พาลูกไปพบจิตเเพทย์ ไม่ได้หมายความว่าลูกเป็นบ้า ความเข้าใจผิดๆ ที่ควรเข้าใจใหม่ได้เเล้ว
พาลูกไปพบจิตเเพทย์ ไม่ได้หมายความว่าลูกเป็นบ้า ความเข้าใจผิดๆ ที่ควรเข้าใจใหม่ได้เเล้ว สืบเนื่องจากประเด็นข่าวเเละเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยมาช้านาน ทั้งความเข้าใจผิดๆ ความอคติ เเละความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทำให้คนที่เสียหายจากเรื่องนี้ที่สุดก็คือตัวของเด็กๆ เองค่ะ
พบจิตเเพทย์ต้องเป็น “บ้า” เท่านั้น ???
ความเข้าใจผิดที่ยิ่งใหญ่มโหฬาลนี้ เกิดขึ้นเพราะคนไทยกลุ่มหนึ่งคิดว่า การที่พ่อแม่จะพาลูกไปพบจิตเเพทย์เด็กนั้น เด็กต้องมีความผิดปกติทางสุขภาพจิตเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดพลาดมากๆ เลยนะคะ จริงๆ เเล้วคุณพ่อคุณเเม่สามารถพาลูกไปพบจิตเเพทย์เด็กเเละวัยรุ่นได้ทันที เมื่อลูกมีพัฒนาการ พฤติกรรม การกระทำ เเละความคิด ดังต่อไปนี้ค่ะ
- มีพัฒนาการล่าช้า อย่างเช่น ด้านการพูด ด้านภาษา หรือการฝึกเข้าห้องน้ำ
- ความสนใจจดจ่อ หรือมีปัญหาด้านสมาธิ
- พฤติกรรมที่ติดเป็นนิสัยต่างๆ เช่น โมโหง่ายหรือโมโหร้าย ฉี่รดที่นอน มีปัญหาด้านการกิน
- ผลการเรียนตกลงมาก จากปกติ
- นิสัยเปลี่ยนไป เช่น มีอาการของโรคซึมเศร้า หรือโศกเศร้าจากเรื่องต่างๆ
- การเเยกตัวจากสังคม หรือไม่มีเพื่อน
- เป็นเหยื่อของการเเกล้งกัน หรือเป็นเด็กที่เเกล้งเพื่อน
- มีความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ลดลง
- มีพฤติกรรมอย่าง การกัด การตี การเตะหรือถีบ
- มีความเจ็บป่วยร้ายเเรงหรือเรื้อรัง
- คุณพ่อคุณเเม่หย่าหรือเเยกกันอยู่ หรือการย้ายบ้าน
- การล่วงละเมิดต่างๆ เช่น ล่วงละเมิดทางใจ ล่วงละเมิดทางคำพูด เเละล่วงละเมิดทางกาย
- ไม่อยากอาหาร
- ใช้เวลานอนนานขึ้น
- รู้สึกไม่อยาก หรือขี้เกียจไปโรงเรียน
- อารมณ์เเปรปรวน
- มีอาการต่างๆ ทางกายภาพมากขึ้น เช่น ปวดหัว ปวดท้อง รู้สึกไม่ดี เเม้ว่าจะได้รับการตรวจการคุณหมอโรคทั่วไป หรือคุณหมอเฉพาะทางเเล้วก็ตาม เนื่องจากในบางครั้งสุขภาพจิตก็ส่งผลถึงสุขภาพกายได้เช่นกันนะคะ
พาเด็กไปหาจิตเเพทย์ มีประโยชน์ยังไง
ความผิดปกติหรือพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์หลายอย่าง เกิดขึ้นเมื่อเด็กยังเล็กๆ ค่ะ เเต่เมื่อนานวันเข้า เด็กๆ ไม่ได้รับการรักษาหรือบำบัดอย่างถูกต้อง พฤติกรรมหลายต่อหลายอย่างนับจะทวีความรุนเเรงยิ่งขึ้นสอดคล้องกับอายุเด็กที่มากขึ้น จิตเเพทย์หลายท่านที่กว่าจะเจอเด็กที่มีปัญหาปัญหาก็ลุกลามบานปลายใหญ่โตเเล้ว เเละการบำบัดหรือรักษาสิ่งเหล่านั้นก็ทำได้เเค่ไม่ให้อาการเป็นมากไปกว่านี้
ดังนั้นการรีบพาลูกมาปรึกษาจิตเเพทย์ เพื่อบำบัดเเละรักษา ยิ่งเร็วเท่าไหร่ ยิ่งหายเร็วเท่านั้นค่ะ ดีกว่าปล่อยให้เด็กๆ เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ จนยากเกินการรักษาหรือบำบัดให้หายขาดได้เเล้วนะคะ ทั้งนี้บางความคิดเเละพฤติกรรมของเด็กนั้น มีผลต่อสุขภาพจิตของเด็กในระยะยาวด้วยค่ะ
ปัจจัยที่ทำให้การรักษาเเละการบำบัดเป็นไปได้ด้วยดี
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การรักษาเเละการบำบัดมีประสิทธิภาพต่อเด็กๆ อย่างมากคือ การปรับเเละเปลี่ยนของตัวคุณพ่อคุณเเม่ ผู้ใหญ่ในบ้าน เเละคนใกล้ชิดของเด็กเอง เนื่องจากปัญหาบางอย่างนั้นเเก้ได้ด้วยการปรับพฤติกรรมของคนรอบข้างที่ใกล้ชิดเด็กๆ คุณพ่อคุณเเม่จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด
ในการปรึกษาจิตเเพทย์ครั้งเเรกๆ ควรพาคนที่ใกล้ชิด หรือเลี้ยงดูเด็ก เข้าพบคุณหมอด้วย เพื่อทำความเข้าใจร่วมกัน ถึงการเปลี่ยนเเปลง ปรับเปลี่ยน เเละเเก้ไขที่จะเกิดขึ้นต่อไปค่ะ เพราะต่อให้พาเด็กๆ ไปพบจิตเเพทย์ เเต่ถ้าปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเด็กๆ ไม่เปลี่ยน เด็กๆ ก็ไม่อาจจะเปลี่ยนพฤติกรรมได้นั่นเองค่ะ
หวังดีกับลูก พ่อแม่ต้องเข้มเเข็ง
ไม่มีความรักเเละความหวังดีไหนจะบริสุทธิ์มากไปกว่ามาจากพ่อกับเเม่อีกเเล้ว เเม้คนในสังคมจะมองเป็นด้านลบเเค่ไหน เเต่ขอให้คุณพ่อคุณเเม่พึงระลึกไว้เสมอว่า ลูกคือการรับผิดชอบของเรา คำวิจารณ์ คำด่า คำส่อเสียดที่ผ่านเข้ามา ไม่ทำให้ลูกหายจากสิ่งเหล่านี้ ดังนั้นการเป็นพ่อแม่ไม่ใช่เรื่องง่าย สตรองเข้าไว้นะคะคุณพ่อคุณเเม่ทั้งหลาย
รายชื่อโรงพยาบาลที่มีจิตเเพทย์เด็กเเละวัยรุ่นประจำการ
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 0-2256-4000
โรงพยาบาลศิริราช 0-2419-7422
โรงพยาบาลรามาธิบดี 0-2354-7308
โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ 0-2926-9999
โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช 0-2534-7000
โรงพยาบาลวชิรพยาบาล 0-2244-3000
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า 0-2354-7600-28
โรงพยาบาลศรีธัญญา 0-2528-7800
สถาบันราชานุกูล 0-2245-4603
สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ 0-2248-8999 / 1323
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก) 0-2354-8439
โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า 0-2528-4567
โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ สมเด็จพระเทพฯ 0-3739-5085-6
โรงพยาบาลสระบุรี 0-3631-6555
โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช 0-3662-1537
โรงพยาบาลสิงห์บุรี 0-3651-1060 ต่อ 229
โรงพยาบาลอ่างทอง 0-3561-5111
โรงพยาบาลนครปฐม 0-3425-4150-4 ต่อ 1117
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวมหาวิทยาลัยมหิดล 0-2441-0601
โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา 0-3462-2999
โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช 0-3550-2784-8 ต่อ 7204-5
โรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี 0-3271-9600-650
โรงพยาบาลหัวหิน 0-3254-7351
โรงพยาบาลนภาลัย (บางคนพี) 0-3476-1476
โรงพยาบาลชลบุรี 0-3893-1000 ต่อ 1600-01
โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ 0-3824-5700
โรงพยาบาลศูนย์ระยอง 0-3861-7451-8 ต่อ 2027
โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 0-3932-4975-84
โรงพยาบาลพุทธโสธร 0-3881-4375-8 ต่อ 1143
โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 0-4336-3031 0-4324-4701
โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น 0-4333-6789 ต่อ 2000, 1178
สถาบันพัฒนาการเด็กภาค 0-4391-0770-1
โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ 0-4381-1020 ต่อ 2101
โรงพยาบาลเลย 0-4286-2123 ต่อ 724
โรงพยาบาลด่านซ้าย 0-4289-1276
โรงพยาบาลอุดรธานี 0-4224-8586
โรงพยาบาลนครพนม 0-4251-1424
โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 0-4423-5000
โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ 0-4434-2667 0-4423-3999
โรงพยาบาลบุรีรัมย์ 0-4461-5002
โรงพยาบาลสุรินทร์ 0-4451-1757 0-4451-4646
โรงพยาบาลชัยภูมิ 0-4483-7100-49
โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ 0-4524-4973
โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ 0-4531-2550-4
โรงพยาบาลมุกดาหาร 0-4261-1379 0-4261-1285
โรงพยาบาลยโสธร 0-9108-1399-8
โรงพยาบาลศรีสะเกษ 0-4561-2502
โรงพยาบาลกันทรลักษ์ 0-4563-5758-61
โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ 0-7731-1508
โรงพยาบาลตะกั่วป่า 0-7658-4250
โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต 0-7636-1234 ต่อ 1267, 1266
โรงพยาบาลระนอง 0-7782-2610 0-7781-2630
โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ 0-7445-1766 0-7428-1766
โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ 0-7431-1319
โรงพยาบาลตรัง 0-7521-8988
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสายบุรี 0-7341-1002 0-7341-1412-3
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ (รพ.สวนดอก) 0-5394-5755 0-5394-5435
โรงพยาบาลสันป่าตอง 0-5331-1404
โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ 0-5371-1300 0-5371-1009
โรงพยาบาลเชียงคำ 0-5440-9000
โรงพยาบาลน่าน 0-5471-0138-9 0-5477-1620
โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ 0-5361-1378
โรงพยาบาลลำพูน 0-5541-1084
โรงพยาบาลแพร่ 0-5453-3500
โรงพยาบาลพุทธชินราช 0-5521-9844 ต่อ 2113
โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ 0-5671-7600
โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ 0-5541-1084
โรงพยาบาลสุโขทัย 0-5561-2189
โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ 0-5621-9888 ต่อ 1207
โรงพยาบาลลาดยาว 0-5638-5012
โรงพยาบาลอุทัยธานี 0-5651-4635
โรงพยาบาลกำแพงเพชร 0-5571-4223
ที่มา KidsHealth โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมถ์
บทความที่น่าสนใจ
ไฮเปอร์เทียม น่าห่วงสำหรับเด็กเล็ก หมอเตือนอย่าให้ลูกเล่นมือถือ แท็บเล็ต
อยากเลี้ยงลูกให้ดีในยุคนี้ เลิกทำ 10 สิ่งที่ทำร้ายจิตใจลูก!!
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!