X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

แม่อยากคลอดจะแย่! ทำไมไม่ออกมาสักทีลูกจ๋า ปากมดลูกเปิดช้า แต่แม่เจ็บเกินทนแล้วลูก

บทความ 5 นาที
แม่อยากคลอดจะแย่! ทำไมไม่ออกมาสักทีลูกจ๋า ปากมดลูกเปิดช้า แต่แม่เจ็บเกินทนแล้วลูก

แม่ท้องเจ็บจะแย่ ปากมดลูกเปิดช้าไม่เปิดเพิ่มสักที หมอทำไงปากมดลูกถึงจะเปิด

ปากมดลูกเปิดช้า

ปากมดลูกเปิดช้า ทำไมปากมดลูกไม่เปิดเพิ่ม ปากมดลูกต้องกว้างแค่ไหน หมอถึงจะทำคลอดให้ ปากมดลูกไม่เปิดเพราะอะไรกันแน่

 

ปากมดลูกเปิดแล้วนะแม่

รู้ได้อย่างไรว่าปากมดลูกเปิด? ตามปกติแล้ว เมื่อเข้าสู่เดือนที่ 9 คุณหมอมักจะตรวจปากมดลูก ถ้าปากมดลูกเริ่มเปิด ลักษณะจะอ่อนนุ่ม บางลง และย้ายไปทางด้านหน้าช่องคลอด จากเดิมที่ปากมดลูกจะปิดสนิท มีความหนา เพื่อปกป้องทารกน้อยในครรภ์

พญ. เกษมศรี ศรีสุพรรณดิฐ อธิบายถึงการเปิดขยายของปากมดลูก (Cervical dilatation) ตอนหนึ่งว่า การเปิดขยายของปากมดลูก ซึ่งเป็นการตรวจร่างกายพื้นฐานของการประเมินผู้ป่วยที่อยู่ในระยะรอคลอด แต่เนื่องจากปากมดลูกไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอก ดังนั้น การประเมินการเปิดขยายหรืออีกนัยหนึ่งคือการประเมินเส้นผ่านศูนย์กลางของปากมดลูก จึงต้องใช้ข้อมูลจากการตรวจภายในเท่านั้น เมื่อสตรีตั้งครรภ์เริ่มเข้าสู่ระยะคลอดปากมดลูกจะมีการเปิดขยายจนกระทั่งเปิดเต็มที่ (fully dilatation) เมื่อถือว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของปากมดลูกมีค่าเท่ากับ 10 เซ็นติเมตร

 

แบบไหนถึงเรียกว่าปากมดลูกเปิดช้า

ในระหว่างการตั้งครรภ์ คุณหมอจะนัดแม่ตรวจครรภ์บ่อย ๆ และจะนัดถี่มากขึ้น เมื่อคุณแม่อายุครรภ์เกิน 36 สัปดาห์แล้ว (เฉลี่ยจะอยู่ที่สัปดาห์ละครั้ง) เนื่องจากใกล้ถึงเวลาคลอด พร้อมกับตรวจภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้กับคนท้องไตรมาสสุดท้าย ดังนั้น แม่ ๆ ควรไปตามที่หมอนัดทุกครั้ง เพราะไม่แน่ว่า ปากมดลูกอาจจะเปิดแล้วก็ได้ แต่ไม่ใช่ว่า ปากมดลูกเปิด 1 เซ็นติเมตรแล้ว จะถึงเวลาคลอดนะคะ ถ้าไม่มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย คุณหมอบางท่านอาจจะอนุญาตให้กลับบ้านไปก่อน แล้วค่อยสังเกตอาการเจ็บท้องจริง

ผศ.นพ.เมธาพันธ์ กิจพรธีรานันท์ ได้บอกถึง อาการเจ็บท้องคลอด อาการที่บ่งบอกว่าเข้าสู่ระยะคลอด มีดังนี้

  1. อาการมูกเลือดออกทางช่องคลอด การตั้งครรภ์ทั่วไปจะไม่มีเลือดออกทางช่องคลอด หากพบว่ามีเลือดสดออกให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องไปพบสูติแพทย์โดยด่วน แต่หากเป็นการเข้าสู่ระยะคลอดตามปกติ เมื่อมีการเปิดของปากมดลูกแล้ว มักจะมีมูกปนเลือดออกมาทางช่องคลอดได้ ลักษณะเป็นเมือกใส เหนียวคล้ายน้ำมูกมีสีแดงปนได้
  2. อาการน้ำคร่ำรั่ว หรือ น้ำเดิน เมื่อมีน้ำไหลออกมาทางช่องคลอด มารดาควรสังเกตให้ดีว่าเป็นน้ำใส ไม่มีกลิ่น เหลว อาจมีเศษตะกอนสีขาวปนเล็กน้อยคล้ายน้ำซาวข้าวแสดงว่าเป็นน้ำคร่ำเดิน ไหลเป็นพักๆหรือต่อเนื่องก็ได้ จะออกมากขึ้นเมื่อขยับตัวหรือเดิน ซึ่งจำเป็นต้องแยกกับตกขาวในช่องคลอดซึ่งจะมีลักษณะเป็นน้ำสีขาวข้นคล้ายนม มีกลิ่นคาวหรือคันร่วมด้วย ในกรณีที่พบว่าเป็นน้ำปนกับตะกอนสีเขียวเข้มแสดงว่าเด็กทารกมีการถ่ายขี้เทาออกมาปนในน้ำคร่ำด้วย กรณีนี้ให้รีบมาพบสูติแพทย์โดยด่วนเนื่องจากทารกอยู่ในภาวะเสี่ยงภัยด้วย
  3. อาการเจ็บครรภ์จริง ในช่วงใกล้คลอดมักจะมีอาการเจ็บครรภ์เตือนบ่อยครั้ง ทั้งนี้เป็นการซ้อมของกล้ามเนื้อมดลูกในการหดรัดตัว ซึ่งการเจ็บครรภ์เตือนนี้มักจะเกิดเป็นพักๆ ไม่สม่ำเสมอ เป็นการบีบตัวเบาๆ ไม่มีรูปแบบ เป็นเวลาสั้นๆ เกิดที่มดลูกในตำแหน่งทั่วไปไม่จำเพาะ เมื่อนอนพักนิ่งๆ อาการจะค่อยทุเลาได้เอง ซึ่งอาการเจ็บครรภ์เตือนนี้ไม่มีอันตรายต่อทั้งมารดาหรือทารกในครรภ์ สามารถสังเกตอาการต่อที่บ้านได้ กรณีที่เจ็บครรภ์จริงมักจะเริ่มมีการหดรัดตัวของมดลูกบริเวณยอดมดลูกก่อนและค่อยกระจายไปทั่วทั้งมดลูก เกิดได้บ่อยขึ้น นานขึ้น แรงขึ้น จนมารดารู้สึกอึดอัดมากขึ้นเรื่อยๆ บางครั้งอาจมีการรัดตัวอยู่นานเป็นนาทีได้ มีช่วงพักคลายตัว 2-3 นาทีแล้วจึงกลับมาบีบรัดตัวใหม่อย่างสม่ำเสมอต่อไป
  4. อาการลูกดิ้นน้อยลง เนื่องด้วยเมื่อมีอาการเจ็บครรภ์ถี่ขึ้น ทำให้มารดาไม่สามารถรับรู้ลูกดิ้นได้ทุกครั้ง จึงรู้สึกเสมือนว่าลูกดิ้นน้อยลง นอกจากนี้ยังไม่สามารถแยกจากทารกที่มีปัญหาลูกดิ้นน้อยลงจริงได้ จึงควรมาโรงพยาบาลเพื่อรับการตรวจประเมินจากสูติแพทย์โดยตรง

 

ปากมดลูกเปิดช้าไหม

การตรวจสอบว่าปากมดลูกเปิดเท่าไรแล้วจะวัดจากความกว้างของปากมดลูกที่นิ้วมือสามารถสอดเข้าไปได้ หากสามารถสอดปลายนิ้วเข้าไปได้ 1 นิ้ว หมายความว่าปากมดลูกเปิด 1 ซม. หากสอดได้ 2 นิ้ว หมายความว่าปากมดลูกเปิด 2 ซม. หากสอดสองนิ้วแล้วกางนิ้วออกไปชนที่ขอบปากมดลูกได้ ความกว้างของนิ้วที่กางเพิ่มขึ้นจะทำให้สามารถกะได้ว่าปากมดลูกเปิดเพิ่มขึ้นเท่าไร

  • ปากมดลูกเปิด 1 ซม. จัดกระเป๋าเตรียมคลอดให้พร้อม เพราะนั่นเป็นสัญญาณว่า ร่างกายของคุณพร้อมสำหรับการคลอดแล้ว ในระยะนี้ หากนับตั้งแต่เจ็บครรภ์จริงถึงปากมดลูกเปิด 2.5-3 ซม. ใช้เวลาเฉลี่ย 8 ชั่วโมง 30 นาที ในครรภ์แรก และ 5 ชั่วโมง 30 นาที ในครรภ์หลัง ทั้งนี้ไม่ควรเกิน 20 ชั่วโมงในครรภ์แรก และ 14 ชั่วโมงในครรภ์หลัง
  • ปากมดลูกเปิด 4 ซม. ตอนนี้ปากมดลูกของคุณบางลงมากแล้ว จึงเปิดอย่างรวดเร็วจาก 4-9 ซม. ใช้เวลาเฉลี่ย 5 ชั่วโมงในครรภ์แรก และ 2 ชั่วโมง 30 นาที ในครรภ์หลัง การหดตัวของมดลูกจะเพิ่มขึ้น ทำให้เจ็บท้องปานกลางถึงมาก
  • ปากมดลูกเปิด 10 ซม. เรียกว่าระยะเบ่ง โดยนับตั้งแต่ปากมดลูกเปิด 10 ซม. จนกระทั่งสิ้นสุดการคลอด ใช้เวลา ไม่เกิน 2 ชั่วโมงในครรภ์แรก และ ไม่เกิน 1 ชั่วโมงในครรภ์หลัง เมื่อปากมดลูกเปิดหมดแล้ว คุณหมอและพยาบาลจะบอกให้คุณเบ่งคลอด

 

หมอกระตุ้นปากมดลูกยังไง หากปากมดลูกเปิดช้า

หากปากมดลูกเปิดช้า หรือท้องเกิน 40 สัปดาห์ แต่ปากมดลูกไม่เปิด ซึ่งนับว่าเป็นการตั้งครรภ์เกินกำหนด เพราะทางการแพทย์นับว่า

  • คลอดครบกำหนด (term) ตั้งแต่ 37-40 สัปดาห์
  • คลอดเลยกำหนดคลอด (post date) เมื่อคลอดระหว่าง 40-41 สัปดาห์
  • ครรภ์เกินกำหนด (post term) เมื่อคลอดหลัง 42 สัปดาห์

ดังนั้น เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนทั้งแม่และลูก หมอมักจะนัดมาเร่งคลอด

 

วิธีเร่งคลอดเมื่อปากมดลูกเปิดช้าหรือมีอายุครรภ์เกิน 40 สัปดาห์

นอกจากปากมดลูกเปิดช้า ยังมีหลาย ๆ สาเหตุ ที่ทำให้คุณหมอใช้วิธีการเร่งคลอด เช่น แม่ท้องเกิน 40 สัปดาห์, แม่ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์คลอด หรือก่อนที่อายุครรภ์จะครบ 37 สัปดาห์, ทารกในครรภ์เติบโตช้าหรือมีน้ำหนักตัวน้อย และแม่ท้องมีความดันโลหิตสูงหรือครรภ์เป็นพิษ โดยวิธีการเร่งคลอดมี ดังนี้

  1. การกวาดปากมดลูก วิธีการนี้จะคล้าย ๆ กับการตรวจภายใน เพราะคุณหมอจะใช้นิ้วกวาดบริเวณปากมดลูกเพื่อค่อย ๆ ขยายปากมดลูกและกระตุ้นให้มีเจ็บท้องคลอด
  2. การเจาะถุงน้ำคร่ำ วิธีการนี้คุณหมอจะใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีหน้าตาคล้ายกับเข็มถักโครเช เพื่อเจาะถุงน้ำคร่ำให้แตกเป็นการกระตุ้นคลอดทำให้มดลูกหดรัดตัว แต่วิธีนี้ก็ไม่ยืนยันว่าจะได้ผลร้อยเปอร์เซ็นต์
  3. การใช้ฮอร์โมนพรอสตาแกลนดิน วิธีการนี้คุณหมอจะใช้ฮอร์โมนในรูปของเจลหรือยา เป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นให้เกิดการเจ็บครรภ์โดยเหน็บช่องคลอดโดยสอดเข้าไปที่บริเวณคอมดลูกเพื่อกระตุ้นการเจ็บครรภ์
  4. ยาเร่งคลอด วิธีการใช้ยาเร่งคลอดจะให้ผ่านสายน้ำเกลือ อาจกระตุ้นให้มีการหดรัดตัวของมดลูกค่อนข้างแรง ดังนั้น คุณแม่จึงอาจต้องใช้การฉีดยาเข้าช่องเหนือช่องน้ำไขสันหลังเพื่อระงับความเจ็บปวดด้วย วิธีนี้มักจะใช้ร่วมกับการเจาะถุงน้ำคร่ำ

 

ถ้าปากมดลูกเปิดช้าหรือปากมดลูกไม่เปิดเพิ่ม คุณหมอจะพิจารณาเองว่า ควรทำอย่างไร ดังนั้น คุณแม่ไม่ควรชะล่าใจ ไม่ไปตรวจครรภ์ตามที่หมอนัด เพื่อให้คุณหมอได้วินิจฉัยอาการของแม่ท้อง ตรวจดูความเสี่ยงของการตั้งครรภ์และภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์

 

ที่มา : https://www.med.cmu.ac.th

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เจ็บท้องหลอก ต่างจากเจ็บท้องจริงอย่างไร เจ็บแบบไหนใกล้คลอด

ประสบการณ์คลอดลูกคนแรก คลอดธรรมชาติ ฟื้นตัวไว น้ำหนักลดเร็ว แม่ขอบอก!

ส่อง! อาการคนท้องไตรมาสสุดท้าย สัญญาณเปลี่ยนแปลงของร่างกายเมื่อท้องแก่เต็มที!

ท้องพร้อมเนื้องอก! แม่ท้องมีเนื้องอกมดลูกเกือบ30ซม. เบียดทารกอยู่ในท่าผิดปกติ

 

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • แม่อยากคลอดจะแย่! ทำไมไม่ออกมาสักทีลูกจ๋า ปากมดลูกเปิดช้า แต่แม่เจ็บเกินทนแล้วลูก
แชร์ :
  • ปากมดลูกเปิดรู้สึกอย่างไร ต้องรอนานแค่ไหนกว่ามดลูกจะเปิดหมด

    ปากมดลูกเปิดรู้สึกอย่างไร ต้องรอนานแค่ไหนกว่ามดลูกจะเปิดหมด

  • ปากมดลูกเปิด เป็นอย่างไร กว้างแบบนี้ใกล้คลอดแล้วจริงหรือ

    ปากมดลูกเปิด เป็นอย่างไร กว้างแบบนี้ใกล้คลอดแล้วจริงหรือ

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

    ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

  • ปากมดลูกเปิดรู้สึกอย่างไร ต้องรอนานแค่ไหนกว่ามดลูกจะเปิดหมด

    ปากมดลูกเปิดรู้สึกอย่างไร ต้องรอนานแค่ไหนกว่ามดลูกจะเปิดหมด

  • ปากมดลูกเปิด เป็นอย่างไร กว้างแบบนี้ใกล้คลอดแล้วจริงหรือ

    ปากมดลูกเปิด เป็นอย่างไร กว้างแบบนี้ใกล้คลอดแล้วจริงหรือ

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

    ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ