ถ้าลูกต้องคลอดก่อนกำหนด สัปดาห์ที่เท่าไหร่ลูกถึงจะรอด
คลอดก่อนกําหนด 6 เดือน เพราะไม่ใช่เด็กทุกคนที่จะคลอดออกมาตามเกณฑ์ ถ้าลูกต้องคลอดก่อนกำหนด สัปดาห์ที่เท่าไหร่ลูกถึงจะรอด และแม้ลูกจะรอด แต่มีปัญหาสุขภาพตามมาอีกรึเปล่า
แม่คลอดเร็วสุดแล้วลูกรอด คลอดก่อนกำหนด 7 เดือน
การคลอดก่อนกำหนดที่มีการเก็บข้อมูลว่าเด็กๆ จะรอดคือสัปดาห์ที่ 21 กับอีก 5 วันค่ะ ด้วยเปอร์เซนต์การรอดชีวิตที่มีเพียงแค่ 0-10% เท่านั้น แต่หากจะให้ชัวร์ว่าลูกรอดจริงๆ การยืดระยะเวลาไปจนถึงสัปดาห์ที่ 24 ลูกจะมีโอกาสรอดมากขึ้นเป็น 40-70% เลยทีเดียวค่ะ
แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าลูกรอดแล้วจะไม่มีปัญหาสุขภาพนะคะ นั่นก็เพราะแม้เปอร์เซนต์การรอดของลูกจะสูง แต่ในบางกรณีเด็กๆ ก็ยังต้องพึ่งเครื่องมือทางการแพทย์ในการรอดชีวิตเช่นกัน และไม่ใช่ว่าทุกโรงพยาบาลจะมีเครื่องมือเครื่องไม้พร้อม ในการช่วยเหลือเด็กๆ ที่คลอดก่อนกำหนด
ปัจจัยที่ทำให้ลูกคลอดออกมาแล้วรอด
มีทั้งเรื่องของข้อจำกัดทางสุขภาพของคุณแม่แต่ละคน การดูแลตัวเองระหว่างการตั้งครรภ์ของคุณแม่ อายุและความพร้อมในการตั้งครรภ์ โดยรวมแล้วคิดเป็นเปอร์เซนต์ดังนี้ค่ะ
- 21 สัปดาห์ คลอดในสัปดาห์ที่ 21 หรือต่ำกว่านั้น ลูกมีโอกาสรอด 0%
- 22 สัปดาห์ คลอดในสัปดาห์ที่ 22 ลูกมีโอกาสรอด 0-10%
- 23 สัปดาห์ คลอดในสัปดาห์ที่ 23 ลูกมีโอกาสรอด 10-35%
- 24 สัปดาห์ คลอดในสัปดาห์ที่ 24 ลูกมีโอกาสรอด 40-70%
- 25 สัปดาห์ คลอดในสัปดาห์ที่ 25 ลูกมีโอกาสรอด 50-80%
- 26 สัปดาห์ คลอดในสัปดาห์ที่ 26 ลูกมีโอกาสรอด 80-90%
- 27 สัปดาห์ คลอดในสัปดาห์ที่ 27 ลูกมีโอกาสรอด มากกว่า 90%
- 28 สัปดาห์ คลอดในสัปดาห์ที่ 28 ลูกมีโอกาสรอด 92% หรือมากกว่านั้น
- 29 สัปดาห์ คลอดในสัปดาห์ที่ 29 ลูกมีโอกาสรอด 95% หรือมากกว่านั้น
- 30 สัปดาห์ คลอดในสัปดาห์ที่ 30 ลูกมีโอกาสรอด มากกว่า 95%
- 31 สัปดาห์ คลอดในสัปดาห์ที่ 31 ลูกมีโอกาสรอด มากกว่า 95%
- 32 สัปดาห์ คลอดในสัปดาห์ที่ 32 ลูกมีโอกาสรอด 98%
- 33 สัปดาห์ คลอดในสัปดาห์ที่ 33 ลูกมีโอกาสรอด 98%
- 34 สัปดาห์ คลอดในสัปดาห์ที่ 34 ลูกมีโอกาสรอด 98% หรือมากกว่านั้น
หากคุณแม่มีความเสี่ยงหรืออาการแทรกซ้อน ควรคลอดในโรงพยาบาลที่มีเครื่องมือสำหรับดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด หรือศูนย์ NICU ค่ะ
คลอดก่อนกําหนด 6 เดือน จะแข็งแรงไหม
เด็กๆ ที่ในช่วงประมาณสัปดาห์ที่ 24 แม้จะรอด แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะมีโรคประจำตัวหรือโรคเรื้อรังได้ค่ะ ภาวะแทรกซ้อนที่มีความเสี่ยงก็อย่างเช่น การติดเชื้อหรือปัญหาสุขภาพ เด็กๆ อาจจะมีการฉีดเสตียรอยด์ เพื่อช่วยในการพัฒนาของปอด หรือเด็กๆ ที่คลอดในสัปดาห์ที่ 32-34 อาจจะต้องมีการให้แมกนีเซียม เพื่อช่วยในการทำงานของระบบประสาท เป็นต้นค่ะ แต่การช่วยเหลือดังกล่าวก็อาจจะส่งผลกระทบด้านสุขภาพ ทั้งระยะสั้นและระยะยามตามมาได้เช่นกัน
- เด็กทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดเพียง 1.25 กิโลกรัม อาจมีปัญหาโรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกคลอดก่อนกำหนด แต่มีเพียง 6% ที่ต้องได้รับการรักษา
- เด็กทารกจำนวน 25% ที่มีน้ำหนักต่ำกว่า 1.5 กิโลกรัม จะบกพร่องทางการได้ยิน
- เด็กทารกที่มีน้ำหนักแรกคลอดต่ำ จะมีความเสี่ยงสูงที่จะป่วยเป็นโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจได้มากกว่า เด็กที่มีน้ำหนักแรกคลอดสูงกว่า
- มีการศึกษาที่พบว่าเด็กอายุ 7-8 ขวบ ที่เกิดในสัปดาห์ที่ 32 จะมีภาวะบกพร่องในพัฒนาการการทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อร่างกาย ( Developmental Coordination Disorder ) เป็นจำนวนสูงถึง 30% เมื่อเทียบกับเด็กที่คลอดตามกำหนดที่มีเพียงแค่ 6%
- เด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีพัฒนาด้านกล้ามเนื้อต่างๆ ช้ากว่าเด็กตามเกณฑ์ แม้จะมีสติปัญญาปกติก็ได้ แต่จะส่งผลกระทบชัดเจนเมื่อถึงวัยเรียน
พ่อแม่ต้องทำยังไงเมื่อมีลูกคลอดก่อนกำหนด
สิ่งแรกที่ต้องทำ หากลูกเสี่ยงมีปัญหาการได้ยินและการมองเห็น คือหมั่นตรวจเช็คร่างกายเป็นประจำ ทั้งลดความเสี่ยงจากปัญหาที่อาจเกิดขึ้น และยังต้องมีการบำบัดและรักษาด้วยค่ะ
หากลูกเสี่ยงมีปัญหาทางด้านสมองและพัฒนาการต่างๆ คุณพ่อคุณแม่ต้องพามาหาคุณหมอเพื่อรักษาต่อไปเช่นกัน โดยส่วนใหญ่แล้วเด็กๆ จะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างเกินความคาดหมายค่ะ นอกจากนี้
- สังเกตอาการปวดท้องคลอดหรืออาการที่จะบอกว่าคุณแม่เสี่ยงคลอดก่อนกำหนดให้ดี
- ให้ลูกกินนมแม่ล้วน เพื่อข้อดีทางด้านสุขภาพของลูก เช่น ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ช่วยในการทำงานของสุขภาพหัวใจ เป็นต้น
- การสัมผัสเนื้อแนบเนื้อกับลูกบ่อยๆ จะช่วยในการพัฒนาสมองของลูกค่ะ
- อยู๋ในความดูและของบุคลากรทางการแพทย์ อย่างต่อเนื่องเพื่อรับคำแนะนำในการดูและเด็กๆ ค่ะ
บทความที่น่าสนใจ
นักสู้ตัวน้อยใน NICU หนูน้อยผู้รอดชีวิตจากการคลอดก่อนกำหนดและ RSV
แม่ท้องนอนไม่ค่อยหลับ เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด
ผลวิจัยเผย ภาวะโลกร้อน มีผลต่อภาวะแท้งในหญิงตั้งครรภ์ เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด
ที่มา Bellybelly
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!