X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

นมแม่มีมากพอเสมอ เพียงกระตุ้นให้ถูกวิธี โดยน.พ.ไกรสร เจียมสวัสดิ์

บทความ 3 นาที
นมแม่มีมากพอเสมอ เพียงกระตุ้นให้ถูกวิธี โดยน.พ.ไกรสร เจียมสวัสดิ์นมแม่มีมากพอเสมอ เพียงกระตุ้นให้ถูกวิธี โดยน.พ.ไกรสร เจียมสวัสดิ์

เป็นเรื่องที่น่ายินดีมากที่พ่อแม่ยุคนี้เห็นความสำคัญของนมแม่และพยายามให้ลูกกินนมแม่ แต่หลายครอบครัวต้องผิดหวังเพราะน้ำนมแม่ไม่พอ

เด็กทารกดูดนมแม่

ขอให้มั่นใจได้เลยว่าโดยธรรมชาติแล้วนมแม่ต้องมีเพียงพอเสมอแม้กระทั่งสำหรับลูกฝาแฝด ทั้งนี้เพราะร่างกายแม่จะมีกลไกวิเศษที่จะหลั่งน้ำนมอย่างมากมายหากมีการกระตุ้นที่เหมาะสม ดังนั้นนมแม่จึงเป็นอาหารทรงคุณค่าและเต็มอิ่มสำหรับเด็กแรกเกิดเพียงชนิดเดียวที่ช่วยการดำรงพันธุ์ของมนุษยชาติอย่างมีประสิทธิภาพมาแต่ยุคบรรพกาล

การดูดนมแม่ของทารกเป็นการกระตุ้นการหลั่งนมที่ดีที่สุดเนื่องจากมีองค์ประกอบที่เหมาะสมมากมายคือ ริมฝีปาก เหงือก ลิ้น กระพุ้งแก้ม เพดานปาก อุณหภูมิที่เหมาะสมในปากตลอดจนน้ำลายที่ช่วยผสมกลมกลืนและลื่นไหล สิ่งเหล่านี้ร่วมกับชีวิต จิตใจ อารมณ์ และอากัปกริยาของทารกพร้อมกับการผสานสื่อสายตาตลอดจนกลิ่นอาย ของแม่-ลูก สัมผัสทั้งหมดนี้หลอมรวมกับความรัก ความอาทร และความสุขในการเป็นแม่ จะช่วยกันเร่งเร้าการหลั่งน้ำนมและนับวันจะยิ่งเพิ่มทวีคูณตามประสบการณ์แห่งการดูดและการเลี้ยงดูที่มากขึ้นในแต่ละวัน

ภาวะนมแม่ไม่พอจะเกิดขึ้นเมื่อมีอะไรก็ตามไปรบกวนกระบวนการกระตุ้นการหลั่งน้ำนม เช่น เมื่อแรกเกิดขาดการดูดนมแม่อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งอาจมาจากความไม่พร้อมทางกายภาพ การคลอดก่อนกำหนดหรือการไม่พร้อมทางสุขภาพของเด็กและแม่ การใช้นมผสม การไม่คุ้นกับการเอาเข้าเต้าหรือการติดจุกนมยาง การขาดสื่อสัมพันธ์หรือความไม่พร้อมทางอารมณ์ของแม่ และที่สำคัญคือการขาดทัศนคติเชิงบวกที่เข้มแข็งของแม่และครอบครัว สิ่งเหล่านี้จะลดการกระตุ้นน้ำนมจนเหลือน้อยและแห้งไปในที่สุด

คุณแม่หลายท่านคงเข้าใจดีว่าเมื่อพูดถึงนมแม่มิได้หมายความเพียงแค่ปริมาณและคุณค่าทางอาหารเท่านั้นแต่ยังมีอีกหลายอย่างที่ยากจะตวงวัดหรือแยกแยะ เช่น ความรัก ความผูกพัน อารมณ์ พัฒนาการทางด้านต่างๆ ฯลฯ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยตัวของมันเองแล้วจะพัฒนาไปสู่การเลี้ยงดูที่เหมาะสมและมีคุณภาพในมิติอื่นนอกเหนือจากเรื่องอาหารอีกมากมาย  ที่สำคัญยิ่งคือผลของมันจะฝังประสบการณ์แห่งความสุข ความดีงามไว้ในจิตใต้สำนึกของลูกเพื่อพร้อมที่จะเป็นรากฐานแห่งพัฒนาการในทุกด้านต่อไป ขอชื่นชมแม่อีกหลายท่านที่มีความมุ่งมั่นสามารถปรับทัศนคติเชิงบวกและมีความสุขกับการลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ไหลหลั่งอย่างเต็มอิ่มสมอยากของลูกน้อย

เขียนโดย นพ.ไกรสร เจียมสวัสดิ์ จากไกรสรคลินิกเวชกรรม (Kraisorn Medical clinic)

นพ.ไกรสรได้เขียนกลอน "อุ้มสม-นมแม่" ไว้ให้ในหน้าถัดไป >>>

แม่ให้นมบุตร“อุ้มสม-นมแม่”

-ครรภ์แม่ คุ้มลูก ปลูกรัก

ปกปัก ป้องภัย ไออุ่น

เกราะแก้ว แคล้วคลาด ค้ำจุน

เนื่องหนุน หนูน้อย คอยวัน

-รกราย สายท่อ พะนอแจก

สอดแทรก แรกลิ้ม อิ่มอั๋น

ห่อนเหือด เลือดธาร ทิพย์ธัญ

ครบครัน ล้านโกฏิ โภชนา

-ครบคลอด กอดป้อง สองมือ

อกคือ สื่อสันต์ หรรษา

สมอง สมรรถ พัฒนา

เมินค่า คำฮิต “ติดมือ”

-แม่คน ล้นนม เนิ่นมา

เสริมค่า นิยม ยึดถือ

งดบท บริบาล ผ่านซื้อ

ฝึกปรือ กลพลัง หลั่งนม

-“ติดมือ” ฤาคือ ติดจริง

บทความจากพันธมิตร
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ

นมนิ่ง ควรหรือ ซื้อผสม

สองสิ่ง ยิ่งใหญ่ ใคร่นิยม

“อุ้มสม” “นมแม่” แท้เอย

กลอน ๖ โดย ไกรสร  เจียมสวัสดิ์

บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีการเพิ่มน้ำนมสำหรับคุณแม่

หัวปลาต้มมะละกอดิบ อาหารเพิ่มน้ำนม

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • นมแม่มีมากพอเสมอ เพียงกระตุ้นให้ถูกวิธี โดยน.พ.ไกรสร เจียมสวัสดิ์
แชร์ :
  • เตรียมอนุบาลด้วยงานครัว โดยน.พ.ไกรสร เจียมสวัสดิ์

    เตรียมอนุบาลด้วยงานครัว โดยน.พ.ไกรสร เจียมสวัสดิ์

  • ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

    ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

  • ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

    ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

app info
get app banner
  • เตรียมอนุบาลด้วยงานครัว โดยน.พ.ไกรสร เจียมสวัสดิ์

    เตรียมอนุบาลด้วยงานครัว โดยน.พ.ไกรสร เจียมสวัสดิ์

  • ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

    ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

  • ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

    ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ