TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกติดตุ๊กตา ลูกติดหมอนเน่า แม่เอาไปทิ้งเลยได้ไหม แต่กลัวทำร้ายจิตใจลูก

บทความ 3 นาที
ลูกติดตุ๊กตา ลูกติดหมอนเน่า แม่เอาไปทิ้งเลยได้ไหม แต่กลัวทำร้ายจิตใจลูก

ลูกติดตุ๊กตา ลูกติดหมอนเน่า ปัญหาน่ากลุ้มใจของแม่ ๆ กังวลว่าลูกจะติดจนเข้าโรงเรียน แล้วอาการติดตุ๊กตา ติดหมอน ติดผ้าห่ม ถือว่าผิดปกติไหมสำหรับเด็ก แม่ควรฝึกให้ลูกเลิกพฤติกรรมเมื่อไหร่ดี มาดูคำตอบจากกุมารแพทย์พัฒนาการและพฤติกรรมเด็กศูนย์สุขภาพเด็ก โรงพยาบาลพญาไท 3 กันค่ะ

 

ผิดปกติไหมถ้าลูกติดตุ๊กตา ลูกติดหมอนเน่า

การติดผ้าเน่าของเด็กเป็นพฤติกรรมปกติที่พบได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กที่ความเข้าใจภาษาและการพูดยังไม่มาก เช่น ในเด็กทารกไปจนอายุ 1- 3 ปี เนื่องจากเด็ก ๆ วัยนี้ ยังไม่สามารถบอกความต้องการหรือความรู้สึกของตนเองให้กับผู้ใหญ่ รับรู้ได้ดีเท่าที่ควร ทำให้บางครั้งผู้ใหญ่อาจตอบสนองเด็กได้ไม่ตรงตามความต้องการ ส่งผลให้เด็กหงุดหงิด

การมีสิ่งของแทนใจ เช่น ผ้าเน่า ตุ๊กตาเน่า หรือผ้าห่มเน่า ซึ่งเป็นสิ่งที่เด็กคุ้นเคยตั้งแต่เล็ก จึงเป็นสิ่งที่ทำให้เด็ก ๆ รู้สึกอบอุ่นใจและสงบลงได้   

 

ลูกติดตุ๊กตา ลูกติดหมอนเน่า

 

ฝึกยังไงให้ลูกเลิกพฤติกรรมนี้

คุณพ่อคุณแม่มีส่วนอย่างมากที่จะทำให้ลูกเลิกติดผ้าเน่าได้ และหากมีการเตรียมตัวที่ดี การเลิกก็จะราบรื่นและมีความสุขกันทุกฝ่ายได้ค่ะ

วิธีการที่จะเลิกผ้าเน่า ควรมีการเตรียมพร้อมมาก่อนค่ะ ซึ่งเริ่มทำได้ตั้งแต่หลัง 1 ขวบเป็นต้นไป วิธีการคือ

  1. พยายามทำกิจวัตรประจำวันให้เป็นเวลาใกล้เคียงกันทุกวัน เพื่อที่คุณพ่อคุณแม่จะได้คาดเดาได้ว่าการที่ลูกเริ่มหงุดหงิดเป็นเพราะหิว ง่วง หรือเพลีย เนื่องจากสิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กหงุดหงิดได้บ่อยอันดับต้นๆ เลยค่ะ ยิ่งคุณพ่อคุณแม่จัดการได้ทันก่อนที่ลูกหงุดหงิดก็จะช่วยลดการร้องหาผ้าเน่าของเด็กได้ค่ะ
  2. ทำสิ่งต่างๆ ให้ลูกสามารถคาดเดาได้ เช่นการบอกลูกล่วงหน้า หรือการให้โอกาสลูกได้มีเวลาเตรียมตัวก่อนเป็นต้น ทั้งนี้เพื่อลดความเครียดและความกังวลให้กับเด็ก
  3. ให้เวลากับลูก หมั่นทำกิจกรรมร่วมกัน เพราะจะทำให้ลูกซึมซับความรู้สึกดีๆ ที่มีกับคุณพ่อคุณแม่ ส่งผลให้เด็กไว้ใจและพยายามสื่อสารกับคุณพ่อคุณแม่แทนที่จะยึดผ้าเน่า อีกทั้งการทำกิจกรรมที่สนุกจะทำให้เด็กเพลินจนคิดถึงผ้าเน่าน้อยลงด้วย นอกจากนี้ยังทำให้คุณพ่อคุณแม่รู้จักนิสัยของลูกมากขึ้นทำให้คาดเดาพฤติกรรมได้ง่าย รวมถึงเป็นการส่งเสริมทักษะทางภาษาซึ่งจะช่วยให้เด็กสื่อสารเรื่องอารมณ์กับคุณพ่อคุณแม่ได้ดีทำให้ลดความหงุดหงิดลงไปได้
  4. ส่งเสริมให้ลูกได้ช่วยเหลือตัวเอง ฝึกระเบียบวินัย ฝึกการคิด แก้ไขปัญหาและทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง ตามระดับพัฒนาการ เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจตัวลูก
  5. หมั่นชมลูกเมื่อทำสิ่งต่างๆ ได้ดี เพราะจะทำให้ลูกรู้สึกอยากทำสิ่งต่าง ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่สอน อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ลูกเกิดความภาคภูมิใจ เห็นคุณค่าในตัวเองและสามารถให้กำลังใจตัวเองได้ ทำให้การยึดติดผ้าเน่าลดลง
  6. เลี่ยงการดุ ด่าหรือลงโทษที่รุนแรง เพราะจะทำให้เด็กขาดความมั่นใจในตัวเอง นอกจากนี้ควรฝึกให้ลูกเรียนรู้ที่จะควบคุมอารมณ์ตัวเอง ด้วยการสอนด้วยเหตุผล รวมถึงคุณพ่อคุณแม่ควรเป็นตัวอย่างการจัดการอารมณ์ตัวเองให้ลูกได้เห็นและทำตามเพื่อลูกจะได้มีความมั่นคงทางอารมณ์และจัดการอารมณ์ตัวเองได้อย่างเหมาะสม

 

เมื่อคุณพ่อคุณแม่ได้เตรียมลูกมาอย่างดีแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะเลิกผ้าเน่าแล้วค่ะ วิธีการคือ

  • ค่อย ๆ เอาผ้าเน่าออกห่างจากเด็ก โดยขยับความห่างที่ละน้อย ๆ ค่ะ เช่น เริ่มจากเอาผ้าเน่าวางไว้ข้าง ๆ แทนที่จะถือไว้ตลอด ต่อมาก็เอาผ้าเน่าวางไว้ในระยะที่มือเอื้อมไม่ถึง ต่อมาก็ไว้ที่มุมห้อง ไว้ที่ห้องข้าง ๆ ไว้บนรถ ไปจนถึงเอารอไว้ที่บ้านเมื่อพาลูกออกไปข้างนอกเป็นต้นค่ะ
  • ไม่ควรเอาผ้าเน่ามาขู่เด็ก เช่น บอกว่า “ถ้าดื้อแบบนี้ แม่จะเอาผ้าเน่าไปทิ้งนะ” เพราะอาจทำให้เด็กกังวลและยิ่งติดผ้าเน่ามากขึ้นค่ะ
  • ทุกขั้นตอนควรทำด้วยความใจเย็น ไม่เร่งรีบ ถ้าไม่สำเร็จให้ครั้งแรก ๆ ก็หมั่นทำเรื่อย ๆ  เลี่ยงการบ่น หรือดุ ด่าที่ลูกยังเลิกไม่ได้เพราะจะยิ่งส่งผลให้เลิกยากมากขึ้นค่ะ
  • หมั่นทำความสะอาดผ้าเน่า เพื่อที่เด็กจะได้ไม่ยึดติดกับกลิ่นเดิม ๆ จะทำให้เลิกได้ง่ายขึ้นและยังเป็นการรักษาสุขอนามัยที่ดีอีกด้วยค่ะ

 

นอกจากนี้ หมออยากแนะนำเพิ่มเติมถึงวิธีการป้องกันก่อนที่ลูกจะติดผ้าเน่า นั่นคือการที่คุณพ่อคุณแม่พยายามตอบสนองให้ตรงตามความต้องการของลูกตั้งแต่อายุ 4 – 6 เดือนเป็นต้นไปค่ะ เพราะเป็นช่วงอายุที่ความต้องการเด็กยังมีไม่มากและเริ่มมีกิจวัตรที่เป็นเวลาได้ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ที่เด็กหงุดหงิดในวัยนี้คือ การง่วง เหนื่อย หิว เพลีย และเบื่อค่ะ ถ้าคุณพ่อคุณแม่จัดการได้ถูกต้องและรวดเร็วก็จะลดโอกาสการใช้ผ้าเน่า ทำให้สุดท้ายลูกก็จะลืมการใช้ผ้าเน่าไปได้ก่อนอายุ 1 ปีค่ะ

ข้อดีของการไม่ติดผ้าเน่าหรือการเลิกผ้าเน่าได้เร็วคือเด็กจะได้เรียนรู้การจัดการอารมณ์และมีความมั่นใจในตัวเอง สุดท้ายจะส่งผลให้เด็กปรับตัวได้ง่าย และพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไปค่ะ

บทความที่น่าสนใจ : 9 เหตุผลที่ทำให้ทารกร้องไห้ สาเหตุที่ทำให้เบบี๋ร้องไห้ หิว ง่วง ผ้าอ้อมเปียก หรือต้องการอะไรกันแน่

 

พญ.ณัฐวรรณ จารุวรพลกุล

พญ.ณัฐวรรณ จารุวรพลกุล

กุมารแพทย์พัฒนาการและพฤติกรรมเด็กศูนย์สุขภาพเด็ก

โรงพยาบาลพญาไท 3

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

โกนผมลูก ช่วยให้ลูกผมดก ได้จริงหรือ

ตัดขนตาทารก ช่วยให้ขนตาขึ้นใหม่ยาวขึ้น หรือเป็นอันตรายกับลูกกันแน่

12 สัญญาณผิดปกติของลูกแรกเกิดที่ควรรีบพบแพทย์

 

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

โรงพยาบาลพญาไท 3

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ลูกติดตุ๊กตา ลูกติดหมอนเน่า แม่เอาไปทิ้งเลยได้ไหม แต่กลัวทำร้ายจิตใจลูก
แชร์ :
  • ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

    ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

    ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว