X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คลอดธรรมชาติ เจ็บแน่เลย มีวิธีระงับปวดระหว่างรอคลอดและตอนคลอดบ้างไหม ?

บทความ 3 นาที
คลอดธรรมชาติ เจ็บแน่เลย มีวิธีระงับปวดระหว่างรอคลอดและตอนคลอดบ้างไหม ?

อยากคลอดธรรมชาติ แต่กลัวเจ็บ มีตัวช่วยลดความเจ็บปวดไหม แม่ท้องมีตัวเลือกอะไรบ้าง ไปหาคำตอบพร้อมกัน

ใกล้คลอดแล้ว จะเจ็บไหมนะ ?

ใกล้คลอดแล้ว ถึงเวลาที่คุณแม่หลายคนเริ่มเป็นกังวล ใจหนึ่งก็ตื่นเต้นที่กำลังจะได้เห็นหน้าลูกน้อย อีกใจก็กลัวว่าจะเจ็บปวดระหว่างคลอด ถ้าอยากคลอดธรรมชาติ แต่กลัวเจ็บ มีตัวช่วยลดความเจ็บปวดอะไรบ้าง มีวิธีระงับปวดระหว่างรอคลอดและตอนคลอดบ้างไหม ไปติดตามกันเลย

มีวิธีระงับปวดระหว่างรอคลอดและตอนคลอดบ้างไหม ?

การคลอดธรรมชาติ เป็นการคลอดลูกเองโดยไม่ใช้การผ่าตัด ความเจ็บปวดในระหว่างรอคลอด หรือในระหว่างคลอดก็จะแตกต่างกันออกไปในคุณแม่แต่ละคน ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการบีบตัวของมดลูก ท่าของทารกในครรภ์และความอดทนของคุณแม่

ในปัจจุบันมี วิธีการระงับปวดขณะคลอดนั้นมีหลายวิธี โดยอาจมีการใช้ยาช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดขณะคลอด หรือใช้เครื่องมือทางการแพทย์เพื่อให้ความช่วยเหลือ ได้แก่

1. การฉีดยาลดปวดเข้าหลอดเลือดดำ หรือเข้ากล้าม

วิธีนี้จะช่วยลดอาการปวดได้ดี แต่ในบางครั้งผลของยาระงับปวด อาจทำให้คุณแม่และทารกในครรภ์หลับได้ และอาจกดการหายใจของทารกหลังคลอด จึงมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลาในการฉีดยา โดยเหมาะที่จะให้ในระยะต้น ปากมดลูกยังเปิดไม่มาก

2. การฉีดยาชาเข้าเฉพาะที่ฝีเย็บโดยสูติแพทย์

สูติแพทย์จะฉีดยาชาบริเวณที่จะตัดฝีเย็บ ซึ่งวิธีนี้จะทำได้เมื่อปากมดลูกเปิดหมดแล้ว จึงไม่สามารถระงับปวดจากการบีบตัวของมดลูกขณะรอคลอดได้

3. การบล็อกหลัง (Epidural block)

โดยวิสัญญีแพทย์จะทำการแทงเข็มที่มีหลอดนำยาขนาดเล็กเข้าไปในกระดูกสันหลังของคุณแม่ หลอดนำยาจะค้างอยู่ข้างใน และค่อย ๆ ปล่อยยาชาออกมาอย่างต่อเนื่องไปที่ชิ้นผิวหนังของไขสันหลัง ทำให้ค่อย ๆ หมดความรู้สึก ซึ่งกว่ายาชาจะออกฤทธิ์ระงับปวดได้เต็มที่ จะใช้เวลา ประมาณ 10-15 นาที

โดยปริมาณของยาชาที่ให้เพื่อระงับปวดนั้น มีความปลอดภัยต่อทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ หลังจากทารกคลอดออกมา ก็จะมีความแข็งแรงตามธรรมชาติ

โดยวิธีนี้จะช่วยลดความเจ็บปวดขณะรอคลอด ตั้งแต่ระยะแรก จนถึงการคลอด และการตัดฝีเย็บ อีกทั้งยังช่วยลดความเจ็บปวดเมื่อสูติแพทย์ต้องใช้คีม หรือเครื่องดูดสุญญากาศในการช่วยคลอด และยังสามารถใช้ต่อเนื่องในการระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องถ้าจำเป็น

คลอดธรรมชาติ

การเบ่งคลอดและการบล็อกหลัง

ยาชาที่ใช้ในการบล็อกหลังนั้น สามารถระงับอาการปวดได้ แต่ก็จะไม่มีผลต่ออาการอยากเบ่งคลอด และไม่ได้เป็นการลดแรงเบ่งเมื่อปากมดลูกเปิดหมดแล้ว คุณแม่จึงสามารถเบ่งคลอดได้ตามปกติ ไม่ต้องกังวลไปครับ

และเมื่อสูติแพทย์ จําเป็นต้องใช้เครื่องมือช่วยคลอด อย่างเช่น คีม หรือ เครื่องดูดสุญญากาศ หรือคีม วิสัญญีแพทย์ก็จะเติมยาชาเพื่อลดความเจ็บปวด และทำให้กล้ามเนื้อหย่อนตัว ช่วยให้สูติแพทย์ใส่เครื่องมือได้ง่ายขึ้น

ผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการบล็อกหลัง

ผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการบล็อกหลังเพื่อช่วยลดความเจ็บปวดนั้น พบได้น้อยมาก อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้มีดังนี้

1. อาการหนาวสั่น

อาการหนาวสั่นนี้ อาจเกิดขึ้นได้แม้ว่าจะไม่ได้บล็อกหลังก็ตาม การให้ความอบอุ่นแก่คุณแม่จะช่วยลดอาการดังกล่าวได้

2. อาการปวดศีรษะ

คุณแม่อาจมีอาการปวดศีรษะหลังจากการบล็อกหลังไปแล้ว 1-2 วัน แต่อาการปวดศีรษะจะดีขึ้น และหายได้เองหลังการดื่มน้ำ นอนศีรษะราบ และรับประทานยาระงับปวด

3. ปวดหลัง

อาการปวดหลังอาจเกิดขึ้นจากเข็มที่ใช้บล็อกหลัง แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลไปนะครับ เพราะจะเป็นแค่ชั่วคราวเท่านั้น ประมาณ 1-2 วัน อาการปวดหลังก็จะหายไปเอง

4. ภาวะแทรกซ้อนอื่น

ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่ก็พบได้น้อยมาก ได้แก่ ปัสสาวะไม่ออก มีเลือดออก ติดเชื้อ หรือมีไข้ใน 24-48 ชั่วโมง

คำแนะนำหากใช้วิธีบล็อกหลัง

คุณแม่ที่คลอดโดยวิธีบล็อกหลัง มีเรื่องที่ควรหลีกเลี่ยงและควรระวัง ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการวางวัตถุที่ร้อน หรือเย็น หรือวางของหนักลงบนร่างกายส่วนที่ยังรู้สึกชา
  • ไม่ควรลุกขึ้นยืน หรือเดินจนกว่าอาการชาจะหายไปหมด โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 4 – 6 ชั่วโมงหลังคลอด

และหากคุณแม่พบว่ามีอาการปกติ หรือเป็นกังวลเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ ก็อย่าลังเลใจที่จะไปพบแพทย์เสียแต่เนิ่น ๆ นะครับ


ที่มา samitivejhospitals

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เผยขั้นตอนคลอดลูก ทั้งคลอดเอง VS ผ่าคลอด แบบที่แม่ท้องควรรู้!!

สัญญาณอันตรายใกล้คลอด โค้งสุดท้ายก่อนเป็นแม่คน

คนโบราณบอกว่า ต้องคัดท้องจึงจะคลอดง่าย แต่เดี๋ยวนะ มันปลอดภัยแล้วแน่หรือ?

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • คลอดธรรมชาติ เจ็บแน่เลย มีวิธีระงับปวดระหว่างรอคลอดและตอนคลอดบ้างไหม ?
แชร์ :
  • บล็อคหลัง ปลอดภัยแค่ไหน มีข้อดี ข้อเสีย ของการบล็อกหลังมีอะไรบ้าง

    บล็อคหลัง ปลอดภัยแค่ไหน มีข้อดี ข้อเสีย ของการบล็อกหลังมีอะไรบ้าง

  • คลอดธรรมชาติไม่ได้ อาจต้องผ่าคลอด ถ้ามีสัญญาณเหล่านี้

    คลอดธรรมชาติไม่ได้ อาจต้องผ่าคลอด ถ้ามีสัญญาณเหล่านี้

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • บล็อคหลัง ปลอดภัยแค่ไหน มีข้อดี ข้อเสีย ของการบล็อกหลังมีอะไรบ้าง

    บล็อคหลัง ปลอดภัยแค่ไหน มีข้อดี ข้อเสีย ของการบล็อกหลังมีอะไรบ้าง

  • คลอดธรรมชาติไม่ได้ อาจต้องผ่าคลอด ถ้ามีสัญญาณเหล่านี้

    คลอดธรรมชาติไม่ได้ อาจต้องผ่าคลอด ถ้ามีสัญญาณเหล่านี้

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ