X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ยาแก้ไอเด็ก แบบไหนกินได้ แบบไหนอันตรายห้ามให้ลูกกิน

บทความ 5 นาที
ยาแก้ไอเด็ก แบบไหนกินได้ แบบไหนอันตรายห้ามให้ลูกกินยาแก้ไอเด็ก แบบไหนกินได้ แบบไหนอันตรายห้ามให้ลูกกิน

เพราะเด็กเล็กมักจะป่วยกันอยู่บ่อย ๆ ด้วยความที่ภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรง ซึ่งเวลาลูกไอ คุณพ่อคุณแม่ก็มักจะเกิดความกังวล เรามาดูกันว่า ทำไมลูกถึงไอ ยาแก้ไอเด็ก แบบไหนกินได้ แบบไหนอันตรายห้ามให้ลูกกิน ข้อควรระวังก่อนให้ลูกกินยามีอะไรบ้าง

ยาแก้ไอเด็ก แบบไหนกินได้ แบบไหนอันตรายห้ามให้ลูกกิน ยาแก้ไอเด็ก ยาโซลแมค ก่อนที่จะไปถึงเรื่อง ยาแก้ไอเด็ก เรามารู้จักกับอาการไอในเด็กกันก่อนครับ

ยาแก้ไอเด็ก

ยาบรรเทาอาการไอเด็ก

การไอ เป็นกลไกทางร่างกายในการป้องกัน หรือกำจัดสิ่งแปลกปลอมออกจากร่างกาย ซึ่งเวลาลูกไอ ก็อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายท่านเป็นกังวล ในขณะเดียวกัน คุณพ่อคุณแม่อีกหลายท่านก็อาจจะดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรต้องสังเกตอาการของลูกให้ดี เพราะถึงแม้ว่าอาการไอจะไม่ใช่โรค แต่ก็เป็นอาการและสัญญาณของโรคต่าง ๆ ได้

 

อาการไอในเด็กเล็ก 

ถ้าเป็นอาการไอในเด็กเล็ก นอกเหนือจากเรื่องของการไอทั่วไป ที่เป็นกลไกของร่างกายตามปกติแล้ว ควรคิดถึงสาเหตุอื่น ๆ เช่น

  • เชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรียที่อาจทำให้เกิดโรคหวัด โรคหลอดลมอักเสบ โรคปอดบวม รวมทั้งการติดเชื้ออื่น ๆ เช่น เชื้อวัณโรค โรคไอกรน
  • เกิดจากการสำลักสิ่งแปลกปลอมลงไปในหลอดลม หรืออาจเกิดจากหลอดลมมีความไวกว่าปกติ ซึ่งเป็นสัญญาณของโรคหืด

 

อาการไอในเด็กโต

สำหรับอาการไอในเด็กโต หรือวัยรุ่น นอกเหนือจากเรื่องของการไอทั่วไป ที่เป็นกลไกของร่างกายตามปกติแล้ว ควรคิดถึงสาเหตุอื่น ๆ เช่น

  • การติดเชื้อ เช่น โรคหวัด โรคหลอดลมอักเสบ โรคปอดบวม โรคไซนัสอักเสบ
  • แพ้ตัวไรในฝุ่นละออง ซึ่งเป็นสัญญาณของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้
  • หลอดลมอักเสบจากโรคหืด
  • เกิดจากการระคายเคือง เช่น จากควันบุหรี่ เป็นต้น
ยาแก้ไอเด็ก

ยาบรรเทาอาการไอเด็ก

ยาบรรเทาอาการไอ กรณีที่ลูกเป็นโรคหวัด ยาแก้ไอเด็ก

เบื้องต้นเรามาดูการบรรเทาอาการไอในเด็กโต ที่เกิดจากโรคหวัด ซึ่งพบได้บ่อย และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ลูกไอ โดนเด็กมักจะมีไข้ น้ำมูกไหล มีอาการคัน และระคายคอ

แต่ก่อนที่จะให้ลูกกิน ยาแก้ไอเด็ก คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกดื่มน้ำอุ่น หรือน้ำในอุณหภูมิปกติ หลีกเลี่ยงน้ำเย็น และน้ำแข็ง เพราะจะทำให้ลูกไอมากกว่าเดิม

นอกจากนี้ ควรให้ลูกกินอาหารอ่อน ๆ ย่อยง่าย และให้ลูกนอนพักผ่อนให้เพียงพอ แต่ถ้าลูกไอจากการที่มีน้ำมูกมาก การล้างจมูกหรือหยอดจมูกด้วยน้ำเกลือร่วมกับการให้ยาลดน้ำมูกที่เหมาะสมก็จะทำให้อาการดีขึ้นได้

โดยทั่วไปแล้ว เด็กจะมีอาการไอจากโรคหวัดอยู่ประมาณ 2-7 วัน หรือบางคนก็อาจจะมีอาการไอนานถึง 2 สัปดาห์ แต่ถ้าลูกมีอาการไอนานกว่านี้ หรือมีอาการรุนแรงขึ้น หรือมีอาการอื่น ๆ ควบคู่กับอาการไอ ที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่เป็นกังวล ก็ควรพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาอาการต่อไป

 

วิธีซื้อยาแก้ไอเด็ก เลือกให้ถูก เมื่อลูกไอ

การไอเป็นกลไกทางร่างกายอันหนึ่งในการป้องกันตนเองหรือกำจัดสิ่งแปลกปลอมของตนเองที่เกิดขึ้น และพยายามรักษาตนเองให้แข็งแรง ให้หายใจได้สะดวก ซึ่งเวลาลูกน้อยไอบางทีอาจดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่บางครั้งก็อาจไม่ใช่ คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตอาการลูกดีๆ นะคะ

ถ้าอาการไอในเด็กเล็ก ควรคิดถึงสาเหตุจากการติดเชื้อ  เช่น  เชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรียที่อาจทำให้เกิด โรคหวัดโรคหลอดลมอักเสบ โรคปอดบวม รวมทั้งการติดเชื้ออื่นๆ เช่น เชื้อวัณโรค โรคไอกรน  แต่ถ้าไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ อาจเกิดจากการสำลักสิ่งแปลกปลอมลงไปในหลอดลม หรืออาจเกิดจากหลอดลมมีความไวกว่าปกติซึ่งเป็นผลมาจากโรคหืด

แต่ถ้าเป็นอาการไอในเด็กโตหรือวัยรุ่น อาจเกิดจากการติดเชื้อ เช่น โรคหวัด โรคหลอดลมอักเสบ โรคปอดบวม โรคไซนัสอักเสบ หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น การแพ้ตัวไรในฝุ่นละอองในผู้ป่วยที่เป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือหลอดลมอักเสบจากโรคหืด หรืออาจเกิดจากการระคายเคือง เช่น  จากควันบุหรี่ เป็นต้น

ในที่นี้ขอพูดถึงการบรรเทาอาการไอจากสาเหตุที่มักจะพบได้บ่อยๆ คือ โรคหวัด ซึ่งจะทำให้เด็กมีไข้ น้ำมูกไหล  มีอาการคันและระคายคอ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กไอค่ะ โดยเบื้องต้นคุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกดื่มน้ำอุ่น หรือน้ำในอุณหภูมิปกติ เลี่ยงน้ำเย็นและน้ำแข็งเพราะอาจทำให้อาการไอเพิ่มมากขึ้น กินอาหารอ่อนๆ ย่อยง่าย เพื่อลดการอาเจียนที่อาจเกิดร่วม และพักผ่อนให้เพียงพอ  แต่ถ้าลูกไอจากการที่มีน้ำมูกมาก การล้างจมูกหรือหยอดจมูกด้วยน้ำเกลือร่วมกับการให้ยาลดน้ำมูกที่เหมาะสมก็จะทำให้อาการดีขึ้นได้ค่ะ แต่ถ้าอาการไอของลูกน้อยยังไม่ดีขึ้นควรพาลูกไปหาหมอหรืออย่างน้อยปรึกษาเภสัชกรซึ่งสามารถจ่ายยาบรรเทาอาการเบื้องต้นให้ได้  ซึ่งยาบรรเทาอาการไอกรณีลูกน้อยเป็นโรคหวัดนี้ ได้แก่

 

ยาขับเสมหะ (expectorant)

ยาขับเสมหะที่มีการศึกษาว่าได้ผล และองค์การอนามัยโลกแนะนําให้ใช้ ได้แก่ Guaifenesin หรือ Glyceryl Guaiacolate แต่ต้องระวังผลข้างเคียงจากการให้ขนาดสูงเกินไป ซึ่งจะทําให้คลื่นไส้ อาเจียนได้

ยากดการไอ (cough suppressant)

ยากดการไอ เช่น Codiene, Dextromethorphan จะทําให้เด็กไอไม่ออก แต่อาจมีเสมหะค้างและอุดตันหลอดลมจึงไม่ควรใช้หากเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี

ยาแก้ไอไม่ควรใช้ในเด็ก

ยาบางชนิดไม่ควรใช้ในเด็ก เช่น Acetylcysteine เพราะต้องระวังในผู้ป่วยโรคหอบหืด หรือยาที่มีฤทธิ์กดอาการไอ เช่น Dextromethorphan เพราะอาจเกิดอาการข้างเคียงและเป็นอันตรายต่อเด็กได้

 

บทความจากพันธมิตร
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้
ให้มากกว่าวิตามินซี แพทย์แนะนำ Black Elderberry Nigra 'เสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันไวรัส' มีงานวิจัยรับรอง
ให้มากกว่าวิตามินซี แพทย์แนะนำ Black Elderberry Nigra 'เสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันไวรัส' มีงานวิจัยรับรอง
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER

ข้อควรระวังก่อนให้ลูกกินยา

  • ก่อนให้ลูกกินยา ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้ง
  • ห้ามไม่ให้ทารก หรือเด็กเล็กกินยาเม็ด โดยทั่วไปเด็กจะเริ่มกินและกลืนยาเม็ดเล็ก ๆ ได้เมื่ออายุได้ 8 ขวบขึ้นไป
  • สำหรับเด็กเล็ก ๆ ที่จำเป็นต้องกินยาเม็ดเนื่องจากไม่มียาน้ำ ควรบดยาให้ละเอียดแล้วเติมน้ำเล็กน้อย แล้วจึงป้อนยาให้
  • อ่านฉลากก่อนใช้เสมอ และกินให้ถูกต้องตามที่ระบุไว้ในฉลากยา หรือตามที่คุณหมอสั่ง
  • ไม่ควรผสมยาลงในอาหาร หรือนม เพราะหากกินไม่หมด จะทำให้เด็กได้รับยาไม่ถูกต้องตามขนาด และอาจทำให้ลูกเกลียดการกินอาหารชนิดนั้น ๆ ได้
  • ควรใช้ช้อนตวงยามาตรฐาน ซึ่งมีขีดแบ่งชัดเจน หรืออาจจะใช้ไซริงค์มาตวงยาได้ เพราะสามารถตวงได้ละเอียด
  • ยาต่าง ๆ เป็นสารเคมี ซึ่งมักจะมีผลต่อร่างกายไม่มากก็น้อย จึงควรใช้ยาเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ใบพลูอังไฟ ช่วยกำจัดเสมหะเด็กได้จริงหรือ

ดูดน้ำมูก ดูดเสมหะด้วยลูกยางแดง ทำอย่างไร

ล้างจมูกลูก แบบง่ายๆ ทำอย่างไรไม่ให้สำลักลงปอด

parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ยาแก้ไอเด็ก แบบไหนกินได้ แบบไหนอันตรายห้ามให้ลูกกิน
แชร์ :
  • Arcoxia อาร์โคเซีย ยาแก้อักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ ต้องกินอย่างไรถึงจะปลอดภัย

    Arcoxia อาร์โคเซีย ยาแก้อักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ ต้องกินอย่างไรถึงจะปลอดภัย

  • วิธีซื้อยาแก้ไอเด็ก เลือกให้ถูก เมื่อลูกไอ

    วิธีซื้อยาแก้ไอเด็ก เลือกให้ถูก เมื่อลูกไอ

  • โป๊ะเช๊ะ! วิทยาศาสตร์ชี้ ผู้หญิงอายุ30 ตัวเลขนี้คือช่วงเวลาดีที่สุดของหล่อน!

    โป๊ะเช๊ะ! วิทยาศาสตร์ชี้ ผู้หญิงอายุ30 ตัวเลขนี้คือช่วงเวลาดีที่สุดของหล่อน!

  • 51 ชื่อลูกจาก นางในวรรณคดีไทย ไอเดียตั้งชื่อลูกสาว สุดไพเราะ สวยงาม

    51 ชื่อลูกจาก นางในวรรณคดีไทย ไอเดียตั้งชื่อลูกสาว สุดไพเราะ สวยงาม

app info
get app banner
  • Arcoxia อาร์โคเซีย ยาแก้อักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ ต้องกินอย่างไรถึงจะปลอดภัย

    Arcoxia อาร์โคเซีย ยาแก้อักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ ต้องกินอย่างไรถึงจะปลอดภัย

  • วิธีซื้อยาแก้ไอเด็ก เลือกให้ถูก เมื่อลูกไอ

    วิธีซื้อยาแก้ไอเด็ก เลือกให้ถูก เมื่อลูกไอ

  • โป๊ะเช๊ะ! วิทยาศาสตร์ชี้ ผู้หญิงอายุ30 ตัวเลขนี้คือช่วงเวลาดีที่สุดของหล่อน!

    โป๊ะเช๊ะ! วิทยาศาสตร์ชี้ ผู้หญิงอายุ30 ตัวเลขนี้คือช่วงเวลาดีที่สุดของหล่อน!

  • 51 ชื่อลูกจาก นางในวรรณคดีไทย ไอเดียตั้งชื่อลูกสาว สุดไพเราะ สวยงาม

    51 ชื่อลูกจาก นางในวรรณคดีไทย ไอเดียตั้งชื่อลูกสาว สุดไพเราะ สวยงาม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ