X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทารกร้องไห้ไม่มีเสียง ทารกชอบร้องกลั้น ลูกร้องไห้ ตัวสั่น ร้องไห้หนักมาก แต่ไม่มีเสียง

บทความ 3 นาที
ทารกร้องไห้ไม่มีเสียง ทารกชอบร้องกลั้น ลูกร้องไห้ ตัวสั่น ร้องไห้หนักมาก แต่ไม่มีเสียง

อาการน่าหนักใจทารกร้องไห้ไม่มีเสียง ลูกร้องไห้หนักมากแต่ไม่มีเสียง ลูกจะเป็นอะไรไหม

ทารกร้องไห้ไม่มีเสียง

ทารกร้องไห้ไม่มีเสียง ทารกชอบร้องกลั้น ลูกร้องไห้ไม่มีเสียงแบบนี้ เป็นอะไร แม่กลัวว่าลูกจะเป็นอันตราย

 

ทำไมทารกร้องไห้ไม่มีเสียง

การร้องไห้ของทารกมีหลากหลายแบบเพื่อต้องการให้พ่อแม่ตอบสนองความต้องการ เพราะทารกยังไม่สามารถพูดออกมาเป็นคำพูดได้ ทั้งหิวนม ง่วงนอน ผ้าอ้อมเปียก ล้วนแล้วแต่ต้องใช้การร้องไห้เป็นสัญญาณบอกพ่อแม่ให้ช่วยหนูที

การร้องกลั้นของทารกและเด็กเล็กนั้น เกิดจากปฏิกิริยาของร่างกายที่ตอบสนองต่อความเจ็บปวด ความโกรธ โมโห ถูกขัดใจ หงุดหงิด เป็นต้น แต่อาการร้องกลั้นไม่ได้เกิดขึ้นกับทารกทุกคนนะคะ ทางการแพทย์ พบว่า มีลักษณะทางพันธุกรรมมาเกี่ยวข้องอยู่ด้วย คือ ทารกที่มีการร้องกลั้น จำนวนร้อยละ 25 จะพบว่า พ่อหรือแม่ตอนเด็ก ๆ ก็เคยมีอาการร้องกลั้นมาก่อนเหมือนกัน

การสื่อสารของทารก มีทั้งร้องไห้แบบมีเสียงและไม่มีเสียง เมื่อทารกร้องไห้ไม่มีเสียง ดูร้องกลั้น ๆ พ่อแม่ก็ย่อมเป็นห่วงเป็นธรรมดา มาดูกันดีกว่าว่า ลูกร้องกลั้นหรือทารกร้องไห้ไม่มีเสียง คืออะไร

 

ทารกร้องไห้ไม่มีเสียงหรือลูกร้องกลั้น

การร้องกลั้น (breath – holding spell) คือ อาการร้องไห้หนัก ๆ ของทารก เป็นช่วงจังหวะที่หายใจออกนั้นยาวนานเหมือนกลั้นหายใจนิ่งไปประมาณ 10 - 20 วินาที คล้าย ๆ กับนิ่งหมดสติไปช่วงระยะเวลาสั้น ๆ จนบางครั้งอาจทำให้ใบหน้า ปาก และ เล็บเขียว แล้วร้องดังขึ้นมาใหม่ การร้องกลั้นเป็นคนละอย่างกับการชักนะคะ ในช่วงที่ทารกร้องกลั้นจะมีการตอบสนองของร่างกายอีกอย่างคือหัวใจจะเต้นช้าลง จากนั้นก็จะตื่นขึ้นมาเอง หายใจเป็นปกติ สีผิวกลับมาแดงเหมือนเดิม จังหวะการร้องกลั้นมักกินเวลาประมาณ 1 นาที

 

เมื่อทารกร้องไห้ไม่มีเสียง หรือร้องกลั้น อันตรายไหม

  1. การร้องกลั้นนี้เป็นการตอบสนองของร่างกายทารกแบบนอกเหนือการควบคุมของจิตใจ หมายความว่า อาการร้องกลั้นนี้เกิดขึ้นเองโดยที่ทารกไม่ได้ตั้งใจ
  2. การร้องกลั้นนั้นไม่มีอันตรายต่อสุขภาพร่างกายหรือสมองของทารก สำหรับอาการตัวเขียวที่เกิดจากการร้องกลั้นก็ไม่มีอันตรายร้ายแรงเช่นกัน ยกเว้นในเด็กที่มีโรคหัวใจหรือโรคระบบหลอดเลือด ซึ่งต้องได้รับการดูแลจากคุณหมอต่อไป
  3. การร้องกลั้นลักษณะนี้สามารถพบได้บ่อยในเด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนไปจนถึงอายุ 2 – 3 ขวบ หลังจากนั้นก็จะค่อย ๆ หายไปเองโดยที่คุณแม่ไม่จำเป็นต้องแก้ไขอะไร

 

ทารกร้องไห้ไม่มีเสียงหรือร้องกลั้นแบบไหน ที่พ่อแม่ต้องกังวล

ถ้าทารกทั่วไปร้องไห้ไม่มีเสียงหรือร้องกลั้น อาจไม่น่ากังวลใจ แต่ถ้าลูกมีประวัติแบบนี้ พ่อแม่ต้องระวัง

  • ทารกหรือเด็กเล็กนั้นมีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
  • ทารกหรือเด็กเล็ก มีความผิดปกติของหัวใจ

 

วิธีดูแลลูกเมื่อทารกร้องไห้ไม่มีเสียง

  1. เมื่อลูกร้องกลั้น ก่อนอื่นเลยคุณแม่ต้องควบคุมสติอารมณ์ของตนเอง อย่าเพิ่งตื่นตระหนกไปนะคะ เพราะจะยิ่งทำให้ลูกตกใจมากขึ้น
  2. เมื่อทารกร้องกลั้นให้คุณแม่อุ้มลูกน้อยมาแนบอก เพื่อความแน่ใจสำรวจลูกน้อยและบริเวณใกล้เคียงว่ามีสิ่งใดที่เป็นอันตรายหรือไม่ เช่น แมลงกัดต่อย เป็นต้น
  3. ควรให้ลูกน้อยได้พักผ่อนอย่างเพียงพอในแต่ละวัน เพราะอาการขี้วีน โมโหง่าย และร้องไห้อยู่บ่อย ๆ นั้น อาจเกิดจากสาเหตุของการพักผ่อนไม่เพียงพอก็เป็นได้ค่ะ
  4. เบี่ยงเบนความสนใจของลูก พาออกไปจากสถานที่ดังกล่าว ออกไปที่อากาศถ่ายเท เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศจะทำให้ทารกสงบขึ้นค่ะ

อย่างไรก็ตาม เมื่อทารกร้องไห้ไม่มีเสียง หรือมีอาการร้องกลั้นบ่อย ๆ ควรพาลูกน้อยมาตรวจอย่างละเอียด หากพบว่าทารกร้องไห้ไม่มีเสียงหรือร้องกลั้น จากความเจ็บป่วยทางร่างกาย คุณหมอจะได้ดูแลรักษาอย่างทันท่วงทีนะคะ

 

ที่มา : https://www.facebook.com/Drnextdoor/ และ https://www.haijai.com/819/

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

แก้ขาโก่ง ทารกขาโก่ง กลัวลูกขาโก่ง ถ้าไม่ดัดขาลูก ลูกจะขาโก่งไหม วิธีแก้ขาโก่งมีหรือไม่

สัญญาณอันตรายของทารก อาการผิดปกติของทารกที่พ่อแม่ควรระวัง!

4 เรื่องจริงของลูกเดือนแรกที่แม่ต้องเจอ แม่มือใหม่ต้องเตรียมอะไรบ้าง พร้อมวิธีดูแลลูกแรกเกิด

โรคอาร์เอสวี (RSV) คืออะไร ทำไมเด็กติดง่ายจัง ล่าสุดลูกดาราป่วยแล้วหลายคน

 

บทความจากพันธมิตร
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ทารกร้องไห้ไม่มีเสียง ทารกชอบร้องกลั้น ลูกร้องไห้ ตัวสั่น ร้องไห้หนักมาก แต่ไม่มีเสียง
แชร์ :
  • ลูกร้องไห้ไม่หยุด ลูกร้องแบบนี้บอกอะไร พ่อแม่ต้องทำยังไง?

    ลูกร้องไห้ไม่หยุด ลูกร้องแบบนี้บอกอะไร พ่อแม่ต้องทำยังไง?

  • เด็กร้องไห้ ไม่หยุด เกิดอะไรขึ้น ทำอย่างไรดี ไปฟังคุณหมอแนะนำ

    เด็กร้องไห้ ไม่หยุด เกิดอะไรขึ้น ทำอย่างไรดี ไปฟังคุณหมอแนะนำ

  • ลูกร้องไห้ไม่หยุด ลูกร้องแบบนี้บอกอะไร พ่อแม่ต้องทำยังไง?

    ลูกร้องไห้ไม่หยุด ลูกร้องแบบนี้บอกอะไร พ่อแม่ต้องทำยังไง?

  • เด็กร้องไห้ ไม่หยุด เกิดอะไรขึ้น ทำอย่างไรดี ไปฟังคุณหมอแนะนำ

    เด็กร้องไห้ ไม่หยุด เกิดอะไรขึ้น ทำอย่างไรดี ไปฟังคุณหมอแนะนำ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ