ทำความเข้าใจ “ลูกสมองดี” เกิดจากสิ่งใด
ก่อนจะเข้าเรื่องมาทำความเข้าใจกันก่อนค่ะว่า “ลูกสมองดี” นั้นมีปัจจัยอะไรที่ช่วยส่งเสริมบ้าง
1. ด้านพันธุกรรม (heredity)
การถ่ายทอดพันธุกรรมที่เกิดจากเซลล์ของพ่อแม่ที่มีความสามารถโดดเด่นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งลูกก็จะมีความสามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจในเรื่องนั้นๆ ได้เร็ว ลักษณะนี้เรียกว่า ยีนเด่นข่มยีนด้อย เช่น เด็กที่เกิดในครอบครัวนักกีฬาก็มักจะมีความสามารถด้านกีฬาไปด้วย อาจใช้เวลาฝึกฝนไม่มากนักก็สามารถเล่นกีฬาเก่งได้
2. อาหาร (food)
ในช่วงแรกเกิดจนถึง 6 ปี หากขาดสารอาหารที่จำเป็นจะมีผลต่อาการเจริญเติบโตของสมองโดยตรง ทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในเด็กเล็กอาจส่งผลให้สมองพิการหรือปัญญหาอ่อนได้ สารอาหารที่จำเป็นสำหรับร่างกาย เช่น DHA ที่มีมากในปลาทะเลน้ำลึก และARA ที่มีมากในอาหารพวกน้ำมันพืช เช่น น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันเม็ดทานตะวัน เป็นต้น
3. ด้านสิ่งแวดล้อม (environmental)
สิ่งแวดล้อมถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้สมองดี สมองฉลาด สภาพแวดล้อมที่ดี มีสิ่งเร้าที่ช่วยกระตุ้นการให้เกิดการเรียนรู้มากเพียงพอ สมองจะได้รับความรู้และประสบการณ์โดยไม่รู้ตัวจะช่วยให้การพัฒนาสมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3 ปัจจัยนี้ คือแนวทางที่ส่งผลให้สมองดี แต่ไม่จำเป็นว่าต้องเสมอไปนะคะ เพราะบางครั้งพ่อแม่สมองดีแต่ไม่ได้เลี้ยงดูลูกแบบเอาใจใส่เท่าที่ควร หรือปล่อยให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ หรือแม้แต่อาหารการกินที่มีสารอาหารไม่เหมาะสมเหล่านี้ย่อมส่งผลเสียต่อสมองลูกได้เช่นกัน มาดูกันค่ะว่า หากต้องการให้ลูกสมองดีตั้งแต่ในครรภ์นั้นควรทำอย่างไร
ลูกสมองดี พ่อแม่สร้างได้
ลูกสมองดี พ่อแม่สร้างได้ตั้งแต่ในครรภ์
รองศาสตราจารย์นายแพทย์วิทยา ถิฐาพันธ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้กล่าวถึงวิธีการกระตุ้นสมองลูกให้เฉลียวฉลาดได้ตั้งแต่ในครรภ์ สรุปได้ดังนี้ค่ะ
1. อารมณ์ของคุณแม่
คือ สิ่งแรกที่จำเป็นและสำคัญมาก คือ อารมณ์ของคุณแม่ค่ะ คุณแม่ที่อารมณ์ดีอยู่เสมอจะส่งผลให้ร่างกายหลั่งสารแห่งความสุขที่เรียกว่า เอนดอร์ฟิน (endorphin) ออกมาผ่านทางสายสะดือส่งผลต่อทารกน้อยในครรภ์ของคุณแม่โดยตรง เพราะเมื่อลูกได้รับสารแห่งความสุขนี้แล้วจะช่วยส่งผลต่อพัฒนาการทั้งทางสมอง (IQ)และทางจิตใจ (EQ) ของลูกค่ะ ตรงกันข้ามหากคุณแม่ที่หงุดหงิดง่าย อารมณ์เสียอยู่บ่อย ๆ ร่างกายจะหลั่งสารแห่งความเครียดที่เรียกว่า อะดรีนาลิน (adrenalin) ผ่านทางสะดือส่งมาถึงลูกเช่นกันค่ะ ผลคือ เมื่อคลอดออกมาแล้วลูกจะงอแง เลี้ยงยาก แถมมีพัฒนาการช้าอีกด้วย
2. ฟังเพลง
การฟังเพลงช่วยให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย ระบบประสาทและใยประสาทที่ทำงานเกี่ยวกับการได้ยินของทารกในครรภ์เริ่มพัฒนาเมื่ออายุครรภ์ 5 เดือน เสียงที่ไพเราะไม่ว่าจะเป็นเสียงพูดคุยของคุณแม่ที่ทักทายลูกในน้อยในครรภ์อย่างอ่อนโยนหรือเสียงดนตรีที่ไม่จำเป็นต้องเป็นเพลงคลาสสิคอย่างที่ได้ยินได้ฟังมา เป็นเพลงที่คุณแม่ชอบฟังหรือแม้แต่เพลงลูกทุ่งก็ยังได้ แต่ขอให้ดนตรีไม่ออกแนวรุนแรงเกินไปเท่านั้น เวลาที่เปิดเพลงควรเปิดให้อยู่ห่างจากหน้าท้องประมาณ 1 ฟุต และเปิดเสียงดังพอประมาณเท่านั้น การทำงานของคลื่นเสียง จะไปกระตุ้นระบบประสาทการทำงานให้เร็วขึ้น ข้อดี คือ ลูกน้อยจะเป็นเด็กที่มีความจำดีแลมีอารมณ์ดีเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
3. ลูบหน้าท้องกระตุ้นพัฒนาลูกน้อย
การลูบหน้าท้องพร้อม ๆ กับการพูดคุยกับลูกไปด้วย จะช่วยกระตุ้นระบบประสาทและสมองส่วนรับรู้ความรู้สึกของลูกให้มีพัฒนาการดีขึ้น คุณหมอแนะนำว่า การลูบท้องควรลูบเป็นวงกลม หรือลูบท้องจากบนลงล่างหรือจากล่างขึ้นบนก็ได้ จะกระตุ้นระบบประสาทและสมองส่วนรับรู้ความรู้สึกของลูกให้มีพัฒนาการดีขึ้น
4. ส่องไฟที่หน้าท้อง
ไฟฉายช่วยกระตุ้นเซลล์สมองและเส้นประสาทส่วนรับภาพและการมองเห็นให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น เป็นการเตรียมความพร้อมด้านการมองเห็นให้ลูกตั้งแต่ในครรภ์ ตามพัฒนาการแล้วลูกน้อยสามารถกะพริบตาเพื่อตอบสนองต่อแสงไฟฉายที่คุณแม่นำมากระตุ้นได้ตั้งแต่อายุครรภ์ประมาณ 7 เดือน
5. ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายส่งผลดีทั้งแต่แม่และทารกน้อยในครรภ์ค่ะ เมื่อคุณแม่ออกกำลังกายร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย จิตใจก็ผ่อนคลาย อารมณ์ดี ร่างกายจะหลังสาร เอนดอร์ฟิน (endorphin) หรือสารแห่งความสุขออกมา นอกจากนี้การออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวร่างกายของคุณแม่ ลูกที่อยู่ในครรภ์ก็จะมีการเคลื่อนไหวตามไปด้วย และผิวกายของลูกจะไปกระแทกกับผนังด้านในของมดลูก ผลดังกล่าวจะกระตุ้นระบบประสาทสัมผัสของลูกให้พัฒนาดีขึ้น
6. เลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม
สมอง คือ ก้อนไขมัน เพราะมีไขมันเป็นองค์ประกอบหลัก มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่มีความสำคัญต่อาการพัฒนาสมอง ที่เรียกว่า DHA ดี เอ็ช เอ ซึ่งพบมากในอาหารจำพวกปลา โดยเฉพาะทะเลและสาหร่ายทะเล นอกจากนี้อาาหรจำพวก ARA เอ อาร์ เอ พบมาในน้ำมันพืช เช่น น้ำมันสกัดจากข้าวโพด จากเมล็ดทานตะวัน หากคุณแม่รับประทานอาหารที่มีสารอาหารจำเป็นต่อการพัฒนาสมองอย่างพียงพอย่อมส่งผลดีต่อการสร้างเนื้อสมองและระบบเส้นใยประสาทของทารกน้อยต่อไป
ได้ทราบถึงวิธีการที่จะกระตุ้นพัฒนาการสมองของลูกน้อยกันแล้วนะคะ ขอเชิญชวนคุณพ่อคุณแม่มาสร้างสมองลูกให้ฉลาดตั้งแต่ในครรภ์ ช่วยลูกสมองดีกันค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
เคล็ดลับอ่านหนังสือให้ลูกฟัง ช่วยลูกหัวไว สมองดี เรียนรู้เร็ว
5 เคล็ดลับเตรียมสมองลูก พร้อมรับการเรียนรู้
คนท้องไตรมาสแรกควรกินอะไร ท้องไตรมาสแรก กินอะไรดี แพ้ท้องหนักมาก กินอะไรไม่ได้เลย กลัวลูกในท้องไม่ได้รับสารอาหาร
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!