ลูกน้ำหนักน้อย ตัวเล็กเกินไป ทำยังไงดี

ทำอย่างไร เมื่อเจ้าตัวเล็กน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์!
ลูกน้ำหนักน้อย ตัวเล็กเกินไป ทำยังไงดี
คุณพ่อคุณแม่หลายท่าน อาจจะเกิดความกังวลไม่น้อย เมื่อเห็นเจ้าตัวเล็กน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ผอมแห้ง ดูแล้วไม่สบายใจ ไม่สบายตา เรามาดูกันว่าถ้า ลูกน้ำหนักน้อย ตัวเล็กเกินไป คุณพ่อคุณแม่อย่างเราควรทำอย่างไรดี
1. ปล่อยให้ลูกดูดนมนานจนกว่าจะพอใจ
ถ้าลูกของคุณยังเป็นทารก นมแม่ คือสารอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย แต่ถ้าหากลูกตัวเล็กหรืออยากให้ลูกเพิ่มน้ำหนัก เมื่อให้นมลูกก็ควรให้แน่ใจว่าลูกจะได้ทานหรือดูดนมนานเพียงพอต่อความต้องการของทารก โดยคุณแม่อาจจะสังเกตได้จากสัญญาณต่าง ๆ ว่าลูกได้ทานหรือดูดนมเพียงพอหรือไม่ เช่น ถ้าลูกกลับตัวไปมา ไม่งอแง และเริ่มง่วง ก็ให้เลิกดูดได้ พยายามอย่าดึงลูกออกมาจนกว่าลูกจะอิ่ม และลองนับจำนวนครั้งที่ลูกปัสสาวะดู ถ้าลูกปัสสาวะประมาณ 6 ครั้งต่อวัน นั่นแสดงว่าเขาได้ดื่มนมในปริมาณที่เพียงพอแล้วครับ
2. ให้ทานอาหารบ่อยขึ้น
หากลูกน้อยมีอายุเกินกว่า 6 เดือน หรือมีอายุครบปีแล้ว แต่ยังผอมมาก การให้ลูกทานอาหารบ่อยขึ้น จะยิ่งทำให้ลูกได้แคลอรี่เพิ่ม และน้ำหนักจะค่อยๆขึ้นด้วย ท้องเล็ก ๆ ของลูกน้อยไม่สามารถจุอาหารปริมาณมากได้ในครั้งเดียว ถ้าลูกทานอาหารได้น้อยใน 1 มื้อ คุณแม่ก็อาจจะลองจัดตารางให้ลูกทานหลายมื้อในแต่ละวัน แต่ลดปริมาณอาหารแต่ละมื้อให้น้อยลง
3. ให้ลูกทานอาหารที่เหมาะสม
สำหรับเด็กโต คุณแม่ควรเลือกอาหารที่มีไขมันแบบสุขภาพดี เช่น น้ำมันมะกอก ปลาแซลมอน โยเกิร์ตนม ชีส หรือซีเรียลที่ทำมาจากข้าวและข้าวโอ๊ต โดยอาจจะผสมซีเรียลบดกับนม เพื่อช่วยเพิ่มน้ำหนักของเด็กได้ครับ
4. นวดให้ลูก
คุณพ่อคุณแม่สามารถนวดกระตุ้นพัฒนาการให้ลูกได้นะครับ เพราะการนวดจะช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น และช่วยเพิ่มน้ำหนักทารกได้อีกด้วย
>> วิธีนวดกระตุ้นพัฒนาการ ช่วยลูกสมองดีและเติบโตสมวัย ที่คุณก็ทำได้ไม่ยาก <<
5. ให้ออกไปวิ่งเล่น
ถ้าลูกของคุณโตขึ้นมาหน่อย เช่น อายุ 1 ขวบครึ่ง ถึง 2 ขวบขึ้นไป อีกหนึ่งเคล็ดลับที่ทำให้ลูกทานได้มากขึ้น นั่นก็คือ การปล่อยให้พวกเขาได้วิ่งเล่นเยอะๆ จนเหนื่อย เมื่อเด็กๆ ได้ใช้พลังงานมากๆ พวกเขาก็จะทานอาหารได้มากขึ้น
6. ให้ลูกนอนเป็นเวลา
การนอนหลับให้เป็นเวลาและเพียงพอในแต่ละวัน จะช่วยให้ฮอร์โมนการเจริญเติบโตทำงานได้เต็มที่ ทำให้ลูกน้อยค่อยๆมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
7. หมั่นพาลูกไปตรวจสุขภาพ
คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบคุณหมอ และตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อดูว่าลูกน้อยมีปัญหาสุขภาพ หรือเป็นโรคที่ทำให้มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์หรือไม่ เช่น การติดเชื้อที่หู ปากอักเสบเชื้อรา โรคกรดไหลย้อน โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ ภาวะโลหิตจาง สภาพลิ้นยึด อาการแพ้ต่าง ๆ หรือแม้แต่อาการหวัดเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ทำให้เด็กน้ำหนักลดลงได้ ซึ่งหากตรวจพบได้เร็ว ก็จะสามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที ที่สำคัญควรหมั่นสังเกตอาการผิดปกติต่างๆของลูกน้อยในแต่ละวันอยู่เสมอนะครับ
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ
พัฒนาการวัย 1 ขวบ ที่บอกว่าลูกผิดปกติ พบหมอด่วน
ทารกเป็นหวัด พ่อแม่ทำอย่างไรดี?