ลูกสมองพิการ พัฒนาการช้า
ไม่อยากเห็นลูกคลอดออกมา ลูกสมองพิการ พัฒนาการช้า แม่ต้องระวัง! อย่าให้ร่างกายเสี่ยง สำหรับสมองพิการ (ซี.พี) พัฒนาการล่าช้าในเด็ก เป็นโรคความผิดปกติทางระบบประสาทที่เกิดกับทารกหรือเด็กเล็ก ส่งผลต่อการควบคุมกล้ามเนื้อ การทรงตัว ทำให้มีพัฒนาการช้ากว่าปกติ สาเหตุสำคัญหรือปัจจัยเสี่ยง อาทิ การติดเชื้อของมารดาระหว่างตั้งครรภ์ เช่น หัดเยอรมัน เอดส์, มารดาได้รับสารพิษ ตะกั่ว ปรอท, ความผิดปกติของสมองโดยกำเนิด คลอดก่อนกำหนด, การติดเชื้อในสมอง และสมองเด็กขาดออกซิเจน
ทารกสมองพิการ พัฒนาการล่าช้า
สมองพิการ (ซี.พี.) พัฒนาการล่าช้า ในเด็ก คืออะไร
สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ เผยสมองพิการ(ซี.พี.) เป็นโรคความผิดปกติทางระบบประสาทที่เกิดขึ้นกับทารกหรือเด็กเล็กส่งผลต่อการควบคุมกล้ามเนื้อการทรงตัวทำให้เด็กมีพัฒนาการช้ากว่าปกติ
นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยถึงกรณีทารกสมองพิการ พัฒนาการล่าช้า ว่า สมองพิการเป็นกลุ่มอาการในผู้ป่วยเด็กที่มีความพิการของสมองเกิดจากสิ่งต่าง ๆ ที่มากระทบต่อสมองในช่วงเจริญเติบโตในช่วงวัยเด็ก ซึ่งส่งผลให้การเคลื่อนไหวและการทรงตัวของร่างกายผิดปกติ และอาจมีความผิดปกติของสมองด้านอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น
- การมองเห็น
- ได้ยิน
- การเรียนรู้
- สติปัญญา
- โรคลมชัก
วิธีสังเกตความผิดปกติพัฒนาการช้า
ส่วนใหญ่พ่อแม่มักพบความผิดปกติได้ตั้งแต่ก่อนอายุ 1 ปี โดยสังเกตจากพัฒนาการ
พัฒนาการทารกที่ล่าช้ากว่าอายุ มีการเกร็งแขนขาทั้งสองข้างหรือซีกใดซีกหนึ่ง เดินไม่ตรง เดินเซ หรือพบมือข้างที่ถนัดเร็วกว่าอายุ 1 ปีครึ่ง เมื่อสังเกตพบความผิดปกติจำเป็นต้องเข้ารับคำปรึกษาโดยตรง โดยกุมารแพทย์ทางระบบประสาทเพื่อให้ตรวจเพิ่มเติมอย่างถูกต้อง
ป้องกันลูกสมองพิการ พัฒนาการช้า
สมองพิการ ซี.พี.
แพทย์หญิงไพรัตน์ แสงดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมถึงกรณีทารกสมองพิการ พัฒนาการล่าช้า ว่า สมองพิการ (ซี.พี.) ในเด็กมีปัจจัยเสี่ยงจากการติดเชื้อของมารดาระหว่างตั้งครรภ์ เช่น หัดเยอรมัน เอดส์ มารดาได้รับสารพิษ ตะกั่ว ปรอท ความผิดปกติของสมองโดยกำเนิด คลอดก่อนกำหนด หรือภาวะสมองเด็กขาดออกซิเจน การติดเชื้อในสมอง เป็นต้น
หลังได้รับการวินิจฉัยโรคสมองพิการ (ซี.พี.) การรักษาจะทำเป็นระบบครอบคลุมองค์รวมทุกด้าน เช่น กายภาพบำบัด เพื่อปรับความตึงตัวของกล้ามเนื้อป้องกันการผิดรูปของข้อ พร้อมทั้งรักษาด้วยกิจกรรมบำบัด เพื่อฝึกทักษะการใช้มือทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ยากิน หรือ ยาฉีดเฉพาะที่เพื่อลดความเกร็งของกล้ามเนื้อ และรักษาด้วยการผ่าตัดในกรณีกระดูกผิดรูป พ่อแม่ผู้ปกครองควรให้เด็กได้ฝึกช่วยเหลือตัวเองขยับ แขน ขา มือ กระตุ้น ให้เด็กได้เรียนรู้ทั้งการเล่น การเคลื่อนไหว การออกเสียง
อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือป้องกันสาเหตุ ลดปัจจัยเสี่ยง ที่จะทำให้เกิดภาวะสมองพิการในเด็ก (ซี.พี.) ดังกล่าวข้างต้น หากบุตรหลานมีภาวะเสี่ยงสงสัยภาวะสมองพิการ ควรรีบพามาตรวจคัดกรองกับกุมารแพทย์ เพราะการได้รับความรักและเอาใจใส่บวกกับดูแลที่ถูกต้องตั้งแต่เด็ก ทำให้เด็กสมองพิการ (ซี.พี.) มีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้เมื่อเทียบกับการรักษาเมื่ออายุมาก ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุและความรุนแรงของโรคด้วย
วิธีป้องกันลูกสมองพิการ พัฒนาการช้าที่ดีที่สุด
- แม่ท้องต้องเริ่มต้นดูแลตั้งแต่ช่วงต้นของการตั้งครรภ์ ด้วยการฝากครรภ์ให้เร็วที่สุด และพบแพทย์ทุกครั้งตามนัด
- แม่ท้องต้องดูแลตัวเองให้ดีเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตลอดการตั้งครรภ์
- แม่ท้องต้องทานวิตามินเสริมตอนท้องตามที่แพทย์สั่ง
- แม่ท้องต้องดื่มน้ำมาก ๆ
- แม่ท้องต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- แม่ท้องต้องนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- แม่ท้องต้องอย่าทำงานหนัก
- แม่ท้องต้องพยายามไม่เครียด
- แม่ท้องต้องไม่ทำอะไรก็ตามที่เพิ่มความเสี่ยงระหว่างกายตั้งครรภ์ เช่น ห้ามดื่มเหล้า ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามอยู่ใกล้สารเคมีอันตราย แม่ท้องต้องฉีดวัคซีนคนท้องให้ครบถ้วน
อย่าลืมดูแลตัวเองให้ดีตั้งแต่วันแรกที่รู้ว่าท้อง เพื่อป้องกันลูกสมองพิการ พัฒนาการช้า หากบุตรหลานมีภาวะเสี่ยงสมองพิการ ควรรีบพามาพบกุมารแพทย์ การได้รับความรักและเอาใจใส่บวกกับการดูแลที่ถูกต้องตั้งแต่เด็ก จะทำให้เด็กสมองพิการ (ซี.พี) มีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ตารางพัฒนาการ ทารกแรกเกิด-6 ปี พฤติกรรมและพัฒนาการทารก ตั้งแต่แรกเกิด! ทำอะไรได้มากขึ้นแล้วนะแม่
วิธีป้องกันฟันน้ำนมผุ ทารกฟันผุง่าย ไม่อยากให้ลูกฟันผุ ต้องทำอย่างไร ทำไมทารกถึงฟันน้ำนมผุได้ง่าย?
อาหารที่มีไอโอดีนสําหรับคนท้อง ความต้องการไอโอดีน หญิงตั้งครรภ์ ป้องกันลูกในท้องสมองพิการ
ลูกพัฒนาการช้ารึเปล่า ดูได้จากสัญญาณต่อไปนี้
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!