 2 Diabetes)
- ขณะตั้งครรภ์แม่มีภาวะอ้วน
- แม่มีน้ำหนักตัวเพิ่มเกินเกณฑ์ปกติ

ถ้าคุณแม่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคเบาหวาน ก็จะส่งผลให้น้ำตาลในเลือดสูงเช่นเดียวกับระดับอินซูลินที่จะเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการเติบโตของทารกในครรภ์ ที่น่าเป็นห่วงคือ การที่ทารกตัวโตเกินกว่าปกติจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนและโรคเบาหวาน แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลไป เพราะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นสามารถลดความเสี่ยงโรคเหล่านี้ได้

 

2. การให้นมแม่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคเบาหวาน

ถ้าลูกตัวโตเกินไป จนคุณแม่เริ่มกังวลว่าจะเสี่ยงเป็นโรคอ้วนในอนาคต ก็ยิ่งต้องเลือกการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะนมแม่สามารถลดความเสี่ยงการเป็นโรคอ้วนได้ และยังมีงานวิจัยระบุว่า การให้นมลูกช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ทางฝั่งคุณแม่ได้ด้วย

 

3. ลูกดูดนมแม่ได้เพียงพอเท่าที่ร่างกายต้องการ

ทารกที่ดูดนมจากอกแม่โดยตรง จะสามารถดูดนมได้เพียงพอเท่าที่ร่างกายต้องการ ทั้งการได้รับน้ำนมแม่อย่างเต็มที่ และการดูดเต้านมเปล่า (non-nutritive sucking) จึงได้จำนวนเพียงพอต่อการเจริญเติบโต และยังไม่ต้องห่วงว่าการดื่มนมแม่มากๆ จะทำให้ลูกอ้วน

 

4. ทารกที่ไม่ได้ดื่มนมแม่เสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน

อย่างแรกเลยคือ ทารกที่ดื่มนมจากขวดจะไม่สามารถควบคุมปริมาณนมที่ต้องการอย่างพอดีได้ ด้วยเหตุผลดังนี้

- ทารกไม่สามารถดูดเต้าเฉยๆ ได้แบบการดูดเต้านมเปล่า (non-nutritive sucking) จากอกของแม่
- นมจากขวดไหลเร็วกว่านมแม่จากเต้า
- ทุกครั้งที่ดูดนมจากขวด น้ำนมก็จะไหลออกมา แม้ว่าลูกไม่ต้องการดื่มนมแล้ว
- ยิ่งให้นมลูกมากเท่าไหร่ ลูกก็ยิ่งอ้วน
- ทารกจะดื่มไปเรื่อยๆ จนกว่านมจะหมด แม้ว่าทารกอิ่มแล้ว

การให้นมจากขวดนั้นคำนวณได้ยากว่า ให้แค่ไหนถึงจะเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของลูก แถมนมผงยิ่งดื่มมากก็ยิ่งเสี่ยงต่อโรคอ้วน เพราะนมผงไม่มีฮอร์โมนเลปติน หรือฮอร์โมนความอิ่ม ลูกจึงกินนมได้เรื่อยๆ แถมนมผงยังมีโปรตีนสูงส่งผลให้ทารกเป็นโรคอ้วนได้ในอนาคต

5. ควบคุมปริมาณนมผงให้ทารกดื่มอย่างพอดี

ปัจจุบันมีนมผงสูตรโปรตีนต่ำ ที่จะช่วยให้ทารกลดความเสี่ยงการเป็นโรคอ้วนในอนาคตได้ นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรจะปรึกษาแพทย์เพื่อควบคุมปริมาณนมผง หรือการให้นมจากขวด ว่าควรให้ในปริมาณต่อวันมากเท่าไหร่จึงจะพอดี

 

6. กินอย่างพอดี

ถ้าลูกเกิน 6 เดือนแล้ว จะอยู่ในวัยที่ให้ลูกเริ่มทานอย่างอื่นนอกเหนือจากนม เป็นช่วงที่คุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจในการเลือกสรรอาหารที่ดีมีประโยชน์ เหมาะกับลูก เมื่อลูกเติบโต คุณพ่อคุณแม่ก็ควรจะแนะนำให้ลูกทานสิ่งที่ดีมีประโยชน์ต่อร่างกาย

- คุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูก โดยเลือกกินสิ่งที่ดีมีประโยชน์ในแต่ละมื้อ
- ควรจะทานอาหารพร้อมหน้าพร้อมตากันทั้งครอบครัว เพื่อจะได้เลือกสรรเฉพาะอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
- เลือกโปรตีนที่ดีแต่ไม่อ้วน เช่น เป็ด ไก่ ปลา นำมาทำอาหารอร่อยๆ แล้วใส่ผักชนิดต่างๆ ลงไปเพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหาร และในโต๊ะอาหารก็ไม่ควรขาดผลไม้ นอกจากนี้ ยังต้องเพิ่มผลิตภัณฑ์จากนมลงไปให้กับลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี รวมทั้งเพิ่มเติมเมนูไขมันดีอย่างไข่และอโวคาโด และไม่ควรพลาด ธัญพืช โฮลเกรน เช่นพวกขนมปังโฮลวีทและข้าวซ้อมมือ เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ลูกเติบโตอย่างแข็งแรง
- ลด ละ เลิก อาหารที่ไม่มีประโยชน์ เช่น บิสกิต เค้ก น้ำผลไม้ หรือน้ำอัดลม

 

จะเห็นได้ว่า ลูกอ้วน ไม่ใช่ว่าลูกสุขภาพดี แต่กลับเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคร้ายในอนาคต จึงต้องควบคุมให้น้ำหนักลูกอยู่ในเกณฑ์ปกติ และเพิ่มเติมสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ลูกจะได้สุขภาพดีอย่างแท้จริง

 

บทความจากพันธมิตร
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
จับตาสถานการณ์ ไข้เลือดออก ปี 2565 ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่เคยหายไป ภายใต้เงาครึ้มของโควิด - 19
จับตาสถานการณ์ ไข้เลือดออก ปี 2565 ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่เคยหายไป ภายใต้เงาครึ้มของโควิด - 19
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ

ที่มา : bellybelly.com

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เด็กอ้วนเสี่ยงความจำไม่ดี เรียนไม่เก่ง

แก้ปัญหาโรคอ้วนในเด็ก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • ลูกอ้วนจ้ำม่ำแปลว่าสุขภาพแข็งแรง จริงหรือ
แชร์ :
  • คุณพ่อหุ่นหมี อบอุ่น ใจดี ดีต่อใจ วิจัยเผยผู้หญิงชอบผู้ชายหุ่นหมีมากกว่า

    คุณพ่อหุ่นหมี อบอุ่น ใจดี ดีต่อใจ วิจัยเผยผู้หญิงชอบผู้ชายหุ่นหมีมากกว่า

  • เด็กอ้วนเสี่ยงความจำไม่ดี เรียนไม่เก่ง

    เด็กอ้วนเสี่ยงความจำไม่ดี เรียนไม่เก่ง

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • คุณพ่อหุ่นหมี อบอุ่น ใจดี ดีต่อใจ วิจัยเผยผู้หญิงชอบผู้ชายหุ่นหมีมากกว่า

    คุณพ่อหุ่นหมี อบอุ่น ใจดี ดีต่อใจ วิจัยเผยผู้หญิงชอบผู้ชายหุ่นหมีมากกว่า

  • เด็กอ้วนเสี่ยงความจำไม่ดี เรียนไม่เก่ง

    เด็กอ้วนเสี่ยงความจำไม่ดี เรียนไม่เก่ง

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ