X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกหายใจเสียงดังวี้ด ระวังอันตราย ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

บทความ 3 นาที
ลูกหายใจเสียงดังวี้ด ระวังอันตราย ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจลูกหายใจเสียงดังวี้ด ระวังอันตราย ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

อาการหายใจหอบเหนื่อย ลูกหายใจเสียงวี้ด ในเด็กเล็ก เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย จากการศึกษาพบว่าเด็กเล็ก 3 ขวบปีแรก อาจมีโอกาสเกิดอาการเช่นนี้หลังการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจได้ถึงประมาณร้อยละ 30

ลูกหายใจเสียงดังวี้ด เป็นโรคหืดหรือไม่?

คุณแม่น้องจิ๊บ (นามสมมติ) อายุ 1 ปีครึ่ง มาปรึกษาหมอด้วยสีหน้ากังวลว่า “คุณหมอคะ น้องจิ๊บเป็นไข้ ไอ มีน้ำมูก แล้วมีอาการเหนื่อยหอบ หายใจเสียงดังวี้ด ๆ จนต้องมาพ่นยาติดต่อกัน 3 วัน เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน คุณแม่กังวลว่าจะเป็นโรคหืดเหมือนเพื่อนคุณแม่คนหนึ่งที่เค้ามีอาการหอบมากๆ ตั้งแต่เด็กจนโตค่ะ” ลูกหายใจเสียงดังวี้ด เป็นโรคหืดหรือไม่นะ

ลูกหายใจเสียงดังวี้ด หายใจหอบเหนื่อย เกิดจากอะไร?

อาการแบบน้องจิ๊บ ในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 5 ปี มักเกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ เชื้อไวรัส และแบคทีเรีย โดยไวรัสที่พบได้บ่อย ได้แก่ respiratory syncitial virus (RSV), adenovirus, parainfluenza virus และ human metapneumovirus

ส่วนในเด็กโตมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส rhinovirus และ influenza A บางครั้งอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น mycoplasma ได้

สำหรับในเด็กอายุต่ำกว่า 18 เดือน สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือ การติดเชื้อ RSV ที่ทำให้หลอดลมฝอยอักเสบ ผู้ป่วยเด็กเล็กบางส่วนมีอาการหายใจหอบเหนื่อย มีเสียงวี้ดจากโรคหืดที่มีอาการเป็นครั้งแรก

นอกจากนี้ยังมีผู้ป่วยเด็กเล็กส่วนน้อยที่อาการดังกล่าวเกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิดของระบบทางเดินหายใจ กรดไหลย้อนในเด็ก และสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจได้ด้วยค่ะ

ลูกหายใจเสียงดังวี้ด

ลูกหายใจเสียงดังวี้ด

โรคหืดในเด็ก แตกต่างอาการหายใจหอบเหนื่อย มีเสียงวี้ดอย่างไร?

อาการหายใจหอบเหนื่อย มีเสียงวี้ดที่มีสาเหตุจากโรคหืด ผู้ป่วยเด็กจะมีอาการไอ หอบ เหนื่อย แน่นหน้าอก หรือหายใจมีเสียงวี้ด โดยเป็นซ้ำหลาย ๆ ครั้ง มักจะเกิดขึ้นในเวลากลางคืนหรือเช้าตรู่ มีปัจจัยกระตุ้นได้แก่ การติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ การออกกำลังกาย และการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ อาการดีขึ้นชัดเจนหลังจากได้รับการรักษาด้วยยาขยายหลอดลม มีอาการของโรคภูมิแพ้อื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ และมีประวัติโรคภูมิแพ้ในครอบครัว ซึ่งเด็กที่มีอาการหอบเหนื่อยจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจมักจะไม่มีลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้

ทั้งนี้ผู้ป่วยเด็กที่เคยเป็นหลอดลมฝอยอักเสบจากติดเชื้อ RSV เมื่อหายแล้วอาจมีอาการหายใจหอบเหนื่อยต่อมาได้ อีกหลายเดือน ซึ่งทำให้วินิจฉัยแยกได้ยากจากโรคหืด ต้องอาศัยการตรวจติดตามอาการกับคุณหมอต่อไป

บทความจากพันธมิตร
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้

การพยากรณ์โรคของอาการหายใจหอบเหนื่อย มีเสียงวี้ดจากการติดเชื้อในทางเดินหายใจเป็นอย่างไร?

โดยปกติเมื่อเด็กโตขึ้น ทางเดินหายใจกว้างขึ้น และมีการติดเชื้อลดลง และอาการหายใจเสียงดังวี้ดจะลดลงจนหายไปในที่สุด มีข้อมูลจากการศึกษาวิจัยพบว่าประมาณร้อยละ 60 ของเด็กที่เคยมีอาการหายใจเสียงดังวี้ด ในช่วงอายุ 3 ขวบปีแรก จะหายเป็นปกติ ไม่มีอาการอีกเลยเมื่ออายุ 6 ปี ส่วนร้อยละ 40 ที่ยังคงมีอาการต่อเนื่องมักมีอาการของโรคภูมิแพ้ หอบหืด รวมทั้งอาจมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ได้แก่ มีประวัติโรคหืดในครอบครัว และ สัมผัสกับควันบุหรี่จากคนใกล้ชิด

อย่างไรก็ดี เด็กเล็กมีอาการหายใจหอบเหนื่อย มีเสียงดังวี้ดเป็นครั้งแรก คุณหมออาจไม่สามารถให้การวินิจฉัยสาเหตุและบอกการพยากรณ์ของโรคได้แน่นอน เพราะอาจมีอาการหลายอย่างที่คล้ายกันในสาเหตุจากโรคหืด และการติดเชื้อในทางเดินหายใจ คุณพ่อคุณแม่จึงควรปรึกษาคุณหมอ และไปตรวจตามนัด เพื่อที่จะได้เฝ้าระวังโรคหืด และได้รับการรักษาที่ถูกต้องเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในระบบทางเดินหายใจนะคะ

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

ทำอย่างไรเมื่อลูกหายใจครืดคราด‏

แม่ช็อค!! ลูกหายใจเสียงดัง เอ็กซเรย์เจอก้อนแบตเตอรี่ในหลอดอาหาร

ทารกเป็นหวัด พ่อแม่ทำอย่างไรดี?

TAP mobile app

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ลูกหายใจเสียงดังวี้ด ระวังอันตราย ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
แชร์ :
  • โรคไข้หวัดใหญ่ในเด็ก

    โรคไข้หวัดใหญ่ในเด็ก

  • การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 69

    การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 69

  • ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

    ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

  • 12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

    12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

app info
get app banner
  • โรคไข้หวัดใหญ่ในเด็ก

    โรคไข้หวัดใหญ่ในเด็ก

  • การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 69

    การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 69

  • ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

    ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

  • 12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

    12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ