ยาต้องห้าม ช่วงให้นมบุตร 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 50

ในช่วงที่คุณแม่ให้นมลูก คุณแม่ควรระวัง ยาต้องห้าม กันด้วยนะคะ เพราะอาจส่งผลแก่ลูกน้อย เรามาดูกันค่ะ ว่ามี ยาต้องห้าม อะไรบ้างที่คุณแม่ห้ามกินในช่วงให้นม
ยาที่คุณแม่ให้นมห้ามกิน
- Amiodarone ใช้รักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ยาชนิดนี้ถูกขับออกทางน้ำนมในปริมาณมาก อาจทำให้ทารกได้รับยาผ่านทางน้ำนมซึ่งยานี้มีไอโอดีน(iodine) เป็นส่วนประกอบทำให้ทารกเกิด ภาวะไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) นั่นคือมีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- ยาเคมีบำบัดที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง เช่น Cyclophosphamide, Cyclosporine, Doxorubicin, Methotrexate
ยาอาจกดระบบภูมิคุ้มกัน กดไขกระดูกในทารกได้
- ยารักษาอาการปวดศีรษะไมเกรน Ergotamine + Caffeine
ยาขับออกทางน้ำนมได้ ผลของ Ergotamine ทำให้ทารกเกิด Ergotism (อาเจียน ท้องเสีย และชัก) รวมทั้งกดการหลั่งของน้ำนม ในขณะที่ Caffeineในขนาดที่ใช้ไม่พบว่าทำให้เกิดอันตรายต่อทารก แต่หากใช้ติดต่อกันจนเกิดการสะสมจะมีผลกระทบต่อการนอนของทารก จึงห้ามให้นมบุตรในระหว่างที่ใช้ยาดังกล่าว
- ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosupressants)
ยาอาจกดระบบภูมิคุ้มกันของทารกได้
- ยาในกลุ่มกรดวิตามินเอ ชนิด รับประทาน เช่น Isotretinoin เป็นยารักษาสิวที่มีอาการรุนแรง ที่ไม่สามารถควบคุมอาการจากการรักษาอื่นๆ
ยาถูกขับออกทางน้ำนมได้ อาจทำให้ทารกที่ได้รับนมจากแม่ได้รับยานี้แล้ว เกิดผลข้างเคียงจากยา เช่น ปวดหลัง เป็นพิษต่อตับ
- Aspirin
ในกรณีที่คุณแม่รับประทานยานี้เป็นระยะเวลานานจะทำให้ทารกที่ได้รับนมแม่เกิดอาการข้างเคียงของ ภาวะ(metabolic acidosis) ซึม กล้ามเนื้ออ่อนแรง เบื่ออาหาร
- Naproxen
ใช้ได้ในระยะสั้นๆ แต่เนื่องจากยาอยู่ในกระแสเลือดได้นาน จึงแนะนำให้กินยานี้ในช่วงที่ลูกจะหลับยาว ไม่ควรใช้เป็นเวลานานเพราะระดับยาอาจสะสมในเลือดของทารกได้
- ยาสารเสพติด
คุณแม่ที่ใช้สารเสพติดที่มีส่วนประกอบของแอมเฟตามีน ซึ่งอยู่ในยาเสพติดประเภทโคเคน และเฮโรอีน ไม่ควรให้นมลูกด้วยตัวเอง เนื่องจากสารเสพติดต่างๆ เมื่อได้รับเข้าไปในปริมาณมากจะถ่ายทอดออกมาทางน้ำนมและส่งผลให้ลูกที่กินน้ำนมนั้น มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน หรือร้องไห้บ่อย ไม่สามารถหลับได้สนิท
- สารนิโคติน
คุณแม่ที่มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ หากยังไม่สามารถเลิกขาดได้ก็จะไม่สามารถให้นมลูกได้ เนื่องจากนิโคตินที่คุณแม่ได้รับนั้น อาจจะปนเปื้อนอยู่ในน้ำนม ทำให้ลูกได้รับสารเสพติดนี้เข้าร่างกายด้วยนั่นเอง
- สารเคมีบำบัด
คุณแม่ที่ป่วยเป็นมะเร็งและกำลังรักษาด้วยวิธีการใช้ยาเคมีบำบัดนั้น จะต้องหลีกเลี่ยงการให้นมลูกโดยตรง เพราะคุณอาจจะได้รับผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัดจนถึงขั้นไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถผลิตน้ำนมได้ตามต้องการ อีกทั้งยาเคมีบำบัดบางตัวอาจจะส่งผลกระทบต่อสารอาหารในน้ำนม จึงควรงดให้นมในช่วงได้รับยาดังกล่าว
ยาที่คุณแม่ให้นมกินได้

ยาต้องห้าม
- ยาแก้หวัด
ยกเว้นยาแก้แพ้กลุ่มแอนตี้ซีสตามีน เช่น บรอมเฟนิรามีน (Brompheniramine) เพราะจะทำให้ลูกร้องกวน นอนไม่หลับ ถ้าคัดจมูกควรใช้ยาทาหรือเช็ดจมูกให้โล่งดีกว่ายารับประทาน ควรหลีกเลี่ยงยาผสมที่มีตัวยาหลายๆ อย่างในเม็ดเดียวกัน หรือที่ออกฤทธิ์นานๆ เพราะจะส่งผลต่อลูกเป็นเวลานานด้วย
- ยาแก้ปวด
ยาที่ใช้แก้ปวดได้ในคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมคือ พาราเซตามอล (Paracetamol) ไอบูโพรเฟน (Ibuprofon) กรดมีเฟนามิก (Mefenamic Acid) ไดโคลฟิแนก (Diclofenec)
- ยาฆ่าเชื้อ
(จำพวกยาปฏิชีวนะ) กลุ่มที่ใช้ได้คือ กลุ่มเพนนิลซิลลิน (Penicillin) ยารักษาวัณโรค กลุ่มยารักษามาเลเรีย ที่ไม่ควรใช้คือ ยาเมโทรนิดาโซล (Metronidazole)
- ยาระบาย
ที่ใช้ได้โดยไม่มีอันตรายต่อลูก คือยาที่มีคุณสมบัติพองตัวในน้ำ เพิ่มกากอาหารและยาระบายมิลค์ออฟแมกนีเซีย (M.O.M.) ส่วนที่ไม่ควรใช้คือยาระบายมะขามแขก
- ยาลดกรด
รักษาแผลในกระเพาะ ควรใช้ยาลดกรดที่มีส่วนประกอบของอะลูมิเนียมและแมกนีเซียม เพราะซึมผ่านน้ำนมได้น้อย คุณแม่จึงใช้ได้อย่างสบายใจ ส่วนยารักษาแผลในกระเพาะแนะนำให้ใช้ซูคราลเฟต (Sucrafate) ซึ่งซึมผ่านไปยังน้ำนมได้น้อย
- ยาคุมกำเนิด
หากจำเป็นต้องใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด ควรเลือกสูตรที่มีปริมาณฮอร์โมนต่ำ โดยเฉพาะฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) เนื่องจากฮอร์โมนนี้มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างน้ำนม ดังนั้นหากจะคุมกำเนิดในช่วงที่ให้นมลูก ขอแนะนำให้ใช้วิธีธรรมชาติหรือสวมถุงยางอนามัยค่ะ
- ยาพ่น
ยาพ่น albuterol, vanceril, beclomethasone, fluticasone, cromolyn, nedocromil, ipratropium กลุ่มยาพวกนี้ คุณแม่สามารถใช้ได้ค่ะ
หลักในการใช้ยา
- หลีกเลี่ยงการใช้ยา หากไม่จำเป็น หรือถ้าเป็นไปได้ให้เลื่อนการใช้ยาไปจนกว่าจะถึงเวลาที่ทารกหย่านม
- หลีกเลี่ยงยาที่ออกฤทธิ์เนิ่นนาน
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาสูตรผสม ควรเลือกยาที่ประกอบด้วยตัวยาสำคัญเพียงชนิดเดียว
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาสูตรผสม ควรเลือกยาที่ประกอบด้วยตัวยาสำคัญเพียงชนิดเดียว
- ควรเลือกใช้ยาที่มีขนาดต่ำที่สุดหรือใช้ยาในช่วงระยะเลาสั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้
- ควรเลือกใช้ยาที่มีรูปแบบสูดพ่นหรือใช้ภายนอก แทนการใช้ยาแบบรับประทานหรือฉีด เช่นยาบรรเทาอาการคัดจมูก แบบสูตรพ่นแทนยาบรรเทาอาการคัดจมูกแบบรับประทาน
- ควรรับประทานยาทันทีหลังให้นมลูกเสร็จ เพื่อให้ระยะเวลาการรับยา ห่างจากการให้นมครั้งถัดไปนานที่สุด
- ในกรณีที่ต้องรับประทานยาวันละหลายครั้ง คุณแม่สามารถบีบน้ำนมเก็บไว้ก่อนที่คุณแม่จะรับประทานยา
- คอยสังเกตการเปลี่ยนแปลงของลูก เช่น นอนหลับปกติไหม มีผดผื่นขึ้นหรือเปล่า หรือมีอาการผิดปกติอย่างไร เพื่อที่จะได้แก้ไขได้ทันท่วงที
- หยุดให้นมลูกในกรณีที่เป็นยาที่ห้ามใช้ในหญิงให้นมบุตร
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :
รู้หรือไม่!! MFGM คือ สารอาหารในนมแม่ ช่วยพัฒนาสมองของลูกรัก ให้พร้อมเรียนรู้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ควันบุหรี่มีผลต่อทารกในครรภ์ อันตรายจากการสูบบุหรี่ของแม่ท้อง!
วิธีใส่ถุงยางอนามัย ข้อควรระวังในการใส่ถุงยางอนามัย ถุงยางอนามัยป้องกันอะไรได้บ้าง