X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ที่ตรวจครรภ์แบบหยดใช้อย่างไร ต่างกับแบบอื่นอย่างไร?

บทความ 5 นาที
ที่ตรวจครรภ์แบบหยดใช้อย่างไร ต่างกับแบบอื่นอย่างไร?ที่ตรวจครรภ์แบบหยดใช้อย่างไร ต่างกับแบบอื่นอย่างไร?

สำหรับคู่รักที่วางแผนที่จะมีลูก หากพบว่าประจำเดือนขาด หรือมีอาการทางร่างกายอื่น ๆ ให้สงสัยได้ว่า เราจะตั้งครรภ์หรือไม่ การไปซื้อที่ตรวจครรภ์มาตรวจเองในเบื้องต้น จึงเป็นทางเลือกอันดับแรก ๆ ที่จะต้องทำใช่ไหมคะ แต่ที่ตรวจการตั้งครรภ์ ก็มีมากมายหลายแบบเหลือเกิน วันนี้เราจะมาแนะนำว่า ที่ตรวจครรภ์แบบหยดใช้อย่างไร แล้วที่ตรวจครรภ์ชนิดนี้ต่างกับแบบอื่นแค่ไหน ให้ผลได้แม่นยำเหมือนกันหรือไม่

 

เครื่องตรวจครรภ์มีมากมายหลายประเภท ซึ่งราคาก็จะแตกต่างกันไปเช่นกัน แต่ผลที่ได้ต้องการนั้นเหมือนกันคือ สามารถบอกความเป็นไปได้ของการตั้งครรภ์ หรือไม่ ในขั้นต้นได้ และมีความแม่นยำมากถึง 90% เลยทีเดียว และ ที่ตรวจครรภ์แบบหยดก็เป็นอีกแบบหนึ่ง ที่หาซื้อได้ง่ายตามร้านสะดวกซื้อ และร้านขายยา และราคาถูก แล้ว ที่ตรวจครรภ์แบบหยดใช้อย่างไร และแตกต่างจากแบบอื่นอย่างไรบ้าง

 

 

 

เมื่อไหร่ที่ควรตรวจครรภ์

หากคุณเริ่มสงสัยว่าตนเองอาจจะตั้งครรภ์ สามารถสังเกตอาการเบื้องต้นก่อนได้ โดยยังไม่ต้องไปพบแพทย์ อาการที่สามารถพบได้มีดังนี้

 

  • ประจำเดือนขาด ถือได้ว่าเป็นสัญญาณเบื้องต้น หากปกติแล้วประจำเดือนมาอย่างสม่ำเสมอ แต่จู่ ๆ ขาดหายไปอาจบ่งบอกได้ว่าคุณกำลังตั้งครรภ์
  • คลื่นไส้และอาเจียน มักจะเกิดขึ้นหลังจากการปฏิสนธิประมาณ 1 เดือน แต่บางคนอาจจะตั้งครรภ์โดยไม่มีอาการแพ้ท้องเลยก็ได้
  • คัดเต้านม เกิดจากเลือดไปเลี้ยงบริเวณเต้านมมากขึ้นจนทำให้มีอาการบวม ตึง และยังมีความไวต่อความรู้สึกคล้ายช่วงมีประจำเดือน
  • ปัสสาวะบ่อย เพราะร่างกายผลิตเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ มากขึ้นจึงทำให้ไตขับของเสียออกจากร่างกายมากขึ้นด้วย
  • ท้องผูก เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลง รวมถึงเกิดจากการขยายตัวของมดลูกทำให้ไปกดทับลำไส้
  • อารมณ์แปรปรวน จะมีอาการโกรธ หรือหงุดหงิดง่าย เนื่องจากร่างกายกำลังปรับตัวเข้าสู่สมดุล

 

ที่ตรวจครรภ์แบบหยดใช้อย่างไร ต่างกับแบบอื่นอย่างไร?

 

 

เมื่อสังเกตแล้วว่า มีอาการเข้าข่ายตามนี้ โดยเฉพาะประจำเดือนไม่มาเหมือนปกติ สิ่งต่อไปที่ควรจะต้องทำ ก็คือ ซื้อที่ตรวจครรภ์มาทำการตรวจด้วยตนเอง สำหรับการตรวจด้วยที่ตรวจครรภ์ โดยปกติแล้ว ควรจะรอให้เลยวันที่รอบเดือนมาเสียก่อน อย่างน้อยต้องทิ้งช่วงประมาณ 7 วัน

 

เพราะบางครั้ง การที่ประจำเดือนมาเลทจากปกติ อาจจะเกิดจากความเครียด ความวิตกกังวล ที่เกิดขึ้นจากการทำงาน หรือชีวิตประจำวัน จนส่งผลให้ประจำเดือนมาช้ากว่าปกติได้ แต่ถ้าหากรอจนครบ 7 วันแล้ว ประจำเดือนก็ยังไม่มา ก็ให้รีบไปซื้อเครื่องตรวจครรภ์มาเช็คได้เลยจ้า

 

หากผลตรวจออกมาเป็น 2 ขีด นั่นแสดงว่า คุณกำลังตั้งครรภ์อยู่ แต่ถ้าตรวจแล้วเครื่องตรวจขึ้นเพียงขีดเดียว ก็ให้รอดูอีก 1 สัปดาห์ ว่าประจำเดือนจะมาหรือไม่ หากยังไม่มา ให้ตรวจซ้ำอีกรอบหนึ่ง หากผลยังคงเป็นลบอยู่ นั่นอาจจะหมายถึง มีความผิดปกติในร่างกาย คุณควรจะไปปรึกษาแพทย์แล้วล่ะค่ะ

 

 

 

เครื่องตรวจครรภ์ มีแบบไหนบ้าง

 

  • แบบตลับ หรือแบบหยด (Pregnacy Test Cassette)

จะประกอบไปด้วย ตลับทดสอบการตั้งครรภ์ ถ้วยตวงปัสสาวะ และหลอดหยดสำหรับดูดน้ำปัสสาวะ   วิธีใช้

  1. ให้เก็บน้ำปัสสาวะลงในถ้วยตวง แล้วนำหลอดสำหรับหยด มาดูดน้ำปัสสาวะเข้าไปในปริมาณที่พอเหมาะ แล้วจึงหยดน้ำปัสสาวะ ลงบนตลับทดสอบ
  2. ควรที่จะวางตลับ หรือเจ้าเครื่องนั้นลงบนพื้นราบ แล้วจึงหยดน้ำปัสสาวะลงไป ประมาณ 3 - 4 หยด (ไม่ควรจะหยดมากจนเกินไป)
  3. ให้วางชุดทดสอบทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที หลังจากหยดปัสสาวะลงไป แล้วจึงค่อยอ่านผลทดสอบ
  ข้อดีของเครื่องตรวจแบบตลับ หรือ แบบหยด
  1. สามารถช่วยลดโอกาสที่แผ่นทดสอบจะเสื่อมสภาพ
  2. ประหยัดค่าใช้จ่าย
  3. ให้ผลทดสอบที่แม่นยำ

 

ที่ตรวจครรภ์แบบหยดใช้อย่างไร ต่างกับแบบอื่นอย่างไร?

 

 

  • แบบแถบจุ่ม (Test Strip)

ในชุดจะประกอบไปด้วย แผ่นทดสอบการตั้งครรภ์ และถ้วยตวงปัสสาวะ โดยวิธีการตรวจก็จะไม่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก   วิธีใช้

  1. ให้เก็บน้ำปัสสาวะลงในถ้วยตวงที่มีมากับผลิตภัณฑ์
  2. นำแผ่นทดสอบการตั้งครรภ์ โดยใช้ด้านที่มีลูกศรชี้ลง จุ่มลงไปในน้ำปัสสาวะ
  3. รอผลประมาณ 3 - 5 วินาที โดยควรจะระวัง ไม่ให้จุ่มน้ำปัสสาวะในถ้วยตวงจนเลยขีดที่กำหนด หรือสูงเกินขีดลูกศรในแผ่นทดสอบ
  4. นำแผ่นทดสอบออกจากน้ำปัสสาวะ แล้วรอผลประมาณ 3 - 5 นาที (ซึ่งในความเป็นจริง ควรรอให้ครบ 5 นาที เพื่อให้แน่ใจว่าชุดทดสอบจะแสดงผลออกมาได้อย่างถูกต้อง
  ข้อดีของที่ทดสอบการตั้งครรภ์แบบจุ่ม คือ
  • อุปกรณ์ในการตรวจมีน้อย ใช้ง่าย ไม่ซับซ้อน
  • เครื่องตรวจประเภทนี้ จะมีราคาถูก กว่าแบบอื่น ๆ
  ข้อควรระวัง 
  • ไม่ควรจุ่มแผ่นทดสอบลงในปัสสาวะเกินขีดที่กำหนดเอาไว้ เพราะจะทำให้แผ่นทดสอบเกินการเสื่อมสภาพ ซึ่งจะส่งผลให้ผลที่ได้ไม่เที่ยงตรง

 

บทความจากพันธมิตร
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ

 

 

 

  • แบบปัสสาวะผ่าน (Pregnancy Midstream Tests) หรือปากกา

ในชุดจะมีแค่แท่งทดสอบการตั้งครรภ์ โดยแท่งทดสอบจะมีฝาปิดเพื่อรักษาสภาพเครื่องตรวจ   วิธีใช้

  1. เริ่มจากการถอดฝาครอบออก
  2. ถือแท่งทดสอบให้หัวลูกศรลง
  3. ปัสสาวะให้ไหลผ่านบริเวณที่ดูดซับน้ำปัสสาวะ ให้อยู่บริเวณต่ำกว่าลูกศรให้ชุ่มประมาณ 5 วินาที
  4. ถือแท่งทอสอบการตั้งครรภ์ไว้ในแนวราบ
  5. รออ่านผลได้ตั้งแต่ 30 วินาทีเป็นต้นไป
  ข้อดี
  • ที่ตรวจครรภ์ชนิดนี้ใช้งานได้สะดวกมากกว่าชนิดอื่น เพราะไม่ต้องเก็บน้ำปัสสาวะในถ้วย
  • ช่วยลดขั้นตอนในการทดสอบได้
  ข้อเสีย
  • ราคาสูงว่าชุดทดสอบการตั้งครรภ์ประเภทอื่น

 

 

ที่ตรวจครรภ์แบบหยดใช้อย่างไร ต่างกับแบบอื่นอย่างไร?

 

 

  • แบบดิจิตอล (Digital Pregnancy Tests)

ในชุดการตรวจแบบดิจิตอล จะมีแท่งตรวจการตั้งครรภ์มาให้ เหมือนกันกับเครื่องตรวจแบบปัสสาวะผ่าน แต่แสดงผลออกมาในลักษณะของตัวเลข   วิธีใช้

  1. เริ่มจากการถอดฝาครอบออก
  2. ถือแท่งทดสอบให้หัวลูกศรลง
  3. ปัสสาวะให้ไหลผ่านบริเวณที่ดูดซับน้ำปัสสาวะ ให้อยู่บริเวณต่ำกว่าลูกศรให้ชุ่มประมาณ 5 วินาที
  4. ถือแท่งทอสอบการตั้งครรภ์ไว้ในแนวราบ
  5. รออ่านผลได้ตั้งแต่ 3 วินาทีเป็นต้นไป
  ข้อดี
  • สามารถทราบผลได้เร็ว และแม่นยำมากกว่าชนิดอื่น
  • แสดงผลแบบจอดิจิตอล
  ข้อเสีย
  • มีราคาสูงกว่าเครื่องทดสอบการตั้งครรภ์ประเภทอื่น ๆ ค่อนข้างมาก

 

 

 

วิธีอ่านผลที่ตรวจครรภ์

โดยปกติแล้ว ในกล่องของชุดทดสอบการตั้งครรภ์ จะมีวิธีการใช้งาน และวิธีการอ่านค่า พร้อมกับแนบรูปภาพตัวอย่างมาให้ ซึ่งส่วนมากการอ่านผลที่ให้ความแม่นยำจะต้องอ่านภายใน 5 นาที หากทิ้งไว้นานกว่านั้นอาจทำให้มีอีกขีดเกิดขึ้นมาได้ และอาจจะไม่ใช้การตั้งครรภ์ หรือเป็นค่าที่เชื่อถือไม่ได้แล้ว ขีด C คือ Control Line ส่วนขีด T คือ Test Line สำหรับรายละเอียดของการตรวจจะมีดังนี้

 

  • ตรวจแล้วขึ้น 1 ขีด โดยขีดจะขึ้นที่ C เพียงอย่างเดียว ได้ผลแปลว่า น่าจะไม่ตั้งครรภ์ หมายความว่า ไม่ตั้งครรภ์ หรืออาจจะตั้งครรภ์แต่ยังตรวจไม่พบ
  • ตรวจแล้วขึ้น 2 ขีด หรือขึ้นเป็น 2 ขีดจางๆ โดยขีดจะขึ้นที่ C และ T คือ ได้ผลบวก แปลว่า น่าจะมีการตั้งครรภ์ หากขีดขึ้นที่ T จางๆ แนะนำว่าให้รออีกสักประมาณ 2 - 3 วันแล้วตรวจใหม่ และใช้เป็นชุดตรวจของยี่ห้อใหม่ก็น่าจะดีมาก
  • ตรวจแล้วไม่ขึ้นแถบสี หรือไม่ขึ้นสักขีด หรือขึ้น 1 ขีดบนตัว T คือ อ่านค่าไม่ได้ แปลว่า ‘ชุดทดสอบการตั้งครรภ์เสีย’ อาจเกิดความผิดพลาดในขั้นตอนของการผลิต , การเก็บไม่ถูกวิธี , การใช้ปัสสาวะเก่า หรือชุดทดสอบหมดอายุ ถ้าตรวจแล้วผลที่แสดงไม่ขึ้นสักขีดก็เท่ากับว่าการตรวจในครั้งนั้นใช้ไม่ได้ จะต้องทำการตรวจใหม่อีกครั้ง

 

ที่ตรวจครรภ์แบบหยดใช้อย่างไร ต่างกับแบบอื่นอย่างไร?

 

 

คำแนะนำในการตรวจครรภ์ด้วยตัวเอง

 

  • ก่อนใช้อุปกรณ์ตรวจครรภ์ควรรอให้เลยรอบเดือนประมาณ 7 วัน เพราะที่ประจำเดือนมาช้ากว่าปกติอาจจะเกิดจากความเครียด และความวิตกกังวล
  • ควรอ่านรายละเอียดขั้นตอนการใช้อย่างละเอียด และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อผลทดสอบที่ถูกต้อง
  • ควรตรวจอย่างน้อย 2 ครั้งเพราะปริมาณฮอร์โมน HCG จะมีระดับที่แตกต่างกัน หากตรวจหลายครั้งจะได้ผลลัพธ์ที่แน่นอนกว่า โดยเว้นระยะทดสอบประมาณ 2 - 3 วัน
  • ควรตรวจหลังตื่นนอนตอนเช้า หรือก่อนรับประทานอาหารเพราะจะไม่มีสารเจือปนในปัสสาวะซึ่งอาจจะส่งผลให้ผลการตรวจคลาดเคลื่อนได้
  • เมื่อฉีกซองแล้วควรรีบตรวจภายใน 1 ชั่วโมงทันทีเพราะหากทิ้งไว้นานจะทำให้ประสิทธิภาพในการตรวจลดลง

 

อย่างไรก็ตามการตรวจครรภ์ด้วยวิธีนี้จะไม่สามารถให้ผลได้ 100 % และควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจการตั้งครรภ์ที่แม่นยำกว่า โดยนอกจากวิธีดังกล่าวแล้วยังมีรูปแบบการตรวจครรภ์ด้วยวิธีอื่นด้วย คือการรับการตรวจครรภ์จากแพทย์ด้วยวิธีต่าง ๆ เพื่อให้ได้รับผลลัพธ์ที่แม่นยำมากขึ้น

 

 

ที่มา : medthai , petcharavejhospital

 

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ที่ตรวจครรภ์แบบจุ่ม ควรใช้อย่างไร ต่างกับแบบอื่นอย่างไร

อาการก่อนรู้ว่าท้องเป็นอย่างไร

เช็คอาการคนท้อง ก่อนตรวจตั้งครรภ์ อาการก่อนตั้งครรภ์เป็นยังไงมาดูกัน!

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Arunsri Karnmana

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ที่ตรวจครรภ์แบบหยดใช้อย่างไร ต่างกับแบบอื่นอย่างไร?
แชร์ :
  • ที่ตรวจครรภ์แบบจุ่ม ควรใช้อย่างไร ต่างกับแบบอื่นอย่างไร

    ที่ตรวจครรภ์แบบจุ่ม ควรใช้อย่างไร ต่างกับแบบอื่นอย่างไร

  • อาการก่อนรู้ว่าท้องเป็นอย่างไร

    อาการก่อนรู้ว่าท้องเป็นอย่างไร

  • แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

    แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

  • 43 ชื่อลูกจากแร่ธาตุ ตั้งชื่อลูกน่ารัก ๆ จากแร่ธาตุต่าง ๆ น่ารักไม่ซ้ำใคร

    43 ชื่อลูกจากแร่ธาตุ ตั้งชื่อลูกน่ารัก ๆ จากแร่ธาตุต่าง ๆ น่ารักไม่ซ้ำใคร

app info
get app banner
  • ที่ตรวจครรภ์แบบจุ่ม ควรใช้อย่างไร ต่างกับแบบอื่นอย่างไร

    ที่ตรวจครรภ์แบบจุ่ม ควรใช้อย่างไร ต่างกับแบบอื่นอย่างไร

  • อาการก่อนรู้ว่าท้องเป็นอย่างไร

    อาการก่อนรู้ว่าท้องเป็นอย่างไร

  • แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

    แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

  • 43 ชื่อลูกจากแร่ธาตุ ตั้งชื่อลูกน่ารัก ๆ จากแร่ธาตุต่าง ๆ น่ารักไม่ซ้ำใคร

    43 ชื่อลูกจากแร่ธาตุ ตั้งชื่อลูกน่ารัก ๆ จากแร่ธาตุต่าง ๆ น่ารักไม่ซ้ำใคร

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ