X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

รับมือ!!!เมื่อลูกเป็นแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม

บทความ 5 นาที
รับมือ!!!เมื่อลูกเป็นแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม

เมื่อพูดถึงเด็กพิเศษ หลายๆ คนคงรู้จัก ออทิสติก แต่ถ้าพูดถึงแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม อาจจะไม่คุ้นเคย แอสเพอร์ซินโดรมเป็นอย่างไร มีอาการอย่างไร และที่สำคัญรักษาได้หรือไม่ ติดตามอ่าน

รู้จัก& เข้าใจ เมื่อลูกเป็นแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม

ลูกเป็นแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น  อธิบายถึงแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม  ไว้ว่า

1. แอสเพอร์เกอร์ซินโดรมเป็นความบกพร่องของพัฒนาการรูปแบบหนึ่ง  อยู่ในกลุ่มเดียวกับโรคออทิสติกร่วมกับมีพฤติกรรมหมกมุ่น ทำซ้ำๆ ไม่ค่อยยืดหยุ่น ทำให้เกิดผลทางด้านลบต่อการดำรงชีวิต การเรียน การทำงาน และการเข้าสังคม

2. เด็กที่เป็นแอสเพอร์เกอร์ซินโดรมส่วนใหญ่จะสามารถพูดคุยสื่อสารปกติ แต่ไม่เข้าใจลูกเล่น สำนวน มุกตลกต่าง ๆ

3. มีระดับสติปัญญาปกติ ความจำดีแต่มีปัญหาในการประยุกต์ใช้เหมือนกับหน่วยความจำในคอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลได้ดี รายละเอียดครบถ้วน แต่นำออกมาใช่ร่วมกันไม่ได้

4. แอสเพอร์เกอร์ซินโดรม เป็นกลุ่มอาการที่คล้ายๆ ออทิสติก  แต่ไม่เหมือนกันทีเดียว คือ พัฒนาการด้านภาษาจะดีกว่าออทิสติก และมีระดับสติปัญญาที่ปกติ หรือสูงกว่าปกติ  พบว่า มีการทำงานของสมองบางตำแหน่งผิดปกติ แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าสาเหตุเกิดจากอะไร

5. ในปัจจุบันยังไม่มียาใดที่ใช้รักษาอาการแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม ให้หายเป็นปกติ เด็กเหล่านี้ส่วนใหญ่เมื่อได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และให้ความรู้ความเข้าใจ ให้คำแนะนำแก่พ่อแม่ รวมทั้งทางโรงเรียน ในการปรับตัวและการปรับพฤติกรรมของเด็ก ก็สามารถช่วยให้เด็กเหล่านี้อยู่ร่วมในสังคมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขเช่นเดียวกับเด็กปกติได้

Advertisement

พฤติกรรมของเด็กที่เป็นแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม

ลูกเป็นแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม

1. เด็กที่เป็นแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม  การพูดและการใช้ภาษาได้ตามปกติ แต่มักจะไม่เข้าใจเนื้อหาที่ลึกซึ้งหรือความหมายโดยนัยที่แฝงอยู่ เช่น สำนวน  ลูกเล่นต่าง ๆในคำพูด

2. มักจะมีพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากเด็กในวัยเดียวกัน เช่น ไม่ค่อยมองหน้า ไม่สบตาเวลาคุย ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว ไม่ค่อยสนใจคนรอบข้าง เล่นกับเด็กคนอื่น ๆ ไม่ค่อยเป็น

3. ไม่รู้จักทักทายคนอื่น บางทีอยากรู้หรืออยากถามอะไรก็ถามเลย โดยไม่ดูกาลเทศะ พูดโพล่งออกมา ไม่มีเกริ่นนำ

4. สนใจหมกมุ่นแต่เรื่องของตนเอง เรื่องที่พูดคุยมักเป็นเรื่องของตนเองมากกว่าเรื่องอื่น ๆ ไม่แสดงความใส่ใจหรือสนใจเรื่องราวของคนอื่น ขาดความเข้าใจหรือเห็นใจผู้อื่น และมักชอบพูดซ้ำ ๆ เรื่องเดิมๆ ที่ตนเองสนใจ

5. มีความสนใจเฉพาะเรื่องและชอบทำอะไรซ้ำ ๆ เช่น ถ้าเขามีความสนใจอะไรก็สนใจมากจนถึงขั้นหมกมุ่น โดยเฉพาะกับเรื่องที่ค่อนข้างมีความซับซ้อน และเป็นเรื่องที่คนอื่นไม่สนใจ เช่น วงจรไฟฟ้า ยี่ห้อรถยนต์ สุริยจักรวาล เป็นต้น

6. เด็กกลุ่มนี้จะไวต่อสิ่งเร้ามากกว่าคนทั่วไป สามารถเปลี่ยนแปลงอารมณ์ได้ค่อนข้างรวดเร็ว ทำให้ไม่มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ทำเท่าที่ควร

7. เด็กที่เป็นแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม มักจะมีสติปัญญาดี มีความสามารถในการช่วยเหลือตนเองในเรื่องต่าง ๆ ที่ต้องทำในชีวิตประจำวัน

อ่าน   รับมือ!!!เมื่อลูกเป็นแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม  คลิกหน้าถัดไป

รับมือ!!!เมื่อลูกเป็นแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม

ลูกเป็นแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม

นพ.จอม ชุมช่วย จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลมนารมย์ ให้คำแนะนำในการดูแลเมื่อ ลูกเป็นแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม  ดังนี้

1. หากคุณพ่อคุณแม่พบว่า ลูกสนใจและหมกมุ่นเรื่องซ้ำ ๆ เช่น นั่งดูพัดลมหมุนได้เป็นเวลานาน ๆ ก็ควรดึงลูกออกจากการกระทำนั้นด้วยความนิ่มนวล ค่อย ๆ เบนความสนใจชวนลูกทำกิจกรรมอื่น ๆ แทน

2. ถ้าเรื่องที่ลูกสนใจและเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ เช่น ชอบไดโนเสาร์ พ่อแม่สามารถสอนเรื่องอื่นสอดแทรกไปได้ เช่น เรื่อง ชีววิทยา ธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ เป็นต้น เน้นการใช้เรื่องที่เขาสนใจเป็นฐานแล้วก็ขยายความสนใจออกไป เพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้ในเรื่องอื่นๆ เพิ่มเติมได้

3. เล่นกับลูกโดยเอาความสนใจของเด็กเป็นที่ตั้งแล้วค่อย ๆ ขยายความสนใจเหล่านั้นไปในแง่มุมอื่นๆ โดยมีเป้าหมายแบ่งปันความสนใจ และอารมณ์ซึ่งกันและกัน โดยคุณพ่อคุณแม่พูดคุยกับลูกด้วยคำง่ายๆ ชัดเจน และถ้าเป็นตัวอย่างก็ควรเป็นสิ่งของในสถานการณ์จริงหรือรูปภาพ จะทำให้ลูกเข้าใจง่ายและเกิดการเรียนรู้ได้เร็ว

4. สร้างบรรยากาศในการทำกิจกรรมให้รู้สึกสบายๆ ไม่เครียด มีความอบอุ่นและเป็นกันเอง เช่น ในการเล่นหรือการเรียนของเด็ก ควรจัดเป็นกลุ่มเล็กๆ เพื่อให้เด็กได้คุ้นเคยกับกฎระเบียบของกลุ่มเล็กก่อน ก่อนให้เด็กเข้าในกลุ่มใหญ่

5. ทักษะสังคมเป็นเรื่องที่ต้องคอยสอนคอยชี้แนะอยู่ตลอด และต้องสอนกันเกือบทุกเรื่อง เช่น เวลาเจอเพื่อนจะทักทายอย่างไร อยากเข้าไปเล่นกับเพื่อนต้องทำอย่างไร อย่าไปคาดหวังว่าเดี๋ยวก็รู้เอง แต่ถ้าสอนแล้วเด็กจะทำได้ในที่สุด

บทความแนะนำ  ลูกเข้ากับเพื่อนไม่ได้ ทำอย่างไรให้ลูกมีทักษะสังคมที่ดี

6. สนับสนุนให้เด็กเข้าเรียนร่วม ทำให้สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน และใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นได้ สนับสนุนกิจกรรมหลากหลายเพื่อให้ลูกได้มีประสบการณ์ใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้เพื่อลดความสนใจและความเคยชินที่ซ้ำซาก

โรคนี้หายขาดได้ไหม?

ลูกเป็นแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม

แอสเพอร์เกอร์ซินโดรม ในทางแพทย์แม้จะไม่หายขาด  แต่สามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้ด้วยการฝึกทักษะการดูแลตนเองในชีวิตประจำวัน ฝึกฝนทักษะทางสังคมอย่างต่อเนื่อง การพูดจาที่ไม่เหมาะสม  การเข้ากับเพื่อน ปัญหาเหล่านี้คงต้องอาศัยการฝึกฝนและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

เมื่อเด็กโตขึ้นและได้เรียนหรือทำงานที่เหมาะสมกับตนเอง  เขาจะสามารถใช้ความสามารถของตนเองได้อย่างเต็มที่  ซึ่งเด็กที่เป็นแอสเพอร์เกอร์ส่วนใหญ่จะมีความสามารถสูง โดยเฉพาะในเรื่องที่เขาสนใจ เขาจะรู้จริง และรู้ลึกมากกว่าคนอื่น

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

 

คุณพ่อคุณแม่อย่าท้อใจไปนะคะ  เพราะเด็กที่เป็นแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม  หากได้รับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ลูกก็สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขค่ะ

ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์   คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย  เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ  หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ

 

อ้างอิงข้อมูล

https://health.kapook.com

https://www.happyhomeclinic.com

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

14 วิธีสังเกต ลูกเสี่ยงเป็นออทิสติก

5 ความเชื่อผิด ๆ ในการเลี้ยงดูส่งผลเสียต่อ IQ และ EQ ของลูกได้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • รับมือ!!!เมื่อลูกเป็นแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว