X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เช็คพัฒนาการลูกน้อยวัย 1 เดือนอย่างละเอียด

บทความ 3 นาที
เช็คพัฒนาการลูกน้อยวัย 1 เดือนอย่างละเอียด

ขวบปีแรกของลูกเป็นช่วงวัยที่เด็กมีพัฒนาการรวดเร็วที่สุด อยากรู้แล้วใช่ไหมคะว่า เมื่อลูกน้อยแรกเกิดของคุณมีอายุครบ 1 เดือนพัฒนาการอะไรบ้างที่ลูกน้อยควรทำได้

พัฒนาการลูกน้อยวัย 1 เดือน

พัฒนาการด้านร่างกาย

เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก คุณแม่ทราบไหมคะว่า เขามีความสามารถสุดอะเมซิ่งที่ทำได้ตั้งแต่ในครรภ์ติดตัวออกมาด้วย เช่น สัญชาตญาณในการหายใจ กำมือแน่น จำกลิ่นของแม่ได้ และแยกแยะระหว่างแม่กับคนอื่นๆ ได้แล้ว เด็กบางคนดูดนิ้วหัวแม่มือตั้งแต่ยังอยู่ในท้องแม่เลยก็มีค่ะ

บทความแนแม้ว่าทารกจะเกิดมาพร้อมทักษะที่น่าทึ่งเหล่านี้ แต่สำหรับเดือนแรกของชีวิตลูกน้อย ดูเหมือนเขาจะใช้เวลาไปกับการนอน การร้องไห้ และการเปลี่ยนผ้าอ้อมเสียมากกว่า

บทความแนะนำ คัมภีร์การนอนของทารกแรกเกิดถึง 1 เดือน

ในวัยนี้ ลูกน้อยมีความสามารถในการควบคุมกล้ามเนื้อได้น้อยมาก การกระทำส่วนใหญ่จึงเป็นปฏิกิริยาสะท้อนกลับที่เกิดจากประสาทอัตโนมัติ เช่น การดูด การหาว การจาม และการร้องไห้ แต่ในขณะเดียวกันเขาก็จะค่อยๆ ค้นพบว่า เขาสามารถควบคุมร่างกายตัวเองได้

ลูกน้อยจะตื่นเต้นกับการค้นพบว่าเขาสามารถใช้มือในการบีบสิ่งต่างๆ ได้เช่น มือของแม่ รวมไปถึงการค้นพบความสามารถในการดูดเมื่อรู้สึกหิว เป็นต้น

พัฒนาการด้านประสาทสัมผัส

การคลาน การเดิน การวิ่ง หรือแม้แต่การเต้น จะเกิดขึ้นเร็วกว่าที่คุณคิด

แต่ก่อนจะไปถึงทักษะเหล่านั้น ลูกน้อยจะต้องเริ่มจากการค้นพบตัวเอง และเรียนรู้ที่จะเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับโลกรอบตัวเสียก่อน

  • การมองเห็น

ลูกน้อยแรกเกิดสามารถเปิดตาและมองเห็นเกือบจะทันทีหลังจากที่ออกมาจากท้องแม่ แม้ว่าสายตาของเขายังไม่สามารถที่จะโฟกัสไปไกลเกินกว่าหนึ่งเมตรได้ แต่ก็สามารถโฟกัสใบหน้าของคุณ เมื่อถูกอุ้มอยู่ในอ้อมแขน ซึ่งเป็นระยะห่างระหว่างใบหน้าของคุณแม่กับใบหน้าลูกน้อยขณะให้นมลูกนั่นเอง

การมองเข้าไปในดวงตาของลูกน้อยแรกเกิด เป็นวิธีสร้างความผูกพันกับลูกได้อย่างยอดเยี่ยม ไม่ต้องอะไรมาก เพียงแค่ใช้เวลาในการมองเขา ทำความรู้จักกับร่างเล็กๆ มองหน้าของลูกน้อย และยิ้มให้เขา ลูกน้อยของคุณก็จะทำความรู้จักคุณโดยการมองหน้าคุณ เพื่อสร้างความผูกพันที่แน่นแฟ้นกับคุณยิ่งขึ้นเช่นเดียวกัน

  • การได้ยิน

ลูกน้อยแรกเกิดสามารถได้ยินเสียงราวๆ สัปดาห์ที่ 28 ของการตั้งครรภ์ โดยลูกน้อยสามารถที่จะรับฟังและได้ยิน ทั้งเสียงจากภายในท้องของแม่และเสียงจากโลกภายนอก

การศึกษาพบว่าทารกแรกเกิดมีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างมากต่อเสียงสูงของผู้หญิงมากกว่าเสียงทุ้มของผู้ชาย

ลูกน้อยจะผ่อนคลายเมื่อได้ยินเสียงแม่พูดคุยและร้องเพลงให้เขาฟัง ในทางตรงกันข้ามลูกน้อยจะอารมณ์เสียเมื่อเสียงของแม่แสดงความเศร้าหรือโกรธ

  • การได้กลิ่น

จมูกของลูกน้อยมีความไว ทารกแรกเกิดสามารถบอกความแตกต่างระหว่างกลิ่นของแม่กับกลิ่นของบุคคลอื่นได้แล้ว

ความสามารถด้านประสาทสัมผัสนี้จะพัฒนาไปพร้อมๆ กับประสาทสัมผัสด้านการรับรส ซึ่งทารกใช้ในการรับรสหวานของนมแม่หรือนมผงนั่นเอง

  • การสัมผัส

มนุษย์ทุกคนต้องการการสัมผัสเพื่อรับรู้ถึงความเป็นอยู่ที่ดีและมีความสุข การนวดทารกจึงเป็นวิธีที่ดีในการสร้างผูกพันกับลูกน้อย นอกจากนั้นลูกยังต้องการสัมผัสจากมือของแม่เพื่อการปลอบโยนและทำให้รู้สึกผ่อนคลายเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ การนวดเบาๆ ยังช่วยในเรื่องพัฒนาการของทารกแรกเกิดโดยเฉพาะด้านกล้ามเนื้อของลูกน้อยอีกด้วย

  • ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ

ปฏิกิริยาสะท้อนกลับมีความสำคัญต่อความอยู่รอดของทารก ในที่นี้หมายรวมถึง ความสามารถในการหาเต้านม การดูด การกลืน และการสำลัก เพื่อเป็นการป้องกันลูกน้อยจากการดูดนมมากเกินไป

คลิกหน้าถัดไป เพื่อติดตามพัฒนาการลูกน้อยวัย 1 เดือนด้านอื่นๆ

พัฒนาการด้านสติปัญญา

พัฒนาการด้านสติปัญญาของลูกน้อย คือการสร้างกระบวนทางความคิด ความจำ การแก้ปัญหา และการตัดสินใจ โดยเริ่มจากการที่เขาฟังสิ่งที่คุณพูด และสังเกตสิ่งต่างๆ รอบตัว

อย่างไรก็ดี คุณแม่อาจยังไม่สามารประเมินพัฒนาการด้านสติปัญญาได้อย่างชัดเจน แต่สามารถโฟกัสที่พัฒนาการด้านการมองเห็นและการได้ยินของลูกในช่วงนี้ไปก่อน ในวัยนี้ ถ้าลูกน้อยไม่เคยมองตามคุณ หรือตอบสนองต่อเสียงดัง คุณแม่ควรรีบปรึกษากุมารแพทย์เพื่อขอคำแนะนำนะคะ

พัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม

ลูกน้อยแรกเกิดไม่ได้ร้องไห้เพราะเบื่อ แต่ร้องเพราะเขาต้องการได้รับการเติมเต็ม เมื่อเขารู้สึกหิว แฉะ เหนื่อย  ร้อนหรือเย็นเกินไป เป็นต้น ดังนั้นคุณแม่ไม่ควรเพิกเฉยต่อเสียงร้องของลูกน้อย หรือปล่อยให้ลูกร้องเป็นเวลานานนะคะ เพราะการร้องไห้เป็นวิธีที่ลูกน้อยใช้เพื่อสื่อสารและเขาต้องการความช่วยเหลือจากคุณ ทราบไหมคะว่า การเพิกเฉยของคุณสามารถส่งผลกระทบต่อพัฒนากการของลูกน้อยได้

บทความแนะนำ อย่ากลัวลูกติดอุ้ม! งานวิจัยฟันธง “รักลูกให้กอด ลูกร้องต้องรีบอุ้ม”

ในช่วงวัยนี้ ทารกจะได้รับอิทธิพลจากผู้เลี้ยงดูได้ง่าย อารมณ์ของคุณจึงส่งผลต่ออารมณ์ของลูกน้อย คุณอาจสังเกตได้ว่า ลูกน้อยอาจงอแงเมื่อคุณหงุดหงิด หรือตื่นตัว ตื่นเต้น เมื่อคุณมีความสุข ลูกน้อยยังชอบมองหน้าคุณ และฟังเสียงคุณพูดกับเขาช้าด้วยน้ำเสียงอ่อนโยนอีกด้วยค่ะ

โปรดจำไว้ว่า ลูกน้อยเริ่มที่จะเรียนรู้วิธีการแสดงอารมณ์ จากการดูพฤติกรรมของคุณแล้วนะคะ ดังนั้น ยิ่งคุณสงบจิตสงบใจได้มากเท่าไหร่ ลูกน้อยก็จะมีแนวโน้มที่จะสงบ และเป็นคนมีมั่นคงทางจิตใจมากเท่านั้น

พัฒนาการด้านภาษา

พื้นฐานสำคัญในการพัฒนาภาษาและการพูดของทารกเริ่มเมื่อลูกน้อยเริ่มพัฒนาด้านการได้ยิน คุณแม่จึงควรให้ความสำคัญกับการตรวจสอบความสามารถในการได้ยินของลูก ใส่ใจกับปัญหาเกี่ยวกับหู โดยเฉพาะเมื่อลูกมีปัญหาหูติดเชื้อ

เมื่อไหร่ที่ควรกังวลเกี่ยวกับพัฒนาการของลูกน้อย

พัฒนาการของลูกน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยมากมาย ทั้งก่อนคลอดและหลังคลอด เช่น สุขภาพของแม่ท้อง อายุครรภ์เมื่อแรกคลอด (เช่น ทารกที่คลอดในสัปดาห์ที่ 38 อาจมีพัฒนาการที่ช้ากว่า ทารกคลอดในสัปดาห์ที่ 40 ) ภาวะแทรกซ้อนในขณะคลอด ความเจ็บป่วยในช่วงปีแรก รวมทั้งปัจจัยด้านพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม บุคลิกภาพของพ่อแม่ การศึกษา และทัศนคติที่มีต่อทารก ก็มีผลต่อพัฒนาการของทารกไม่แพ้กัน เด็กที่เติบโตในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยความรัก การเลี้ยงดูที่อบอุ่น สะอาด จะมีพัฒนาการที่ดีกว่าเด็กที่เติบโตในสภาพแวดล้อมที่มีความสบายใจน้อยกว่า

ขอความช่วยเหลือเกี่ยวกับพัฒนาการของลูกได้ที่ไหน

หากลูกน้อยของคุณดูเหมือนว่าจะมีพัฒนาการที่ล่าช้ากว่าอายุ หรือคุณแม่มีความกังวลในเรื่องพัฒนาการของลูก ควรปรึกษากุมารแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ

แม้ว่าลูกน้อยจะมีการเติบโตและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่แม่มือใหม่ก็มักจะรู้สึกกดดันกับการเลี้ยงลูกในช่วงแรก คุณแม่ต้องยอมรับก่อนนะคะว่าเมื่อกลายเป็นแม่ คุณย่อมจะพบกับความเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย อารมณ์ และหลักสูตรพ่อแม่นี้ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ค่ะ

หากคุณรู้สึกทุกข์ใจหรือมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับลูกน้อยหรือสามีของคุณ คุณอาจกำลังประสบกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด อย่าลังเลใจที่จะไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำปรึกษานะคะ

สุดท้าย โปรดจำไว้ว่า เด็กแต่ละคนมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน เด็กทุกคนมีความเป็นเอกลักษณ์และพัฒนาการที่ช้าหรือเร็วกว่าค่าเฉลี่ย ไม่ได้เป็นการรับประกันว่าเขาจะเป็นอย่างไรในอนาคต เด็กที่ทำทุกอย่างตามวัยได้ช้าที่สุด ก็สามารถโตขึ้นไปเป็นคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตได้เช่นกันค่ะ

บทความจากพันธมิตร
รวม 5 ที่เรียนภาษาอังกฤษระดับแนวหน้า ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย พร้อมเทคนิคเรียนดีที่ไม่ควรพลาด!
รวม 5 ที่เรียนภาษาอังกฤษระดับแนวหน้า ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย พร้อมเทคนิคเรียนดีที่ไม่ควรพลาด!
เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ Home School
เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ Home School
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ

ที่มา sg.theasianparent.com

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

พัฒนาการเด็กวัย 1 เดือนและเทคนิคส่งเสริมพัฒนาการตามวัย

เช็คพัฒนาการลูกน้อยวัย 2 เดือนอย่างละเอียด

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • เช็คพัฒนาการลูกน้อยวัย 1 เดือนอย่างละเอียด
แชร์ :
  • เช็คพัฒนาการลูกน้อยวัย 2 เดือนอย่างละเอียด

    เช็คพัฒนาการลูกน้อยวัย 2 เดือนอย่างละเอียด

  • พัฒนาการเด็ก 3 เดือน มีอะไรบ้าง? สำรวจพัฒนาการหนูน้อยอย่างละเอียด

    พัฒนาการเด็ก 3 เดือน มีอะไรบ้าง? สำรวจพัฒนาการหนูน้อยอย่างละเอียด

  • ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

    ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • เช็คพัฒนาการลูกน้อยวัย 2 เดือนอย่างละเอียด

    เช็คพัฒนาการลูกน้อยวัย 2 เดือนอย่างละเอียด

  • พัฒนาการเด็ก 3 เดือน มีอะไรบ้าง? สำรวจพัฒนาการหนูน้อยอย่างละเอียด

    พัฒนาการเด็ก 3 เดือน มีอะไรบ้าง? สำรวจพัฒนาการหนูน้อยอย่างละเอียด

  • ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

    ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ