X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกมีไข้สูงไม่ทราบสาเหตุ อาจเกิดจากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

บทความ 3 นาที
ลูกมีไข้สูงไม่ทราบสาเหตุ อาจเกิดจากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

คุณแม่พาน้องยู อายุ 2 ปีมาพบหมอด้วยอาการไข้สูง โดยไม่มีอาการอื่นมา 3 วันเต็มๆ ยิ่งช่วงนี้ไข้เลือดออกระบาด คุณแม่กลัวว่าจะเป็นไข้เลือดออก หมอได้ตรวจน้องแล้วจึงขอทำการเจาะเลือด และตรวจปัสสาวะเพื่อหาสาเหตุของไข้ คุณแม่สงสัยว่าเพราะเหตุใดจึงต้องตรวจปัสสาวะ หมอได้อธิบายให้เข้าใจว่า ไข้สูงไม่ทราบสาเหตุในเด็กเล็ก อาจเกิดจากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ เมื่อผลตรวจปัสสาวะออกมาก็คาดว่าน้องยูมีไข้สูงในครั้งนี้เนื่องจากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะค่ะ

ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

ระบบทางเดินทางเดินปัสสาวะประกอบด้วยอะไรบ้าง?

ทางเดินปัสสาวะประกอบด้วย ส่วนของไต 2 ข้าง ได้แก่ เนื้อไต ท่อไตและกรวยไต ซึ่งเป็นทางเดินปัสสาวะส่วนบน ไล่ลงมาคือกระเพาะปัสสาวะ และ ท่อปัสสาวะ ซึ่งเป็นทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง

ไตทำหน้าที่กรองของเสียออกในรูปปัสสาวะ นำออกท่อไต ไป กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ

การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเกิดขึ้นได้อย่างไร?

ในสภาวะปกติปัสสาวะไม่มีเชื้อโรค การติดเชื้อเกิดขึ้นเมื่อมีเชื้อแบคทีเรียจากทางเดินอาหาร หรือจากอุจจาระ เดินทางมายังท่อปัสสาวะ แล้วลุกลามต่อเข้ากระเพาะปัสสาวะ ก็จะเกิด “กระเพาะปัสสาวะอักเสบ” หากเชื้อลามขึ้นไปยังเข้าท่อไต และกรวยไตทำให้เกิด “กรวยไตอักเสบ”

โดยปัจจัยที่ทำเกิดเชื้อแบคทีเรียเดินทางมายังทางเดินปัสสาวะข้างต้น ในเด็ก มักเกิดจาก การทำความสะอาดหลังขับถ่ายไม่ถูกวิธี การกลั้นปัสสาวะ และความผิดปกติแต่กำเนิดของระบบทางเดินทางเดินปัสสาวะ

อาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเป็นอย่างไร?

อาการของอาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะแบ่งได้ 2 แบบ ตามตำแหน่งที่มีการติดเชื้อ ดังนี้

1. การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะส่วนบน เรียกว่า “โรคกรวยไตอักเสบ” อาการในเด็กโตจะมีไข้สูง ปวดบั้นเอว ปัสสาวะขุ่น ปัสสาวะแสบขัด คลื่นไส้อาเจียน แต่ในเด็กเล็กมักมีไข้สูง งอแง ทานน้อยลง โดยไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆที่จำเพาะเจาะจงเหมือนเด็กโต จึงมักมาพบคุณหมอด้วยอาการไข้สูงไม่ทราบสาเหตุ นั่นเองค่ะ

2. การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะส่วนบนล่าง เรียกว่า “โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ” เด็กจะมีอาการปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบขัด กระปริบกระปรอย กลั้นปัสสาวะไม่ได้ เมื่อดูลักษณะปัสสาวะจะพบว่าสีขุ่น ถ้าเป็นมากๆอาจมีเลือดปนได้

การวินิจฉัยการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะทำได้อย่างไร?

หากลูกมีอาการที่เข้าได้กับการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะดังข้างต้น หรือ มีไข้ไม่ทราบสาเหตุ คุณพ่อคุณแม่ควรพาไปพบคุณหมอ เพื่อรับการตรวจปัสสาวะและเพาะเชื้อปัสสาวะ หากมีการติดเชื้อจะพบเม็ดเลือดขาว หรือเชื้อแบคทีเรียในปัสสาวะ และเพาะเชื้อพบแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุ

นอกจากนี้ในผู้ป่วยเด็กที่มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและมีข้อบ่งชี้บางประการ เช่น มีการติดเชื้อซ้ำ เป็นโรคกรวยไตอักเสบ หรือติดเชื้อในกระแสเลือด คุณหมออาจพิจารณาส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติม ได้แก่ การตรวจอัลตร้าซาวนด์ การสแกนไต หรือ การใส่สายสวนเพื่อตรวจหาภาวะปัสสาวะไหลย้อนกลับ เพื่อมองหาความผิดปกติของระบบทางเดินทางเดินปัสสาวะ

คุณหมอจะรักษาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะอย่างไร?

คุณหมอจะรักษาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะโดย การให้ยาปฏิชีวนะ ที่เหมาะสมกับเชื้อแบคทีเรีย
ถ้าผู้ป่วยมีไข้สูงจากโรคกรวยไตอักเสบ ทานยาไม่ได้ หรือมีอาการขาดน้ำ จะได้รับการรักษาในโรงพยาบาล ด้วยยาปฏิชีวนะผ่านทางหลอดเลือดดำ แต่ถ้าเป็นเพียงกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ไม่มีไข้ อาการไม่รุนแรง จะได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานที่บ้านได้

เราสามารถป้องกันการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะในเด็กได้อย่างไร?

การติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะสามารถป้องกันได้โดย เช็ดทำความสะอาดหลังถ่ายหรือปัสสาวะให้ถูกวิธี เช็ดจากด้านหน้าไปหลัง ไม่ควรเช็ดย้อนขึ้นเพราะจะนำเชื้อจากทางทวารหนักเข้ามาสู่ทางเดินปัสสาวะ, เด็กเล็กที่ใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปควรเปลี่ยนบ่อยๆ, เด็กที่ฝึกเข้าห้องน้ำแล้ว ควรลดการใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปลง, ไม่กลั้นปัสสาวะ, ป้องกันไม่ให้ท้องผูก, ดื่มน้ำมากๆ และปัสสาวะให้เป็นเวลานะคะ

 

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

ประสบการณ์ตรง: ลูกชายวัย 5 เดือนป่วยเป็นโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ

ลูกป่วยบ่อยมาก ทำไงดี?

 

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ลูกมีไข้สูงไม่ทราบสาเหตุ อาจเกิดจากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
แชร์ :
  • หมอเตือน! โรคครูป ระบาดหน้าฝน สังเกตเสียงไอ-รับมือก่อนลูกแย่

    หมอเตือน! โรคครูป ระบาดหน้าฝน สังเกตเสียงไอ-รับมือก่อนลูกแย่

  • อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

    อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

  • วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

    วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

  • หมอเตือน! โรคครูป ระบาดหน้าฝน สังเกตเสียงไอ-รับมือก่อนลูกแย่

    หมอเตือน! โรคครูป ระบาดหน้าฝน สังเกตเสียงไอ-รับมือก่อนลูกแย่

  • อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

    อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

  • วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

    วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว