X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทำไม การรับประทานยา จึง มีผลต่อลูกในท้อง 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 74

บทความ 5 นาที
ทำไม การรับประทานยา จึง มีผลต่อลูกในท้อง 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 74

สำหรับ การรับประทานยา ในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ อาจจะ มีผลต่อลูกในท้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วง 3 เดือนแรก ของการตั้งครรภ์ใหม่ ๆ ทารกในครรภ์จะมีการเจริญเติบโต และสร้างอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ถ้ามีสาร หรือยาบางชนิดไปกระทบกระเทือน ต่อการแบ่งเซลล์ จะทำให้ อวัยวะนั้นมีความผิดปกติ หรือหยุดเจริญเติบโต ซึ่งจะผิดปกติมาก หรือน้อยขึ้นอยู่กับระยะ ของการตั้งครรภ์ และปริมาณสารที่ได้รับ การรับประทานยา ก็เช่นเดียวกัน หากใช้ยาไม่เหมาะสม หรือไม่รู้ทัน ก็จะ มีผลต่อลูกในท้อง ได้

ทำไม การรับประทานยา จึง มีผลต่อลูกในท้อง 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 74

  1. ยาปฏิชีวนะ และยาแก้อักเสบ ยาเตตราชัยคลิน มีผลต่อการสร้างกระดูกและฟันของลูกในครรภ์ / ยาซัลฟา อาจทำให้ทารกคลอดออกมาแล้วตัวเหลือง / ยาเพนนิซิลินและแอมพิซิลิน เป็นยาที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับหญิงมีครรภ์ ยกเว้นผู้ที่แพ้ยาเท่านั้น / ยาแก้อักเสบ มักจะเป็นยาที่หาซื้อมาทานเองบ่อยมาก และมักจะใช้ไม่ถูกวิธี จึงทำให้ดื้อยา ฉะนั้นไม่ควรใช้ยาเอง หากใช้ในหญิงทั้งที่ตั้งครรภ์หรือไม่ อาจทำให้ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อรา มีอาการตกขาวและคันในช่องคลอดมากได้

  2. ยาแก้ปวดลดไข้ ยาแอสไพริน หากทานเมื่อใกล้คลอด อาจไปยับยั้งการทำงานของเกร็ดเลือดสำหรับทารกตั้งครรภ์ ทำให้เลือดไหลไม่หยุดได้ / ยาพาราเซตามอล เป็นยาที่ใช้ได้ปลอดภัยในผู้หญิงตั้งครรภ์ แต่ต้องอยู่ในความควบคุมจากแพทย์ / คุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นไมเกรน ให้หลีกเลี่ยงยาแก้ปวดศีรษะกลุ่มเออโกตามีน เพราะทำให้มดลูกบีบตัว จนอาจแท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้

  3. ยาแก้คัน แก้แพ้ ยาคลอเฟนิรามีน หากมีการใช้ติดต่อกันนานๆ จะทำให้เกล็ดเลือดต่ำ ลูกที่เกิดมาอาจจะมีเลือดไหลผิดปกติ

  4. ยานอนหลับและยากล่อมประสาท ควรใช้ตามที่แพทย์สั่ง หากใช้ในปริมาณมาก ลูกที่เกิดมาอาจหายใจไม่ดี เคลื่อนไหวช้า และชักกระตุกได้

  5. ยารักษาเบาหวาน หากเป็นชนิดฉีดอินซูลินสามารถใช้ได้ ไม่มีอันตราย แต่ถ้าเป็นชนิดรับประทานอาจจะทำให้น้ำตาในเลือดของทารกต่ำได้

  6. ยากันชัก อาจทำให้เกิดความพิการในทารกได้ โดยมีใบหน้าผิดปกติ

  7. ยาแก้ไอ ไม่แนะนำให้ใช้ยาชนิดที่ไม่มีไอโอดีน เพราะอาจทำให้ทารกเกิดอาการคอพอก และมีอาการผิดปกติทางสมองได้

  8. ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร  ยาชนิดนี้มีส่วนผสมของแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์มาก อาจทำให้คุณแม่ท้องเสีย และอาจเป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์ได้

  9. ยาแก้อาเจียนหรือยาแก้แพ้ท้อง ควรให้หมอเป็นผู้สั่งยา อย่าซื้อทานเองเด็ดขาด

เป็นหวัดตอนท้องกินยาอะไร

Advertisement

การใช้ยาเป็นเรื่องที่สำคัญมาก สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์โปรดระลึกไว้เสมอเลยว่าไม่ควรซื้อยาทานเองเด็ดขาด
ถ้าจำเป็นจริงๆ ให้ไปพบแพทย์ ย้ำว่า “ใช้ยาอย่างระมัดระวังเพื่อสุขภาพของตัวเองและลูกน้อยในครรภ์”

 

แม้รกจะทำหน้าที่กลั่นกรองของเสียก่อนที่จะผ่านไปสู่ลูกน้อย แต่ยาบางชนิดอาจมีผลต่อพัฒนาการทารกในครรภ์ได้ โดยเฉพาะในช่วงตั้งครรภ์อ่อน ๆ เพราะในระยะนี้ ยา หรือสารบางชนิดอาจส่งผลต่อการแบ่งเซลล์ของตัวอ่อน ทำให้อวัยวะต่าง ๆ เจริญผิดปกติ หรือหยุดเจริญเติบโตได้ ซึ่งความผิดปกติที่เกิดขึ้นจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับปริมาณยา หรือสารที่ได้รับเข้าไป

ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง หากมีปัญหาเจ็บป่วยขึ้น ถ้าอาการไม่หนักนัก ก็ให้รักษาด้วยวิธีธรรมชาติจะดีกว่า แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ยาจริงๆ ควรปฏิบัติดังนี้

  1. ปรึกษาสูติแพทย์ ถึงอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น
  2. บอกแพทย์ที่จ่ายยาให้ว่า กำลังตั้งครรภ์อยู่
  3. ใช้ยาให้น้อยที่สุด และได้ประโยชน์สูงสุด 
  4. ใช้ยาตามคำแนะนำจากแพทย์ หรือฉลากยาที่แจ้งไว้ว่าจะใช้เวลาใด มากน้อยเท่าไร

ข้อที่ควรจะคำนึงถึง ยาที่มีผลต่อการพัฒนาของอวัยวะหากคนท้องได้รับยาในช่วงที่มีการพัฒนาของอวัยวะคือประมาณสัปดาห์ที่ 2 – 8 ดังนั้นหากได้รับยาในช่วงดังกล่าวจะเพิ่มความเสี่ยงต่ออวัยวะพิการ

คุมกำเนิด ผู้หญิง

ยาที่อาจจะทำให้เกิดทารกพิการ

  1. ยารักษาความดันโลหิตกลุ่ม ACE (angiotensin converting enzyme)
  2. ยารักษาความดันโลหิตกลุ่ม angiotensin II antagonist
  3. ยารักษาสิว Isotretinoin (an acne drug)
  4. alcohol
  5. cocaine
  6. vitamin A ในขนาดสูง
  7. lithium
  8. ฮอร์โมนเพศชาย
  9. ยาปฏิชีวนะบางชนิด
  10. ยากันชักบางชนิด
  11. ยารักษามะเร็งบางชนิด
  12. ยารักาาข้ออักเสบบางชนิด
  13. ยารักษาไทรอยด์บางชนิด
  14. Thalidomide
  15. ยาละลายลิ่มเลือด warfarin
  16. ยา diethylstilbestrol (DES).

ยาต้องห้าม !
– แอสไพริน  ถ้ากินในระยะใกล้คลอด อาจทำให้ทารกที่เกิดมามีเลือดออกง่าย

– ยาแก้อักเสบ (ที่ไม่ใช่สตอรอยด์)  ทำให้ทารกเลือดออกง่าย

เตตราซัยคลิน  ถ้าใช้ในระยะ ตั้งครรภ์ ไตรมาสที่ 2 – 3 อาจทำให้ทารกฟันเหลือง ดำ กระดูกเจริญเติบโตผิดปกติ สมองผิดปกติ

สเตรปโตมัยซิน คาน่ามัยซิน  ถ้าใช้นานๆ อาจทำให้ทารกหูพิการได้

นอกจากนี้แล้ว ยังมียาอีกหลายชนิด ที่อาจมีฤทธิ์เป็นอันตรายต่อพัฒนาการทารกในครรภ์ได้ ซึ่งเป็นเรื่องยากที่เราจะรู้ว่ายาอะไร มีผลต่อลูกน้อยในครรภ์อย่างไรบ้าง ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุด คือ การปรึกษาคุณหมอทุกครั้งก่อนที่คุณจะใช้ยา และใช้ยากรณีที่จำเป็นที่สุด

 

ที่มา :

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
  1. https://med.mahidol.ac.th/obgyn/th/article/05082014-1142-th
  2. https://medthai.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8
  3. https://www.siamhealth.net/public_html/mother_child/Pregnancy/medication.html

บทความน่าสนใจ :

  1. การทานยาเลื่อนประจำเดือน
  2. คนท้องกินยาอะไรได้บ้าง ป่วยแล้วต้องทำยังไง กินยาอะไรไม่ให้กระทบลูกในท้อง

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

ammy

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ทำไม การรับประทานยา จึง มีผลต่อลูกในท้อง 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 74
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว