ลูกท้องอืด เรอยาก ทำอย่างไร เด็กทารกมักมีอาการท้องอืดบ่อย ๆ ถ้าพ่อแม่ลองหลายวิธีแล้ว ก็ไม่หายสักที วันนี้เราจะนำเสนอ เคล็ดลับนวดไล่ลม ค่ะ
ก่อนจะไปดู เคล็ดลับนวดไล่ลม มาดูสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ ลูกท้องอืด นั่นคือความเข้าใจเรื่องระบบย่อยของทารกกันก่อนนะคะ
ระบบย่อยอาหารของทารก
เด็กทารกแรกเกิดจะกินนมทีละน้อย แต่กินบ่อย กินแทบตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งก็จะส่งผลให้เค้าถ่ายอึบ่อยด้วยเช่นกัน และเนื่องจากระบบย่อยอาหารของทารกแรกเกิดยังไม่พัฒนาเต็มที่ หนูน้อยจึงมักมีปัญหาเกี่ยวกับท้องบ่อย ๆ
เมื่อเกิดลมในท้อง เด็กจะเริ่มรู้สึกอึดอัด แน่นท้อง อาการที่เค้ามักแสดงออกมา คือ นอนบิดตัวไปมา หรืองอขาขึ้น ถ้าเห็นสัญญาณอย่างนี้แล้ว พ่อแม่สามารถช่วยนวดไล่ลมให้ทารกได้ง่าย ๆ ดังนี้ค่ะ
ทำความเข้าใจ ขนาดกระเพาะทารก
ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจกันก่อนถึง ขนาดกระเพาะทารก, ความจุกระเพาะอาหารทารก ก่อนจะคิดว่าลูกกินไม่อิ่ม น้ำนมแม่มีไม่พอ จนกังวลไปหมด ก่อนแม่ให้นมจะนอยด์ไปกว่านี้ มาอ่านรายละเอียด กระเพาะอาหารทารก ตั้งแต่แรกเกิด ขนาด และความจุในท้องของหนู มีเท่าไหร่กันนะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : ทำความเข้าใจ ขนาดกระเพาะทารก ก่อนคิดว่านมแม่ไม่พอ
ขนาดกระเพาะทารกแรกเกิด วันแรก
ในวันแรกหลังคลอด น้ำนมของคุณแม่เริ่มมาแล้ว คุณแม่จะสังเกตได้ว่าน้ำนมมีสีเหลือง เรียกว่าโคลอสตัม จะเป็นน้ำนมส่วนที่อุดมไปด้วยคุณค่ามหาศาลต่อลูกน้อย อย่างไรก็ตาม น้ำนมของคุณแม่ยังออกไม่มากนัก หากคุณแม่ปั๊มนมแล้วได้น้ำนมติดก้นขวด ไม่ต้องตกใจ เพราะขนาดกระเพาะทารกแรกเกิดในวันแรก ก็เล็กจ้อยเกินกว่าจะรับน้ำนมแม่มาก ๆ ได้
ขนาดกระเพาะทารกแรกเกิดในวันแรก มีขนาดเท่าลูกแก้ว หรือเพียง 1 – 1.4 ช้อนชา เท่านั้น ร่างกายของคุณแม่จึงผลิตน้ำนมออกมาในปริมาณเท่าที่ลูกน้อยต้องการนั่นเอง
ขนาดกระเพาะทารกแรกเกิด 3 วันหลังคลอด
ในวันที่ 3 หลังคลอด กระเพาะของลูกน้อยค่อย ๆ ขยายใหญ่ขึ้น มีขนาดเท่าลูกปิงปอง การให้ลูกดูดนมบ่อย ๆ ปั๊มบ่อย ๆ จะทำให้น้ำนมแม่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สัมพันธ์กับระบบย่อยอาหารของทารกที่ค่อย ๆ เริ่มทำงาน คุณแม่ไม่จำเป็นต้องให้ทารกกินนมในปริมาณมาก ๆ เพื่อให้กระเพาะขยายไว ๆ เพราะปริมาณนมที่กระเพาะเขาจะรับได้ อยู่ที่ .75 – 1 ออนซ์เท่านั้น
หากคุณแม่ให้นมลูกมากเกินไปจะกลายเป็น overfeeding ทำให้ลูกงอแง แหวะนม หรืออาเจียนออกมา เพราะว่านมล้นกระเพาะค่ะ และการกินนมมากเกินไป จนนมล้นกระเพาะ เรียกกันว่า overfeeding อาการที่แม่ต้องสังเกตคือ ลูกสำรอกบ่อย และท้องป่อง
สาเหตุที่ลูกมี อาการท้องอืด ตามกลุ่มอายุ
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าตอนนี้ลูกน้อยมีอาการ ท้องอืด หรือไม่ สาเหตุมาจากอะไร ในแต่ละช่วงวัย มาดูกันค่ะ
1) ทารกและเด็กเล็ก
ส่วนหนึ่งที่ลูกมีอาการท้องอืด นั้นเกิดมาจากการทำงานของระบบทางเดินอาหารยังไม่สมบูรณ์ อาทิ
• การใช้ขวดนมที่ใช้ไม่เหมาะสม
• ลูกดูดนมนานเกินไป
• ลมเข้าท้องขณะที่ลูกดูดนม
• ในทารกที่ไม่ได้จับให้เรอหลังดื่มนม
• ในเด็กที่เป็นโคลิก
2) เด็กโต
ในเด็กโตนั้น ปัญหาท้องอืดสามารถเกิดได้จากหลาย ๆ ปัจจัย ซึ่งในบางครั้งอาจทำให้มีอาการเฉียบพลันเลยก็ว่าได้ เช่น
• เกิดขึ้นหลังจากการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีก๊าซ อากาศมากเกินไป เช่น น้ำอัดลม
• เกิดจากที่เด็กรับประทานอาหารในปริมาณมาก ๆ ในเวลาอันรวดเร็ว
• หากเป็นอาการเรื้อรัง อาจเกิดจากภาวะขาดเอนไซม์แลคเทส โรคลำไส้แปรปรวน หรือ ไอบีเอส (Irritable bowel syndrome)
เคล็ดลับนวดไล่ลม ได้ผลไว ลองได้(มีคลิป)
วิธีนวดไล่ลมในท้องเด็กทารก
1. ให้ลูกนอนคว่ำบนตักแม่ ลูบหลังแบบวนขึ้น แล้วตบเบา ๆ ปิดท้าย ทำซ้ำสัก 2-3 รอบ
2. เปลี่ยนท่าลูกมาเป็นนอนหงาย
3. นวดเบา ๆ วนตามเข็มนาฬิกา บริเวณรอบสะดือลูก
กดคลิกวิดีโอข้างล่างเพื่อดูภาพสาธิตวิธีนวดไล่ลมในท้องทารกแบบง่าย ๆ และได้ผลจริง พ่อแม่มือใหม่ดูคลิปแล้วทำตามได้เลยค่ะ
นวดแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ลูกจะรู้สึกสบายท้องขึ้น เดี๋ยวเค้าก็เรอ หรือผายลมออกมาเองค่ะ ได้เอิ๊กอ๊ากสักทีสองที หนูน้อยก็อารมณ์ดีแล้วค่ะ
แต่ถ้านวดแล้วลมไม่ยอมออกมา เรามีแผนสำรองเผื่อให้ด้วยค่ะ ลองเลือกวิธีที่เหมาะกับลูกคุณดูนะคะ
- จับขาลูกทำท่าปั่นจักรยานอากาศ
- พาลูกไปลงแช่น้ำอุ่น
- ทามหาหิงคุ์ โดยนำมาทาที่บริเวณท้องและหน้าอกของลูก เพื่อให้ความร้อนช่วยกระตุ้นให้เกิดการขับลมออกมา
- ปรึกษาคุณหมอว่าจะให้ลูกกินยาลดแก๊สในกระเพาะอาหารตัวไหนได้บ้าง
วิธีป้องกันไม่ให้ลูกท้องอืด
นอกจากวิธีการนวดไล่ลมออกจากท้องลูกแล้ว การป้องกันไม่ให้ลูกน้อยท้องอืดนั้น สามารถทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่ดีที่สุด คือแม่ ๆ ควรพยายามเลี่ยงไม่ให้ลูกกลืนอากาศมากเกินไป ทุกครั้งที่คุณแม่ให้นมลูกเสร็จ ต้องอุ้มลูกเรอเพื่อขับลมออก ทั้งระหว่างกินนม และหลังกินนมค่ะ
อย่างไรก็ตาม ปัญหาท้องอืดในเด็กทารก นับว่าเป็นปัญหาที่สามารถพบได้บ่อยในเด็กเล็ก แต่หากเมื่อไรก็ตามที่ลูกท้องผูกนานเกินไปจนถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ท้องเสีย หรือมีไข้สูง แม่ ๆ จะต้องรีบพาไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุดเพื่อเข้ารับการรักษาทันทีค่ะ
_________________________________________________________________________________________
theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ ยังมีไลฟ์สไตล์ และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้ และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
ที่มา : theindusparent.com, Babimild, sanook
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :
อาการป่วยที่พบบ่อยในทารก
10 อาหารที่ทําให้ท้องอืด อาหารที่ทำให้ปวดท้อง ยิ่งกินยิ่งปวดท้อง!
วิธีดูแลทารกแรกเกิดถึง 1 ปี ช่วงหน้าหนาว เคล็ดลับการดูแลลูกน้อยวัยทารก (0-1 ปี) ช่วงหน้าหนาว
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!