X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทารกท้องผูก ทำอย่างไร ให้ทารกขับถ่ายเป็นปกติ ทารกไม่อุจจาระ ลูกอึไม่ออก

บทความ 5 นาที
ทารกท้องผูก ทำอย่างไร ให้ทารกขับถ่ายเป็นปกติ ทารกไม่อุจจาระ ลูกอึไม่ออกทารกท้องผูก ทำอย่างไร ให้ทารกขับถ่ายเป็นปกติ ทารกไม่อุจจาระ ลูกอึไม่ออก

ทารกท้องผูก ทารกไม่อุจจาระ ลูกไม่อึ วิธีแก้ทำอย่างไรถึงจะช่วยทารกถ่ายได้ มาเช็คกันดีกว่าจะช่วยทารกถ่ายได้อย่างไรให้เป็นปกติ

ทารกท้องผูก ทารกไม่อุจจาระ ทำอย่างไรดี เด็กวัยแรกเกิดบางคนอาจจะถ่ายวันละหลาย ๆ รอบ ในขณะที่เด็กบางคนไม่ถ่ายนาน 3 - 4 วัน หรือมากกว่านั้น การขับถ่ายปกติของทารกเป็นอย่างไร ทารกไม่ถ่ายนานแค่ไหน จึงจะเรียกว่าท้องผูก ทารกไม่อุจจาระ ทารกไม่ถ่าย ควรทำอย่างไร ?

 

สุขภาพ และการขับถ่ายของเด็กแรกเกิด

การดูแลสุขภาพของทารกแรกเกิด สิ่งหนึ่งที่สามารถประเมินได้ว่า สุขภาพของลูกน้อยสมบูรณ์ดี หรือมีความผิดปกติหรือไม่ นั่นก็คือ การสังเกตจากผ้าอ้อมของลูก ลูกปัสสาวะ หรืออุจจาระกี่ครั้งต่อวัน ของเสียที่ขับออกมาบนผ้าอ้อมมีสีอะไร เป็นปกติหรือไม่ ซึ่งความถี่ในการเปลี่ยนผ้าอ้อมก็สามารถบ่งชี้ถึงภาวะขาดน้ำ อาการท้องผูก สีของอุจจาระก็เป็นตัวชี้วัดโรค และความผิดปกติภายในของทารกได้ด้วย

ความถี่ในการขับถ่ายอุจจาระของทารกแรกเกิดในสัปดาห์แรกไม่มีความแน่นอน ขึ้นอยู่กับนมที่ทารกดื่มเข้าไป โดยทั่วไป เด็กทารกที่ดื่มนมแม่ จะมีการขยับตัวของลำไส้ที่มากกว่า ทำให้มีความถี่ในการขับถ่ายอุจจาระที่มากกว่าเด็กทารกที่ดื่มนมผง แต่เมื่อมีการเปลี่ยนจากการดื่มนมแม่ ไปเป็นนมผสม หรือนมผง ลักษณะของอุจจาระ ความถี่ในการขับถ่าย และเปลี่ยนผ้าอ้อมก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย

 

ทารก 1 เดือน

 

การขับถ่ายอุจจาระครั้งแรกของทารกแรกเกิด

การขับถ่ายครั้งแรกของทารกแรกเกิดจะมีดำ หรือเขียวเข้ม มีลักษณะเหนียวหนืดเหมือนดินน้ำมัน และไม่มีกลิ่น เกิดจากสสารที่ถูกย่อยระหว่างที่ทารกยังอยู่ในครรภ์ อุจจาระสีดำนี้ จะถูกขับถ่ายออกมาในช่วง 24 - 48 ชั่วโมงแรกของชีวิตทารก เรียกว่า ขี้เทา (Meconium) ไม่ว่าจะได้รับนมแม่หรือไม่ การขับถ่ายช่วง 1 - 3 วันแรก ก็จะเหมือนกัน โดยมีดำ หรือเขียวเข้มก่อน จากนั้นจึงค่อยขับถ่ายออกมาเป็นสีน้ำตาลอ่อน สีเหลือง หรือสีเขียวเหลือง ในช่วงประมาณวันที่ 4 หลังคลอด จากการที่ร่างกายมีการย่อยน้ำนม

 

ทารกไม่อุจจาระ ทารกไม่ถ่าย ได้กี่วัน

  • ทารกนมแม่ ปกติแล้ว ทารกที่กินนมแม่จะถ่ายหลายรอบต่อวัน อาจมากกว่า 3-4 ครั้งต่อวัน จนแม่เข้าใจผิดคิดว่าลูกท้องเสีย ลูกจะถ่ายบ่อยช่วงหลังคลอดใหม่ ๆ 2-3 สัปดาห์แรก หลังจากนั้น ทารกจะถ่ายน้อยลง บางคนไม่ถ่ายนานถึง 2 สัปดาห์ ก็ยังถือว่าเป็นเรื่องปกติ ส่วนลักษณะอึของทารกนมแม่ จะนิ่มและมีสีเหลือง
  • ทารกนมผง ทารกที่กินนมผสม อึจะแข็งกว่า และถ่ายไม่บ่อย 3-4 วัน ถ่ายที ลักษณะอึของทารกนมผง จะออกมาเป็นลำยาว ๆ นิ่ม และมีสีเขียวเทา

บทความที่เกี่ยวข้อง :  ทารกไม่ถ่าย ทำไงดี กี่วันถึงเรียกผิดปกติ 3 วัน 5 วัน หรือกี่สัปดาห์

 

ทารกไม่อุจจาระ ทารกไม่ถ่าย ลูกไม่ถ่ายแบบไหนเรียกท้องผูก

โดยปกติแล้ว เด็กทารกที่ยังกินนมแม่เพียงอย่างเดียว มักจะไม่มีปัญหาเรื่องท้องผูก แต่อาการท้องผูกอาจจะเกิดขึ้นได้ ในช่วงที่เริ่มเปลี่ยนไปทานอาหารเสริม ซึ่งอาการที่อาจจะบ่งบอกได้ว่าลูกท้องผูก นอกจากการที่ลูกไม่ถ่ายแล้ว เด็กบางคนอาจจะทำหน้าเหมือนเบ่งอุจจาระ แต่ไม่ถ่าย ทารกไม่อุจจาระ เด็กบางคนก็อาจจะร้องไห้ เหมือนเจ็บก้น และรู้สึกไม่สบายตัว อาการอื่น ๆ ที่บอกว่าทารกท้องผูก มีดังนี้

  • ลูกทำท่าเหมือนปวดท้อง ท้องอืด
  • ท้องแข็ง
  • มีเลือดออก ติดมากับก้อนอุจจาระ
  • อุจจาระเป็นก้อนแข็งมีลักษณะคล้ายกระสุน
  • ปวดท้อง แต่หายปวดหลังขับถ่าย

เหล่านี้เป็นสัญญาณว่า ลูกท้องผูก ต้องรีบพาไปหาคุณหมอ เพราะนี่คือ อาการท้องผูกในเด็ก

 

ทารก 1 เดือน ท้องผูก

 

ทารกท้องผูก ไม่ถ่ายหลายวัน แก้ไขอย่างไรดี

รศ.พญ.ประสบศรี อึ้งถาวร อาจารย์พิเศษ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แนะนำว่า หากทารกนมแม่อึน้อยลงเพราะนมไม่พอ จะรู้ได้จากการชั่งน้ำหนัก ถ้าน้ำหนักเคยเพิ่มเฉลี่ย 5 วัน 150 กรัม กลับเพิ่มไม่ถึง 100 กรัม ก็แสดงว่านมแม่ไม่พอลูกจึงท้องผูก เพราะเมื่อเด็กกินน้อยลง ก็จะถ่ายน้อยลงตามไปด้วย ส่วนเด็กที่ดูดนมผง ถ้าลูกกินนมครั้งละ 100 ซีซี. วันละ 7 ครั้ง นมที่ได้ถือว่าเพียงพอ หากลูกอายุต่ำกว่า 6 เดือน อย่าเพิ่งให้ดื่มน้ำ กินผลไม้ หรือสวนทวารทารก นะคะ ลองปรึกษาคุณหมอก่อน จะได้รักษาอาการท้องผูกของลูกได้อย่างตรงจุดที่สุด

 

1. ปรับการกินของ ทารกท้องผูก ทารกไม่ถ่าย

ทารก 6 เดือนขึ้นไป พ่อแม่ควรปรับอาหารการกินเพื่อป้องกันการท้องผูก

    • เปลี่ยนการให้นม ทารกดื่มนมชง อาจจะแพ้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเปลี่ยนยี่ห้อนม
    • เติมน้ำผลไม้ในนม น้ำผลไม้อาจช่วย บรรเทาอาการท้องผูกไให้ลูกน้อยได้ แต่เติมในปริมาณที่เล็กน้อยเท่านั้น
    • เสริมใยอาหาร ทารกเพิ่งหัดกิน ควรเลี่ยงอาหารที่ทำให้ท้องผูก ควรลดข้าว กล้วย และแครอท ไม่ควรป้อนกล้วยกับข้าว เนื่องจากจะจับตัวเป็นก้อน ทำให้เด็กย่อยยาก ควรกิน บร็อคโคลี่ ลูกพรุน ลูกแพรื ลูกพีช
    • ดื่มน้ำให้เยอะ ๆ พักผ่อนให้เพียงพอ

 

2. การกระตุ้นการขับถ่ายของทารก

    • ช่วยขยับร่างกาย การเคลื่อนไหว จะช่วยเร่งการย่อยของอาหาร ส่งผลให้ขับถ่ายขงเสียได้เร็ว
    • นวดท้องเด็ก วิธีนี้จะช่วยกระตุ้นลำไส้ ขับถ่ายได้ง่าย พ่อแม่นวดท้องล่างซ้าย ใต้สะดือ ประมาณ 3 นาที เด็กจะสามารถขับถ่ายได้เป็นปกติ
    • ทาว่านหางจระเข้ หากถ่ายลำบาก มีเลือดออก ควรพาไปพบแพทย์ทันที
    • ปรึกษาเกี่ยวกับการรักษา พ่อแม่ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใช้ยา หรือการรักษาอาการ โดยส่วนใหญ่แพทย์จะแนะนำให้ใช้ยากลีเซอรีนเหน็บก้น แต่ไม่ควรใช้เป็นประจำ เนื่องจากเด็กจะไม่ฝึกขับถ่ายเองตามปกติ และหลีกเลี่ยงการให้เด็กกินยาระบาย ควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อน

 

ทารกท้องผูก 2

 

ทารกไม่อุจจาระ ทารกไม่ถ่าย ควรพบแพทย์หรือไม่?

อาการท้องผูกไม่ใช่สาเหตุเดียวที่คุณพ่อคุณแม่กังวล แม้ว่าลูกจะขับถ่าย เป็นประจำ แต่หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตความผิดปกติสี หรือลักษณะของของเสียที่ลูกขับถ่ายออกมา ก็ต้องรีบปรึกษาแพทย์เช่นกัน โดยสามารถสังเกตได้จากลักษณะเหล่านี้

  • อุจจาระมีสีแดงเข้ม หรือมีเลือดติดออกมาด้วย
  • อุจจาระมีสีดำ แม้ว่าจะผ่านช่วงขี้เทาไปแล้ว
  • อุจจาระมีสีขาว หรือสีเทา
  • ทารกที่ดื่มนมแม่ มีอุจจาระมีสีเขียวอ่อน อาจเกิดจากสารอาหารในนมแม่ หรืออาหารที่แม่บริโภคเข้าไป
  • ลูกขับถ่ายบ่อยเกินกว่าเด็กทารกทั่วไป
  • อุจจาระของลูกมีของเหลว หรือเมือกปะปนมาก ลูกอาจมีอาการท้องเสีย ซึ่งเกิดขึ้นได้ในช่วง 2 - 3 เดือนแรก เนื่องจากติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย ภาวะขาดน้ำ หรือการติดเชื้อทางเดินอาหาร เป็นต้น

 

ทารกท้องผูก 1

 

หากคุณพ่อ คุณแม่สังเกตเห็นอาการเช่นนี้ ไม่ควรแก้ปัญหา หรือรักษาด้วยตัวเอง เนื่องจากร่างกายของทารกยังบอบบางมาก อีกทั้งยังไม่สามารถรับประทานอาหารอื่น ๆ ได้ จึงควรปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัย และรับคำแนะนำจึงจะเป็นการดีที่สุด

ทารกท้องผูก ทำอย่างไร ให้ทารกขับถ่ายเป็นปกติ ทารกไม่อุจจาระ ลูกอึไม่ออก

ทำไมคุณแม่ผ่าคลอดยุคนี้ ถึงไม่ต้องกังวลเรื่องสุขภาพของลูกผ่าคลอดมากจนเกินไป เข้ามาอ่าน หรือแชร์ประสบการณ์ของเหล่าคุณแม่ผ่าคลอดด้วยกันได้ที่ คลับแม่ผ่าคลอด (C Section Club)

บทความ ที่น่าสนใจ :

บทความจากพันธมิตร
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้

ทารกปวดท้อง อาการทารกป่วย เจ็บ ๆ ปวด ๆ ใต้พุง ลูกน้อยเป็นอะไรได้บ้าง

9 ของใช้เด็กแรกเกิด อะไรบ้างที่ต้องเตรียมให้พร้อม

เลี้ยงลูกอ่อนเหนื่อยมาก มากกกก! ยังมีเรื่องเลอะของทารก ที่พ่อแม่มือใหม่ยังไง้ ยังไงต้องเจอ!!

ที่มา : 1

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • ทารกท้องผูก ทำอย่างไร ให้ทารกขับถ่ายเป็นปกติ ทารกไม่อุจจาระ ลูกอึไม่ออก
แชร์ :
  • ทารกท้องผูก ลูกไม่ถ่ายหลายวัน ทำยังไงดี

    ทารกท้องผูก ลูกไม่ถ่ายหลายวัน ทำยังไงดี

  • ลูกไม่อึแบบนี้ ท้องผูกหรือเปล่าเนี่ย ลูกไม่ถ่ายได้กี่วัน แม่กลัวลูกท้องผูกเรื้อรัง

    ลูกไม่อึแบบนี้ ท้องผูกหรือเปล่าเนี่ย ลูกไม่ถ่ายได้กี่วัน แม่กลัวลูกท้องผูกเรื้อรัง

  • 12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

    12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

app info
get app banner
  • ทารกท้องผูก ลูกไม่ถ่ายหลายวัน ทำยังไงดี

    ทารกท้องผูก ลูกไม่ถ่ายหลายวัน ทำยังไงดี

  • ลูกไม่อึแบบนี้ ท้องผูกหรือเปล่าเนี่ย ลูกไม่ถ่ายได้กี่วัน แม่กลัวลูกท้องผูกเรื้อรัง

    ลูกไม่อึแบบนี้ ท้องผูกหรือเปล่าเนี่ย ลูกไม่ถ่ายได้กี่วัน แม่กลัวลูกท้องผูกเรื้อรัง

  • 12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

    12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ