theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • Project Sidekicks
    • การตั้งครรภ์
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • การสูญเสียทารก
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • สุขภาพ
    • อาการป่วย
    • วัคซีน
    • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
    • ประกันชีวิต
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ความปลอดภัย
    • มุมคุณพ่อ
  • การศึกษา
    • ข่าวการศึกษา
    • คลีนิกพัฒนาการ
    • เตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน
    • โรงเรียนอนุบาล
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • งานบ้าน
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ดวงและราศี
    • ดารา-แฟชั่น
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ฟิตเนส
    • อีเว้นท์
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • TAP IDOL

ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด อันตรายแค่ไหน

บทความ 3 นาที
•••
ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด อันตรายแค่ไหนภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด อันตรายแค่ไหน

ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด เป็นภาวะที่พบได้บ่อย ส่วนมากมักจะตัวเหลืองไม่มาก และเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์แรกหลังทารกเกิด และหายได้เองโดยไม่ต้องรับการรักษา ดังนั้นหากลูกวัยแรกเกิดตัวเหลืองเพียงนิดหน่อยจากสาเหตุที่ไม่เป็นอันตราย คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลนะคะ แต่ก็มีสาเหตุที่เป็นอันตรายเช่นกัน ดังนั้นมาทำความเข้าใจกับเรื่องภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดนี้กันดีกว่าค่ะ

ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด

ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด เกิดขึ้นจากการแตกของเม็ดเลือดแดง ทำให้เกิดสารสีเหลืองที่เรียกว่า “บิลิรูบิน” สารนี้จะอยู่ในกระแสเลือด ร่างกายต้องกำจัดออกทางตับ โดยเอนไซน์ในตับจะช่วยเปลี่ยนแปลงก่อนที่จะส่งต่อไปยังลำไส้ และขับถ่ายสารเหลืองออกมาทางอุจจาระมากที่สุด

ดังนั้นหากมีโรค หรือ ความผิดปกติใด ๆ ของร่างกายที่มีผลต่อขั้นตอนเหล่านี้ก็จะส่งผลให้ทารกตัวเหลืองมากกว่าปกตินั่นเองค่ะ

สาเหตุของภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดที่พบบ่อยมีอะไรบ้าง?

สาเหตุภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดที่พบบ่อย และมักไม่เป็นอันตรายในทารกแรกเกิด มีสาเหตุจาก ภาวะเม็ดเลือดแดงแตกปกติในเด็กทารกแรกเกิด เมื่อเม็ดเลือดแดงแตกออก ก็จะมีสารเหลืองออกมาด้วย และเนื่องจากเด็กแรกเกิดมีเม็ดเลือดแดงมากกว่าผู้ใหญ่ อีกทั้งเม็ดเลือดแดงในเด็กมีอายุสั้น และยังมีเม็ดเลือดแดงที่สร้างไม่สมบูรณ์ปริมาณมากเมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ อีกทั้งการทำงานของตับเด็กแรกเกิดก็ยังไม่สมบูรณ์ จึงกำจัดสารเหลืองได้ช้า ทำให้เกิดภาวะตัวเหลืองแบบปกติ

ซึ่งภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดนี้ พบได้ในทารกแรกเกิดเกือบทุกคน ส่งผลให้ให้ทารกตัวเหลืองเล็กน้อย เมื่ออายุ 3-5 วัน จากนั้นจะค่อย ๆ เหลืองน้อยลงจนหายไปได้เอง

ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด

ภาวะตัวเหลือง ในทารกแรกเกิด

ส่วนทารกตัวเหลืองจากความผิดปกติ จะมีลักษณะที่สังเกตได้คือ เริ่มเหลืองเร็ว เมื่ออายุน้อยกว่า 24 ชั่วโมง และอัตราการเพิ่มของค่าสารเหลืองในเลือดเพิ่มขึ้นเร็วมาก และมีตัวเหลืองนานเกินกว่า 14 วัน โดยเฉพาะทารกที่ไม่ได้ทานนมแม่

สาเหตุของทารกตัวเหลืองจากความผิดปกติที่พบบ่อยได้แก่

  • กรุ๊ปเลือดแม่และลูกไม่เข้ากัน ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกมาก พบในแม่เลือดกรุ๊ป O และลูกเป็น กรุ๊ป A หรือ B
  • ภาวะเม็ดเลือดแดงแตกมาก เนื่องจากโรคที่เม็ดเลือดแดงผิดปกติ ได้แก่ โรคธาลัสซีเมีย, โรคขาดเอนไซน์ G6PD เด็กที่คลอดโดยใช้เครื่องดูดช่วยคลอดจะมีเลือดออกใต้หนังศีรษะ ซึ่งเลือดที่ออกนี้ทำให้มีเม็ดเลือดแดงที่แตกเพิ่มขึ้น
  • เด็กที่มีการทำงานของตับไม่สมบูรณ์ หรือโรคกรรมพันธุ์บางอย่างของตับ ก็ทำให้กำจัดสารเหลืองได้น้อยลง
  • นอกจากนี้ ความผิดปกติที่ลำไส้เช่นภาวะลำไส้อุดตัน ทำให้มีการดูดซึมสารเหลืองกลับเข้ากระแสเลือดมากกว่าปกติแทนที่จะขับถ่ายออกไป เด็กจึงตัวเหลืองได้

ทราบได้อย่างไรว่าลูกตัวเหลืองผิดปกติ?

คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้ว่าลูกตัวเหลืองโดยกดที่ผิวของลูก จะเห็นบริเวณที่กดเป็นสีเหลือง ถ้าเห็นสีเหลืองเฉพาะใบหน้าและลำตัว ถือว่าเหลืองไม่มาก แต่ถ้าลงมาที่ขาและเท้า ถือว่าเหลืองมาก ถ้าสงสัยว่าลูกตัวเหลืองมากผิดปกติ ควรรีบมาปรึกษาคุณหมอเพื่อตรวจร่างกาย และเจาะเลือดตรวจระดับสารเหลืองในเลือด

ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด รักษาอย่างไร?

เนื่องจากหากลูกตัวเหลืองมาก จะมีระดับสารเหลือง หรือ บิลิรูบิน ในเลือดสูง ซึ่งสารนี้สามารถเข้าไปที่สมองลูกได้ ถ้ามีระดับที่สูงมาก จะทำให้เกิดอาการผิดปกติของสมองจากภาวะตัวเหลือง มีอาการชัก และอาจมีผลต่อประสาทการได้ยินของเด็ก เด็กจึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาภาวะตัวเหลืองที่ผิดปกติในทารกแรกเกิด ซึ่งมีวิธีการรักษาในโรงพยาบาลโดยการส่องไฟ และการเปลี่ยนถ่ายเลือดหากค่าสารเหลืองสูงมาก หลังจากการรักษา คุณหมอจะตรวจระดับค่าสารเหลืองซ้ำ ถ้าระดับบิลิรูบินลงมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ ก็สามารถกลับบ้านได้อย่างปลอดภัยค่ะ

บทความนี้คงทำให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดมากขึ้น อย่างไรก็ตาม หากพบว่าลูกตัวเหลืองผิดปกติ ก็ควรปรึกษาคุณหมอเด็กเพื่อหาสาเหตุของตัวเหลืองและเจาะเลือดตรวจระดับสารเหลืองนะคะ

บทความที่น่าสนใจอื่น ๆ

เด็กแรกเกิดควรกินน้ำหรือเปล่า

วิธีดูแลผิวทารก ทำอย่างไรให้ลูกผิวดี สดใส ไร้ขุย

อาการข้างเคียงของวัคซีน แต่ละชนิดส่งผลอะไรกับลูกบ้าง

parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด อันตรายแค่ไหน
แชร์ :
•••
  • ไอ เกิดจากอะไรได้บ้าง อันตรายไหม มีวิธีรักษายังไง

    ไอ เกิดจากอะไรได้บ้าง อันตรายไหม มีวิธีรักษายังไง

  • การห้ามเลือดหากลูกบาดเจ็บ หรือเป็นแผลต้องทำอย่างไร

    การห้ามเลือดหากลูกบาดเจ็บ หรือเป็นแผลต้องทำอย่างไร

  • ประกันสุขภาพเหมาจ่าย เป็นอย่างไร ได้อะไรบ้าง?
    บทความจากพันธมิตร

    ประกันสุขภาพเหมาจ่าย เป็นอย่างไร ได้อะไรบ้าง?

app info
get app banner
  • ไอ เกิดจากอะไรได้บ้าง อันตรายไหม มีวิธีรักษายังไง

    ไอ เกิดจากอะไรได้บ้าง อันตรายไหม มีวิธีรักษายังไง

  • การห้ามเลือดหากลูกบาดเจ็บ หรือเป็นแผลต้องทำอย่างไร

    การห้ามเลือดหากลูกบาดเจ็บ หรือเป็นแผลต้องทำอย่างไร

  • ประกันสุขภาพเหมาจ่าย เป็นอย่างไร ได้อะไรบ้าง?
    บทความจากพันธมิตร

    ประกันสุขภาพเหมาจ่าย เป็นอย่างไร ได้อะไรบ้าง?

  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การตั้งชื่อลูก
    • โภชนาการระหว่างตั้งครรภ์​
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • เซ็กส์และความสัมพันธ์
  • การตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • นมแม่และนมผง
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • ดวงและราศี
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ดารา-แฟชั่น
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore
  • Thailand
  • Indonesia
  • Philippines
  • Malaysia
  • Sri Lanka
  • India
  • Vietnam
  • Australia
  • Japan
  • Nigeria
  • Kenya
พันธมิตรของเรา
Mama's Choice Partner Brand Logo
© Copyright theAsianparent 2021. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้
บทความ
  • สังคมออนไลน์
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • สุขภาพ
  • ชีวิตครอบครัว
  • การศึกษา
  • ไลฟ์สไตล์​
  • วิดีโอ
  • ชอปปิง
  • TAP IDOL
เครื่องมือ
  • ?คอมมูนิตี้สำหรับคุณแม่
  • ติดตามการตั้้งครรภ์
  • ติดตามพััฒนาการของลูกน้อย
  • สูตรอาหาร
  • อาหาร
  • โพล
  • VIP Parents
  • การประกวด
  • โฟโต้บูท

ดาวน์โหลดแอปของเรา

  • ติดต่อโฆษณา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทีม
  • กฎการใช้งานคอมมูนิตี้
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดการใช้
  • มาเข้าร่วมกับเรา
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ?ฟีด
  • โพล
เปิดในแอป