X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ป้องกันฟันผุ เมื่อลูกติดขวดนมก่อนนอน

บทความ 3 นาที
ป้องกันฟันผุ เมื่อลูกติดขวดนมก่อนนอน

คุณแม่หลายท่านอาจประสบปัญหาลูกมักจะหลับไปพร้อมกับขวดนม ซึ่งการติดขวดนมตอนกลางคืนของเจ้าตัวน้อย อาจนำไปสู่โรคฟันผุจากขวดนม และส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย ดังนั้น เรามาหาวิธีป้องกันเจ้าตัวน้อยจาก โรคฟันผุจากขวดนม กันดีกว่า

โรคฟันผุจากขวดนม คืออะไร

โรคฟันผุจากขวดนม (Baby Bottle Tooth Decay: BBTD) เกิดจากน้ำตาลในนมที่ค้างอยู่ในช่องปากเป็นเวลานานถูกย่อยด้วยจุลินทรีย์ในช่องปากและเกิดเป็นกรด ซึ่งสามารถทำลายแคลเซียมในฟัน และนำไปสู่ปัญหาฟันผุในเด็ก

ช่วงวัยที่เสี่ยงต่อ โรคฟันผุจากขวดนม

ปัญหาฟันผุจากขวดนมตอนกลางคืนไม่ค่อยพบในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี เนื่องจากฟันยังขึ้นเพียงไม่กี่ซี่ (เด็กอายุ 6-12 เดือนมีฟันประมาณ 8 ซี่ เป็นฟันหน้าด้านบนและล่างอย่างละ 4 ซี่ จึงง่ายต่อการทำความสะอาด)

ปัญหาฟันผุจากขวดนมส่วนใหญ่เกิดกับเด็กวัยเตาะแตะอายุระห่าง 1-2 ปีที่ไม่ยอมเลิกขวดนมตอนกลางคืน นอกจากนี้ยังเป็นวัยที่คุณแม่ต้องเพิ่มความระมัดระวังเกี่ยวกับสุขภาพฟัน ซึ่งในวัยนี้เจ้าตัวน้อยจะมีฟันประมาณ 18 ซี่แล้วและฟันน้ำนมจะขึ้นครบทั้ง 20 ซี่เมื่ออายุประมาณ 33 เดือน

สาเหตุ ลูกติดขวดนม

  1. อาจเป็นเพราะลูกรู้สึกมีความสุขหรือสบายใจเมื่อได้ดูดนมจากขวด หรืออาจเป็นเพราะลูกยังไม่มีความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง หรืออาจเคยชินกับขวดนมมากจนเกินไป
  2. คุณพ่อคุณแม่ใจไม่แข็งพอ เมื่อพยายามฝึกเลิกขวดนมไม่สำเร็จก็ยอมให้ลูกกลับไปดูดขวดนมอีก ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดความสับสน และยิ่งทำให้ลูกเลิกขวดนมยากขึ้นอีก
  3. ไม่ฝึกลูกเลิกขวดนมในจังหวะเวลาที่เหมาะสม หากปล่อยให้ลูกดูดขวดนมเกินกว่าอายุ 18 เดือน แนวโน้มที่ลูกจะติดขวดนมย่อมมากขึ้น ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการเลิกขวดนมของลูกในอนาคต

ผลเสียของการปล่อยให้ ลูกติดขวดนม

ปัญหาเด็กติดขวดนมอาจเป็นต้นเหตุของ “โรคฟันผุ” ที่พบได้บ่อยที่สุดในเด็กเล็ก โดยเฉพาะในเด็กที่ไม่สามารถเข้านอนในเวลากลางคืนได้โดยไม่มีขวดนม ทั้งนี้ การที่เด็กดูดนมจากขวดในเวลากลางคืนทำให้มีน้ำนมค้างอยู่ในช่องปากเป็นเวลานาน น้ำตาลในนมจะกลายเป็นกรดที่ทำลายผิวฟันจนเกิดฟันผุ

โรคฟันผุจากขวดนม เป็นปัญหาฟันผุชนิดรุนแรงในเด็กปฐมวัย มักเกิดบริเวณด้านหลังของฟันหน้าและฟันกรามล่าง ซึ่งเป็นฟันส่วนที่สัมผัสจุกนมมากที่สุด รวมถึงเป็นส่วนที่น้ำนมติดค้างอยู่มากที่สุด หากปล่อยให้ลูกฟันผุจนถึงขั้นต้องถอนฟัน อาจเกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาได้ เช่น ปัญหาในการเคี้ยวและกลืนอาหาร ปัญหาการพูด รวมถึงส่งผลกระทบต่อการงอกของฟันแท้ เช่น ฟันแท้อาจไม่ขึ้น หรือเกิดปัญหาฟันคุด และอาจทำให้ฟันแท้เรียงตัวไม่สวยงามอีกด้วย

นอกจากนี้จุกนมจะมีผลทำให้ฟันหน้าบนยื่น ฟันล่างหลุบเข้าไปในปาก ในบางคนอาจมีฟันหน้าไม่สบกัน  ซึ่งจะมีผลต่อใบหน้าและบุคลิกภาพไม่สวยงาม ทำให้ระบบการบดเคี้ยวไม่ดี และระบบย่อยอาหารก็ไม่ดีเช่นกัน

Advertisement

ลูกฟันผุเพราะติดขวดนม

วิธีป้องกัน โรคฟันผุจากขวดนม เมื่อลูกติดขวดนมก่อนนอน

กุมารแพทย์ส่วนใหญ่แนะนำว่า พ่อแม่ควรให้ลูกเลิกขวดนมได้ตั้งแต่ในช่วงอายุ 6 เดือน และให้เลิกได้อย่างเด็ดขาดภายในอายุ 2 ขวบ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดกับลูก

อย่างไรก็ตาม เด็กแต่ละคนมีความพร้อมในการเลิกขวดนมต่างกัน หรือบางคนอาจเลิกขวดนมได้เองตามธรรมชาติโดยที่พ่อแม่ไม่ต้องใช้ความพยายามใดๆ

สำหรับเด็กที่ยังไม่พร้อมเลิกขวดนม คุณแม่สามารถช่วยให้การเลิกขวดนมของลูกประสบความสำเร็จได้ด้วยวิธีต่อไปนี้

  • ค่อยๆ เพิ่มปริมาณน้ำเมื่อชงนมผง เพื่อเจือจางน้ำตาลในนม อาจใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้แต่ขวดน้ำเปล่าโดยไม่ต้องใส่นม แต่หากคุณแม่สังเกตว่าเจ้าตัวน้อยนอนหลับไม่สนิท เพราะหิวจนต้องตื่นขึ้นมากลางดึก ก็ควรให้นมเจ้าตัวน้อยตามเดิม เพื่อให้เขาอิ่มท้องและหลับสนิทตลอดคืน
  • ไม่ปล่อยให้ลูกหลับไปพร้อมกับขวดนม หลังจากที่คุณให้ลูกดูดนมจากขวดตามปกติ ควรให้ลูกดูดน้ำตาม หรือหลับไปพร้อมกับขวดน้ำแทน โดยน้ำจะช่วยชะล้างคราบนมที่ติดในปากได้
  • หลังจากดูดนมจากขวดก่อนนอนแล้ว คุณแม่ควรใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำพันที่นิ้ว เช็ดฟันและเหงือกบริเวณที่ฟันยังไม่ขึ้นให้ลูกทุกคืน เพื่อเช็ดคราบนมออกจากฟันเจ้าตัวน้อย ควรพยายามทำก่อนที่ลูกจะหลับสนิท
  • แปรงฟันให้ลูกวันละสองครั้งเช้า เย็น ด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ การแปรงฟันตอนเช้าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะในเด็กที่ยังตื่นมากินนมมื้อดึก คุณแม่ควรแปรงฟันให้ลูกทันทีที่ตื่นนอนตอนเช้า เพื่อกำจัดคราบนมที่ติดอยู่ที่ฟันตลอดทั้งคืน
  • พาเจ้าตัวน้อยไปตรวจฟันทุก 6 เดือนตั้งแต่ฟันขึ้นซี่แรก เพื่อรับคำแนะนำในการดูแลฟันให้เจ้าตัวน้อยอย่างถูกวิธี รวมถึงเคลือบฟลูออไรด์ เพื่อป้องกันฟันผุด้วย
  • ถ้าฟันชิดกันแล้วควรใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดบริเวณซอกฟันด้วย

วิธีฝึกลูกเลิกขวดนมตอนกลางคืน

  • แทนที่ขวดนมในเวลาก่อนนอนด้วยการดื่มนมจากถ้วย การฝึกลูกเลิกขวดนมโดยการไม่ให้ขวดนมเจ้าตัวน้อยก่อนนอนนั้นถือเป็นเรื่องที่ท้าทายที่สุด แต่หากคุณแม่ตัดสินใจให้เจ้าตัวน้อยเลิกขวดนมอย่างเด็ดขาดแล้ว ต้องไม่ใจอ่อนเด็ดขาด ไม่ว่าลูกจะร้องสักแค่ไหน เพราะหากคุณแม่ยอมให้ลูกกลับไปใช้ขวดนม ยิ่งทำให้การเลิกขวดนมยากขึ้นกว่าเดิม
  • สร้างกิจวัตรก่อนนอนอย่างอื่น แทนการดื่มนมจากขวดนม เช่น ให้ลูกดื่มนมจากถ้วย ก่อนจะให้ลูกแปรงฟัน ตามด้วยการเล่านิทานเรื่องโปรด การแสดงความรัก การกอด การหอม เพื่อสร้างบรรยากาศที่อบอุ่นและผ่อนคลาย ซึ่งจะช่วยให้เจ้าตัวน้อยคล้อยตามการเปลี่ยนแปลงได้มากขึ้น

หากคุณแม่มีเคล็ดลับวิธีการฝึกลูกเลิกขวดนมก่อนนอน สามารถบอกเล่าแบ่งปันประสบการณ์แก่คุณแม่ท่านอื่นๆ ได้ที่คอมเมนต์ด้านล่างนะคะ

ที่มา taamkru.com, webmd.com, parenting.com

ภาพประกอบ pinterest

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

ระวัง! ฟันไม่เหลือ เมื่อลูกติดขวดนม

แก้อย่างไร?ลูกไม่เอาเต้าเฝ้าแต่ขวดนม

TAP mobile app

บทความจากพันธมิตร
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ป้องกันฟันผุ เมื่อลูกติดขวดนมก่อนนอน
แชร์ :
  • ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู?  รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

    ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู? รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

  • ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

    ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

  • ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู?  รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

    ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู? รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

  • ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

    ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว