X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ตอบให้เคลียร์ 10 คำถาม ไวรัสซิกากับแม่ท้อง

บทความ 5 นาที
ตอบให้เคลียร์ 10 คำถาม ไวรัสซิกากับแม่ท้อง

ไขคำตอบ 10 คำถาม ไวรัสซิกากับแม่ท้อง ติดยังไง อันตรายแค่ไหน ไปอ่านกัน

ไวรัสซิกากลับมาคราวนี้ สร้างความตื่นตระหนกอยู่ไม่น้อย ล่าสุดกระทรวงมหาดไทย ออกจดหมายเตือนหลังพบไวรัสซิการะบาดหนักช่วง 3 เดือน ด้านกระทรวงสาธารณสุข สิงคโปร์ ก็เพิ่งเปิดเผยตัวเลขล่าสุดว่า มีผู้ติดเชื้อไวรัสซิกาแล้ว 115 คน และพบหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อไวรัสซิกาเป็นรายแรกในสิงคโปร์!

 

จากสถานการณ์ไวรัสซิกาที่กำลังแพร่ระบาดอย่างหนักในหลายๆ ประเทศ แม่ๆ คงจะมีคำถามมากมายที่สงสัย โดยเฉพาะการติดเชื้อไวรัสซิกากับแม่ท้องว่ามีอันตรายแค่ไหน เราเลยรวบรวม คำถาม – คำตอบ ไวรัสซิกากับหญิงตั้งครรภ์ ที่ทางสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เผยแพร่เอาไว้ มาไขข้อข้องใจคุณแม่ ที่กำลังกังวลกับเชื้อไวรัสซิกา

 

1.ไวรัสซิกามีผลกระทบต่อหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์อย่างไร โรคติดเชื้อไวรัสซิกามีการรักษาหรือไม่

หญิงตั้งครรภ์มีความเสี่ยงติดเชื้อไวรัสซิกาเช่นเดียวกับคนทั่วไป โดยการถูกกัดจากยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค หญิงตั้งครรภ์โดยทั่วไปที่มีการติดเชื้อ อาจจะไม่มีอาการแสดง มีเพียง 1 ใน 4 คนเท่านั้นที่จะแสดงอาการ และมีอาการที่ไม่รุนแรง อาการส่วนใหญ่มีไข้ต่ำ ๆ ผื่นขึ้นตามร่างกาย อาจพบมีเยื่อบุตาอักเสบ ปวดกล้ามเนื้อ และข้อ อ่อนเพลีย ซึ่งจะเกิดอาการหลังจากการถูกยุงที่มีเชื้อกัด 2 – 7 วัน

การวิเคราะห์เบื้องต้นจากการวิจัยโดยกระทรวงสาธารณสุขของประเทศบราซิลพบว่ามีความสัมพันธ์ของการติดเชื้อไวรัสซิกาในหญิงตั้งครรภ์ต่อการเกิดภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิดของทารกในครรภ์โดยเฉพาะการติดเชื้อนี้ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งในขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการวิจัยเพื่อหาสาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง และผลกระทบของการเกิดภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิด โดยการวิจัยได้รับการสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลกภูมิภาคอเมริกาและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

2.โรคติดเชื้อไวรัสซิกามีการรักษาหรือไม่

ยังไม่มีวัคซีน และการรักษาโดยเฉพาะ เป็นการรักษาตามอาการเพื่อบรรเทาอาการทั้งในหญิงตั้งครรภ์และบุคคลทั่วไป องค์การอนามัยโลกแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับดูแลตรวจครรภ์อย่างต่อเนื่อง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

 

Advertisement

3.คำแนะนำจากองค์การอนามัยโลกภูมิภาคอเมริกาสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่อยู่ในพื้นที่การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสซิกา

หญิงตั้งครรภ์ และหญิงในวัยเจริญพันธ์ ควรหลีกเลี่ยงการถูกยุงกัดคือการสวมเสื้อแขนยาวปกคลุมผิวหนัง และกางเกงขายาว การฉีดยากันยุง นอนกางมุ้ง และการทายาป้องกันยุงกัด โดยปฎิบัติตามคำแนะนำบนฉลากผลิตภัณฑ์ และสิ่งสำคัญมากคือการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงทั้งในบ้าน และสภาพแวดล้อมนอกบ้านบริเวณที่พักอาศัย

 

4.หญิงตั้งครรภ์สามารถเดินทางไปยังบริเวณที่มีการระบาดของไวรัสซิกาได้หรือไม่

หญิงตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะเดินทาง สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการหลีกเลี่ยงการถูกยุงกัดเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสซิกา รวมถึงโรคติดเชื้อไวรัสอื่น ๆ ที่นำโดยยุง เช่น ไข้เลือดออก ไข้ปวดข้อยุงลาย เป็นต้น หญิงตั้งครรภ์ และหญิงวัยเจริญพันธุ์ควรปฏิบัติตามคำแนะนำเช่นเดียวกับนักท่องเที่ยว ดังนี้

– ป้องกันการถูกยุงกัดโดยการสวมใส่เสื้อแขนยาวกางเกงขายาว และหมวก

– ใช้ยาทากันยุงที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน โดยปฎิบัติตามคำแนะนำบนฉลากผลิตภัณฑ์อย่างเคร่งครัด

– นอนหลับในห้องที่มีมุ้งลวด หรือนอนกางมุ้ง

– ค้นหา และกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และถ้าได้เดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของไวรัสซิกา ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเมื่อไปตรวจครรภ์ตามนัด

 

5.คำแนะนำจากองค์การอนามัยโลกภูมิภาคอเมริกาสำหรับหญิงในช่วงอายุวัยเจริญพันธ์ที่สามารถตั้งครรภ์ได้ในพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสซิกา

องค์การอนามัยโลกภูมิภาคอเมริกาแนะนำให้ใช้มาตรการป้องกัน และหลีกเลี่ยงจากการถูกยุงกัดซึ่งสามารถใช้ในการป้องกันโรคไข้ติดเชื้อไวรัสซิกา ไข้เลือดออก และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย

 

6.เชื้อไวรัสซิกาสามารถถ่ายทอดสู่ทารกระหว่างตั้งครรภ์หรือช่วงแรกเกิดได้หรือไม่

ข้อมูลในปัจจุบันเรื่องการถ่ายทอดเชื้อไวรัสซิกาสามารถถ่ายทอดสู่ทารกระหว่างตั้งครรภ์ หรือทารกแรกเกิดยังมีจำกัดมากอย่างไรก็ตามมีรายงานเกี่ยวกับการถ่ายทอดสู่ทารกในช่วงแรกเกิดในโรคติดเชื้อไวรัสที่มียุงเป็นพาหะ เช่น โรคไข้เลือดออก และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ทำให้ต้องมีการติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด ช่วงนี้ยังอยู่ในช่วงของการศึกษาวิจัยถึงความเป็นไปได้ของการถ่ายทอดเชื้อไวรัสจากแม่สู่ลูก และผลกระทบต่อทารก ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์โดยเฉพาะผู้ที่ติดเชื้อไวรัสซิกาควรได้รับการติดตาม และดูแลสุขภาพอย่างใกล้ชิด

 

7.เชื้อไวรัสซิกาอาจเป็นสาเหตุของภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิดได้หรือไม่

ในบางรัฐของประเทศบราซิลที่มีการเกิดการระบาดของเชื้อไวรัสซิกาในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาเร็ว ๆ นี้ พบมีการเพิ่มขึ้นของทารกแรกเกิดที่มีภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิด จากการวิเคราะห์เบื้องต้นของการวิจัยที่ดำเนินการโดยหน่วยงานของบราซิล ภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิดเป็นความเสี่ยงที่อาจเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งกำลังมีการดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของการเกิดภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิดโดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลกภูมิภาคอเมริกา และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

องค์การอนามัยโลกภูมิภาคอเมริกาแนะนำให้มีการดูแลก่อนคลอดสำหรับหญิงตั้งครรภ์ ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ หรือวัยเจริญพันธุ์ควรหลีกเลี่ยงการถูกยุงกัด

 

8.ภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิดคืออะไร

ภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิด เป็นภาวะที่พบได้ไม่บ่อย เป็นความผิดปกติซึ่งอาจมีสาเหตุจากพันธุกรรมหรือสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ การฉายรังสี หรือการติดเชื้อ โดยหมายถึงเด็กแรกเกิดที่มีรอบศีรษะขนาดเล็ก กว่าที่ควรจะเป็นเมื่อพิจารณาตามอายุครรภ์ที่แรกคลอด และเพศ ภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิดอาจเป็นเดี่ยวๆ หรืออาจจะมีความเกี่ยวข้องกับอาการอื่น ๆ เช่น อาการชัก พัฒนาการล่าช้า หรือความผิดปกติในการดูด หรือกลืน อาการเหล่านี้มีความแตกต่างกันของความรุนแรง และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

การคาดการณ์ผลกระทบของการมีภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิดเป็นสิ่งที่ยาก จำเป็นต้องผ่านการตรวจสุขภาพ การติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อตรวจสอบ และประเมินผลกระทบต่อทารก ขณะนี้ยังไม่มีการรักษาที่เฉพาะสำหรับ ภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิด

 

9.มีวิธีการยืนยันภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิดในทารกหรือไม่

วิธีที่เชื่อถือได้มากที่สุดเพื่อประเมินว่าทารกมีภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิด คือ การวัดรอบศีรษะในทารกแรกเกิด 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อแรกเกิด และครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 24 ชั่วโมง เมื่อทารกได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิด ทีมสหสาขาวิชาชีพทางการแพทย์จะเริ่มกระบวนการของการติดตาม และการดูแลทารกอย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง

หญิงตั้งครรภ์ควรมารับการตรวจสุขภาพ และการติดตามดูแลรักษาในคลินิคฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอ

 

10.องค์การอนามัยโลกภูมิภาคอเมริกาใช้เงื่อนไขอะไรแสดงถึงความสัมพันธ์เชื้อไวรัสซิกาต่อภาวะการพิการแต่กำเนิด

องค์การอนามัยโลกภูมิภาคอเมริกาสนับสนุนกระทรวงสาธารณสุขของประเทศบราซิลในการวิเคราะห์หาสาเหตุ และการตอบโต้ต่อการระบาดของภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิด กระทรวงสาธารณสุขประเทศบราซิลได้ชี้แจงเกี่ยวกับการสืบสวนหาสาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง และผลกระทบของภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิด รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้อง เช่น ความเป็นพิษ ยา พันธุกรรม และสาเหตุการติดเชื้ออื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันสนับสนุนความสัมพันธ์ของการติดเชื้อไวรัสซิกาต่อการเกิดภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิด

องค์การอนามัยโลกภูมิภาคอเมริกาได้สื่อสารกับสมาชิกในหลาย ๆ ประเทศในภูมิภาค และให้คำแนะนำที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน และการควบคุมโรคที่นำโดยพาหะนำโรค ซึ่งได้เน้นประเด็นสำคัญคือมาตรการป้องกันส่วนบุคคลเพื่อลดการสัมผัสพาหะนำโรค โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์

 

เพื่อความปลอดภัยของแม่ท้อง คุณแม่ต้องสวมเสื้อผ้าอย่างมิดชิดเพื่อป้องกันยุงลายกัด และบ้านไหนที่มีหญิงตั้งครรภ์ก็ต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ ด้วยการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น ทำความสะอาดภาชนะที่มีน้ำขังแล้วเช็ดให้แห้ง หรือกวาดทิ้งเศษขยะที่มีน้ำ ทำเป็นประจำป้องกันไว้ก่อน

 

ที่มา : beid.ddc.moph.go.th

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แม่ท้องต้องระวังติดเชื้อไวรัสซิกา ลูกเสี่ยงเป็นโรคข้อต่อยึดติด

ไวรัสซิกาเชื้อร้ายพันธุ์ใหม่อันตรายต่อแม่ตั้งครรภ์

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ตอบให้เคลียร์ 10 คำถาม ไวรัสซิกากับแม่ท้อง
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว