X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

รู้ไหมกลากน้ำนมไม่ได้เกิดจากนมนะ

บทความ 3 นาที
รู้ไหมกลากน้ำนมไม่ได้เกิดจากนมนะ

กลากน้ำนมเป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่มักเกิดในเด็กเล็กจนถึงเด็กโตได้ หากลูกเป็นโรคกลากน้ำนมจะมีวิธีการรักษาอย่างไร ติดตามอ่านค่ะ

โรคกลากน้ำนม  (Pityriasis alba)

กลากน้ำนมเป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่พบได้บ่อย  จะพบมากในเด็กช่วงอายุ 3-16 ปี และพบได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย  สำหรับเด็กที่อายุน้อยกว่านี้และผู้ใหญ่ก็อาจเป็นโรคนี้ได้  มักพบบ่อยในคนที่เป็นผื่นแพ้จากกรรมพันธุ์  กลากน้ำนม ไม่ได้เกิดจากการดื่มนมของเด็กอย่างที่เข้าใจกัน  ที่สำคัญโรคกลากน้ำนมไม่มีผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กแต่อย่างใด  โรคกลากน้ำนมไม่เกี่ยวข้องกับเชื้อราแต่อย่างใด  ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจจะเข้าใจผิดว่า  โรคกลากน้ำนมเกิดจากการกินนมของเด็ก  จึงพยายามเปลี่ยนยี่ห้อนมไปเรื่อย ๆ ทำให้เกิดการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด

สาเหตุของโรคกลากน้ำนม  (Pityriasis alba)

เกิดจากโครงสร้างการเรียงตัวของเม็ดสีผิว (melanocyte) ที่ผิดปกติ ที่ชั้นผิวหนังกำพร้าไม่สามารถสร้างเม็ดสี (pigment) ได้ตามปกติ  ทำให้ผิวหนังบริเวณดังกล่าวเป็นรอยด่างขาว  แต่สาเหตุที่ทำให้เซลล์สร้างเม็ดสีเกิดความผิดปกติยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัดเชื่อว่า  อาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือแพ้ลม แพ้แดดก็เป็นได้

อาการ

เนื่องจากโรคนี้ไม่ใช่โรคผิวหนังที่รุนแรง  ดังนั้นผู้ป่วยมักไม่มีอาการอื่นใดนอกจากความผิดปกติของบริเวณผิวหนังเท่านั้น โดยลักษณะของกลากน้ำนมที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะเป็นวง  มีความกว้างประมาณ 1 – 4 เซนติเมตร  ไม่มีอาการเจ็บ  คัน  หรือรู้สึกระคายเคือง  เมื่อไปสัมผัสบริเวณที่เป็นจะรู้สึกถึงผิวหนังที่ขรุขระเล็กน้อยและเป็นขุย  พบได้ทั่วไปบริเวณใบหน้า  แก้มทั้งสองข้าง  ไหล่  แขนและตามลำตัว  ซึ่งในผู้ป่วยบางรายก่อนเริ่มเป็นโรคนี้อาจจะมีอาการคล้ายผื่นคันขึ้นบริเวณผิวหนังเล็กน้อยและแปรสภาพเป็นด่างขาวในที่สุด  นอกจากนี้ยังเกิดในผู้ที่มีปัญหาเรื่องโรคผิวหนังอยู่ด้วย  หากได้รับการกระตุ้นจากแสงแดดและความร้อนจะทำให้เกิดความรู้สึกระคายเคืองและมองเห็นเป็นรอยด่างขาวชัดเจนมากขึ้น

การรักษา

1.ยาทากันแดด ในกรณีที่ต้องตากแดดมากและจะช่วยป้องกันไม่ให้โรคกลากน้ำนมลุกลามมากขึ้น

2.ยาทากลุ่มสเตียรอยด์ชนิดอ่อน  เช่น  Hydrocortisone 1 – 2 % วันละ 1 – 2 ครั้ง อาจใช้เวลาเป็นเดือนกว่าจะหายและยาทากลุ่มครีมเบสต่าง ๆ

3.บางคนอาจหายเองได้  ถ้าหลีกเลี่ยงปัจจัยดังกล่าว

4.ห้ามใช้ครีมกลุ่มสเตียรอยด์ความเข้มข้นสูง  หรือชนิดที่แรง ๆ เพราะอาจทำให้ผิวหนังด่างขาวมากขึ้นจากการใช้ยา ซึ่งจะทำให้รักษาหายยาก

 วิธีป้องกันและชะลอการกลับมาเป็นซ้ำ

เนื่องจากโรคกลากน้ำนมยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด  จึงยังไม่มีวิธีการป้องกันอย่างตรงจุด  นอกจากพยายามดูแลลูกน้อยด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและบำรุงผิวที่มีความอ่อนโยน  ส่วนเด็กที่เป็นโรคนี้แล้วควรได้รับการรักษาจากแพทย์ผิวหนังในระยะยาว   ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรดูแลผิวของลูกน้อยด้วยการทาครีมบำรุงหากออกแดดเพื่อป้องกันผิวแห้ง   โดยเฉพาะบ้านเราเป็นเมืองร้อนทำให้มีโอกาสสูงที่จะเกิดโรคกลากน้ำนม  หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับแสงแดดโดยตรงหรือหากจำเป็นต้องตากแดดควรใช้ครีมกันแดดในการป้องกันผิวอีกระดับหนึ่ง    ส่วนการอาบน้ำควรใช้สบู่ชนิดอ่อนโยนต่อผิวและปราศจากเคมีอันตรายและไม่ควรอาบน้ำอุ่นเพราะจะทำให้ผิวแห้งควรอาบน้ำที่อุณหภูมิห้องปกติจะดีกว่า

คำแนะนำ

1.โรคกลากน้ำนมอาจเป็นเรื้อรัง  หรือเป็น ๆ หาย ๆ นาน 1-2 ปี แต่ไม่มีอันตรายแต่อย่างใดและไม่ติดต่อไปยังผู้อื่น  เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่จะหายได้เอง

2.โรคนี้ต่างจากเกลื้อนตรงที่เกลื้อนจะเกิดที่หลัง  คอ  และหน้าอก  และพบมากในคนหนุ่มสาวที่มีเหงื่อออกมาก  แต่กลากน้ำนมจะเกิดบนใบหน้าและไหล่ จะพบมากในเด็กจนถึงวัยหนุ่มสาว  ถ้าหากแยกกันไม่ออกลองรักษาแบบเกลื้อนดูก่อน  หรือถ้าใช้สเตียรอยด์ทาแล้วกลับลุกลามมากขึ้น  ก็อาจเป็นเกลื้อน  ควรหยุดยาแล้วใช้ยารักษาเกลื้อนแทน

3.โรคนี้ไม่ได้เกิดจากการกินนม  แต่ที่เรียกกลากน้ำนมเพราะมักพบในระยะที่เด็กกินนมและลักษณะเหมือนน้ำนมแห้งติดอยู่ที่แก้ม

4.ไม่ควรซื้อยาทาประเภทแสบร้อนหรือขี้ผึ้งเบอร์ต่าง ๆ มาทาอาจทำให้หน้าไหม้เกรียม หรือหนังแห้งเป็นผื่นดำ

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://haamor.com/

https://www.healthcarethai.com/

อ่านบทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ทารกมีรังแค ปกติรึเปล่า?

คุณแม่แบ่งปัน วิธีรักษาภูมิแพ้ผิวหนังให้ลูกน้อยกลับมาใสกริ๊บ

บทความจากพันธมิตร
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
หยุดความเชื่อผิดๆ : ผิวเด็กไม่ได้ฟื้นฟูได้ไว เป็นแผลห้ามปล่อยไว้ให้หายเอง
หยุดความเชื่อผิดๆ : ผิวเด็กไม่ได้ฟื้นฟูได้ไว เป็นแผลห้ามปล่อยไว้ให้หายเอง
จัดฟันแบบใส สร้างโลกสดใสให้เด็ก ๆ มีรอยยิ้มสวยมั่นใจได้มากกว่าที่คิด
จัดฟันแบบใส สร้างโลกสดใสให้เด็ก ๆ มีรอยยิ้มสวยมั่นใจได้มากกว่าที่คิด

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • รู้ไหมกลากน้ำนมไม่ได้เกิดจากนมนะ
แชร์ :
  • กลากน้ำนม บนหน้าลูกคืออะไร ป้องกันยังไง รักษายังไงให้หาย!!

    กลากน้ำนม บนหน้าลูกคืออะไร ป้องกันยังไง รักษายังไงให้หาย!!

  • 5 วิธีปราบกลากน้ำนมของลูกน้อย

    5 วิธีปราบกลากน้ำนมของลูกน้อย

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • กลากน้ำนม บนหน้าลูกคืออะไร ป้องกันยังไง รักษายังไงให้หาย!!

    กลากน้ำนม บนหน้าลูกคืออะไร ป้องกันยังไง รักษายังไงให้หาย!!

  • 5 วิธีปราบกลากน้ำนมของลูกน้อย

    5 วิธีปราบกลากน้ำนมของลูกน้อย

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ