X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ภาวะทารกเกิดมาไม่มีผิวหนัง เพราะยาที่แม่กินตอนท้อง

บทความ 3 นาที
ภาวะทารกเกิดมาไม่มีผิวหนัง เพราะยาที่แม่กินตอนท้อง

มี Case study ชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ใน Journal of Pakistan Medical Association ซึ่งทำการศึกษาหาสาเหตุว่าทำไม ทารกรายนี้จึงเกิดมาไม่มีผิวหนัง

หนูน้อยผู้โชคร้าย เกิดมาไม่มีผิวหนัง

ทารกตัวน้อยได้รับการผ่าคลอดในสัปดาห์ที่ 38 ของการตั้งครรภ์ เนื่องจากมีสัญญาณภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ เมื่อคลอดออกมาพบว่ากว่า 90% ของร่างกายหนูน้อยไม่มีผิวหนังปกคลุม ไม่มีเล็บ ไม่มีผม ไม่มีขนตาและคิ้ว ไม่มีหัวนม หูผิดรูป และเห็นเส้นเลือดอย่างชัดเจนเกือบทั้งตัว หนูน้อยมีน้ำหนักตัวเพียง 1.02 กก. และวัดเส้นรอบศีรษะได้เพียง  26.5 cm (ปกติราว 33- 38 cm) และอยู่ในตู้อบได้เพียง 4 วันก็เสียชีวิต

 

รู้จัก โรคผิวหนัง Aplasia cutis congenita

โรคผิวหนัง Aplasia cutis congenita เป็นภาวะที่ไม่มีผิวหนังปกคลุมตั้งแต่เกิด ซึ่งอาจเกิดเฉพาะที่หรือกระจายตามร่างกายก็ได้ โรคนี้พบได้ไม่บ่อย ส่วนมากตำแหน่งของการเกิดโรคพบบริเวณศีรษะ สามารถพบได้ทุกเชื้อชาติ และไม่ว่าหญิงหรือชาย

 

หาต้นตอที่ทำให้เกิดความผิดปกติ

แม่ของหนูน้อยมีประวัติผ่าคลอดมาแล้วสองครั้ง โดยลูกทั้งสองปลอดภัยและแข็งแรงดี เธอไม่มีประวัติของโรคอีสุกอีใสหรืองูสวัดในระหว่างตั้งครรภ์ แต่มีประวัติการเป็นโรคตุ่มพองน้ำใสชนิดลึก (pemphigus vulgaris)

 

โรคตุ่มน้ำพอง pemphigus คืออะไร

พญ.อรยา กว้างสุขสถิตย์ สถาบันโรคผิวหนัง ให้ข้อมูลว่า โรคเพมฟิกัส (pemphigus) เป็นโรคตุ่มน้ำพองเรื้อรังที่เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ โดยมีการสร้างแอนติบอดี้มาทำลายการยึดเกาะของเซลล์ผิวหนัง ผิวหนังจึงหลุดลอกออกจากกันโดยง่าย ทำให้เกิดอาการตุ่มน้ำพองที่ผิวหนังและเยื่อบุต่างๆ เป็นโรคที่พบไม่ แต่สามารถพบได้ทุกวัย รวมถึงในเด็ก เพศชายและหญิงมีโอกาสเกิดโรคเท่ากัน

อาการหลักที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์คือ ตุ่มน้ำพอง หรือแผลถลอกเรื้อรังที่บริเวณร่างกาย หรือเยื่อบุ โดยที่ 50 - 70% มีอาการแผลในปากเรื้อรังเป็นอาการแรก ซึ่งอาจนำมาก่อนอาการทางผิวหนังโดยเฉลี่ยประมาณ 5 เดือน โดยทั่วไปจะตรวจไม่พบตุ่มน้ำในช่องปาก มักพบเป็นแผลถลอกที่บริเวณเหงือก กระพุ้งแก้ม หรือเพดานปาก รอยถลอกอาจพบเป็นบางบริเวณหรือกระจายทั่วทั้งปาก ทำให้มีอาการเจ็บปวดมาก และอาจเกิดรอยโรคที่บริเวณกล่องเสียง ทำให้มีอาการเสียงแหบได้

โรคผิวหนัง Aplasia cutis congenita

เมื่อแม่ท้องต้องรักษาด้วยยาอันตราย

เธอได้รับการรักษาด้วยยาเพรดนิโซโลน 60 มิลลิกรัม/วันในช่วง 2 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ จากนั้นค่อยๆ ลดปริมาณยาเหลือเพียง 30 มิลลิกรัม/วัน ไปจนตลอดการตั้งครรภ์

นอกจากยากเพรดนิโซโลนแล้ว เธอยังได้รับยา azathioprine 150 มิลลิกรัม/วัน ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 20 ของการตั้งครรภ์ จากนั้นแพทย์ค่อยๆ ลดปริมาณยาเพรดนิโซโลนลงเหลือเพียง 15 มิลลิกรัมวันเว้นวัน หลังจากที่เธอคลอดลูกแล้ว

บทความแนะนำ รู้ไว้ไม่เสี่ยง! 6 ข้อห้ามสำหรับคนท้อง 1-3 เดือนแรก

  • ยา prednisolone กับคนท้อง

ยาเพรดนิโซโลนถือได้ว่ามีความปลอดภัยในการตั้งครรภ์ เนื่องจากยาผ่านรกในรูป active form เพียง 10 % จากการศึกษาที่ผ่านๆ มาพบว่าการใช้ยา prednisolone ในหญิงตั้งครรภ์มีความเสี่ยงต่อพัฒนาการที่ผิดปกติของทารกน้อยมาก

  • ยา azathioprine กับคนท้อง

ส่วนยาอะซาไธโอพรีน เป็นยาที่องค์การอาหารและยาจัดให้อยู่ในประเภท D ซึ่งมีการพิสูจน์แน่นอนแล้วว่ามีผลเสียต่อทารกในครรภ์ทั้งในมนุษย์และสัตว์ทดลอง แต่หากจำเป็นก็สามารถใช้ได้เนื่องจากพบว่าประโยชน์ที่ได้จากการใช้ยานั้นมีมากกว่าความเสี่ยงที่ทารกในครรภ์จะได้รับอันตรายจากยา

เนื่องจากแม่ของหนูน้อยป่วยเป็นโรคที่มีความรุนแรง จึงมีความจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อรักษาอาการผิดปกติของแม่ระหว่างตั้งครรภ์ ทีมนักวิจัยจึงเชื่อว่า การที่แม่ได้รับยา azathioprine ระหว่างตั้งครรภ์ อาจจะเป็นสาเหตุหรือมีโอกาสที่จะทำให้เกิดความผิดปกติของหนูน้อยคนนี้ได้ เนื่องจากมีรายงานในเด็กที่แม่รับประทานยาอะซาไธโอพรีนขณะตั้งครรภ์ พบว่าทารกเจริญเติบโตช้า เพิ่มความเสี่ยงการตายคลอด คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกเกิดต่ำ และมีความเสี่ยงที่จะผิดปกติแต่กำเนิด เช่น ศีรษะเล็ก เกิดความผิดปกติของโครงสร้างกระดูกสันหลัง มือและเท้า ปอด กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ ระบบโลหิต เป็นต้น

 

โรคผิวหนัง ACC

 

แน่นอนว่าไม่มีแม่คนไหน หรือหมอคนไหนอยากให้ทารกในครรภ์เป็นอันตรายหรอกค่ะ แต่หากคุณแม่ไม่สบาย ก็มีความจำเป็นต้องใช้ยา ซึ่งยาบางชนิดอาจมีผลต่อทารกในครรภ์ ฉะนั้น วิธีที่ดีที่สุด คุณแม่ควรรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ และหลีกเลี่ยงบุคคลหรือสถานที่ที่อาจทำให้ติดเชื้อต่างๆ ได้ง่าย เพื่อให้มั่นใจว่าลูกน้อยในท้องจะเจริญเติบโตและมีสุขภาพแข็งแรงสมกับที่คุณแม่รอคอยค่ะ

 

UGC เขียนบทความออนไลน์แล้วได้เงิน

ที่มา jpma.org.pk, manager.co.th

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

บทความจากพันธมิตร
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022

สารเคมีในชีวิตประจำวันที่คนท้องควรหลีกเลี่ยง

ยาสามัญที่เป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์

TAP mobile app

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • ภาวะทารกเกิดมาไม่มีผิวหนัง เพราะยาที่แม่กินตอนท้อง
แชร์ :
  • ทารกไม่มีกะโหลกและสมอง เพราะแม่ท้องขาด “โฟลิก”

    ทารกไม่มีกะโหลกและสมอง เพราะแม่ท้องขาด “โฟลิก”

  • ทารกไม่ถ่าย ทำไงดี กี่วันถึงเรียกผิดปกติ 3 วัน 5 วัน หรือกี่สัปดาห์

    ทารกไม่ถ่าย ทำไงดี กี่วันถึงเรียกผิดปกติ 3 วัน 5 วัน หรือกี่สัปดาห์

  • ทารกไม่มีกะโหลกและสมอง เพราะแม่ท้องขาด “โฟลิก”

    ทารกไม่มีกะโหลกและสมอง เพราะแม่ท้องขาด “โฟลิก”

  • ทารกไม่ถ่าย ทำไงดี กี่วันถึงเรียกผิดปกติ 3 วัน 5 วัน หรือกี่สัปดาห์

    ทารกไม่ถ่าย ทำไงดี กี่วันถึงเรียกผิดปกติ 3 วัน 5 วัน หรือกี่สัปดาห์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ