X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกมี แก๊สในกระเพาะอาหารเยอะ ทำอย่างไรดี? อาหารอะไรที่ทำให้เกิดแก๊ส

บทความ 3 นาที
ลูกมี แก๊สในกระเพาะอาหารเยอะ ทำอย่างไรดี? อาหารอะไรที่ทำให้เกิดแก๊ส

พ่อแม่มือใหม่มักจะกังวลในเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับลูก เรื่องแก๊สในท้องลูกก็เหมือนกัน หากลูกคุณหรือเด็กเล็กที่ยังช่วยตัวเองไม่ได้มีแก๊สในกระเพาะอาหารเยอะคุณควรทำอย่างไรล่ะทีนี้

แก๊สในกระเพาะอาหารเยอะ ทุกคนย่อมมีแก๊สในกระเพาะอาหารอยู่แล้วรวมถึงลูกน้อยของคุณด้วยเช่นกัน แต่นี่ไม่ใช่สัญญาณของโรคร้ายที่คุณต้องระวัง อย่าไปคิดว่าเด็กตัวเล็ก ๆ อย่างนี้ไม่น่าจะท้องอืด ตด เรอ หรือร้องไห้ได้บ่อย จริง ๆ แล้วเด็กและผู้ใหญ่สามารถระบายแก๊สออกจากร่างกายได้ 14-23 ครั้งต่อวันเลยค่ะ

 

สาเหตุของการเกิดแก๊ส แก๊สในกระเพาะ มีแก๊สในท้องเกิดจาก อะไร?

  • มีอากาศในท้องเยอะ
  • อาหารไม่ย่อย

เมื่อทารกร้องไห้มาก เขาก็มีโอกาสที่จะกลืนอากาศเข้าไปในท้องมากขึ้น เลยทำให้ร่างกายหาวิธีกำจัดอากาศหรือแก๊สออกค่อนข้างลำบาก ดังนั้นหากลูกของคุณยิ้มร่าเริงและเป็นเด็กอารมณ์ดีทั้งวัน แต่หงุดหงิดเวลาท้องอืดและต้องการระบายแก๊สออกล่ะก็ ไม่ต้องเป็นห่วงหรอกค่ะ เพราะนี่นับว่าเป็นเรื่องปกติ เพียงแต่อย่างเข้าใจผิดคิดว่าลูกเป็นโคลิคก็พอ

 

ทำอย่างไรเมื่อลูกมีแก๊สในกระเพาะอาหารเยอะ

  • ให้ลูกกินนมในท่าที่เหมาะสม เมื่อคุณให้ลูกกินนมจากขวด คุณควรให้ศีรษะของลูกอยู่สูงกว่าส่วนท้องเพื่อให้นมอยู่ในกระเพาะส่วนล่าง และอากาศอยู่ในกระเพาะส่วนบน เวลาอุ้มลูกเรอจะได้ไล่อากาศออกได้ง่ายขึ้น ควรเหลือนมก้นขวดเล็กน้อยเพื่อให้ลูกไม่ดูดอากาศเข้าไปมากขึ้น
  • เปลี่ยนจุกนม ขนาดของจุกนมก็สำคัญเช่นกัน หากจุกนมไหลออกมามากจะทำให้นมหมดเร็วและลูกดูดอากาศเข้าไปมากขึ้น ดังนั้นการใช้จุกนมที่ไหลช้าจะช่วยให้ลูกใช้เวลาในการดูดนมนานขึ้นกว่านมจะหมดและลดปริมาณอากาศเข้ามาแทนที่
  • อุ้มลูกเรอ วิธีอุ้มลูกเรอมีมากมายหลายวิธี แต่วิธีที่ดีที่สุดคือ “ท่าถือลูกบอล” ท่านี้ลูกจะนอนคว่ำอยู่ที่แขนของคุณ คางอยู่ที่มือ แล้วค่อย ๆ ตบหลังเบา ๆ เพื่อไล่อากาศ เนื่องจากคุณกดช่วงบริเวณท้องเลยเป็นการช่วยไล่แก๊สในกระเพาะออกมา
  • ให้เวลาเรอกับลูกสักหน่อย หากลูกไม่เรอทันทีที่คุณอุ้มลูกเรอ ก็ลองให้ลูกนอนพักสัก 5-10 นาทีก่อนจะลองอุ้มลูกเรออีกครั้งหนึ่ง วิธีนี้เป็นการช่วยให้นมและอากาศแยกตัวออกจากกันในกระเพาะนั่นเอง
  • ให้ลูกทำท่าปั่นจักรยานอากาศ ให้ลูกนอนหงายและคุณจับขาลูกทำท่าปั่นจักรยานอากาศ วิธีนี้ก็สามารถช่วยไล่แก๊สออกมากจากกระเพาะอาหารได้เช่นกัน
  • ให้ลูกนอนคว่ำเพื่อเล่นของเล่น ในระหว่างวันให้ลูกนอนคว่ำเล่นของเล่นชิ้นโปรด ถีบขาไปมาก็ช่วยให้ลูกระบายแก๊สได้มากขึ้นอีกวิธีหนึ่งค่ะ
  • กริปวอเตอร์ คุณสามารถซื้อกริปวอเตอร์ตามร้านขายยาเพื่อช่วยบรรเทาอากาศแก๊สในกระเพาะของลูก แม้ว่าผู้ใหญ่รุ่น ๆ ก่อน ๆ จะใช้กริปวอร์เตอร์แก้ปัญหานี้ แต่ยังไม่มีผลการวิจัยรองรับว่าได้ผลมากน้อยขนาดไหน ส่วนผสมในกริปวอร์เตอร์มีแค่ผักชีฝอยและน้ำเท่านั้นไม่เป็นอันตรายกับเด็กหากรับประทานตามคำแนะนำ

 ทำอย่างไร, แก๊สในกระเพาะอาหาร

แก๊สจากอาหาร

อาหารบางประเภทก็ก่อให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารได้เช่นกัน พ่อแม่บางคนให้ลูกกินน้ำผลไม้ แต่ในน้ำผลไม้ก็มีซอร์บิทอลหรือน้ำตาลแอลกอฮอล์ที่ร่างกายของลูกไม่สามารถดูดซึมได้

อาหารบางประเภทที่คุณกินเข้าไปก็สามารถส่งผ่านทางน้ำนมได้เช่นกัน อย่างถั่วต่าง ๆ ผักที่มีแก๊สเยอะอย่างบล็อกโคลี กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี อาหารประเภทนมเนย เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนอย่าง ชา กาแฟ ช็อคโกแลต แต่ก่อนที่คุณจะเปลี่ยนอาหารที่คุณกินก็ควรปรึกษาปัญหานี้กับคุณหมอก่อนนะคะ เพื่อให้คุณและลูกได้รับโภชนาการทางอาหารอย่างครบถ้วน

แต่บางครั้งแก๊สในกระเพาะอาหารก็อาจเป็นสัญญาณของโรคระบบทางเดินอาหารได้เช่นกัน ส่วนอาการกรดไหลย้อนบางครั้งก็อาจจะไม่เกี่ยวกับการอาเจียนเสมอไป อาจจะเป็นจากแก๊สในกระเพาะก็เป็นได้ ดังนั้นคุณควรสังเกต

  • อุจจาระของลูก หากรูปแบบของอุจจาระลูกเปลี่ยนไปอาจจะเป็นท้องผูกหรือท้องเสีย อาจจะเป็นสัญญาณของโรคระบบทางเดินอาหารได้ เนื่องจากระบบการย่อยอาหารของลูกเปลี่ยนแปลงไป
  • อารมณ์ของลูก หากลูกอารมณ์ดีโดยทั่วไปแล้วก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าลูกไม่ยอมกินไม่ยอมนอน ปลอบและโอ๋เท่าไหร่ก็ไม่เงียบหรือไม่ดีขึ้น ก็อาจจะต้องลองพาไปหาคุณหมอเพื่อตรวจอาการต่าง ๆ ดู
  • สัญญาณอื่น ๆ อย่างไข้ขึ้น ถ่ายปนเลือด หรือมีอาการมากกว่ามีแก๊สในกระเพาะอาหารมากเกินไป

 

บทความที่น่าสนใจ :

วิธีระบายแก๊สในท้องทารก ลดอาการแน่นท้องของลูกได้ผล

อาการป่วยที่พบบ่อยในทารก

ทำไมเด็กแรกเกิดจึงอยากให้อุ้มอยู่ตลอด 24 ขั่วโมง

บทความจากพันธมิตร
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
จับตาสถานการณ์ ไข้เลือดออก ปี 2565 ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่เคยหายไป ภายใต้เงาครึ้มของโควิด - 19
จับตาสถานการณ์ ไข้เลือดออก ปี 2565 ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่เคยหายไป ภายใต้เงาครึ้มของโควิด - 19

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • ลูกมี แก๊สในกระเพาะอาหารเยอะ ทำอย่างไรดี? อาหารอะไรที่ทำให้เกิดแก๊ส
แชร์ :
  • ทำอย่างไรเมื่อลูกสอบตก

    ทำอย่างไรเมื่อลูกสอบตก

  • อาการอ้วกในเด็ก ทำอย่างไรเมื่อลูกอ้วก สาเหตุเกิดจากอะไร

    อาการอ้วกในเด็ก ทำอย่างไรเมื่อลูกอ้วก สาเหตุเกิดจากอะไร

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ทำอย่างไรเมื่อลูกสอบตก

    ทำอย่างไรเมื่อลูกสอบตก

  • อาการอ้วกในเด็ก ทำอย่างไรเมื่อลูกอ้วก สาเหตุเกิดจากอะไร

    อาการอ้วกในเด็ก ทำอย่างไรเมื่อลูกอ้วก สาเหตุเกิดจากอะไร

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ