X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

บทความ 5 นาที
ตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

ยินดีต้อนรับคุณแม่ตั้งครรภ์เข้าสู่ช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ หรือ ตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์ เราตอนนี้หน้าท้องของคุณก็เริ่มจะมีขนาดใหญ่ขึ้นมากเรื่อย ๆ พร้อมกับอาการต่าง ๆ ที่เริ่มจะทำให้คุณแม่เริ่มทรมานแล้วเช่นกัน นอกจากนี้คุณแม่ยังจะสามารถสัมผัสได้ถึงทารกในครรภ์ได้มากขึ้นอีกด้วย มาดูกันดีกว่า ตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์ นั้นเป็นอย่างไรบ้าง

 

ตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์ เท่ากับกี่เดือน

สำหรับคุณแม่ที่เข้าสู่ช่วงการตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์เท่ากับ 6 เดือน 1 สัปดาห์นั้นจะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนว่าหน้าท้องจะมีขนาดใหญ่ขึ้น โดยในสัปดาห์นี้ทารกจะมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 1.15 กิโลกรัม และมีความยาวประมาณ 38.6 เซนติเมตร หรือถ้าเทียบกับผักผลไม้จะมีขนาดเท่ากับ ฟักทองลูกเล็ก หรือ Acorn Squash นั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : ตั้งครรภ์ 28 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

 

พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 29

  • ศีรษะของลูกน้อยจะโตมากขึ้นเพื่อรองรับสมองที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว
  • กล้ามเนื้อและปอดของลูกได้โตเต็มที่แล้ว
  • ลูกน้อยจะได้ยินชัดเจนมากขึ้น
  • การไหลเวียนเลือดของลูกดีขึ้น เนื่องจากร่างกายมีการสร้างเลือดขึ้นได้เองแล้ว
  • ไขที่ผิวหนังของลูกก็เริ่มมีมากขึ้นเรื่อย

 

วิดีโอจาก : Messy Kids At Home

Advertisement

 

อาการแม่ท้อง 29 สัปดาห์ มีอะไรบ้าง?

เมื่อคุณแม่เริ่มท้องในสัปดาห์ที่ 29 คุณแม่จะเริ่มรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์เพิ่มมากยิ่งขึ้น และนอกจากการขยับตัวของทารกในครรภ์มากยิ่งขึ้นแล้ว การขยับตัวของทารกยังส่งผลกระทบทำให้คุณแม่เกิดอาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ปวดหัว

คุณแม่ที่อยู่ในช่วงของการตั้งครรภ์ระยะนี้มักจะประสบปัญหาการอดนอนอยู่บ่อยครั้ง ทำให้มีอาการปวดหัว หรือรู้สึกหน้ามืดได้ในบางครั้ง เพราะหนูน้อยในครรภ์มักจะกวนเวลานอนของคุณอยู่ตลอดเวลา แม้กระทั่งเวลาที่คุณเข้านอน แต่ถึงอย่างไรก็ตามยังมีสาเหตุอื่น ๆ อีกที่อาจทำให้คุณรู้สึกปวดหัวหรือวิงเวียนศีรษะ อาจเป็นเพราะระดับน้ำตาลในเลือดของคุณต่ำลง ดังนั้นคุณควรทานอาหารอย่างสม่ำเสมอ และมีประโยชน์ต่อทารกในครรภ์

 

  • คันหน้าท้อง

เมื่อหน้าท้องของคุณเริ่มขยาย ผิวของคุณที่ยืดออกก็จะมีความบางลงไปด้วย ทำให้คุณอาจรู้สึกไวต่อความรู้สึก และจะมีอาการคันบริเวณหน้าท้อง ซึ่งคุณแม่สามารถแก้ได้ด้วยการดื่มน้ำมาก ๆ หรือทาโลชั่นเพื่อให้ความชุ่มชื่นแก่ผิวบริเวณนั้นเพื่อลดอาการคัน แต่ทั้งนี้หากคุณแม่อาการคันหรือมีผื่นขึ้นที่รุนแรง ก็ควรเข้าพบแพทย์ในทันที เพราะความคันอาจมาจากสาเหตุอื่นอีกก็เป็นได้

 

  • ปวดหลัง ปวดขา ปวดสะโพก

อาการปวดตามร่างกายของคุณแม่ในสัปดาห์ที่ 29 นี้เป็นเรื่องที่ปกติมาก เพราะว่าร่างกายของคุณแม่มีน้ำหนักที่มากขึ้น ทารกในครรภ์เริ่มมีการขยับตัวที่มากขึ้น นอกจากนี้ตำแหน่งของลูกน้อยของคุณจะเริ่มเปลี่ยนไปเพื่อเตรียมตัวที่จะลืมตาดูโลกในไม่ช้า รวมถึงข้อต่อและเอ็นของคุณจะเริ่มอ่อนตัวลง และผ่อนคลายมากยิ่งขึ้นเพื่อเตรียมตัวคลอด จึงส่งผลทำให้คุณอาจรู้สึกปวดเมื่อยมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

 

อาการแม่ท้อง 29 สัปดาห์

 

  • ริดสีดวงทวาร

ลูกน้อยของคุณกำลังจะเปลี่ยนตำแหน่งเพื่อให้สอดรับกับการคลอดในอนาคต ส่งผลทำให้ตัวของพวกเขามากดทับอวัยวะในส่วนด้านล่างของคุณแม่ทำให้การทำงานของระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ โดยเฉพาะทวารหนัก และนอกจากนี้ฮอร์โมนภายในร่างกายของคุณแม่นั้นจะทำให้กล้ามเนื้อลำไส้คลายตัว ทำให้เกิดริดสีดวงทวารได้ คุณแม่ในไตรมาสสุดท้ายนี้จึงมีความจำเป็นที่จะต้องรับประทานอาหารที่มีกากใยสูงเพื่อป้องกันการเป็นริดสีดวงทวารนั่นเอง

 

  • ปัสสาวะบ่อย

ยิ่งมดลูกของคุณขยายใหญ่เท่าไหร่ คุณแม่ตั้งครรภ์ก็จะต้องยิ่งเข้าห้องน้ำบ่อยมากขึ้นเท่านั้น และก็ไม่ได้หมายความว่าคุณแม่จะต้องลดการดื่มน้ำของตัวเองลง แต่คุณควรที่จะดื่มน้ำเพิ่มมากยิ่งขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงในการขาดน้ำ นอกจากนี้การดื่มมาก ๆ ยังช่วยในเรื่องของการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดอีกด้วย เพราะว่าในช่วงตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 29 นั้นมีความเสี่ยงที่จะมีความแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ได้สูงและเป็นเหตุทำให้คลอดก่อนกำหนดได้

 

  • คันปากช่องคลอด

อาการคันที่เกิดในระหว่างการตั้งครรภ์ เกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ส่วนใหญ่จะเกิดจากการ ติดเชื้อรา หรือ แบคทีเรียชนิดต่าง ๆ วิธีรักษาคุณแม่อาจจะต้องดูแลรักษาความสะอาดให้ดี อีกสาเหตุหนึ่งก็อาจจะมาจากผลิตภัณฑ์ที่ใช้ก็มีส่วนเหมือนกัน การที่ฮอร์โมนเพิ่มขึ้น ก็เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาได้ เช่นกัน

 

  • หายใจลำบาก หายใจไม่ออก

ในช่วงใกล้คลอดนี้คุณแม่อาจจะรู้สึกว่า ตัวเองมีอาการหายใจไม่ออก หายใจลำบากเกิดขึ้นกับตัวบ้าง แต่ไม่ต้องกังวลไปค่ะ เพราะอาการนี้เกิดขึ้นได้กับคุณแม่หลายคน เนื้อจาก ขนาดของคุณลูกเริ่มมีความใหญ่ขึ้น ทำให้ช่องคลอดขยายและไปกดทับ กะบังลม บีบบริเวณปอดทำให้คุณแม่หายใจได้ลำบากขึ้นค่ะ สิ่งที่จะช่วยคุณแม่ให้หายใจได้สะดวกคือ นั่งให้ถูกท่า หลังตรง ออกกำลังกาย พยายามอย่าเครียดจนมากเกินไป ก็จะช่วยให้อาการดีขึ้นค่ะ

 

ตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์ 1

 

การดูแลตัวเองตอน ท้อง 29 สัปดาห์

สำหรับคุณแม่ที่กำลังอยากทราบว่า ถ้าหากตัวเองเข้าสู่ช่วงสัปดาห์ที่ 29 ของการตั้งครรภ์แล้วจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร จะต้องทานอาหารเสริมอะไร หรือต้องระวังอะไรเป็นพิเศษหรือไม่ เราได้รวบรวมมาให้แล้วค่ะ ไปอ่านกันเลย

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
เตรียมพร้อมลูกน้อยฉลาดและแข็งแรงตั้งแต่ในครรภ์ ด้วย นมเฉพาะสำหรับแม่ตั้งครรภ์
เตรียมพร้อมลูกน้อยฉลาดและแข็งแรงตั้งแต่ในครรภ์ ด้วย นมเฉพาะสำหรับแม่ตั้งครรภ์

 

  • ทานแคลเซียมเพิ่มมากขึ้น

ในช่วงนี้ลูกน้อยในครรภ์ของคุณกำลังอยู่ในช่วงของการสร้างกระดูกให้แข็งแรง โดยกระบวนการดังกล่าวจะต้องใช้แคลเซียมจำนวนมากคุณแม่ และแน่นอนว่าคุณแม่นั้นจะถูกคุณลูกแบ่งแคลเซียมไป ดังนั้นคุณแม่ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงจากอาหารต่าง ๆ อาทิ ผลิตภัณฑ์จากนม เต้าหู้ ผักใบเขียว และอาหารเสริมแคลเซียมที่คุณหมอแนะนำ เป็นต้น

 

  • การเปลี่ยนแปลงของเต้านม

หน้าอกของคุณแม่ในช่วงนี้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง คุณแม่อาจรู้สึกคัน แน่นและหนัก หรืออาจมีผดร้อน และน้ำนมสีเหลืองไหลออกมา ซึ่งเป็นเรื่องปกติสำหรับคุณแม่ที่มีอายุครรภ์มากยิ่งขึ้น คุณแม่อาจต้องใส่ใจเรื่องของการเลือกชุดชั้นในที่ใส่สบายและระบายอากาศได้เป็นอย่างดี หรือถ้ามีความจำเป็นที่จะต้องซื้อใหม่ควรพิจารณาซื้อขนาดที่ใหญ่กว่าขนาดปัจจุบัน 1-2 เบอร์ เพราะเต้านมของคุณแม่อาจมีการขยายขึ้นได้อีกในอนาคต อีกทั้งยังต้องเริ่มมองหาแผ่นซับน้ำนมในกรณีที่มีน้ำนมรั่วไหลออกมาด้วย

 

  • ระวังเรื่องผื่น หรืออาการแพ้

ช่วงของการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนจะทำให้คุณแม่ที่ตั้งครรภ์อยู่นั้นมีผิวที่ไวต่อสิ่งรอบข้างได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เคยทำให้เกิดปฏิกิริยาหรือไม่ก็ตาม ก็อาจทำให้คุณแม่เกิดผื่นแดงตามร่างกายได้จากสิ่งรอบตัว อาทิ แสงแดด ความร้อน สารซักฟอก คลอรีน หรือแม้แต่อาหารบางชนิด ซึ่งจะต้องระวังเป็นพิเศษ หากพบว่าอาการเริ่มรุนแรงมากยิ่งขึ้นควรพบแพทย์ในทันที หรือควรหลีกเลี่ยงการทานอาหารที่ไม่เคยทาน และอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก

 

เข้าโค้งสุดท้ายของการตั้งครรภ์แล้ว อีกไม่นานเกินรอคุณแม่ก็จะได้เห็นหน้าทารกน้อยแล้ว อย่าลืมที่จะดูแลครรภ์ให้สมบูรณ์แข็งแรง และคอยสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายอยู่เรื่อย ๆ ด้วยนะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ตั้งครรภ์ 30 สัปดาห์ พัฒนาการของทารกในครรภ์เป็นอย่างไร

ตั้งครรภ์ 31 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

10 อาหารโฟเลตสูง ที่คนท้องบำรุงได้ทันทีตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์

ที่มา : whattoexpect, mamastory

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • ไตรมาส 3
  • /
  • ตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
แชร์ :
  • คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

    คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

  • 7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

    7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

  • คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

    คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

  • 7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

    7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว