ของเล่น เด็ก 7 เดือน
พัฒนาการเด็ก 7-9 เดือน ด้านการเคลื่อนไหว
ทักษะ : ลูกสามารถเอี้ยวตัวใช้มือเล่น ได้อย่างอิสระในท่านั่ง
อุปกรณ์ : ลูกบอลมีเสียง
วิธีส่งเสริมพัฒนาการ
- จัดลูกอยู่ในท่านั่ง วางของเล่นไว้ที่พื้นทาง ด้านข้างเยื้องไปด้านหลังของลูกในระยะที่ลูกเอื้อมถึง
- คุณแม่เรียกชื่อลูกให้สนใจของเล่น เพื่อจะได้เอี้ยวตัวไปหยิบของเล่น ทำอีกข้างสลับกันไป
- ถ้าลูกทําไม่ได้ เลื่อนของเล่นให้ใกล้ ตัวลูกอีกเล็กน้อย แล้วคุณแม่ช่วยจับ แขนลูกให้เอี้ยวตัวไปหยิบของเล่นนั้น
ติดตามพัฒนาการของลูกน้อยวัยต่าง ๆ และวิธีกระตุ้นพัฒนาการให้เหมาะสมกัยวัย พร้อมขอรับคำปรึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กแต่ละช่วงวัยกับผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก ได้ใน ALive Powered by AIA แอปพลิเคชันที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรมี ดาวนโหลดเลย!
พัฒนาการเด็ก 7-9 เดือน ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา ของเล่น เด็ก 7 เดือน
ทักษะ : ลูกจ้องมองไปที่หนังสือพร้อมกับ ผู้ใหญ่นาน 2-3 วินาที
อุปกรณ์ : หนังสือรูปภาพที่มีภาพสีขนาดใหญ่
วิธีส่งเสริมพัฒนาการ
- คุณแม่อุ้มลูกนั่งบนตัก เปิดหนังสือ อ่านกับลูก พร้อมกับพูดคุย ชี้ชวนให้ลูกดูรูปภาพในหนังสือ
- หากลูกยังไม่มองรูปภาพในหนังสือ ให้คุณแม่ประคองหน้าลูกให้มองที่รูปภาพในหนังสือ
พัฒนาการเด็ก 7-9 เดือน ด้านการเข้าใจภาษา
ทักษะ : ลูกหันตามเสียงเรียกชื่อ
วิธีส่งเสริมพัฒนาการ
- คุณแม่เรียกชื่อลูกด้วยนํ้าเสียง ปกติบ่อยๆ ในระยะห่าง 120 ซม. (4 ไม้บรรทัด) (ควรเป็นชื่อที่ใช้เรียกลูกเป็นประจํา)
- ถ้าลูกไม่หัน เมื่อเรียกชื่อแล้วให้ คุณแม่ประคองหน้าลูกให้หันมา มองคุณแม่จนลูกสามารถทําได้เอง
พัฒนาการเด็ก 7-9 เดือน ด้านการใช้ภาษา
ทักษะ : ลูกสามารถออกเสียงสระผสมกับ พยัญชนะต่างๆ กันได้
วิธีส่งเสริมพัฒนาการ
คุณแม่เล่นกับลูก และออกเสียงใหม่ๆ ให้ลูกเลียนเสียงตาม เช่น มามา ปาปา หม่ำหม่ำ
พัฒนาการเด็ก 7-9 เดือน ด้านการช่วยเหลือตัวเองและสังคม
ทักษะ : ลูกเล่นจ๊ะเอ๋ได้
อุปกรณ์ : ผ้าขนาด 30 x 30 ซม. มีรูขนาดครึ่งซม. อยู่ตรงกลาง
วิธีส่งเสริมพัฒนาการ ของเล่น เด็ก 7 เดือน
- ขณะเล่นกับลูก คุณแม่ใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าผืนเล็กๆ บังหน้าไว้
- คุณแม่โผล่หน้าออกมาจากผ้าเช็ดหน้า ด้านใดด้านหนึ่งพร้อมกับพูดว่า “จ๊ะเอ๋”
- หยุดรอจังหวะเพื่อให้ลูกหันมามองหรือ ยิ้มเล่นโต้ตอบ
- ให้คุณแม่ทําซํ้าโดยโผล่หน้าออกมาจาก ผ้าเช็ดหน้าด้านเดิมหรือสลับเป็นอีกด้าน พร้อมกับพูดว่า “จ๊ะเอ๋”
- คุณแม่เอาผ้าคลุมศีรษะลูกและกระตุ้น ให้ลูกดึงผ้าออก แล้วคุณแม่พูด “จ๊ะเอ๋”
- ให้คุณแม่ฝึกบ่อยๆ จนกระทั่งลูกสามารถ ร่วมเล่นจ๊ะเอ๋ได้
หมายเหตุ ในการเล่น “จ๊ะเอ๋” อาจทําร่วมกับ กิจกรรมอื่นๆ เช่น การร้องเพลง การทําท่าต่างๆ การปรบมือเข้าจังหวะกับเสียงเพลง และควรเล่น ด้วยกันหลายๆ คน โดยเฉพาะคนในครอบครัว
ที่มา : คู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด – 5 ปี สำหรับผู้ปกครอง กระทรวงสาธารณสุข
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ
10 วิธีเลี้ยงลูกชายให้เป็นสุภาพบุรุษ
15 ข้อที่คุณพ่อของลูกสาวทุกคนควรรู้
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!