เมื่อไม่นานมาได้เกิดเรื่องราวที่ไม่คาดฝันขึ้นกับทีมแพทย์ และครอบครัว เมื่อพบว่า ทารกแรกเกิดที่พวกเขาทำคลอดนั้น เป็นทารกแรกเกิดที่มีสองศีรษะ และใช้ลำตัวเดียวกัน ซึ่งแม้แต่แม่ก็ไม่เคยรู้มาก่อน แต่ทีมแพทย์กลับไม่ยอมแพ้ และพร้อมที่จะช่วยเหลือ ทารกแรกเกิดแฝดสยาม รายนี้อย่างสุดความสามารถ และหนึ่งในสมาชิกครอบครัวของหนูน้อยนั้น ก็ได้ทำการโพสต์ภาพและคลิปแรกของหนูน้อยทั้งสองผ่านสื่อออนไลน์ด้วย
มาทำความรู้จักกับแฝดสยามกัน
แฝดสยามหรือฝาแฝดตัวติดกัน คือ แฝดผู้มีร่างกายติดกันมาแต่กำเนิด เกิดขึ้นเมื่อ ไซโกท พยายามแบ่งตัวเป็นแฝด แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ฝาแฝดติดกัน มีโอกาสในการเกิดจาก 1 ต่อ 50,000 ถึง 1 ต่อ 200,000 คน ซึ่งฝาแฝดตัวติดกันมีโอกาสมีชีวิตรอดน้อยมาก โดยประมาณร้อยละ 5 ถึง 25 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง (ประมาณร้อยละ 70 – 75)
แฝดสยาม แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. อวัยวะเชื่อมติดกันบริเวณส่วนกลางร่างกาย คือ อกและท้อง
2. อวัยวะเชื่อมติดกันบริเวณเชิงกราน
3. อวัยวะเชื่อมต่อด้วยส่วนล่างของร่างกาย เช่น ก้นกบ สะโพก
4. อวัยวะเชื่อมติดกันบริเวณส่วนบนของร่างกาย เช่น ศีรษะ
ซึ่งแฝดสยามชนิดที่พบมากที่สุดได้แก่ ประเภทที่ 1 และแฝดสยามที่พบน้อยที่สุดได้แก่ ประเภทที่ 4 และประเภทนี้นี่เอง ที่ได้จัดว่า เป็นการผ่าตัดที่ยากที่สุดอีกด้วย และฝาแฝดสยามที่มีชื่อเสียงรู้จักกันมากที่สุด คือ อิน และ จัน บุนเกอร์ ฝาแฝดชาวจีน ที่เกิดในประเทศไทยสมัยรัชกาลที่ 2 นั่นเองค่ะ
สังเกตอย่างไรว่ากำลังตั้งท้องแฝด
ตามคำแนะนำของแพทย์ ได้มีการกล่าวถึงว่า การตั้งครรภ์แฝดตั้งแต่สองคนขึ้นไปถือเป็นเรื่องผิดปกติ เพราะจะมีภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์มากขึ้น ยิ่งจำนวนลูกในครรภ์มากขึ้นเท่าไหร่ ก็จะเป็นอันตราย ส่งผลต่อแม่และลูกในท้องมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นหากคุณแม่รู้ตัวว่าตั้งท้องแฝด ก็จะเป็นผลดีที่จะดูแลตัวเอง และรีบไปพบคุณหมอเพื่อตรวจครรภ์ แต่คุณแม่จะดูยังไง จะรู้ได้อย่างไรว่าท้องแฝด
จะรู้ได้อย่างไรว่าท้องแฝด เมื่อเริ่มตั้งครรภ์
- คุณแม่จะรู้สึกว่าร่างกาย จะมีอาการอ่อนเพลียมากกว่าปกติ แพ้ท้อง และอาเจียนหนักมาก ประมาณ 50% ของคุณแม่ท้องมีอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ ตอนนี้คุณแม่อาจจะสงสัยอยู่ว่า ลูกแฝดจะต้องมีอาการแพ้ท้องแบบคูณสองไหม แต่จากการทำโพลสำรวจพบว่า มีคุณแม่ลูกแฝดเพียง 15% เท่านั้นที่มีอาการแพ้ท้องอย่างหนัก ในขณะที่บางคนแพ้ท้องปกติ บางคนไม่แพ้เลยก็มีค่ะ
- ท้องแฝดจะมีขนาดของท้องที่โตเร็ว และใหญ่มากกว่าท้องปกติที่มีอายุครรภ์เท่ากัน เช่น ถ้าครรภ์ปกติสามเดือนแรก เราอาจจะยังไม่เห็นว่าหน้าท้องขึ้นชัด แต่ถ้าเป็นท้องแฝดจะเห็นขนาดของท้องที่เด่นชัดขึ้นมา ซึ่งอาจจะโตได้เท่ากับอายุครรภ์ห้าเดือน ตลอดการตั้งครรภ์ คุณหมอจะวัดระดับความสูงของยอดมดลูกเพื่อประเมินอายุครรภ์ ในกรณีที่คุณแม่ได้ลูกแฝดอาจทำให้ขนาดมดลูกของคุณขยายมากกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้คุณแม่ท้องใหญ่ได้เช่นกัน
- คุณแม่จะมีน้ำหนักที่ขึ้นมา และรวดเร็วจนสามารถสงสัยได้ว่ากำลังตั้งท้องแฝด น้ำหนักตัวของคุณแม่ อาจจะเพิ่มขึ้นอย่างชนิดที่ว่า มากกว่าคุณแม่ครรภ์เดี่ยวประมาณ 4.5 กิโลกรัม แต่น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ก็มักเกิดการรับประทานอาหารของคุณแม่มากกว่าที่จะชี้ว่า เป็นเพราะคุณได้ลูกแฝด
- คุณแม่รู้สึกว่าลูกดิ้นเร็วกว่าปกติ และมีจำนวนการดิ้นที่มาก บางครั้งรู้สึกถึงลูกดิ้นทั้งซ้าย ขวา หรือบน ล่าง เป็นเพราะว่าในครรภ์มีทารกถึงสองคน (หรือมากกว่า) หากแต่ทางการแพทย์ไม่ได้เชื่ออย่างนั้น เพราะแม้ว่าความรู้สึกว่าเจ้าตัวน้อยเคลื่อนไหวอยู่ภายในมดลูกเป็นประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นที่สุดอย่างหนึ่งของการตั้งครรภ์ แม้ว่าคุณแม่ลูกแฝดมักจะบอกว่า เขารับรู้ได้ว่าลูกดิ้นบ่อยกว่า และรู้สึกได้ก่อนคุณแม่คนอื่นๆ แต่ในทางการแพทย์ไม่เชื่อเช่นนั้น เนื่องจาก อาการเช่นนี้สามารถพบได้ในคุณแม่ท้องสองเป็นต้นไปไม่ว่าจะตั้งครรภ์แฝด หรือครรภ์เดี่ยวก็ตาม
วิดีโอจาก : คนท้อง Everything Channel
สิ่งที่ควรทำเมื่อรู้ว่าตั้งท้องแฝด
- เมื่อสังเกตว่ากำลังตั้งท้องแฝด ควรไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจครรภ์ให้เร็วที่สุด
- แพทย์จะทำการฟังตำแหน่งของเสียงหัวใจเด็ก ที่จะฟังหัวใจได้สองตำแหน่ง และคลำส่วนต่าง ๆ ของเด็กทางหน้าท้องที่มีมากกว่าหนึ่งคน
- ไปพบคุณหมอเพื่ออัลตร้าซาวด์ และตรวจสุขภาพทารกแฝดในครรภ์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อกำหนดอายุครรภ์ และประมาณน้ำหนัก ประเมินตรวจหาความพิการทั่วไป ซึ่งพบได้บ่อยขึ้นในการตั้งท้องแฝด หรือกรณีที่ฝาแฝดอาจติดกัน ทำการวัดสัดส่วนของทารก ตรวจท่าของทารกโดยเฉพาะในระยะคลอด ตำแหน่งรกเกาะ กรณีที่ไม่พบความผิดปกติใด ๆ ทั้งโครงสร้างและการเติบโตให้ตรวจซ้ำทุก 4 สัปดาห์ กรณีที่มีความผิดปกติในการเติบโต ให้ตรวจซ้ำทุก 2 สัปดาห์ โดยเฉพาะในกรณีที่เด็กทารกคนหนึ่งคนใด หรือทั้งสองคนมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ
การตั้งท้องแฝดอาจจะมีภาวะเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนมากกว่าการตั้งครรภ์ปกติ ฉะนั้นแล้ว หากคุณแม่คนไหนที่กำลังสงสัยว่าตัวเองกำลังตั้งท้องสองเบบี๋เป็น ทารกแรกเกิดแฝดสยาม อยู่หรือไม่ อย่าลืมรีบไปปรึกษาคุณหมอนะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
เรื่องราวปาฏิหาริย์ของชีวิตฝาแฝดตัวติด
เบื้องหลังการถ่ายภาพคู่แฝดและทารกสุดน่ารัก
กว่าจะได้ลูกแฝดไม่ใช่เรื่องง่าย ภาวะแทรกซ้อนที่แม่ท้องแฝดต้องระวัง !!
ที่มาข้อมูล : bbc matichon mirror
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!