X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทารกผ่าคลอดจะได้รับจุลินทรีย์จากช่องคลอดของแม่ได้อย่างไร

บทความ 3 นาที
ทารกผ่าคลอดจะได้รับจุลินทรีย์จากช่องคลอดของแม่ได้อย่างไร

คุณแม่ที่ต้องผ่าคลอดเริ่มหันมาสนใจใช้จุลินทรีย์จากช่องคลอดเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของลูกน้อย โดยมีงานวิจัยค้นพบว่าการใช้ผ้าก็อซซับภายในช่องคลอดของแม่และนำไปป้ายในปากของลูก รวมทั้งรอบๆ ดวงตาและผิวหนังอาจช่วยกระตุ้นการเติบโตของกลุ่มจุลินทรีย์แบบเดียวกับที่มีในทารกคลอดตามธรรมชาติ และยังช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพของทารกต่อไปในอนาคตด้วย

 

แคโรลิน ไวสส์ วัย 37 ปีมีแผนการคลอดที่แปลกกว่าใคร

หนึ่งชั่วโมงก่อนไวสส์ให้กำเนิดลูกสาวโดยการผ่าคลอดในเดือนมกราคมที่จะถึงนี้ เธอจะสอดผ้าก็อซชุบน้ำเกลือเข้าไปในช่องคลอดของเธอ และก่อนที่การผ่าคลอดจะเริ่มขึ้น เธอจะเอาผ้าก็อซออกมาเก็บไว้ในภาชนะที่ผนึกมิดชิด  ไม่กี่วินาทีหลังทารกลืมตาดูโลก สามีของเธอจะนำผ้าก็อซแผ่นเดียวกันนั้นไปป้ายในปากของทารก รอบดวงตาและบนผิวหนัง กรรมวิธีนี้กำลังเริ่มเป็นที่สนใจของแม่ๆ มากมายค่ะ

เพราะอะไรหรือคะ อย่างแรกคือเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ ร่างกายมนุษย์เป็นที่อยู่อาศัยของเหล่าจุลชีพราว 100 ล้านล้านตัว ซึ่งรวมกันเข้าเป็นระบบนิเวศซับซ้อนที่เรียกว่ากลุ่มจุลินทรีย์ นักวิทยาศาสตร์เพิ่งเริ่มเข้าใจบทบาทสำคัญยิ่งยวดที่กลุ่มจุลินทรีย์มีต่อสุขภาพของมนุษย์ แต่งานวิจัยใหม่ล่าสุดนี้ระบุว่าสิ่งมีชีวิตจิ๋วๆ นับล้านล้านตัว (ซึ่งรวมๆ กันแล้วหนัก 1 กิโลกรัม) ทำงานวุ่นวายในร่างกายของเราอยู่ตลอดเวลา

พวกมันฝึกฝนระบบภูมิคุ้มกันของเรา ช่วยเรารับมือกับการติดเชื้อและช่วยย่อยสลายอาหาร อันที่จริงเมื่อพิจารณาว่ากลุ่มจุลินทรีย์นี้เป็นตัวควบคุมกิจกรรมการเผาผลาญอาหารอย่างกว้างขวางเพียงใดแล้ว นักวิจัยก็เริ่มมองว่าพวกมันควรถูกจัดให้เป็นอวัยวะชิ้นหนึ่ง แม้ว่าประชากรจุลินทรีย์จะหนาแน่นที่สุดในลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ แต่ก็มีจุลินทรีย์เฉพาะเจาะจงบางจำพวกที่อาศัยอยู่บนทุกพื้นผิวของร่างกายเรา ไม่ว่าจะเป็นผิว ปาก ช่องคลอด ปอด กระเพาะปัสสาวะ ฯลฯ

ในอดีตจนถึงปัจจุบัน การแพทย์แผนตะวันตกมักมองว่าจุลินทรีย์เป็นเชื้อแปลกปลอมที่บุกรุกร่างกาย จึงนำไปสู่ความเชื่อแพร่หลายที่ว่าการกำจัดจุลินทรีย์โดยใช้ยาปฏิชีวนะไปจนถึงเจลล้างมือฆ่าเชื้อจะช่วยป้องกันการเกิดโรคได้ แต่ความคิดดังกล่าวนี้กำลังถูกสั่นคลอนเมื่อนักวิทยาศาสตร์เริ่มเข้าใจระดับความสัมพันธ์ที่เอื้อประโยชน์ต่อกันและกันระหว่างมนุษย์กับจุลินทรีย์ นับตั้งแต่วันที่เราลืมตาดูโลก

ขณะยังอยู่ในมดลูกของแม่ เป็นไปได้มากว่าลำไส้ของทารกยังสะอาดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ใดๆ จนกระทั่งเมื่อถุงน้ำคร่ำแตก จุดนี้เองที่นักวิจัยเชื่อว่า กลุ่มจุลินทรีย์จากร่างกายของแม่จะเริ่มเข้าไปตั้งรกรากในตัวทารก กระบวนการนี้จะดำเนินต่อไประหว่างที่ทารกเคลื่อนลงไปตามทางผ่านสู่ช่องคลอด ซึ่งเป็นช่วงที่ทารกมีจุลินทรีย์จากแม่เคลือบคลุมทั้งตัว เมื่อแรกคลอดกลุ่มจุลินทรีย์ของทารกจะละม้ายคล้ายคลึงกับจุลินทรีย์ที่อยู่ในช่องคลอดของแม่มาก

แล้วถ้าเป็นการผ่าคลอดซึ่งทารกจะไม่ได้สัมผัสกับจุลินทรีย์ในช่องคลอดของแม่ล่ะ นักวิจัยพบว่ากลุ่มจุลินทรีย์ของทารกจะคล้ายคลึงกับที่พบบนผิวแม่ และไม่ใช่จากของแม่คนเดียวเท่านั้น แต่ยังจากของหมอ พยาบาล คนไข้อื่นๆ ในโรงพยาบาล รวมไปถึงคนทำความสะอาดห้องผ่าคลอดด้วย นี่ก่อให้เกิดความวิตกว่ากลุ่มจุลินทรีย์บุกเบิกที่เข้าไปตั้งรกรากเหล่านี้อาจทำให้ทารกอ่อนแอต่อเชื้อก่อโรคและนำไปสู่การเจ็บป่วยได้ในที่สุด

Advertisement

เมื่อเทียบกับทารกคลอดตามธรรมชาติแล้ว ทารกผ่าคลอดมีแนวโน้มประสบกับปัญหาสุขภาพสูงกว่า เช่นโรคหอบหืด ภูมิแพ้ ผิวอักเสบ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 และภาวะอักเสบในลำไส้เล็กทำให้ดูดซึมแร่ธาตุไม่ได้ ทั้งยังเสี่ยงต้องเข้าโรงพยาบาลด้วยโรคกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กอักเสบสูงกว่าด้วย ปัจจุบันนักวิจัยเชื่อว่ากลุ่มจุลินทรีย์อาจเป็นต้นเหตุปัญหาเหล่านี้

ยิ่งไปกว่านั้น ความแตกต่างของกลุ่มจุลินทรีย์อันเป็นผลจากวิธีคลอดที่ต่างกันจะคงอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลานาน ทารกผ่าคลอดในวัยหกเดือนยังมีกลุ่มจุลินทรีย์ที่พัฒนาความหลากหลายช้ากว่า งานวิจัยในเนเธอแลนด์เมื่อปีที่แล้วพบว่าความแตกต่างนี้ปรากฏให้เห็นกระทั่งในเด็กวัยเจ็ดขวบ

 

 

เรื่องนี้จึงก่อให้เกิดคำถามว่าแม่ที่ต้องผ่าคลอดควรทำอย่างไร >>คลิกหน้าถัดไป

จุลินทรีย์ในช่องคลอด

ดร.มาเรีย กลอเรีย โดมิงเกซ-เบลโล นักจุลชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์กศึกษากลุ่มจุลินทรีย์มานานหลายปีแล้ว ในช่วงสามปีที่ผ่านมาเธอได้พยายามศึกษาว่าทารกผ่าคลอดจะได้ประโยชน์เช่นเดียวกับทารกคลอดธรรมชาติ โดยใช้กระบวนการเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ด้วยผ้าก็อซที่เก็บไว้ในช่องคลอดของแม่ได้หรือไม่ จนถึงตอนนี้ ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจค่ะ

ปีที่แล้ว ดร.โดมิงเกซ-เบลโลทำการวิจัยกับทารก 21 คนในเปอร์โตริโก และพบว่าเทคนิคของเธอส่งผลเชิงบวกต่อความหลากหลายของกลุ่มจุลินทรีย์ในทารกแรกเกิด เทคนิคดังกล่าวคือผ่าคลอดนำทารกออกจากมดลูกของแม่ ใช้ผ้าก็อซที่เตรียมไว้ป้ายในปาก รอบดวงตาและผิวหนังของทารกก่อนจะวางทารกลงบนอกของแม่ “เราพบว่าถ้าให้ทารกได้สัมผัสกับเชื้อจุลินทรีย์ เชื้อจุลินทรีย์นั้นจะเข้าไปอยู่ในตัวทารก” เธอกล่าว ทารกที่ได้รับการเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ผ่านผ้าก็อซจะมีกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใกล้เคียงกับทารกที่คลอดด้วยวิธีธรรมชาติมากกว่าทารกผ่าคลอด และผลลัพธ์นี้ยังคงอยู่ต่อเนื่องถึงหนึ่งเดือนหลังคลอด “ถึงผลที่ได้จะไม่เท่ากับทารกที่คลอดทางช่องคลอด แต่ก็นับว่าดีขึ้นกว่าเดิมมากค่ะ” ดร.เบลโลกล่าว

คำถามสำคัญที่สุดคือกระบวนการง่ายๆ นี้จะลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยในทารกผ่าคลอดได้สำเร็จอย่างที่ดร.เบลโลหวังไว้หรือไม่ เธอตั้งใจจะตอบคำถามนี้ด้วยการขยายงานวิจัยออกไปศึกษาทารกจำนวนมากกว่านี้และเธอต้องติดตามดูผลเป็นเวลาอย่างน้อยสามปี “เราจะได้เห็นว่าเด็กเป็นโรคหอบหืดน้อยลงไหม” เธอพูด “เป็นโรคอ้วนน้อยลงหรือเปล่า วิธีนี้จะมีผลต่อสุขภาพของทารกจริงๆ หรือไม่”

นั่นคือสิ่งที่คุณแม่อย่างแคโรลิน ไวสส์หวังเอาไว้ ลูกสาวคนแรกของเธอซึ่งคลอดด้วยการผ่าคลอดเป็นโรคผิวหนังอักเสบตั้งแต่แรกคลอด และเริ่มมีสัญญาณบ่งชี้ว่าแพ้อาหารด้วย ไวสส์ศึกษาหาต้นตอที่แท้จริงของปัญหาที่ลูกสาวของเธอเผชิญอยู่จนได้มาพบกับงานวิจัยของดร.เบลโล เมื่อไวสส์ตั้งครรภ์อีกครั้งและหมอบอกว่ามีโอกาสที่เธอต้องผ่าคลอดซ้ำอีก ไวสส์และสามีจึงตัดสินใจจะลองเทคนิคของดร.เบลโลดู “ในฐานะพ่อแม่ เราย่อมอยากมอบเกราะป้องกันที่แข็งแรงที่สุดให้แก่ลูก” ไวสส์กล่าว “ถึงจะมีโอกาสเพียงน้อยนิดที่วิธีนี้จะช่วยได้ เราก็จะลองค่ะ”

ดร. เบลโลซึ่งได้รับอีเมลจากคุณแม่ตั้งครรภ์ถามถึงกระบวนการนี้อยู่เนืองๆ เน้นย้ำว่าเทคนิคดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนศึกษาวิจัย และเนื่องจากยังเป็นวิธีการที่ใหม่มาก จึงอาจไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะหาหมอซึ่งยินดีทำให้ พ่อแม่ที่อยากลองวิธีนี้จึงจำต้องลงมือเอง

“โดยรวมแล้ว หมอของเราสนับสนุนความคิดนี้นะคะ แต่เขาไม่ยอมทำให้” ไวสส์พูด “หน้าที่นั้นเลยตกเป็นของสามีฉันไป” วิธีการเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์นี้เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อร้ายถึงลูกได้ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้เป็นแม่ต้องมีระบบนิเวศจุลินทรีย์ที่แข็งแรงดี ต้องตรวจหาว่าช่องคลอดมีเชื้อแลคโตบาซิลัสชนิดกรดหรือไม่ ต้องปลอดเชื้อเอชไอวีและเชื้อสเตรปโตคอกคัสกลุ่มบี รวมทั้งเชื้อกามโรคต่างๆ

ดร.เบลโลเชื่อว่าความคิดนี้จะส่งผลกระทบครั้งใหญ่ต่อสุขภาพของมนุษย์ “24 ปีก่อนฉันคลอดลูกสาวด้วยการผ่าคลอดค่ะ” เธอเล่า “ถ้าตอนนั้นฉันรู้สิ่งที่ได้รู้จากการวิจัยในตอนนี้ละก็ ฉันคงลองใช้วิธีนี้เหมือนกัน”

 

นอกจากนี้ ยังมีสิ่งที่แม่ต้องระวังคือ การแพ้อาหารและแพ้นมวัว

90% ของการแพ้อาหารและแพ้นมวัวในเด็กมักแสดงอาการภายในขวบปีแรก การให้ลูกทานนมแม่อย่างน้อย 6 เดือนหลังคลอดช่วยปกป้องลูกจากการเกิดอาการแพ้ได้ และในนมแม่ยังมีพรีไบโอติก อาหารของจุลินทรีย์สุขภาพที่จะช่วยสร้างภูมิต้านทานที่แข็งแกร่ง แต่ถ้าคุณแม่ให้นมลูกไม่ได้ ควรปรึกษาคุณหมอผู้เชี่ยวชาญในการเลือกนม HA สูตรปกป้องการแพ้ พร้อมเสริม GOS/lcFOS (พรีไบโอติก)

 

ที่มาบทความ : www.theguardian.com/lifeandstyle/2015/aug/17/vaginal-seeding-c-section-babies-microbiome

 

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

ผ่าคลอดเป็นอย่างไร – ประสบการณ์ของคุณแม่มือใหม่

5 เคล็ดลับเตรียมตัวเมื่อต้องผ่าคลอด

 

 

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

พรพยงค์ นำธวัช

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ทารกผ่าคลอดจะได้รับจุลินทรีย์จากช่องคลอดของแม่ได้อย่างไร
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว