X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

น้ำเดินก่อนกำหนด ภาวะน้ำเดินก่อนกำหนดต้องทำอย่างไร?

บทความ 3 นาที
น้ำเดินก่อนกำหนด ภาวะน้ำเดินก่อนกำหนดต้องทำอย่างไร?

โดยปกติแล้ว “น้ำเดิน” เป็นภาวะอาการของแม่ท้องเมื่อเริ่มเข้าสู่ระยะใกล้คลอด แต่ภาวะ “น้ำเดินก่อนกำหนด” คือการที่ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ซึ่งเป็นสาเหตุของการคลอดก่อนกำหนด และทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนขึ้นตามได้

น้ำเดินก่อนกำหนด

น้ำเดินก่อนกำหนด ภาวะน้ำเดินก่อนกำหนดต้องทำอย่างไร? โอกาสที่แม่ท้องจะมีภาวะน้ำเดินก่อนกำหนดหรือถุงน้ำคร่ำแตกก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ความถี่ของโรคพบได้ร้อยละ 3 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งยังหาสาเหตุที่แท้จริงไม่พบ แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้แม่ท้องมีอาการน้ำเดินก่อนกำหนด เช่น การสูบบุหรี่ มีการติดเชื้อทางเพศสัมพันธุ์ เกิดจากการกระแทกจากอุบัติเหตุ แม่ท้องเคยมีประวัติอาการน้ำเดินก่อนกำหนดมาก่อน หรือเคยมีประวัติตกเลือดขณะตั้งครรภ์มาก่อน เป็นต้น

 

จะเกิดอะไรขึ้น! เมื่อแม่ท้องน้ำเดินก่อนกำหนด

การที่ถุงน้ำคร่ำแตกหรือน้ำเดินก่อนกำหนดอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่อทารกคือ

  • มีเชื้อโรคเล็ดลอดทำให้ทารกและแม่มีการติดเชื้อ ทำให้ลูกไม่แข็งแรง หรืออาจจะรุนแรงจนกระทั่งเสียชีวิต
  • มีการลอกของรกก่อนกำหนด
  • การกดสายสะดือทำให้ทารกขาดเลือด ขาดออกซิเจน ซึ่งอาจจะทำให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์ได้
  • การคลอดก่อนกำหนดในอายุครรภ์น้อย ๆ อาจทำให้เกิดความพิการของปอดและสมองของทารกได้

น้ำเดินก่อนกำหนด น้ำเดิน

แม่ท้องมีภาวะน้ำเดินก่อนกำหนดต้องทำอย่างไร?

การรักษาแม่ท้องที่มีน้ำเดินก่อนกำหนดต้องดูช่วงอายุครรภ์ว่ามีการตั้งครรภ์กี่สัปดาห์ เพราะอายุครรภ์จะบอกได้ว่าทารกในครรภ์สามารถโตพอที่จะคลอดออกมาแล้วมีชีวิต

อายุครรภ์น้อยกว่า 24 สัปดาห์

แม่ท้องที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 24 สัปดาหฺ์และมีน้ำเดินก่อนกำหนด มักจะเกิดการคลอดภายใน 1 สัปดาห์ และทารกที่คลอดออกมาจะมีความผิดปกติของโรคปอด มีความพิการของสมอง ทำให้เกิดกลุ่มอาการที่เรียกว่า Potter's syndrome

น้ำเดินก่อนกำหนด ภาวะน้ำเดินก่อนกำหนด

อายุครรภ์ 24-31 สัปดาห์

ทารกที่คลอดก่อนอายุครรภ์ 32 สัปดาห์อาจจะมีโอกาสพิการหรืออาจจะเสียชีวิตได้ ดังนั้นหากแม่ท้องมีภาวะน้ำเดินก่อนกำหนดในช่วงอายุครรภ์ดังกล่าว แพทย์จะพยายามให้อายุครรภ์ครบ 32 สัปดาห์จึงจะให้คลอด และจะให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และให้ยา steroid เพื่อเร่งให้ปอดทารกแข็งแรง ในระหว่างนี้แพทย์จะทำการเจาะเลือดคุณแม่เป็นระยะว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ และคอยติดตามเฝ้าระวังการบีบตัวของมดลูก อาการปวดท้องของคุณแม่หากปวดมากขึ้นแสดงว่าอาจจะมีปัญหา

น้ำเดินก่อนกำหนด ความเสี่ยงของภาวะน้ำเดินก่อนกำหนด

หากพบว่ามีอาการดังต่อไปนี้จำเป็นต้องการทำเร่งคลอด

  • คุณแม่มีไข้มากกว่า 38 องศา แพทย์จะทำการเร่งคลอดเพราะนั่นหมายถึงมีการติดเชื้อของมดลูก
  • ติดตามการเต้นของหัวใจแม่และทารกในครรภ์ หากพบว่าหัวใจของทารกเต้นเร็วหรือช้า มีสัญญาณชีพไม่ปกติแสดงว่าเริ่มจะมีปัญหาจำเป็นต้องเร่งคลอด

อายุครรภ์ 32-33 สัปดาห์

ทารกอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ซึ่งปอดเริ่มจะแข็งแรงสามารถคลอดออกมาได้ในภาวะคลอดก่อนกำหนด แต่ก็จะต้องเจาะน้ำคร่ำเพื่อมาพิสูจน์ว่าปอดทารกแข็งแรงพอสามารถคลอดออกมาได้

อายุครรภ์ 34 สัปดาห์ขึ้นไป

หากอายุครรภ์มากกว่า 34 สัปดาห์ขึ้นไป แพทย์จะแนะนำให้เร่งคลอดเพื่อที่จะได้ไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ

ดังนั้นหากพบว่ามีภาวะน้ำเดินแล้ว ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการโดยเร็วที่สุดนะคะ

บทความจากพันธมิตร
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022

ที่มา : 1

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
"น้ำเดิน" เป็นอย่างไร เรื่องควรรู้ของแม่ใกล้คลอด
น้ำเดินหรือปัสสาวะเล็ดกันแน่ สัญญาณคลอดที่แม่ท้องต้องสังเกต

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • น้ำเดินก่อนกำหนด ภาวะน้ำเดินก่อนกำหนดต้องทำอย่างไร?
แชร์ :
  • น้ำเดินหรือปัสสาวะเล็ดกันแน่ สัญญาณคลอดที่แม่ท้องต้องสังเกต

    น้ำเดินหรือปัสสาวะเล็ดกันแน่ สัญญาณคลอดที่แม่ท้องต้องสังเกต

  • น้ำเดินเป็นแบบไหน น้ำเดินแต่ไม่ปวดท้อง อาการน้ำเดินเป็นอย่างไร

    น้ำเดินเป็นแบบไหน น้ำเดินแต่ไม่ปวดท้อง อาการน้ำเดินเป็นอย่างไร

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • น้ำเดินหรือปัสสาวะเล็ดกันแน่ สัญญาณคลอดที่แม่ท้องต้องสังเกต

    น้ำเดินหรือปัสสาวะเล็ดกันแน่ สัญญาณคลอดที่แม่ท้องต้องสังเกต

  • น้ำเดินเป็นแบบไหน น้ำเดินแต่ไม่ปวดท้อง อาการน้ำเดินเป็นอย่างไร

    น้ำเดินเป็นแบบไหน น้ำเดินแต่ไม่ปวดท้อง อาการน้ำเดินเป็นอย่างไร

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ