X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ความเชื่อที่อาจไม่เคยรู้ ทำไมโบราณถึงต้องเก็บสายสะดือลูก

บทความ 3 นาที
ความเชื่อที่อาจไม่เคยรู้ ทำไมโบราณถึงต้องเก็บสายสะดือลูก

การเก็บสายสะดือของเด็กแรกเกิดหลังที่แห้งหลุดออกมาแล้วนั้น เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่คนสมัยก่อนได้ให้ความสำคัญมาก เกี่ยวกับความเชื่อนี้ หมอกวี ทัศนศร หมอนวดแผนไทยและหมอพื้นบ้านผู้มีความรู้เกี่ยวกับการทำคลอด ที่ได้บอกกล่าวผ่านเว็บไซต์ manager.co.th ว่ากันด้วยความเชื่อการเก็บสายสะดือของทารกของคนสมัยโบราณที่พ่อแม่มักเก็บนำไปทำยา ด้วยการนำไปตากแห้งก่อน นำมาฝนให้ลูกกินแก้อาการเจ็บป่วย โดยมีเงื่อนไขว่า เด็กคนนั้นต้องเป็นเจ้าของสะดือของตนเองเท่านั้น!

 

ทำไมต้องเก็บสายสะดือลูก

 

ทำไมต้องเก็บสายสะดือลูก

ในแต่ละภาคของไทยได้มีความเชื่อเรื่องสายสะดือแตกต่างกัน

ความเชื่อเรื่องการเก็บสายสะดือของทารกภาคเหนือ

โดยชาวล้านนามีความเชื่อกันว่า สายสะดือของเด็กทารกนั้น ถือเป็นสายสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับพ่อแม่ ญาติพี่น้อง จึงต้องเก็บไว้เป็นอย่างดี ด้วยการทำให้แห้งสนิท แล้วห่อกระดาษเก็บเอาไว้ และเมื่อมีพี่น้องคลอดกันตามออกมา แม่จะเอาสะดือของทั้งคู่หรือของลูกทุกคนมาฝนกับหินฝนยา แล้วเอาน้ำสะดือนั้นให้ลูกทุกคนได้กิน โดยเชื่อกันว่า พี่น้องจะได้รักและห่วงใยกัน ดังคำสอนของชาวล้านนาที่ว่า “ปี้น้องกันกกไส้ปั๋นกั๋น หื้อฮักกั๋น” ซึ่งหมายความว่า พี่น้องตัดไส้แบ่งกันจะได้รักกันนั่นเอง

Advertisement

 

ความเชื่อเรื่องการเก็บสายสะดือของทารกภาคใต้

สำหรับภาคใต้นั้น หมอจะตัดสายสะดือของทารกด้วยไม้ไผ่บาง ๆ และผูกด้วยด้ายดิบแบ่งเป็นสองหรือสามเปลาะ และตัดเอาสายสะดือเปลาะที่สองนับจากตัวเด็กไปวางลงบนขมิ้น จากนั้นนำไปทาปากและมือของตัวเด็ก เป็นการถือเคล็ดป้องกันไม่ให้เด็กปากไม่ดี มือบอน มือไว หรือซุกซน และเอาเชือกนำกลับมาผูกสายสะดือส่วนที่ติดกับตัวเด็กอีกครั้งแล้วเอายาทา โดยยาที่ใช้ทา คือ ยาพลับพลา ขี้เต่า หญ้าใต้ใบ หรือรัง เป็นต้น ซึ่งใช้วิธีบดโรยบนสะดือทิ้งไว้ราว 7 วัน สะดือเด็กก็จะหลุด แต่ก่อนที่สะดือเด็กจะหลุดนั้น ต้องอาบน้ำให้เด็กนอกอ่าง เพราะเชื่อว่าถ้าสะดือหลุดในอ่างภายหน้าเด็กจะเสียชีวิตในน้ำได้

 

ทำไมต้องเก็บสายสะดือลูก

 

ส่วนความเชื่อเรื่องของสายสะดือนี้ที่ผู้เฒ่าผู้แก่ในสมัยก่อนมักจะเก็บสายสะดือแห้งมาไว้เป็นน้ำกระสายยา เวลามีใครป่วยหนักกินยาอะไรไม่ทุเลา ก็จะนำสายสะดือแห้งมาฝนเป็นน้ำกระสายแทรกไปกับยาอื่น นอกจากนี้ยังใช้สายสะดือแห้งฝนกับน้ำมะนาว ทาแก้พิษแมลงอะไรต่อยได้ด้วย

ไม่เฉพาะความเชื่อเรื่องเก็บสายสะดือทารกจะมีแค่ในประเทศเท่านั้น ยังมีความเชื่อที่เราพบจากที่อื่นอีก เช่น

  • หมอตำแยในกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี จะมอบสายสะดือของทารกให้กับพ่อเด็กเก็บรักษาไว้ให้ดีตราบนานเท่านาน เพื่อลูกจะได้มีความเจริญปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ
  • ความเชื่อของชาวอังกฤษราวร้อยปีเศษที่ผ่านมาถือว่า สะดือทารกเป็นของขลังเมื่อต้องล่องเรือไปกลางทะเล เพราะเชื่อว่าจะช่วยไม้ให้เรืออับปาง ทั้งยังเป็นเครื่องรางให้แก่ผู้ครอบครองได้ เช่น เวลาตกน้ำถ้ามีสายสะดือติดตัวไว้ แม้ว่ายน้ำไม่เป็นก็จะไม่จมน้ำตาย จนึงขนาดต้องมีการประกาศขอซื้อสายสะดือแห้งกันบ่อยๆ เลยทีเดียว
  • ความเชื่อของการนำสายสะดือแห้งของทารกมาผูกห้อยคอเป็นเครื่องรางให้ลูกของเกาะเซรัม และเกาะอื่นๆ ทางทะเลใต้ ตลอดจนชาวออสเตรเลีย โดยเชื่อว่าจะป้องกันโรคภัยไข้เจ็บของลูกได้ หรือถ้าเจ็บป่วยก็จะใช้สายสะดือเป็นยารักษาโรค และทำให้เด็กเติบโตเร็ว ตลอดจนเป็นเครื่องรางป้องกันตัวเองให้พ้นภัยเมื่อต้องออกเดินทางหรือทำสงคราม
  • ในประเทศพม่ามีความเชื่อว่าหากนำสายสะดือทารกติดตัวไปด้วย จะทำให้ได้รับความเมตตาจากผู้อื่น
  • ชาวฮินดูลางถิ่น ใช้สายสะดือป่นกับไข่ให้เด็กกิน ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้ลูกมีสติปัญญาความฉลาด และถ้าบรรจุเย็บไว้ที่คอเสื้อผ้าของลูก จะทำให้ลูกเป็นคนเก่งกล้าสามารถ

เมื่อพิจารณาจากความเชื่อที่ต้องเก็บสายสะดือทารกนั้น เพราะคนสมัยโบราณได้ถือว่าสายสะดือคือส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของเด็ก ทารกในท้องแม่นั่นต้องศัยสายสะดือเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิต อย่างไรก็ดีตามหลักการแพทย์ปัจจุบันนั้นถือว่าสะดือของทารกเป็นส่วนสำคัญที่พ่อแม่จำเป็นต้องดูแลรักษาความสะอาดให้ดีที่สุด และควรระวังการติดเชื้อตราบเท่าที่สะดือของทารกยังไม่หลุด

ทั้งหมดนี้คุณหมอได้บอกว่าความเชื่อในการเก็บสายสะดือทารกนั้นเป็นความเชื่อส่วนบุคคล และปัจจุบันอาจจะมีน้อยลง เพราะพัฒนาการทางการแพทย์ที่มีความเจริญก้าวหน้าขึ้น

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

วิธีทำความสะอาดสะดือลูกน้อย สำหรับคุณแม่มือใหม่

สายสะดือพันคอทารกอันตรายถึงชีวิต

ธนาคารเลือดจากรก มีประโยชน์ต่อวงการการแพทย์อย่างไรบ้าง ?

ที่มา : mgronline

บทความจากพันธมิตร
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ความเชื่อที่อาจไม่เคยรู้ ทำไมโบราณถึงต้องเก็บสายสะดือลูก
แชร์ :
  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

  • 100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

    100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

  • 5 เพลงคลาสสิก พัฒนาสมองลูก พร้อมเคล็ดลับให้เพลงพัฒนาสมองลูก

    5 เพลงคลาสสิก พัฒนาสมองลูก พร้อมเคล็ดลับให้เพลงพัฒนาสมองลูก

  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

  • 100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

    100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

  • 5 เพลงคลาสสิก พัฒนาสมองลูก พร้อมเคล็ดลับให้เพลงพัฒนาสมองลูก

    5 เพลงคลาสสิก พัฒนาสมองลูก พร้อมเคล็ดลับให้เพลงพัฒนาสมองลูก

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว