X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

แม่ต้องรู้ ท้องผูก แหวะนม ไม่ใช่อาการผิดปกติของร่างกายเจ้าตัวเล็ก

บทความ 3 นาที
แม่ต้องรู้ ท้องผูก แหวะนม ไม่ใช่อาการผิดปกติของร่างกายเจ้าตัวเล็ก

ครั้งแรกที่เห็นลูกแหวะนม คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจตกอกตกใจ คิดไปไกลว่าร่างกายของหนูน้อยมีอาการผิดปกติอะไรรึเปล่านะ เช่นเดียวกับตอนที่เจ้าตัวเล็กมีอาการท้องผูก อึ๊ไม่ออก ขับถ่ายทีไรเป็นต้องร้องไห้จ้าเพราะเจ็บปวดจากอุจจาระแข็งอยู่บ่อยๆ ปัญหาเล็กๆ เหล่านี้กลายเป็นเรื่องใหญ่กวนใจพ่อแม่ ไม่สบายกายลูก ไม่ดีเลยใช่ไหมคะ?

ท้องผูก แหวะนม เป็น อาการไม่สบายท้อง ที่พบได้ทั่วไปของเด็กเล็กวัยแรกคลอด เพราะช่วงแรกของชีวิต ระบบต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะระบบทางเดินอาหารยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์นัก เด็กๆ ต้องการระยะเวลาเพื่อสร้างความแข็งแรง ปรับตัวเข้ากับอาหารการกิน และสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งไม่ใช่ความผิดปกติของร่างกาย (Functional Gastrointestinal Disorders : FGIDs) อย่างที่หลายคนเข้าใจ

แต่อย่าเพิ่งวางใจ เพราะเรื่องเล็กๆ เหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ จิตใจ และเสียเวลาในการเสริมสร้างพัฒนาการของร่างกายและสมองของลูกได้ในอนาคต เรามาทำความรู้จักกับอาการท้องผูก และแหวะนม และอันตรายโดยตรง หากคุณแม่มัวแต่นิ่งนอนใจ

แบบไหนถึงเรียกว่า ท้องผูก การถ่ายยากกระทบต่อพัฒนาการหรือไม่?

ท้องผูก

ท้องผูก เป็นอาการที่พบบ่อยในเด็กเล็ก ถ้าเด็กๆ ถ่ายอุจจาระวันเว้นวัน หรือเฉลี่ยรวมกัน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ตัวร้อน เป็นไข้ ร้องไห้งอแง มีเลือดปนออกมากับอุจจาระ ก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรงอะไร ลักษณะของอาการท้องผูกแยกได้ 2 แบบคือ

  • ลูกอึ๊ทุกวัน แต่อุจจาระออกมาเป็นก้อนกลมๆ แข็งๆ และมีปริมาณน้อย เพราะมีการสะสมของอุจจาระจำนวนมากอัดแน่นอยู่ภายในลำไส้ ทำให้เด็กๆ อึดอัด ไม่สบายตัว และทานอาหารได้น้อย
  • 3 วันถ่าย 1 ครั้ง ครั้งละมากๆ แต่อุจจาระที่ออกมาช่วงแรกมีความแข็งแล้วค่อยนิ่ม เป็นสาเหตุให้รูทวารของลูกรักบาดเจ็บ เด็กๆ ก็จะขยาดการถ่าย กลั้นเก็บเอาไว้จนเต็มลำไส้ พอทนไม่ไหวร่างกายก็จะขับถ่ายออกมาเอง

สาเหตุหลักของอาการท้องผูกมาจากระบบทางเดินอาหารของเด็กยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ได้รับอาหารที่ไม่เหมาะสมกับสภาพลำไส้ หรือมีการเปลี่ยนแปลงสูตรนม การปล่อยให้เบบี๋ท้องผูกอยู่บ่อยๆ นอกจากจะเสี่ยงกับอาการรูทวารเป็นแผลแล้ว อาจทำให้เด็กๆ ทานอาหารได้น้อยลง และส่งผลกระทบโดยตรงต่อพัฒนาการในด้านต่างๆ ค่ะ

ทำไมเจ้าตัวเล็กถึง แหวะนม เป็นบ่อยๆ อันตรายไหม?

แหวะนม

การ แหวะนม ของทารกวัยแรกคลอดถึง 4 เดือน เป็นเรื่องธรรมดา เพราะกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารและกระเพาะจิ๋วๆ ของหนูน้อยยังทำงานได้ไม่เต็มที่ อีกทั้งนมยังเป็นของเหลวที่สามารถไหลย้อนออกมาได้ง่าย เด็กๆ บางคนสำรอกนมออกมาในลักษณะคล้ายก้อนเต้าหู้เละๆ นั่นเพราะน้ำนมเข้าไปผสมกับกรดในกระเพาะอาหาร แต่เมื่อแหวะออกมาแล้วเบบี๋ยังดูดนมต่อได้ ไม่ร้องงอแง ไม่ทุรนทุราย อารมณ์ดี น้ำหนักตัวขึ้นปกติ ลักษณะแบบนี้ไม่น่าเป็นห่วง พอผ่านไปสักระยะเมื่อกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น การแหวะนมก็จะค่อยๆ ทุเลาลงและหายไปในที่สุด แต่ถ้าแหวะนมถี่มาก น้ำหนักตัวลดลง นมที่แหวะออกมามีเลือด น้ำเหลือง น้ำดี ปนออกมาด้วย และมีกลิ่นรุนแรง คุณแม่ควรพาลูกรักไปพบแพทย์ทันทีค่ะ

การให้ลูกดูดนมผิดท่าจนทำให้มีลมเข้าไปในกระเพาะมากก็เป็นสาเหตุที่ทำให้แหวะนมได้ คุณพ่อสามารถเป็นพระเอกช่วยคุณแม่ ด้วยการทำให้เจ้าตัวเล็กที่เพิ่งอิ่มนมเรอในท่านั่ง หรืออุ้มพาดบ่า ลูบหลังเบาๆ ราว 10 – 15 นาที นะคะ

รู้ต้นเหตุ แก้ไขตรงจุด พัฒนาการของลูกน้อยไม่สะดุด

ท้องผูก แหวะนม

นอกจากการให้เวลาร่างกายน้อยๆ ของลูกรักได้ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมภายนอกแล้ว การทานนมให้เหมาะสมกับสภาพลำไส้ก็มีส่วนช่วยให้กระบวนการย่อยนมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น สำหรับเด็กๆ ที่เข้าเต้าทานนมแม่สม่ำเสมอ อาจไม่ต้องกังวลใจกับปัญหาเหล่านี้เท่าไหร่นัก เพราะนมแม่ของขวัญล้ำค่าของลูกรัก ทั้งยังเหมาะสมกับระบบทางเดินอาหารและมีโภชนาการที่ร่างกายลูกต้องการครบถ้วน แต่หนูน้อยที่ไม่สามารถทานนมแม่ได้ ยิ่งต้องการการเอาใจใส่เป็นพิเศษ คุณแม่สามารถขอคำปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับนมสูตรย่อยง่าย ซึ่งเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยให้เบบี๋ห่างไกลจากอาการไม่สบายท้องเหล่านี้

นมสูตรย่อยง่าย  มีการพัฒนาให้จัดการกับอาการไม่สบายท้องของหนูน้อยให้ตรงจุดยิ่งขึ้น ซึ่งมีงานวิจัยรับรองว่า ช่วยให้อุจจาระนิ่ม ขับถ่ายง่าย ลดการแหวะนม และ ลดอาการโคลิค โดยมีคุณสมบัติดังนี้

  • มีการปรับโครงสร้างไขมันพืชให้เป็นชนิดเบต้า (กรดไขมันเบต้าปาล์มิติก หรือ β-palmitic acid) กรดไขมันเบต้าปาล์มิติกสูงทำให้อุจจาระนิ่มขึ้น ลดอาการท้องผูก ช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย เพื่อนำไปเสริมสร้างกระดูกและฟัน
  • เพิ่มใยอาหารพรีไบโอติก (GOS/IcFOS) ที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์สุขภาพ ช่วยในการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ทำให้อุจจาระนิ่ม ขับถ่ายง่าย ลดการร้องไห้โยเยและการแหวะนมในเด็ก
  • ลดปริมาณแลคโตสให้พอเหมาะ เพื่อลดโอกาสเกิดความไม่สบายท้อง พร้อมกระตุ้นและเสริมสร้างพัฒนาการของทางเดินอาหารระยะยาว
  • ปรับชนิดของโปรตีนให้เป็นโปรตีนเวย์ 100% ที่ย่อยแล้วบางส่วน โดยเวย์เป็นโปรตีนคุณภาพสูง เมื่อนำมาผ่านการย่อยทำให้ย่อยง่าย ช่วยให้อุจจาระนุ่มขึ้น
  • ประกอบด้วยสารอาหารครบถ้วน ได้แก่ ดีเอชเอ เออาร์เอ วิตามิน และแร่ธาตุ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการ

เพราะการแก้ปัญหาตรงจุด ทำให้พัฒนาการด้านต่างๆ ของลูกรักไม่สะดุด ไม่ต้องเสียเวลาไปจัดการกับอาการ ไม่สบายท้อง คุณแม่สามารถสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับโภชนาการของนมสูตรย่อยง่ายจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสุขภาพแม่และเด็ก ได้ที่ ไฮ-แฟร์มิลี่แคร์ไลน์ โทร. 0-2740-3333 (24 ชั่วโมง) หรือคลิ๊ก www.hifamilyclub.com/comfort

 

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • แม่ต้องรู้ ท้องผูก แหวะนม ไม่ใช่อาการผิดปกติของร่างกายเจ้าตัวเล็ก
แชร์ :
  • กินอะไรแก้ท้องผูก คนท้องไม่อยากท้องผูกบ่อยๆ ต้องกินผลไม้อะไรบ้าง

    กินอะไรแก้ท้องผูก คนท้องไม่อยากท้องผูกบ่อยๆ ต้องกินผลไม้อะไรบ้าง

  • อาการท้องผูกระหว่างตั้งครรภ์

    อาการท้องผูกระหว่างตั้งครรภ์

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • กินอะไรแก้ท้องผูก คนท้องไม่อยากท้องผูกบ่อยๆ ต้องกินผลไม้อะไรบ้าง

    กินอะไรแก้ท้องผูก คนท้องไม่อยากท้องผูกบ่อยๆ ต้องกินผลไม้อะไรบ้าง

  • อาการท้องผูกระหว่างตั้งครรภ์

    อาการท้องผูกระหว่างตั้งครรภ์

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ