TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกร้องงอแง ตอนกลางคืน ลูกร้องไม่หยุด จะมีวิธีแก้ลูกร้องกวนกลางคืนอย่างไร

บทความ 5 นาที
ลูกร้องงอแง ตอนกลางคืน ลูกร้องไม่หยุด จะมีวิธีแก้ลูกร้องกวนกลางคืนอย่างไร

ลูกร้องงอแง ตอนกลางคืน วิธีแก้ลูกร้องกวนกลางคืน ลูกร้องกลางคืน ลูกร้องไม่หยุด ทารกงอแง โอ๋ยังไงดี ลูกเป็นอะไรหรือเปล่า สังเกตทารกดี ๆ เพราะอาจเป็นสัญญาณสำคัญของโรคร้ายที่อาจซ่อนอยู่ เช่น โรคลำไส้อุดตัน หรือโรคปวดท้องในเด็กอ่อน เป็นต้น

 

ลูกงอแงตอนกลางคืน ทำอย่างไรดี ?

ตอนที่ดิฉันคลอดลูกสาวใหม่ๆ ได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ สารานุกรมการเลี้ยงดูเด็ก เขียนโดย นายแพทย์มิชิโอะ มัตสุดะ กุมารแพทย์ชื่อดังของญี่ปุ่น ได้ให้คำแนะนำไว้อย่างน่าสนใจทีเดียวค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกร้องไห้ขณะนอนหลับ มีสาเหตุมาจากอะไร? ฝันร้ายหรือเปล่า

 

สาเหตุที่ลูกร้องงอแงตอนกลางคืน

  • หิว : หากคุณแม่สงสัยว่าลูกร้องงอแงตอนกลางคืน เป็นเพราะนมไม่พอหรือเปล่า ให้สังเกตที่ฉี่ของลูก หากลูกฉี่ 6 ครั้งใน 1 วัน ถือว่าได้รับน้ำนมเพียงพอ หากลูกไม่ได้ทานนมแม่ แนะนำให้ลองเพิ่มปริมาณนมก่อนนอนให้มากขึ้น
  • ออกกำลังกายไม่เพียงพอ : การที่ลูกร้องงอแงตอนกลางคืนอาจเป็นเพราะในช่วงกลางวันเขาไม่ได้เล่นออกกำลังกายมากพอ คุณแม่ควรลดเวลาทำงานอย่างอื่นแล้วมาเล่นกับลูกมากขึ้น เมื่อลูกได้เล่นตอนกลางวันมากขึ้น ช่วยให้ลูกเลิกร้องกวนตอนกลางคืนได้
  • แบ่งเวลานอนกลางวันไม่ดี : เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลูกร้องกวนตอนกลางคืน และนอนตื่นสาย เช่น ตื่นนอนตอน 10 โมงเช้า แล้วนอนอีกครั้งตอนบ่าย 2 พอตกเย็นก็นอนอีกจนถึง 3 ทุ่ม เมื่อตื่นขึ้นมา จึงไม่ยอมนอน คุณแม่ควรพยายามไม่ให้ลูกนอนหลัง 6 โมงเย็น โดยการชวนลูกเล่น หรือพาออกไปเดินเที่ยวข้างนอก จะช่วยให้ลูกนอนหลับตอนกลางคืนได้ดีขึ้น
  • พยาธิเส้นด้ายที่ก้น ทำให้ลูกคันก้น : และนอนไม่หลับตอนกลางคืน ในกรณีที่มีคนในบ้านเป็นพยาธิเส้นด้าย ควรนำอึของลูกไปตรวจเพื่อหาไข่พยาธิ

 

วิดีโอจาก : พี่กัลนมแม่ Pekannommae mother and child care

 

วิธีแก้ลูกร้องงอแง ไม่ยอมนอน

สำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คุณหมอแนะนำให้กอดลูกน้อยให้กระชับและให้ดูดนมแม่ หน้าอกอันอบอุ่นของแม่จะช่วยให้ลูกหลับต่ออย่างรวดเร็ว

คุณหมอยังบอกอีกว่า การที่ลูกร้องงอแงบ่อย ๆ พอคุณแม่อุ้มแล้วลูกหยุดร้องนั้น ไม่ได้เป็นเพราะอุ้มติดมือเลยวางไม่ได้ จริงอยู่ที่ว่าเด็กทุกคนชอบให้อุ้ม เพราะอุ้มแล้วเด็กจะรู้สึกสบาย แต่เด็กไม่ได้ชอบให้อุ้มตลอดเวลาไปเสียทุกคน มีเด็กบางคนเท่านั้นที่ชอบให้อุ้มตลอดเวลา พอวางปุ๊บจะแผดเสียงร้องจ้า ต้องอุ้มเขย่าเดินไปเดินมาถึงจะหยุดร้อง แต่พอวางลงก็ร้องอีก

เด็กแบบนี้มีนิสัยร้องเก่งมาแต่กำเนิด เด็กที่ไม่ค่อยร้อง ถึงจะอุ้มบ่อยยังไงก็ไม่ติดมือ แต่เด็กร้องเก่งนั้นถึงจะพยายามไม่อุ้มยังไง ในที่สุดก็ต้องอุ้มอยู่ดี เพราะฉะนั้น ถ้าลูกร้อง คุณแม่ควรอุ้มจะดีกว่า พาลูกเดินเล่นชมนกชมไม้ตอนกลางวัน ลูกจะรู้สึกเหนื่อยและนอนหลับดีไม่ร้องกวนกลางคืน อีกวิธีหนึ่งในการจัดการกับลูกที่ร้องเก่ง ทำอย่างไรก็ไม่หยุดร้อง ลองพาขึ้นรถขับไปนอกบ้านสักพัก ลูกจะหลับได้ง่ายอย่างไม่น่าเชื่อเลย

 

ลูกร้องงอแง

 

ลูกร้องงอแง อาการทารกผิดปกติ

อาการทารก ผิดปกติ หากอยู่ดี ๆ ลูกน้อยก็ร้องจ้าเหมือนเจ็บปวดมาก ไม่ใช่เรื่องปกติแล้วค่ะ ให้สังเกตอาการ 3 โรคต่อไปนี้

 

1. โรคลำไส้อุดตัน

โรคลำไส้อุดตันสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือ ไส้เลื่อนติดค้าง จะเกิดขึ้นได้ง่ายบริเวณขาหนีบ โดยจะสังเกตเห็นว่าบริเวณนั้นจะบวมแข็ง เมื่อกดดูลำไส้ก็จะไม่กลับเข้าท้อง อีกสิ่งหนึ่งที่ควรสังเกต คือ สะดือของลูก หากลูกสะดือจุ่นเวลาร้องไห้จ้า คืออาการไส้เลื่อนชนิดหนึ่ง ถ้ากดดูแล้วลำไส้ไม่กลับเข้าท้องเหมือนปกติ ก็แสดงว่าลำไส้ติดค้าง ต้องรีบพาลูกไปโรงพยาบาลทันที

 

2. โรคลำไส้กลืนกัน

โรคลำไส้กลืนกัน (intussusception) คืออาการที่ลำไส้ส่วนหนึ่งถูกกลืนไปอยู่ในลำไส้อีกส่วนหนึ่ง มักพบว่าลำไส้เล็กตอนปลายถูกกลืนเข้าไปอยู่ในลำไส้ใหญ่ตอนบน ถ้าปล่อยเอาไว้ ลำไส้ส่วนนั้นจะเน่าเป็นรู เพราะไม่มีเลือดไปเลี้ยง ทำให้เกิดอาการเยื่อบุช่องท้องอักเสบเป็นอันตรายถึงตายได้ โรคนี้มักเป็นในเด็กอายุตั้งแต่ 3 เดือน โดยจะพบได้น้อยลงเมื่ออายุ 1 ขวบขึ้นไป

หากลูกมีอาการลำไส้กลืนกัน ให้สังเกตว่าลูกจะร้องทุรนทุรายประมาณ 3-4 นาที แล้วหยุดร้องประมาณ 5-6 นาที แล้วกลับมาร้องอีก สลับกันไปอย่างนี้จนลูกเริ่มอ่อนแรง ถ้าให้กินนมก็จะอาเจียนออกมาหมด ถ้ายังร้องเป็นพัก ๆ นาน 2-3 ชั่วโมงและมีอาการอาเจียน ถ่ายเป็นมูกเลือด ให้รีบไปพบคุณหมอทันที แม้จะเป็นเวลากลางคืน เพราะหากปล่อยไว้เกิน 12 ชั่วโมงจะต้องผ่าตัดรักษา และหากเกิน 24 ชั่วโมง ถึงแม้จะผ่าตัด ก็อาจเป็นอันตรายได้

 

3. โรคปวดท้องในเด็กอ่อน

โรคปวดท้องในเด็กอ่อน (infantile colic) หรือที่เรียกกันว่า โคลิค โรคนี้อาจเกิดขึ้นกับเด็ก 1 เดือนได้ แต่จะพบมากในเด็ก 2 เดือน หากคุณแม่สังเกตว่าลูกร้องไห้ติดต่อกันนาน 20-30 นาที พอหยุดร้องก็จะกลับมาร่าเริงเหมือนเดิม กินนมได้ปกติ ไม่อาเจียน ถ่ายอุจจาระปกติ ซึ่งเมื่อพาลูกไปพบคุณหมอตรวจดูก็ไม่มีอะไรผิดปกติ แต่พอกลับบ้านก็จะเป็นอีกติดต่อกันหลายวัน แม้จะอุ้มพาเดินเล่นก็ไม่ได้ผล

สาเหตุของโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เด็กมักจะหายจากโรคนี้เมื่ออายุ 3 เดือนไปแล้ว จึงมักเรียกโรคนี้ว่า เด็กร้อง 3 เดือน คุณแม่ไม่ต้องให้ลูกกินยา และไม่ควรให้ลูกถ่ายเอกซเรย์บริเวณท้องโดยไม่จำเป็น เนื่องจากอาจมีผลต่อลูกอัณฑะหรือรังไข่ของลูก

คุณแม่ต้องหมั่นสังเกตอาการของลูกนะคะ ว่าการร้องงอแงกลางคืนนั้นเป็นเพราะอะไร เพื่อที่จะได้แก้ปัญหาให้ถูกจุด เมื่อลูกน้อยสบายตัวนอนหลับได้ดี คุณแม่ก็สบายใจ หายเหนื่อยจริงไหมคะ

 

ความคิดเห็นของคุณคืออะไร

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ทารกร้องไห้ ไม่หยุด ร้องไห้ไม่มีสาเหตุ คุณพ่อคุณแม่รับมืออย่างไรดี ?

ลูกร้องไห้ไม่หยุด ลูกร้องแบบนี้บอกอะไร พ่อแม่ต้องทำยังไง ?

ลูกร้องเพราะหิวนม สังเกตอาการได้ง่าย ๆ

ที่มาข้อมูล : Bangkok Pattaya Hospital ,  rakluke

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ลูกร้องงอแง ตอนกลางคืน ลูกร้องไม่หยุด จะมีวิธีแก้ลูกร้องกวนกลางคืนอย่างไร
แชร์ :
  • ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

    ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

    ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว