ผู้หญิงน้ำหนักควรขึ้นเท่าไหร่ช่วงตั้งครรภ์
“ลูกหนัก 3 กก. แต่ฉันน้ำหนักขึ้นมาถึง 12 กก. น้ำหนักที่เกินมาจากไหน”
“ตอนนี้ฉันท้อง 5 เดือนและน้ำหนักขึ้นมา 3 กก. กว่า ๆ คุณหมอก็ไม่เห็นว่าอะไร แต่พี่สะใภ้ของฉันที่ตอนนี้ท้อง 8 เดือน เธอน้ำหนักขึ้นตั้งเกือบ 10 กก. ทำไมมันถึงต่างกันขนาดนี้”
จริง ๆ แล้วน้ำหนักควรเพิ่มขึ้นเท่าใด
นั่นเป็นคำถามที่ดี แต่คำตอบที่ถูกต้องนั้นมีมากกว่าคำตอบเดียว น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนั้นขึ้นอยู่กับ
1) คุณ “ตั้งครรภ์” ลูกคนเดียวหรือแฝด
2) น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์และค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ของคุณ
เมื่อคุณได้คำนวณค่า BMI แล้ว ให้ใช้ชาร์ทต่อไปนี้เป็นข้อมูลในการตัดสินว่าน้ำหนักที่ควรเพิ่มขึ้นระหว่าง ตั้งครรภ์ คือเท่าใด
ค่า BMI ระหว่าง 18.5-24.9 น้ำหนักควรเพิ่มขึ้น 11.34-15.87 กก.
ค่า BMI เท่ากับ 18.5 หรือต่ำกว่า (น้ำหนักตัวก่อน ตั้งครรภ์ ต่ำกว่าเกณฑ์) ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 12.07-18.14 กก.
ค่า BMI ระหว่าง 25-29.9 ควรมีน้ำหนักเพิ่มไม่เกิน 6.8-11.34 กก.
ค่า BMI เท่ากับ 30 หรือมากกว่า ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึงโรคอ้วน ควรน้ำหนักขึ้น 4.99-9.07 กก.
แล้วน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมาจากไหนกัน
น้ำหนักต่อไปนี้เป็นเพียงค่าเฉลี่ยเท่านั้น ไม่มีคุณแม่คนไหนที่จะมีน้ำหนักตรงเป๊ะตามที่ระบุไว้ ดังนั้น ข้อมูลนี้จึงเป็นภาพรวมให้คุณเข้าใจ แต่ไม่ได้เป็นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เที่ยงตรงแม่นยำ
เด็ก: 3.15-3.62 กก.
รก: 0.45-0.90 กก.
น้ำคร่ำ: 0.90 กก.
มดลูก: 0.90 กก.
เนื้อเยื่อเต้านมที่พัฒนาระหว่างตั้งครรภ์: 0.90 กก.
ปริมาตรเลือดที่เพิ่มระหว่างตั้งครรภ์: 1.81 กก.
ของเหลวในเนื้อเยื่อที่พัฒนาระหว่าง ตั้งครรภ์ : 1.81 กก.
ไขมันและสารอาหารที่สะสมระหว่าง ตั้งครรภ์ : 3.17 กก.
ฉันมีน้ำหนักเหมาะสมหรือไม่
ช่วง 13-14 สัปดาห์แรกของการ ตั้งครรภ์ คุณส้มโอมีอาการแพ้ท้องอย่างหนัก ทานอะไรก็อาเจียนเกือบหมด เธอจะทานได้แต่ผักสดไม่กี่อย่างและข้าวเท่านั้น ในฐานะที่ตัวเธอเป็นพยาบาลเอง คุณส้มโอจึงเข้าใจว่าทุกอย่างจะดีขึ้น และเธอก็ทราบดีว่าการแพ้ท้อง เป็นปัจจัยที่ทำให้น้ำหนักขึ้นไม่ถึง 3 กก. ก่อนที่อายุครรภ์จะได้ 6 เดือน ผลอัลตร้าซาวน์พบว่าลูกมีสุขภาพแข็งแรงดีและมีน้ำหนัก0.90 กก. ซึ่งเป็นน้ำหนักที่เหมาะสมสำหรับอายุครรภ์
ในช่วงการ “ตั้งครรภ์” ระยะที่ 1 น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยประมาณ 0.45-2.04 กก. ซึ่งขึ้นอยู่กับอาการแพ้ท้องและ/หรือตัวอ่อนและทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ยังมีขนาดเล็กอยู่
ในช่วงการ “ตั้งครรภ์” ระยะที่ 2 และ 3 คุณจะมีน้ำหนักขึ้นประมาณสัปดาห์ละ 0.45-0.9 กก. ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นช่วง 3-5 สัปดาห์สุดท้ายซึ่งทารกจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเฉลี่ยวันละ 1 ออนซ์หรือ 28.35 กรัม
หมายเหตุ: ข้อมูลนี้อิงตามคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ลูกคนเดียว น้ำหนักสำหรับคุณแม่ที่ ตั้งครรภ์ ลูกแฝดจะมากกว่านี้แต่ไม่ได้เพิ่มเป็นสองเท่า
บทความใกล้เคียง: น้ำหนักของทารกในครรภ์
นิสัยการรับประทานอาหารและเพิ่มน้ำหนักที่ดีระหว่าง ตั้งครรภ์
เมื่อ ตั้งครรภ์ คุณจะต้องรับประทานอาหารและอาหารว่างที่ครบถ้วนในสัดส่วนที่เหมาะสมโดยรับประทานอาหารวันละ 3 มื้อและอาหารว่าง 3 ครั้ง ควรได้รับโปรตีนและไขมันจากถั่วและไข่ เนื้อสัตว์ที่รับประทานควรไม่ติดมัน ถ้าเป็นปลาก็จะยิ่งดี แต่ไม่ควรรับประทานปลาทูน่าเกิน 1 ครั้งต่อสัปดาห์
รับประทานวิตามินสำหรับคุณแม่ ตั้งครรภ์ ดื่มน้ำมาก ๆ จำกัดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและน้ำตาล เลือกดื่มเฉพาะน้ำผลไม้ที่ทำจากน้ำผลไม้แท้ ๆ หลีกเลี่ยงอาหารขยะ การรับประทานน้ำตาลมากเกินไป รวมถึงการรับประทานอาหารเสริมสมุนไพรต่าง ๆ และยาที่นอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง
การเดิน ว่ายน้ำแบบเบา ๆ โยนโบว์ลิง โยคะและพิลาทีสเป็นการออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับคุณแม่ ตั้งครรภ์ สิ่งสำคัญคือคุณจะต้องปรึกษาคุณหมอก่อนออกกำลังไม่ว่าจะเป็นแบบใดก็ตาม
การดูแลตัวเองและลูกน้อยระหว่างตั้งครรภ์ช่วยป้องกันอาการปวดขาและหลัง เส้นเลือดขอด เบาหวานขณะ ตั้งครรภ์ การคลอดก่อนกำหนด รวมทั้งความจำเป็นในการผ่าคลอด
ดังนั้น… ขอให้คุณแม่ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ใช้ชีวิตอย่างฉลาดและสนุกสนานกับช่วงเวลาสุดพิเศษของคุณ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!